ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไวน์ร้อน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zince (คุย | ส่วนร่วม)
Zince (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 10: บรรทัด 10:


== ไวน์ร้อนในอังกฤษ ==
== ไวน์ร้อนในอังกฤษ ==
ไวน์ร้อนใน[[อังกฤษ]] ถูกบันทึกไว้ในคู่มือแม่บ้าน โดยนางบีตัน ซึ่งตีพิมพ์ในฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในปี [[ค.ศ. 1869]]<ref>Mrs Beeton's Book of Household Management at paragraph 1961 on page 929 to 930 of the revised edition dated 1869</ref> โดยบอกส่วนประกอบของไวน์ร้อนไว้ดังนี้

* [[ไวน์]] ซึ่งจะใช้ไวน์ประเภทใดก็ได้ แต่ไวน์ต่างชนิด จะต้องการปริมาณเครื่องปรุงที่แตกต่างกัน

* น้ำเปล่า
* น้ำตาล
* เครื่องเทศ
โดยต้มน้ำเปล่าจนเดือดแล้วใส่เครื่องเทศลงไปเพื่อให้กลิ่นและรสของเครื่องเทศออกมาผสมกับน้ำ จากนั้น จึงนำน้ำที่ได้ไปเติมน้ำตาล และไวน์ อุ่นให้ร้อน ทั้งนี้ในคู่มือแม่บ้านนี้ ไม่ได้ระบุส่วนผสมที่ชัดเจนของไวน์ร้อนไว้ หากแต่เพียงระบุว่า ปริมาณเครื่องเทศ และน้ำตาลที่ใส่นั้นขึ้นกับความชอบของแต่ละคน


== ไวน์ร้อนในสแกนดิเนเวีย ==
== ไวน์ร้อนในสแกนดิเนเวีย ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:51, 8 ธันวาคม 2552

ไวน์ร้อน (ภาษาอังกฤษ:Mulled Wine, ภาษาเยอรมัน:Glühwein) เป็นวิธีการปรุงไวน์ในอีกรูปแบบหนึ่ง ปัจจุบันเป็นที่นิยมดื่มในฤดูหนาว

ไวน์ เป็นเครื่องดื่มประเภทหนึ่งที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลก แต่เนื่องจากมีอายุในการจัดเก็บที่จำกัด หากเก็บรักษาไม่ดีจะไม่สามารถดื่มได้อีก การทำไวน์ร้อน เป็นอีกวิธีที่นำไวน์ที่เสื่อมคุณภาพให้กลับมาดื่มได้อีกครั้ง โดยทั่วไปแล้ว ไวน์ร้อน มักหมายถึง ไวน์ที่ถูกอุ่นโดยการต้ม แต่งรสด้วยน้ำตาล หรือน้ำผึ้ง และปรุงกลิ่นด้วยอบเชย


ไวน์ร้อนในเยอรมนี

ไวน์ร้อนในเยอรมนี หรือ Glühwein เป็นเครื่องดื่มที่นิยมดื่มในช่วงเทศกาลคริสตมาส เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทเดียวที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายและดื่มได้ในที่สาธารณะ ในประเทศเยอรมนี จึงเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมในช่วงการจัดตลาดคริสตมาส ไวน์ร้อน ในประเทศเยอรมนี โดยทั่วไปจะถูกแต่งรสด้วยน้ำตาล และปรุงกลิ่นด้วยอบเชย วานิลา หรือ กานพลู ตามความชอบ นอกจากนี้ยังมีบางส่วนผสมที่นำไวน์จากผลเชอร์รี่มาใช้แทนไวน์จากองุ่น แต่ไม่เป็นที่นิยมนัก

นอกจากการปรุงรสด้วยน้ำตาลแล้ว บางครั้ง ยังมีการนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่น อาทิ รัม (Rum) มาผสมด้วยเพื่อเพิ่มรสชาติ ความเข้มข้น และสร้าความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เนื่องจากโดยทั่วไป คนเยอรมันนิยมดื่มเครื่องดื่มนี้ในตลาดคริสตมาส ท่ามกลางอากาศหนาวนั่นเอง ไวน์ร้อนที่ผสมรัม มีชื่อเรียกเฉพาะว่า Feuerzangen Bowle ซึ่งมีความหมายว่า การถูกตีตราด้วยเหล็กร้อน ๆ เนื่องจากเมื่อดื่มเครื่องดื่มชนิดนี้เข้าไปแล้วจะรู้สึกร้อนขึ้นทันที

ไวน์ร้อนในอังกฤษ

ไวน์ร้อนในอังกฤษ ถูกบันทึกไว้ในคู่มือแม่บ้าน โดยนางบีตัน ซึ่งตีพิมพ์ในฉบับแก้ไขเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 1869[1] โดยบอกส่วนประกอบของไวน์ร้อนไว้ดังนี้

  • ไวน์ ซึ่งจะใช้ไวน์ประเภทใดก็ได้ แต่ไวน์ต่างชนิด จะต้องการปริมาณเครื่องปรุงที่แตกต่างกัน
  • น้ำเปล่า
  • น้ำตาล
  • เครื่องเทศ

โดยต้มน้ำเปล่าจนเดือดแล้วใส่เครื่องเทศลงไปเพื่อให้กลิ่นและรสของเครื่องเทศออกมาผสมกับน้ำ จากนั้น จึงนำน้ำที่ได้ไปเติมน้ำตาล และไวน์ อุ่นให้ร้อน ทั้งนี้ในคู่มือแม่บ้านนี้ ไม่ได้ระบุส่วนผสมที่ชัดเจนของไวน์ร้อนไว้ หากแต่เพียงระบุว่า ปริมาณเครื่องเทศ และน้ำตาลที่ใส่นั้นขึ้นกับความชอบของแต่ละคน

ไวน์ร้อนในสแกนดิเนเวีย

ไวน์ร้อน ในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย หรือมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Glögg ในประเทศสวีเดน และไอซ์แลนด์ Gløgg ในประเทศนอร์เวย์ และเดนมาร์ก หรือ Glögi ในประเทศฟินแลนด์ และเอสโตเนีย มีทั้งแบบที่เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มไม่ผสมแอลกอฮอล์ แต่กระนั้น ไวน์ร้อนแบบดั้งเดิม เป็นส่วนผสมของไวน์องุ่น กับน้ำตาลหรือน้ำเชื่อม และปรุงกลิ่นด้วยอบเชย วานิลา กระวาน กานพลู น้ำส้มบิทเทอร์ หรือขิง ตามความชอบ โดยการอุ่นไวน์ที่อุณหภูมิประมาณ 60 - 70 องศาเซลเซียส เพื่อป้องกันไม่ให้แอลกอฮอล์ระเหย ไวน์ร้อนนี้มักเสริฟคู่กับคุ้กกี้รสขิง และนิยมดื่มในช่วงเทศกาลคริสต์มาส

นอกจากนี้ ในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย ยังมีการดัดแปลงไวน์ร้อน ในรูปแบบอื่น เช่น การผสมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อื่น อาทิ วอดก้า วิสกี้ บรั่นดี เป็นต้น หรืออาจทำเป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์โดยการอุ่นน้ำผลไม้แทนไวน์ หรือการต้มไวน์จนเดือดเพื่อให้แอลกอฮอล์ระเหยไปจนหมดก็มี

ไวน์ร้อนในประเทศอื่น ๆ

  1. Mrs Beeton's Book of Household Management at paragraph 1961 on page 929 to 930 of the revised edition dated 1869