ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ScorpianPK (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 8: บรรทัด 8:
| ผู้สถาปนา =[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| ผู้สถาปนา =[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]
| ล้มเลิก =
| ล้มเลิก =
| ประเภท = สายสะพายมีดารา
| ประเภท = คล้องคอมีดารา
| สถานะ =
| สถานะ =
| ประธาน = พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
| ประธาน = พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:48, 6 ธันวาคม 2552

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า
ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
ประเภทคล้องคอมีดารา
วันสถาปนาฝ่ายหน้า : พ.ศ. 2416
ฝ่ายใน : พ.ศ. 2442
ประเทศไทย ประเทศไทย
จำนวนสำรับฝ่ายหน้า : 200 สำรับ
ฝ่ายใน : 100 สำรับ
ผู้สมควรได้รับพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการทั้งปวง (พระราชทานตามอัธยาศัย)
มอบเพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงอิสริยยศและระลึกถึงความดีความชอบของบุคคลซึ่งได้รักษาแผ่นดินมาแต่ก่อนถึงปัจจุบัน
ผู้สถาปนาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประธานพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย
ลำดับเกียรติ
สูงกว่าดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นปฐมดิเรกคุณาภรณ์
รองมารามาธิบดี ชั้นมหาโยธิน
หมายเหตุฝ่ายหน้า : มอบสืบตระกูลได้
ฝ่ายใน : มีคำนำหน้านาม

ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ มีอักษรย่อว่า ท.จ.ว. เป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานทั้งฝ่ายหน้า (บุรุษ) จำนวน 200 สำรับ และฝ่ายใน (สตรี) จำนวน 100 สำรับ โดยทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษจัดเป็นเครื่องราชอิสริยาภรณ์ที่มีลำดับเกียรติอันดับที่ 13 ของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย[1]

ลักษณะ

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สามารถแบ่งออกสำหรับพระราชทานให้ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน โดยมีลักษณะดังนี้[2]

ฝ่ายหน้า

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สำหรับฝ่ายหน้า 1 สำรับ ประกอบด้วย ดารา ดวงตรา และแพรแถบ

  • ดวงตรา
    • ด้านหน้า มีลักษณะเป็นรัศมี 8 แฉก ลงยาสีชมพู มีรัศมีทองแทรกตามระหว่างแฉก มีใบชัยพฤกษ์สองข้าง ลงยาสีเขียว กลางดวงตรามีพระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขอบลงยาสีขาบ มีอักษรทองว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ" เบื้องบนมี พระจุลมงกุฎเปล่งรัศมีลงยาสีเขียว สีแดง สีขาบ สีขาว
    • ด้านหลัง มีลักษณะเหมือนด้านหน้า แต่ที่กลางดวงตราเป็นรูปช้างไอราพต ลงยาสีขาว บนหลังช้างเป็นรูปตรีศูล ลงยาสีขาว ที่ขอบมีอักษรทองว่า "ปีระกา เบญจศก ศักราช ๑๒๓๕" รอบขอบเป็นรูปจักร ลงยาสีขาวพื้นแดง

ดวงตราใช้สำหรับประดับห้อยกับแพรแถบสีชมพู กว้าง 5 เซนติเมตร สำหรับสวมคอ

  • ดารา มีลักษณะเป็นรัศมีเงิน 8 แฉก กลางดารามีอักษรพระปรมาภิไธยย่อ "จ.จ.จ." ทำด้วยทองคำ อยู่บนพื้นลงยาสีชมพู ขอบลงยาสีขาบ มีอักษรทองว่า "เราจะบำรุงตระกูลวงศ์ให้เจริญ" ใช้สำหรับประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย

ฝ่ายใน

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สำหรับฝ่ายใน 1 สำรับ ประกอบด้วย

  • ดวงตรา มีลักษณะเหมือนเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 1 สำหรับพระราชทานใน แต่ไม่ประดับเพชร ห้อยกับสายสะพายสีชมพู ขนาดกว้าง 7.5 เซนติเมตร ใช้สะพายบ่าซ้ายเฉียงลงทางขวา หรือจะใช้ห้อยกับแพรแถบสีชมพูขนาดกว้าง 5 เซนติเมตร ผูกเป็นรูปแมลงปอ ประดับเสื้อที่หน้าบ่าซ้าย

คำนำหน้านาม

สตรีที่ได้รับพระราชานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ สามารถใช้คำนำหน้านามได้ คือ ใช้คำนำหน้านามว่า "ท่านผู้หญิง" สำหรับผู้ที่สมรสแล้ว หรือ "คุณ" สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้สมรส

สำหรับสตรีในราชสกุล ชั้นหม่อมเจ้าขึ้นไปให้ใช้คำนำพระนามตามเดิม ไม่ว่าจะได้รับพระราชทานชั้นใด ส่วนสตรีในราชสกุล ชั้นหม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง เมื่อได้รับพระราชทานทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ใช้คำนำนามว่า "ท่านผู้หญิง "[3]

การสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์

ดูบทความหลัก การสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษนั้น สามารถสืบตระกูลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้ โดยบุตรชายของผู้ได้รับพระราชทานนั้น จะได้รับสืบตระกูลเมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว และการสืบตระกูลจะสิ้นสุดลงเพียงชั้นนี้เท่านั้น[2]

อ้างอิง

  1. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ลำดับเกียรติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย, เล่ม ๑๑๐, ตอน ๒๙ง ฉบับพิเศษ, ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖, หน้า ๑
  2. 2.0 2.1 ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า พุทธศักราช ๒๔๘๔, เล่ม ๕๘, ตอน ๐ ก, ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๘๔, หน้า ๑๕๕๓
  3. เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า จาก สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

แหล่งข้อมูลอื่น