ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จาการ์ตา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: be:Горад Джакарта
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: af:Djakarta
บรรทัด 107: บรรทัด 107:


[[ace:Jakarta]]
[[ace:Jakarta]]
[[af:Jakarta]]
[[af:Djakarta]]
[[am:ጃካርታ]]
[[am:ጃካርታ]]
[[an:Yakarta]]
[[an:Yakarta]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:16, 15 มกราคม 2553

จาการ์ตา

Daerah Khusus Ibukota Jakarta
เขตเมืองหลวงพิเศษจาการ์ตา
ทิวทัศน์ใจกลางเมืองจาการ์ตา
ทิวทัศน์ใจกลางเมืองจาการ์ตา
ตราอย่างเป็นทางการของจาการ์ตา
ตรา
สมญา: 
ทุเรียนใหญ่
คำขวัญ: 
Jaya Raya ("ชัยชนะและความยิ่งใหญ่")
จาการ์ตาตั้งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย
จาการ์ตา
จาการ์ตา
ตำแหน่งจาการ์ตาในอินโดนีเซีย
พิกัด: 6°16′0″S 106°48′0″E / 6.26667°S 106.80000°E / -6.26667; 106.80000พิกัดภูมิศาสตร์: 6°16′0″S 106°48′0″E / 6.26667°S 106.80000°E / -6.26667; 106.80000
ประเทศอินโดนีเซีย
จังหวัดจาการ์ตา
การปกครอง
 • ประเภทเขตการปกครอง
 • ผู้ว่าราชการFauzi Bowo
พื้นที่
 • ตัวเมือง750.28 ตร.กม. (289.68 ตร.ไมล์)
ความสูง4 เมตร (13 ฟุต)
ประชากร
 (2008)
8,489,910 คน
 • ความหนาแน่น11,315.7 คน/ตร.กม. (29,308 คน/ตร.ไมล์)
 • รวมปริมณฑล13,194,000 คน
 [1]
เขตเวลาUTC+7 (เขตเวลาอินโดนีเซียตะวันตก)
รหัสพื้นที่+6221
เว็บไซต์www.jakarta.go.id

จาการ์ตา (อินโดนีเซีย: Jakarta) เป็นเมืองหลวงของประเทศอินโดนีเซีย ตั้งอยู่บนเกาะชวาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ มีประชากร 8.3 ล้านคน (พ.ศ. 2543) ในอดีตมีชื่อว่า บาตาเวีย หรือ ปัตตาเวีย (Batavia)

ประวัติศาสตร์

การตั้งถิ่นฐานครั้งแรกในพื้นที่ของจาการ์ตาในปัจจุบัน เท่าที่ปรากฏ คือท่าเรือกาลาปา ใกล้ปากแม่น้ำจีลีวุง ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากถิ่นที่ตั้งของฮินดูตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 5 ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 คาลาปาเป็นท่าเรือใหญ่สำหรับราชอาณาจักรฮินดู ชื่อว่าซุนดา มีการบันทึกว่าชาวโปรตุเกสเป็นชาวยุโรปกลุ่มแรกที่ไปถึงคาลาปา กษัตริย์ฮินดูทรงอนุญาตให้พ่อค้าชาวโปรตุเกสสร้างป้อมที่คาลาปาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตอนต้น ท่าเรือของจาการ์ตาในปัจจุบันยังคงมีชื่อว่า Sunda Kelapa ตามชื่อถิ่นฐานยุคแรก

ในพ.ศ. 2070 เมืองถูกยึดครองโดยฟาตาฮิลลอฮฺหรือฟาเลเตฮาน (Fatahillah or Faletehan) ผู้นำอายุน้อยจากอาณาจักรใกล้เคียงจากทางเหนือ ฟาตาฮิลลอฮฺได้เปลี่ยนชื่อเมืองจากคาลาปาเป็น จายาการ์ตา (Jayakarta แปลว่า "มีชัยและเจริญรุ่งเรือง" ในภาษาชวา) ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2070 ซึ่งวันนี้ถือเป็นวันก่อตั้งของจาการ์ตา ชาวดัตช์มายังจายาการ์ตาในตอนปลายของคริสต์ศตวรรษที่ 16 ในพ.ศ. 2162 กองกำลังของบริษัทดัตช์อีสต์อินเดีย (Dutch East India Company) นำโดยยาน ปีเตอร์ซูน โคเอน (Jan Pieterszoon Coen) ยึดครองเมืองและเปลี่ยนชื่อจายาการ์ตาเป็นบาตาเวีย (Batavia) ซึ่งเป็นชื่อภาษาละตินของชนเผ่าที่อาศัยในเนเธอร์แลรด์ในสมัยโรมัน บาตาเวียเป็นเมืองหลวงของอาณานิคมดัตช์อีสต์อินดีส์ (Dutch East Indies) ในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการขยายเมืองเมื่อชาวดัตช์เริ่มย้ายไปทางใต้ ไปที่พื้นที่สูงที่คาดว่ามีความอุดมสมบูรณ์กว่า ชาวอังกฤษยึดครองชวาใน พ.ศ. 2354 และครองอยู่ 5 ปีระหว่างที่เนเธอร์แลนด์ทำสงครามนโปเลียน (Napoleonic Wars) ในยุโรป ก่อนคืนให้ดัตช์

หลังจากที่การปกครองโดยตรงของเนเธอร์แลนด์ขยายไปทั่งหมู่เกาะในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 ตอนต้น ความสำคัญของบาตาเวียได้เพิ่มขึ้น กลยุทธ์ของดัตช์ที่จะยังคงอำนาจและรายได้ภาษี ทำให้การส่งออกจากพื้นที่ใด ๆ ในภูมิภาคแทบทั้งหมดจะต้องผ่านบาตาเวีย ทำให้เมืองมีความสำคัญทางด้านการเมืองเศรษฐกิจที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน

ประเทศญี่ปุ่นยึดครองบาตาเวียในพ.ศ. 2485 ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และตั้งชื่อใหม่เป็นจาการ์ตา เพื่อให้ได้การยอมรับจากท้องถิ่น หลังจากที่ญี่ป่นพ่ายแพ้ใน พ.ศ. 2488 ชาวดัตช์ยึดครองเมืองใหม่ ทั้งที่ชาวอินโดนีเซียได้ประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2488 จาการ์ตาเป็นศูนย์กลางของความพยายามของชาวดัตช์ที่จะยังคงอำนาจเหนืออาณานิคมเดิมระหว่างสงครามเอกราชที่สิ้นสุดด้วยการก่อตั้งอินโดนีเซียเมื่อ พ.ศ. 2492

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA