ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บันดาร์เซอรีเบอกาวัน"

พิกัด: 4°55′00″N 114°55′00″E / 4.9167°N 114.9167°E / 4.9167; 114.9167
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: af:Bandar Seri Begawan
MelancholieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: yo:Bandar Seri Begawan
บรรทัด 93: บรรทัด 93:
[[vo:Bandar Seri Begawan]]
[[vo:Bandar Seri Begawan]]
[[war:Bandar Seri Begawan]]
[[war:Bandar Seri Begawan]]
[[yo:Bandar Seri Begawan]]
[[zh:斯里巴加湾市]]
[[zh:斯里巴加湾市]]
[[zh-min-nan:Bandar Seri Begawan]]
[[zh-min-nan:Bandar Seri Begawan]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 02:25, 29 พฤศจิกายน 2552

มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน

บันดาร์เสรีเบกาวัน (ภาษาอังกฤษ : Bandar Seri Begawan) เป็นเมืองหลวงและเมืองท่าที่สำคัญของประเทศบรูไนอยู่ในเขตการปกครองบรูไน-เมารา มีประชากรประมาณ 60,000 คน เดิมชื่อว่า เมืองบรูไน ภายหลังเมื่อบรูไนพ้นจากการคุ้มครองของอังกฤษแล้ว จึงเปลี่ยนชื่อมาเป็นบันดาร์เสรีเบกาวัน

ปัจจุบันกรุงบันดาเสรีเบกาวันเป็นศูนย์กลางการเงินธุรกิจการค้า และการอุตสาหกรรมของประเทศ ทั้งยังเป็นสถานที่ผลิตน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติด้วย เมืองหลวงของบรูไนเป็นที่ตั้งสถานที่สำคัญของประเทศ เช่น พระราชวังหลวง ศูนย์ประวัติศาสตร์บรูไนพิพิธภัณฑ์บรูไน สุเหร่าที่ใหญ่ที่สุดในซีกโลกตะวันออกคือ มัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน และ กัมปงเอเยอร์ หมู่บ้านดั้งเดิมของชาวบรูไนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำบรูไน

กรุงบันดาร์เสรีเบกาวันเป็นเมืองเดียวของบรูไนที่เรียกว่าเมืองได้เต็มปาก บันดาร์เสรีเบกาวันเป็นเมืองสวยสะอาด ถนนในเมืองกว้างขวางและมีตึกรามบ้านเรือนทันสมัย มีสุเหร่าขนาดใหญ่อยู่กลางเมือง คือมัสยิดโอมาร์ อาลี ไซฟัดดิน ในบริเวณสุเหร่ามีสระขุดขนาดใหญ่ประดับสถานที่ให้ดูเด่นสง่างาม ภายในสุเหร่าปูพื้นด้วยหินอ่อนจากอิตาลี และปูพรมสั่งทอพิเศษผืนใหญ่มหึมา นับว่าเป็นศูนย์รวมชาวมุสลิมในบรูไนและเป็นสถานที่ที่สำคัญที่สุดของศาสนาอิสลามในบรูไน

นอกจากมัสยิดโอมาร์ อาลี ไชฟัดดินแล้ว กรุงบันดาร์เสรีเบกาวันยังเป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ที่น่าสนใจหลายแห่งของบรูไน อาทิ พิพิธภัณฑ์บรูไน กับพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีมาเลย์ ซึ่งแสดงสถาปัตยกรรมการก่อสร้างบ้านในแม่น้ำอย่างที่กัมปงเอเยอร์ นอกจากนี้ยังมีพระราชวังหลวงที่ใหญ่โตโอ่อ่าและสวยงามมากคือ พระราชวังหลวง อิสตานา นูรัล อีมาน ซึ่งจะเปิดให้เข้าชมหลังจากเดือนรอมฎอน หรือหลังพิธีถือศีลอด

ส่วนแรกของชื่อ Bandar มาจากภาษาเปอร์เซีย بندر แปลว่า "ท่าเรือ" หรือ"ที่หลบภัย" ส่วนที่สองของชื่อคือ Seri Begawan มาจากคำว่า "ศรีภควัน" (Sri Bhagwan) ในภาษาสันสกฤตหมายถึง ผู้ศักดิ์สิทธิ์


แหล่งข้อมูลอื่น

4°55′00″N 114°55′00″E / 4.9167°N 114.9167°E / 4.9167; 114.9167