ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กรุงเทพมหานคร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
HerculeBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ace:Bangkok
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: la:Bancocum
บรรทัด 393: บรรทัด 393:
[[ku:Bangkok]]
[[ku:Bangkok]]
[[kw:Bangkok]]
[[kw:Bangkok]]
[[la:Krung Thep]]
[[la:Bancocum]]
[[lb:Bangkok]]
[[lb:Bangkok]]
[[lmo:Bangkok]]
[[lmo:Bangkok]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:34, 20 พฤศจิกายน 2552

จังหวัดกรุงเทพมหานคร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันChangwat Bangkok
คำขวัญ: 
ทั้งชีวิต เราดูแล[1]

ข้อผิดพลาด: ต้องระบุภาพในบรรทัดแรก

แผนที่ประเทศไทย จังหวัดกรุงเทพมหานครเน้นสีแดง
ประเทศ ไทย
การปกครอง
 • ผู้ว่าราชการ หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
พื้นที่
 • ทั้งหมด1,568.737 ตร.กม.[2] ตร.กม. (Formatting error: invalid input when rounding ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่อันดับที่ 68
ประชากร
 (พ.ศ. 2551)
 • ทั้งหมด9,712,883 คน[3] คน
 • อันดับอันดับที่ 1
 • อันดับความหนาแน่นอันดับที่ 1
รหัส ISO 3166TH-10
ชื่อไทยอื่น ๆบางกอก
สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
 • ต้นไม้ไทรย้อยใบแหลม
ศาลากลางจังหวัด
 • โทรศัพท์0 2221 2141-69
เว็บไซต์http://city.bangkok.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

กรุงเทพมหานคร เป็นเมืองหลวง และเป็นเมืองที่มีประชากรมากที่สุดในประเทศไทย[3] รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการปกครอง การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การเงินการธนาคาร การพาณิชย์ การสื่อสาร และความเจริญก้าวหน้าด้านอื่น ๆ ของประเทศไทย นอกจากนี้ยังเป็นเมืองที่มีชื่อยาวที่สุดในโลกอีกด้วย มีแม่น้ำสำคัญคือ แม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน ทำให้แบ่งเมืองออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งพระนครและฝั่งธนบุรี (เดิมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเป็นที่ตั้งของกรุงธนบุรี ซึ่งต่อมาภายหลังได้รวมเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร) โดยกรุงเทพมหานครมีพื้นที่ทั้งหมด 1,568.737 ตารางกิโลเมตร พิกัดทางภูมิศาสตร์คือ ละติจูด 13° 45’ เหนือ ลองจิจูด 100° 31’ ตะวันออก[4]

กรุงเทพมหานครเป็นเขตปกครองพิเศษของประเทศไทย โดยมิได้มีสถานะเป็นจังหวัด ซึ่งคำว่า กรุงเทพมหานคร นั้น ยังใช้เป็นคำเรียกสำนักงานปกครองส่วนท้องถิ่นของกรุงเทพมหานครอีกด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครใช้วิธีการเลือกตั้งผู้บริหารแบบ การเลือกตั้งผู้บริหารท้องถิ่นโดยตรง

ชื่อเมือง

คำว่า กรุงเทพมหานคร แปลว่า "เมืองแห่งเทวดา" มาจากชื่อเต็มว่า กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทรายุธยา มหาดิลกภพ นพรัตนราชธานีบูรีรมย์ อุดมราชนิเวศน์มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์[5] มีความหมายว่า "เมืองของเทวดา มหานครอันเป็นอมตะ สง่างามด้วยแก้ว 9 ประการ และเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน เมืองที่มีพระราชวังหลายแห่ง ดุจเป็นวิมานของเทวดา ซึ่งมีพระวิษณุกรรมสร้างขึ้นตามบัญชาของพระอินทร์"[5] โดยนามเดิมที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ พระราชทานในตอนแรกนั้น ใช้สร้อยว่า บวรรัตนโกสินทร์ จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนเป็น อมรรัตนโกสินทร์ ต่อมามักเรียกกันว่า กรุงรัตนโกสินทร์

ชื่อทางการของกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krung Thep Maha Nakhon แต่คนทั่วไปนิยมทับศัพท์ตามชื่อที่ผู้พูดภาษาอังกฤษเรียกเมืองนี้ว่า Bangkok ซึ่งมาจากชื่อเดิมของกรุงเทพมหานคร คือ บางกอก

ชื่อเต็มของกรุงเทพมหานครเมื่อถอดเป็นอักษรโรมัน คือ Krungthepmahanakhon Amonrattanakosin Mahintharayutthaya Mahadilokphop Noppharatratchathaniburirom Udomratchaniwetmahasathan Amonphimanawatansathit Sakkathattiyawitsanukamprasit[5] ซึ่งเป็นชื่อสถานที่ที่ยาวที่สุดในโลกและได้จดบันทึกไว้ในกินเนสบุ๊ค[6] (169 ตัวอักษร) ยาวกว่าชื่อภูเขา Taumatawhakatangihangakoauauotamateaturipukakapikimaungahoronukupokaiwhenuaki
tanatahu
(85 ตัวอักษร) ในนิวซีแลนด์ และชื่อทะเลสาบ Chargoggagogg­manchauggagogg­chaubunagungamaugg (45 ตัวอักษร) ในรัฐแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา

ประวัติ

กรุงเทพมหานครริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา

พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองธนบุรีศรีสมุทร ชาวต่างชาติเรียกกันว่า "บางกอก" มาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา[7] มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเส้นทางออกสู่ทะเลและติดต่อค้าขายกับอาณาจักรต่าง ๆ เป็นเมืองหน้าด่านขนอน คอยดูแลเก็บภาษีกับเรือสินค้าทุกลำที่ผ่านเข้าออก ส่วนบริเวณปากน้ำตรงอ่าวไทย เรียกกันว่า "นิวอัมสเตอร์ดัม" มีชุมชนใหญ่และโกดังของชาวต่างประเทศไว้สำหรับพักสินค้า ปัจจุบันคือพื้นที่บริเวณอำเภอพระประแดง[7]

ที่มาของคำว่า "บางกอก" นั้น มีข้อสันนิษฐานว่าอาจมาจากการที่แม่น้ำเจ้าพระยาคดเคี้ยวไปมา บางแห่งมีสภาพเป็นเกาะเป็นโคก จึงเรียกกันว่า "บางเกาะ" หรือ "บางโคก" หรือไม่ก็เป็นเพราะบริเวณนี้มีต้นมะกอกอยู่มาก จึงเรียกว่า "บางมะกอก" โดยคำว่า "บางมะกอก" มาจากวัดอรุณ ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัดดังกล่าว และต่อมาต่อมากร่อนคำลงจึงเหลือแต่คำว่าบางกอก[7][8]

ต่อมาเมื่อถึงคราวเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 หลังการกอบกู้อิสรภาพจากพม่า สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงสถาปนาเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทรให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ คือ กรุงธนบุรี เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2313[7] แต่กรุงธนบุรีมีสภาพเป็นเมืองอกแตก ตรงกลางมีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่าน เป็นเหตุให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ทองด้วง) มีความคิดจะย้ายเมืองไปทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา เพื่อให้การป้องกันรักษาเมืองเป็นไปได้โดยง่าย[7]

ทิวทัศน์ยามค่ำคืนของกรุงเทพมหานคร

เมื่อสิ้นรัชกาลสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์ ทรงพระนามว่าพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี มีพระราชดำริว่า ฟากตะวันออกของกรุงธนบุรีมีชัยภูมิดีกว่าตะวันตก เพราะมีลำน้ำเป็นขอบเขตอยู่กว่าครึ่ง หากข้าศึกยกมาติดถึงชานพระนคร ก็จะต่อสู้ป้องกันได้ง่ายกว่าอยู่ข้างตะวันตก จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาให้เป็นราชธานีแห่งใหม่ โดยสืบทอดศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมจากพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา[7]

พระองค์มีพระบรมราชโองการให้พระยาธรรมาธิกรณ์กับพระยาวิจิตรนาวี เป็นแม่กองคุมช่างและไพร่ไปวัดกะที่ดินเพื่อสร้างพระนครใหม่ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2325 ทรงประกอบพิธียกเสาหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่งแล้ว 54 นาที ปีขาล จ.ศ. 1144 จัตวาศก ตรงกับวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2325 เวลา 6.54 น.[7] และทรงประกอบพระราชพิธีปราบดาภิเษกในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325[7]

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนชื่อพระนครจาก บวรรัตนโกสินทร์ เป็น อมรรัตนโกสินทร์ และมีฐานะในการปกครองส่วนท้องถิ่นเป็น "จังหวัดพระนคร"[ต้องการอ้างอิง]

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ตัดถนนใหม่ขึ้น และเปลี่ยนรูปแบบผังเมืองกรุงเทพมหานครเฉกเช่นอารยประเทศ เนื่องจากในสมัยนั้นสยามประเทศถูกคุกคามจากมหาอำนาจยุโรป และตรงจุดนี้เป็นหนึ่งในข้ออ้างที่มหาอำนาจนำมาใช้เพื่อแทรกแซงและคุกคามสยามประเทศ ภายหลัง ต่างชาติยุโรปเองได้ยอมรับกรุงเทพมหานครว่า เป็นหนึ่งในเมืองที่มีผังเมืองงดงามที่สุดในโลกในสมัยนั้น[9]

ต่อมาเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรได้รวม จังหวัดพระนคร และ จังหวัดธนบุรี เข้าด้วยกันเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรี[10] และภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 จึงได้เปลี่ยนเป็นชื่อเป็น กรุงเทพมหานคร แต่นิยมเรียกกันว่า กรุงเทพ[11]

การปกครอง

ไฟล์:Seal Pharnakhon.png
ตราประจำจังหวัดพระนคร

กรุงเทพมหานครมีลักษณะเป็นเขตการปกครองพิเศษ ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 กำหนดให้กรุงเทพมหานครเป็นทบวงการเมือง มีฐานะเป็นราชการบริหารส่วนท้องถิ่นนครหลวง มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาจากการเลือกตั้ง และเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน อยู่ในตำแหน่งตามวาระคราวละ 4 ปี นับแต่วันเลือกตั้ง และมีการแต่งตั้งปลัดกรุงเทพมหานครร่วมบริหารงาน การดำเนินงานมีสภากรุงเทพมหานครที่ได้รับเลือกตั้งโดยตรงทำงานร่วมด้วย

ผู้ว่าราชการกรุงเทพคนปัจจุบัน คือ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร และปลัดกรุงเทพมหานครคนปัจจุบันคือ นายพงศักติฐ์ เสมสันต์

การปกครองในกรุงเทพมหานครแบ่งออกเป็น 50 เขตการปกครอง

อาณาเขตติดต่อ

กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดต่อทางบกกับจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ส่วนอาณาเขตทางทะเล อ่าวไทยตอนใน ติดต่อจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดดังนี้

ภูมิอากาศ

แผนภาพและตารางแสดงสถิติเกี่ยวกับภูมิอากาศในกรุงเทพมหานคร[12]

แผนภูมิแสดงสภาพภูมิอากาศของ
กรุงเทพมหานคร (วิธีอ่าน)
ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ก.ค. ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค.
 
 
9.1
 
32
21
 
 
29.9
 
33
23
 
 
28.6
 
34
25
 
 
64.7
 
35
26
 
 
220.4
 
34
26
 
 
149.3
 
33
25
 
 
153.5
 
33
25
 
 
196.7
 
33
25
 
 
344.2
 
32
25
 
 
241.6
 
32
24
 
 
48.1
 
32
23
 
 
9.7
 
31
21
อุณหภูมิ วัดเป็นองศาเซลเซียส
ปริมาณหยาดน้ำฟ้า วัดเป็นมิลลิเมตร
ที่มา: อุณหภูมิและปริมาณฝนกรุงเทพมหานครค่าเฉลี่ย30ปี
ตารางแสดงค่าสถิติเกี่ยวกับภูมิอากาศในกรุงเทพมหานคร
ม.ค ก.พ มี.ค เม.ย พ.ค มิ.ย ก.ค ส.ค ก.ย ต.ค พ.ย ธ.ค
ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิสูงสุด (°C) 32.0 32.7 33.7 34.9 34.0 33.1 32.7 32.5 32.2 32.0 31.6 31.3
ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิต่ำสุด (°C) 21.0 23.3 24.9 26.1 25.6 25.4 25.0 24.9 24.6 24.3 23.1 20.8
ค่าเฉลี่ยปริมาณฝน 9.1 29.9 28.6 64.7 220.4 149.3 153.5 196.7 344.2 241.6 48.1 9.7
ค่าเฉลี่ยของวันที่ฝนตก 1 3 3 6 16 16 18 20 21 17 6 1

สถานที่ท่องเที่ยวและพักผ่อน

ไฟล์:Watphra.jpg
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

กรุงเทพมหานครเป็นจุดท่องเที่ยวจุดหนึ่ง โดยสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ พระบรมมหาราชวัง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) พระที่นั่งอนันตสมาคม ตึกใบหยก 2 (ตึกระฟ้าสูงอันดับที่ 44 ของโลก[13]) นอกจากนี้แหล่งช้อปปิ้งต่าง ๆ ได้แก่ สยามพารากอน ตลาดนัดจตุจักร มาบุญครอง เซ็นทรัลเวิลด์ สยามสแควร์ ศูนย์การค้าริเวอร์ซิตี้ เยาวราช และแหล่งร้านอาหารและเครื่องดื่ม ได้แก่ ถนนข้าวสาร พิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ในกรุงเทพมหานคร ได้แก่ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ นอกจากนี้ในกรุงเทพมหานครยังมีพื้นที่สีเขียวมากมาย สำหรับพักผ่อนหย่อนใจรวมทั้งใช้ออกกำลังกายและพบปะสังสรรค์ ซึ่งได้แก่ สวนหลวง ร.9 อุทยานเบญจสิริ สวนลุมพินี สวนจตุจักร เป็นต้น

ในช่วงวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บริเวณถนนราชดำเนินและอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจะมีการจัดแต่งประดับไฟเพื่อเฉลิมฉลองอย่างสวยงาม นอกจากนี้ เนื่องจากกรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางทางความเจริญทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การค้า การลงทุน และการปกครองในทุก ๆ ด้านของประเทศ จึงส่งผลให้กรุงเทพมหานครเป็นเมืองที่มีตึกระฟ้ามากที่สุดเป็นอันดับ 5 ของโลกอีกด้วย

กรุงเทพมหานครได้รับเลือกให้เป็นเมืองที่น่าท่องเที่ยวอันดับหนึ่งในโลกประจำปี 2551 ซึ่งจัดอันดับโดยนิตยสารทราเวลแอนด์เลเชอร์[14]

การคมนาคม

เดิมทีกรุงเทพมหานครใช้การสัญจรทางน้ำเป็นหลัก โดยมีคลองมากจนได้ฉายาว่า เวนิสตะวันออก แต่ปัจจุบันบางแห่งได้มีการถมคลองเพื่อที่อยู่อาศัย การคมนาคมจึงเน้นหนักไปทางบกแทน

กรุงเทพมหานครได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่การจราจรติดขัดเป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ได้มีการแก้ไขปัญหาการจราจรมากมาย เช่น การสร้างทางด่วน หรือ รถไฟฟ้า ขึ้น

การคมนาคมในกรุงเทพมหานคร นั่นสามารถทำได้หลายทาง เช่น การนั่งรถโดยสารประจำทาง (รถเมล์) แท็กซี่ รถจักรยานยนต์รับจ้าง

รถโดยสารประจำทาง จะมีหลายสายเพื่อเป็นการบริการประชาชน ให้บริการในราคาย่อมเยา สำหรับรถโดยสารประจำทางจะเริ่มต้นที่ 7 บาท สำหรับรถพัดลมของขสมก. และ 11 บาทสำหรับรถปรับอากาศ และ 12 บาทสำหรับรถโดยสารปรับอากาศแบบยูโร 2

นับตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2551 เป็นต้นมา ได้มีการปรับอัตราค่าโดยสารแท๊กซี่ขึ้น โดยอัตราค่าโดยสารที่ใช้กันอยู่ คือ

กิโลเมตรที่ ค่าโดยสาร
0-1 35 บาท
1-12 5 บาท/กิโลเมตร
12-20 5.50 บาท/กิโลเมตร
20-40 6 บาท/กิโลเมตร
40-60 6.50 บาท/กิโลเมตร
60-80 7.50 บาท/กิโลเมตร
80 ขึ้นไป 8.50 บาท/กิโลเมตร
การจราจรในกรุงเทพมหานคร

ทางรถยนต์

กรุงเทพมหานครเป็นจุดเริ่มต้นของถนนหลักของประเทศไทย ได้แก่

ทางรถไฟ

การเดินทางด้วยรถไฟสามารถทำได้ โดยมีสถานีรถไฟต้นทางสามแห่งคือ

ในอนาคต การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งร่วมกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) มีแผนที่จะปรับปรุงสถานีรถไฟชุมทางบางซื่อให้เป็นสถานีหลักเพียงแห่งเดียวของกรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ จะมีการเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟทางไกลทั้งสามส่วนเข้าด้วยกันภายใต้โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดงเข้ม รังสิต-มหาชัย และสายสีแดงอ่อน ตลิ่งชัน-สุวรรณภูมิ)

รถไฟฟ้าบีทีเอสบริเวณแยกศาลาแดง

ทางรถไฟฟ้า

เมื่อปี พ.ศ. 2542 โครงการรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS - ย่อมาจาก Bangkok Transit System) ได้เปิดใช้งาน ซึ่งเป็นรถไฟระบบรางคู่ที่สร้างบนทางยกระดับ เป็นรางมาตรฐาน 1.435 เมตร

ทางรถไฟฟ้าที่ดำเนินการในปัจจุบันมีดังนี้

ทางเข้าสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินห้วยขวาง

ทางรถไฟใต้ดิน

รถไฟใต้ดินได้เปิดบริการเมื่อปีพ.ศ. 2547 ในชื่อโครงการรถไฟฟ้ามหานคร เป็นรางมาตรฐาน 1.435 เมตร

ทางรถโดยสารประจำทาง (ต่างจังหวัด)

รถโดยสารประจำทางหรือรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ สำหรับเดินทางไปจังหวัดต่างๆ ในประเทศไทย โดยมีสถานีหลักอยู่ที่

ทางรถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ

รถโดยสารประจำทางด่วนพิเศษ คือระบบขนส่งมวลชนใหม่ของกรุงเทพมหานคร มีลักษณะคล้ายกับรถประจำทาง แต่การเดินของรถนั้นแยกออกจากถนนปกติ สายที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบันคือ สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ ระยะทาง 16.5 กิโลเมตร โดยจะสามารถเปิดทดลองวิ่งได้ในวันที่ 12 สิงหาคมนี้ และจะให้บริการฟรีเป็นเวลา 6 เดือน [17]

ทางอากาศ

การเดินทางทางอากาศ ในอดีตได้ใช้สนามบินดอนเมือง (ท่าอากาศยานกรุงเทพ) ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ต่อมาได้มีการก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อยู่ในพื้นที่ของจังหวัดสมุทรปราการ) ซึ่งได้เปิดใช้มาตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2549 เวลา 03.00 น

ในปัจจุบัน ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมืองเป็นท่าอากาศยานสำหรับรองรับเที่ยวบินภายในประเทศ และมีท่าอากาศยานสุวรรณภูมิสำหรับเที่ยวบินต่างประเทศและเที่ยวบินในประเทศบางส่วน

ทางน้ำ

เรือโดยสารทั้งทางแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองมีดังนี้

ปัญหาในปัจจุบัน

การจราจรติดขัด

ถือเป็นปัญหาหลักของกรุงเทพมหานคร รัฐบาลที่ผ่านมาหลายสมัยมีความพยายามที่จะแก้ปัญหานี้ มีโครงการต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นโครงการทางด่วนยกระดับ การก่อสร้างสะพานและอุโมงค์ข้ามแยก การก่อสร้างรถไฟฟ้าและรถไฟใต้ดิน รวมถึงการตัดถนนเพิ่ม แต่ก็ยังคงไม่สามารถแก้ปัญหาการจราจรให้ลดลงได้มากนัก เนื่องจากจำนวนรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นทุกปีอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเวลาเร่งด่วน (06.00-09.00 น. และ 16:00-19:00 น.) โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเช้าวันจันทร์และเย็นวันศุกร์

นอกเหนือไปจากสาเหตุขั้นต้นแล้ว การที่ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ขาดสำนึกและวินัยจราจร รวมถึงการไม่เข้มงวดกวดขันให้ผู้ขับขี่ปฏิบัติตามกฎจราจร ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัด การจอดรถหรือหยุดรถในเขตห้ามจอดของทั้งรถส่วนบุคคลและรถสาธารณะ การเปลี่ยนช่องจราจรอย่างกระทันหันซึ่งมักจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ สะท้อนให้เห็นถึงการขาดมารยาทและวินัยในการใช้รถใช้ถนน

สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์

การละเมิดลิขสิทธิ์ถือเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่ง สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์สามารถพบเห็นได้โดยทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร ไม่ว่าจะเป็น ซีดีเพลง (โดยมากเป็นแบบซีดีรวมไฟล์เพลงเอ็มพีสาม) วีซีดีและดีวีดีภาพยนตร์ ทั้งภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ รวมไปถึง ซอฟต์แวร์ เกม และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ โดยสถานที่ที่มีปัญหาเรื่องการจำหน่ายสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มาก ได้แก่ พันธุ์ทิพย์พลาซ่า, คลองถม, ตะวันนา เป็นต้น[18] ซึ่งสามารถพบเห็นและหาซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ได้โดยง่าย สะท้อนให้เห็นถึงการไม่เอาจริงเอาจัง ในการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์ และการที่ผู้ซื้อไม่เห็นความสำคัญของการละเมิดลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญา

มหาวิทยาลัยในกรุงเทพมหานคร

กรุงเทพมหานครเป็นศูนย์กลางการศึกษาของประเทศ มีสถาบันอุดมศึกษาตั้งอยู่เป็นจำนวนมาก ได้แก่

นอกจากนี้ยังมีสถาบันอุดมศึกษาในต่างจังหวัดที่เข้ามาตั้งศูนย์วิทยบริการและศูนย์การศึกษาในกรุงเทพมหานครอีกหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยบูรพา มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นต้น

ส่วนข้อมูลโรงเรียนโปรดดูที่ รายชื่อโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร

เมืองพี่น้อง

กรุงเทพมหานครได้สถาปนาความสัมพันธ์ เมืองพี่น้อง กับหลายเมืองในหลายประเทศ[19] ได้แก่

อ้างอิง

  1. เป็นคำขวัญในปี 2552
  2. สมุดสถิติรายปีประเทศไทย พ.ศ. 2550 (ฉบับพิเศษ) - สำนักงานสถิติแห่งชาติ
  3. 3.0 3.1 กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานคร และจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat51.html 2552. สืบค้น 30 มกราคม 2552.
  4. NGA GEOnet Names Server (อังกฤษ)
  5. 5.0 5.1 5.2 จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ 3 ฉบับที่ 31, ธันวาคม 2536
  6. Bangkok Post, "Maori claims world's longest place name", 1 September 2006.
  7. 7.0 7.1 7.2 7.3 7.4 7.5 7.6 7.7 พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. กรุงเทพศึกษา. กรุงเทพฯ : บันทึกสยาม, 2551. 288 หน้า. ISBN 978-974-13-0411-0 อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "bkkstudy" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  8. รายการวิกสยาม ออกอากาศวันที่ 17 สิงหาคม 2551
  9. รายการ 100 ปี ไกลบ้าน ตามรอยพระพุทธเจ้าหลวง และ รายการพินิจนคร, สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส
  10. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๒๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (ภาษาThai). ๘๘ (๑๔๔ ก): ๘๑๖-๘๑๙. ๒๑ ธันวาคม ๒๕๑๔.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  11. "ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ ๑๖๘" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา (ภาษาThai). ๘๙ (๙๓ ก ฉบับพิเศษ): ๑๘๗-๒๐๑. ๑๗ มิถุนายน ๒๕๑๕.{{cite journal}}: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)
  12. อุณหภูมิและปริมาณฝนกรุงเทพมหานครค่าเฉลี่ย30ปี
  13. About.com:Architecture, "World's Tallest Buildings", 2007
  14. 2008 World's Best Cities
  15. เปิดทำการเดินรถ 1 พฤศจิกายน 2550
  16. เปิดทำการเดินรถ 15 พฤศจิกายน 2550
  17. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?id=24115&catid=27 กทม.เล็งซื้อคืน'บีทีเอส' ตามความต้องการนายกฯ
  18. ไทยรัฐ, เจ้าข้าเอ๊ย! รัฐจะลุยละเมิดลิขสิทธิ์, 18 พฤศจิกายน 2551 เรียกดูเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2552
  19. การสถาปนาความสัมพันธ์ บ้านพี่เมืองน้อง, กรุงเทพมหานคร, เรียกดูเมื่อ 16 เมษายน พ.ศ. 2550
  20. "Bangkok er ny vennskapsby". Adresseavisen. Retrieved on 29 May 2009.
  21. >Istanbul and Bangkok Become Sister Cities
  22. [1]. Retrieved on 14 November 2009.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°45′00″N 100°31′01″E / 13.75°N 100.517°E / 13.75; 100.517