ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กติกาสัญญาโมโลตอฟ–ริบเบินทร็อพ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Gerakibot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: id:Pakta Molotov–Ribbentrop
บรรทัด 39: บรรทัด 39:
[[hr:Pakt Ribbentrop-Molotov]]
[[hr:Pakt Ribbentrop-Molotov]]
[[hu:Molotov–Ribbentrop-paktum]]
[[hu:Molotov–Ribbentrop-paktum]]
[[id:Pakta Molotov–Ribbentrop]]
[[io:Ribbentrop-Molotov pakto]]
[[io:Ribbentrop-Molotov pakto]]
[[it:Patto Molotov-Ribbentrop]]
[[it:Patto Molotov-Ribbentrop]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:13, 15 มกราคม 2553

เนื้อหาของข้อตกลงลับ (เป็นภาษาเยอรมัน)

สนธิสัญญาโมโลตอฟ-ริบเบนทรอป (อังกฤษ: Molotov-Ribbentrop Pact) เป็นสนธิสัญญาที่ได้ชื่อตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของโซเวียต วียาเชสลาฟ โมโลตอฟ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของนาซีเยอรมนี โจอาคิม ฟอน ริบเบนทรอป โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนีกับสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต และได้รับการลงนามในกรุงมอสโก เมื่อช่วงเช้าของวันที่ 24 สิงหาคม 1939 (แต่ในสนธิสัญญาระบุเป็นวันที่ 23 สิงหาคม) [1] ข้อตกลงดังล่าวเป็นการประกาศวางตัวเป็นกลางหากคู่เจรจาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกโจมตีโดยประเทศที่สาม ประเทศผู้ลงนามทั้งสองฝ่ายให้สัญญาที่จะไม่เข้าร่วมกลุ่มกับอำนาจอื่นซึ่ง "พุ่งเป้าหมายไปยังคู่เจรจาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยตรงหรือโดยอ้อม" สนธิสัญญาดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในหลายชื่อด้วยกัน ซึ่งรวมไปถึง สนธิสัญญานาซี-โซเวียต สนธิสัญญาฮิตเลอร์-สตาลิน สนธิสัญญาไม่รุกรานกันระหว่างเยอรมนี-โซเวียต หรือบางครั้งก็เรียกว่า พันธมิตรนาซี-โซเวียต[2] สนธิสัญญาดังกล่าวมีผลจนถึงวันที่ 22 มิถุนายน 1941 เมื่อเยอรมนีเริ่มต้นปฏิบัติการบาร์บารอสซา และรุกรานสหภาพโซเวียต

นอกเหนือจากการกำหนดเงื่อนไขในการไม่รุกรานระหว่างกันแล้ว สนธิสัญญาดังกล่าวยังรวมไปถึงข้อตกลงลับ ซึ่งแบ่งยุโรปตะวันออกให้อยู่ภายใต้เขตอิทธิพลของเยอรมนีและโซเวียต เพื่อให้มีการจัดระเบียบทางดินแดนและทางการเมืองในพื้นที่ดังกล่าวใหม่ หลังจากนั้น เยอรมนีและสหภาพโซเวียตได้ร่วมกันรุกรานโปแลนด์ ตามด้วยการผนวกเอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนียและดินแดนทางตอนเหนือของโรมาเนียเข้าไปอยู่ในเขตอิทธิพลของสหภาพโซเวียต รวมไปถึงการผนวกดินแดนทางตะวันออกของฟินแลนด์ หลังจากความพยายามรุกรานของสหภาพโซเวียตในสงครามฤดูหนาว ภาคผนวกลับดังกล่าวถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ และเป็นตัวการที่ก่อให้เกิดสงครามแห่งการรุกราน

อ้างอิง

  1. Blank Pages by G.C.Malcher ISBN 1 897984 00 6 Page 7
  2. Benjamin B. Fischer, "The Katyn Controversy: Stalin's Killing Field", Studies in Intelligences, Winter 1999–2000, last accessed on 10 December 2005