ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษาอิหร่าน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
Saeng Petchchai (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 22: บรรทัด 22:
ยุคกลางในอิหร่านเริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 143 - 1443 ภาษาในยุคนี้แบ่งเป็นกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออกเช่นกัน เริ่มใช้ตัวเขียนที่มาจาก[[อักษรอราเมอิก]] [[ภาษาเปอร์เซียกลาง]]เป็นภาษาราชการของ[[จักรวรรดิซัสซาเนียน]] เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 843 - 1543 [[ภาษาเปอร์เซียกลาง]]และ[[ภาษาพาร์เทีย]]เป็นภาษาในยุคมานิเชียนด้วย ซึ่งมีข้อความหลงเหลือในภาษานอกกลุ่มนี้เป็นจำนวนมากตั้งแต่[[ภาษาละติน]]ถึง[[ภาษาจีน]]
ยุคกลางในอิหร่านเริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 143 - 1443 ภาษาในยุคนี้แบ่งเป็นกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออกเช่นกัน เริ่มใช้ตัวเขียนที่มาจาก[[อักษรอราเมอิก]] [[ภาษาเปอร์เซียกลาง]]เป็นภาษาราชการของ[[จักรวรรดิซัสซาเนียน]] เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 843 - 1543 [[ภาษาเปอร์เซียกลาง]]และ[[ภาษาพาร์เทีย]]เป็นภาษาในยุคมานิเชียนด้วย ซึ่งมีข้อความหลงเหลือในภาษานอกกลุ่มนี้เป็นจำนวนมากตั้งแต่[[ภาษาละติน]]ถึง[[ภาษาจีน]]


== ภาษากลุ่มอิหร่านหลังได้รับอิทธิพลจากภาษาอาหรับ ==
=== ภาษากลุ่มอิหร่านยุคใหม่===
หลังจากที่[[จักรวรรดิเปอร์เซีย]]หันไปนับถือ[[ศาสนาอิสลาม]] สำเนียงเก่าเช่นภาษาเปอร์เซียกลางถูกแทนที่ด้วยสำเนียงใหม่ เช่นสำเนียงดารีที่เป็นภาษาราชการ คำว่าดารีมาจาก darbar หมายถึงศาลหลวง ใช้เขียนบทกวีและวรรณคดีอย่างแพร่หลาย ราชวงศ์ซัฟฟาริดเป็นราชวงศ์ที่มีบทบาทในการพัฒนาภาษาใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 1418 สำเนียงดารีเชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อสำเนียงทางตะวันออกของอิหร่านมาก ในขณะที่สำเนียงปะห์ลาวีที่เป็นสำเนียงมาตรฐานเดิมมีพื้นฐานมาจากสำเนียงทางตะวันตก สำเนียงใหม่ๆเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของสำเนียงมาตรฐานของ[[ภาษาเปอร์เซีย]]ในปัจจุบัน
หลังจากที่[[จักรวรรดิเปอร์เซีย]]หันไปนับถือ[[ศาสนาอิสลาม]] สำเนียงเก่าเช่นภาษาเปอร์เซียกลางถูกแทนที่ด้วยสำเนียงใหม่ เช่นสำเนียงดารีที่เป็นภาษาราชการ คำว่าดารีมาจาก darbar หมายถึงศาลหลวง ใช้เขียนบทกวีและวรรณคดีอย่างแพร่หลาย ราชวงศ์ซัฟฟาริดเป็นราชวงศ์ที่มีบทบาทในการพัฒนาภาษาใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 1418 สำเนียงดารีเชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อสำเนียงทางตะวันออกของอิหร่านมาก ในขณะที่สำเนียงปะห์ลาวีที่เป็นสำเนียงมาตรฐานเดิมมีพื้นฐานมาจากสำเนียงทางตะวันตก สำเนียงใหม่ๆเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของสำเนียงมาตรฐานของ[[ภาษาเปอร์เซีย]]ในปัจจุบัน


บรรทัด 30: บรรทัด 30:


บริเวณที่มีผู้พูดภาษากลุ่มอิหร่านล้อมรอบไปด้วยผุ้พูดภาษาอื่นๆหลายกลุ่ม ทางตะวันตกเป็น[[ภาษาอาหรับ]] ส่วน[[ภาษากลุ่มเตอร์กิก]]แพร่หลายใน[[เอเชียกลาง]]แทนที่ภาษากลุ่มอิหร่านที่เคยใช้ในบริเวณนั้น เช่น [[ภาษาซอกเดีย]] และ[[ภาษาแบกเทรีย]] โดยภาษาซอกเดียบางสำเนียงยังเหลืออยู่ใน[[หุบเขาซาราฟสถาน]] และภาษาซากาในซินเจียงทางตอนใต้ รวมทั้ง[[ภาษาออสเซติก]]ที่ยังเหลืออยู่ในเทือกเขาคอเคซัส มีผู้พูดภาษากลุ่มอิหร่านเล็กน้อยใน[[เทือกเขาปาร์มี]] ผู้พูดภาษาเปอร์เซียใน[[อาเซอร์ไบจาน]]ถูกแทนที่ด้วยภาษากลุ่มเตอร์กิกแล้วเช่นกัน
บริเวณที่มีผู้พูดภาษากลุ่มอิหร่านล้อมรอบไปด้วยผุ้พูดภาษาอื่นๆหลายกลุ่ม ทางตะวันตกเป็น[[ภาษาอาหรับ]] ส่วน[[ภาษากลุ่มเตอร์กิก]]แพร่หลายใน[[เอเชียกลาง]]แทนที่ภาษากลุ่มอิหร่านที่เคยใช้ในบริเวณนั้น เช่น [[ภาษาซอกเดีย]] และ[[ภาษาแบกเทรีย]] โดยภาษาซอกเดียบางสำเนียงยังเหลืออยู่ใน[[หุบเขาซาราฟสถาน]] และภาษาซากาในซินเจียงทางตอนใต้ รวมทั้ง[[ภาษาออสเซติก]]ที่ยังเหลืออยู่ในเทือกเขาคอเคซัส มีผู้พูดภาษากลุ่มอิหร่านเล็กน้อยใน[[เทือกเขาปาร์มี]] ผู้พูดภาษาเปอร์เซียใน[[อาเซอร์ไบจาน]]ถูกแทนที่ด้วยภาษากลุ่มเตอร์กิกแล้วเช่นกัน

== การจัดจำแนก ==
[[File:IndoEuropeanTree.svg|thumb|400px|แผนผังการจัดจำแนกในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน]]
ภาษากลุ่มอิหร่านแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกและภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตก มีทั้งหมดราว 84 ภาษา ภาษาที่มีผู้ใช้มากในปัจจุบันคือภาษาเคิร์ด ภาษาเปอร์เซีย และภาษาบาโลชิในกลุ่มตะวันตก และภาษาพาซตูในกลุ่มตะวันออก ในปัจจุบันมีการประดิษบ์ภาษากลุ่มอิหร่านขึ้นมาคือ[[ภาษาบาราเรย]]เป็นภาษาในนิยายและใกล้เคียงกับสำเนียงลูรี แต่ก็มีลักษณะของสำเนียงเกอร์มันซาฮานรวมอยู่ด้วย


==ดูเพิ่ม==
==ดูเพิ่ม==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 11:59, 23 ธันวาคม 2552

ไฟล์:Moderniranianlanguagesmap.jpg
การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ของผุ้พูดภาษากลุ่มอิหร่าน: ภาษาเปอร์เซีย (เขียว) ภาษาพาซตู (ม่วง) และภาษาเคิร์ด(ฟ้า), ภาษาลูริส (magenta), ภาษาบาโลชิ (เหลือง)และกลุ่มอื่นๆที่เล็กกว่า

ภาษากลุ่มอิหร่านเป็นสาขาย่อยของภาษากลุ่มอินโด-อิหร่านที่อยู่ในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน ภาษาอเวสตะถือเป็นภาษาที่เก่าที่สุดของกลุ่มนี้ที่มีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ภาษากลุ่มนี้มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราว 150 - 200 ล้านคน ภาษาที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาเปอร์เซีย (ประมาณ 70 ล้านคน) ภาษาพาซตู (ประมาณ 40 ล้านคน) ภาษาเคิร์ด (35 ล้านคน) และภาษาบาโลชิ (ประมาณ 7 ล้านคน)

ชื่อ

ชื่อของภาษากลุ่มอิหร่านมาจากการที่ผู้พูดภาษากลุ่มนี้เคยอยู่ในที่ราบอิหร่านมาตั้งแต่อดีตกาล


ประวัติ

ภาษายุคเริ่มแรก

ภาษากลุ่มอินโด-อิหร่านมีจุดเริ่มต้นในเอเชียกลาง แต่ทฤษฎียังมีช่องว่างอีกมาก ภาษากลุ่มอิหร่านนี้เป็นลูกหลานของภาษาอินโด-อิหร่านดั้งเดิม ซึ่งภาษานี้แตกออกเป็น

ภาษาอิหร่านดั้งเดิมมีอายุย้อนหลังไปถึงหลังจากการแยกตัวของภาษาอินโด-อิหร่านดั้งเดิมหรือราว 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ซึ่งเป็นช่วงที่ภาษาอิหร่านแยกตัวออกมาและพัฒนาตามชนเผ่าอิหร่านกลุ่มต่างๆที่อพยพไปมาระหว่างยุโรป เอเชียใต้ ที่ราบอิหร่านและเอเชียกลาง ในทางภาษาศาสตร์ ภาษาอิหร่านโบราณแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มคือ

  • กลุ่มตะวันออก ได้แก่ภาษาซอกเดีย ภาษาคาวาเรสเมีย ภาษาซากา และภาษาอเวสตะ
  • กลุ่มตะวันตก แบ่งเป็น
    • กลุ่มตะวันตกเฉียงใต้ ได้แก่ ภาษาเปอร์เซีย
    • กลุ่มตะวันตกเฉียงเหนือ ได้แก่ ภาษามีเดีย ภาษาพาร์เทีย และภาษาเคิร์ด

ภาษาอเวสตะเป็นภาษาที่ใช้เขียนคัมภีร์ในศาสนาโซโรอัสเตอร์ ภาษาเปอร์เซียโบราณมีระบบการเขียนเป็นอักษรรูปลิ่ม

ภาษากลุ่มอิหร่านยุคกลาง

ยุคกลางในอิหร่านเริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 143 - 1443 ภาษาในยุคนี้แบ่งเป็นกลุ่มตะวันตกและกลุ่มตะวันออกเช่นกัน เริ่มใช้ตัวเขียนที่มาจากอักษรอราเมอิก ภาษาเปอร์เซียกลางเป็นภาษาราชการของจักรวรรดิซัสซาเนียน เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 843 - 1543 ภาษาเปอร์เซียกลางและภาษาพาร์เทียเป็นภาษาในยุคมานิเชียนด้วย ซึ่งมีข้อความหลงเหลือในภาษานอกกลุ่มนี้เป็นจำนวนมากตั้งแต่ภาษาละตินถึงภาษาจีน

ภาษากลุ่มอิหร่านยุคใหม่

หลังจากที่จักรวรรดิเปอร์เซียหันไปนับถือศาสนาอิสลาม สำเนียงเก่าเช่นภาษาเปอร์เซียกลางถูกแทนที่ด้วยสำเนียงใหม่ เช่นสำเนียงดารีที่เป็นภาษาราชการ คำว่าดารีมาจาก darbar หมายถึงศาลหลวง ใช้เขียนบทกวีและวรรณคดีอย่างแพร่หลาย ราชวงศ์ซัฟฟาริดเป็นราชวงศ์ที่มีบทบาทในการพัฒนาภาษาใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. 1418 สำเนียงดารีเชื่อกันว่ามีอิทธิพลต่อสำเนียงทางตะวันออกของอิหร่านมาก ในขณะที่สำเนียงปะห์ลาวีที่เป็นสำเนียงมาตรฐานเดิมมีพื้นฐานมาจากสำเนียงทางตะวันตก สำเนียงใหม่ๆเหล่านี้เป็นต้นกำเนิดของสำเนียงมาตรฐานของภาษาเปอร์เซียในปัจจุบัน

นักวิชาการในยุคกลางของอิหร่านใช้คำว่า "ดารี" หมายถึงจังหวัดทางตะวันออกของโดราสถาน "ปะห์ลาวี" หมายถึงสำเนียงทางตะวันตกเฉียงเหนือระหว่างอัสฟาฮานกับอาเซอร์ไบจาน และ "ปาร์ซี" หมายถึงสำเนียงของฟาร์และยังมีสำเนียงที่ไม่เป็นทางการ เช่น สำเนียงคูซีซึ่งเกี่ยวข้องกับจังหวัดคูเซสถานทางตะวันตก

การเข้ามาของศาสนาอิสลามทำให้นำอักษรอาหรับมาใช้เขียนภาษาเปอร์เซีย ภาษาพาซตูและภาษาบาโลชิ โดยเพิ่มอักษรพิเศษบางตัว ในขณะที่ค่อยๆเลิกใช้อักษรเปอร์เซียกลางไป ภาษาทาจิกเป็นภาษาแรกที่เริ่มเขียนด้วยอักษรละตินเมื่อ พ.ศ. 2463 เมื่ออยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียตก่อนจะเปลี่ยนมาเขียนด้วยอักษรซีริลลิกในอีก 10 ปีต่อมา

บริเวณที่มีผู้พูดภาษากลุ่มอิหร่านล้อมรอบไปด้วยผุ้พูดภาษาอื่นๆหลายกลุ่ม ทางตะวันตกเป็นภาษาอาหรับ ส่วนภาษากลุ่มเตอร์กิกแพร่หลายในเอเชียกลางแทนที่ภาษากลุ่มอิหร่านที่เคยใช้ในบริเวณนั้น เช่น ภาษาซอกเดีย และภาษาแบกเทรีย โดยภาษาซอกเดียบางสำเนียงยังเหลืออยู่ในหุบเขาซาราฟสถาน และภาษาซากาในซินเจียงทางตอนใต้ รวมทั้งภาษาออสเซติกที่ยังเหลืออยู่ในเทือกเขาคอเคซัส มีผู้พูดภาษากลุ่มอิหร่านเล็กน้อยในเทือกเขาปาร์มี ผู้พูดภาษาเปอร์เซียในอาเซอร์ไบจานถูกแทนที่ด้วยภาษากลุ่มเตอร์กิกแล้วเช่นกัน

การจัดจำแนก

แผนผังการจัดจำแนกในตระกูลภาษาอินโด-ยุโรเปียน

ภาษากลุ่มอิหร่านแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือภาษากลุ่มอิหร่านตะวันออกและภาษากลุ่มอิหร่านตะวันตก มีทั้งหมดราว 84 ภาษา ภาษาที่มีผู้ใช้มากในปัจจุบันคือภาษาเคิร์ด ภาษาเปอร์เซีย และภาษาบาโลชิในกลุ่มตะวันตก และภาษาพาซตูในกลุ่มตะวันออก ในปัจจุบันมีการประดิษบ์ภาษากลุ่มอิหร่านขึ้นมาคือภาษาบาราเรยเป็นภาษาในนิยายและใกล้เคียงกับสำเนียงลูรี แต่ก็มีลักษณะของสำเนียงเกอร์มันซาฮานรวมอยู่ด้วย

ดูเพิ่ม

  • Schmitt, Rüdiger (ed.) (1989). Compendium Linguarum Iranicarum. Wiesbaden: Reichert. ISBN 3-88226-413-6. {{cite book}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Sims-Williams, Nicholas (1996). "Iranian languages". Encyclopedia Iranica. Vol. 7. Costa Mesa: Mazda. pp. 238–245.
  • Yarshater, Ehsan (ed.) (1996). "Iran". Encyclopedia Iranica. Vol. 7. Costa Mesa: Mazda. {{cite encyclopedia}}: |first= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  • Frye, Richard N. (1996). "Peoples of Iran". Encyclopedia Iranica. Vol. 7. Costa Mesa: Mazda.
  • Windfuhr, Gernot L. (1995). "Cases in Iranian languages and dialects". Encyclopedia Iranica. Vol. 5. Costa Mesa: Mazda. pp. 25–37.
  • Lazard, Gilbert (1996). "Dari". Encyclopedia Iranica. Vol. 7. Costa Mesa: Mazda.
  • Henning, Walter B. (1954). "The Ancient language of Azarbaijan". Transactions of the Philological Society. 53: 157. doi:10.1111/j.1467-968X.1954.tb00282.x.
  • Rezakhani, Khodadad (2001). "The Iranian Language Family".
  • SKJÆRVØ, Prods Oktor (2006). "Iran, vi. Iranian languages and scripts". Encyclopaedia Iranica. Vol. 13.

แหล่งข้อมูลอื่น