ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กำแพงเบอร์ลิน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Zince (คุย | ส่วนร่วม)
Zince (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Berlinermauer.jpg|thumb|250px|กำแพงเบอร์ลิน ภาพถ่ายจากฝั่งเบอร์ลินตะวันตก เมื่อปี [[พ.ศ. 2529]]]]
[[ไฟล์:Berlinermauer.jpg|thumb|250px|กำแพงเบอร์ลิน ภาพถ่ายจากฝั่งเบอร์ลินตะวันตก เมื่อปี [[พ.ศ. 2529]]]]
'''กำแพงเบอร์ลิน''' ({{lang-de|Berliner Mauer}}) เป็นกำแพงที่กั้น[[เบอร์ลินตะวันตก]] ออกจาก[[ประเทศเยอรมนีตะวันออก|เยอรมนีตะวันออก]]โดยรอบ เริ่มสร้างเพื่อจำกัดการเข้าออกระหว่างเขตเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก เมื่อวันที่ [[13 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2504]] (ค.ศ. 1961) และตั้งอยู่เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนจะทลายลงในวันที่ [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2532]] <!-- 'ทลาย' ในทางสัญลักษณ์ ตัวกำแพงจริง ๆ เริ่มถูกทำลายเมื่อ 13 มิ.ย. 2533 ดูด้านล่าง --> กำแพงเบอร์ลินถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของ[[สงครามเย็น]]ในทวีปยุโรป
'''กำแพงเบอร์ลิน''' ({{lang-de|Berliner Mauer}}) เป็นกำแพงที่สร้างขึ้นช่วงหลังเยอรมันพ่ายสงครามโลกครั้งที่สอง และถูกแบ่งเป็นสองประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นพรมแดน[[เบอร์ลินตะวันตก]]ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[เยอรมันตะวันตก]] ออกจาก[[ประเทศเยอรมนีตะวันออก|เยอรมนีตะวันออก]]ที่โอบล้อมอยู่โดยรอบ มีความยาวทั้งสิ้น 1,387 กิโลเมตร เริ่มสร้างเมื่อวันที่ [[13 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2504]] (ค.ศ. 1961) และได้ทำหน้าที่ในการปิดกั้นพรมแดนนี้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนจะทลายลงในวันที่ [[9 พฤศจิกายน]] [[พ.ศ. 2532]]

ในเยอรมันตะวันออก กำแพงเบอร์ลิน คือ แนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว มันคือ สัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หรือที่เรียกกันว่า [[สงครามเย็น]] นั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือน หน้าต่างสู่เสรีภาพ

นับตั้งแต่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน การข้ามผ่านแดนจากเยอรมันตะว้นออก ไปยังเยอรมันตะวันตก กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนและถูกพบเห็น มีโทษสถานเดียว คือ การยิงทิ้ง ณ บริเวณกำแพงนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 28 ปี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตที่กำแพงเบอร์ลินขณะหลบหนีระหว่าง 136 ถึง 206 คน<ref>เป็นการศึกษาในปี ค.ศ. 1990 จาก [[Berliner Illustrirte Zeitung]] vom 3. Oktober 1990 (Sonderausgabe), S. 113</ref>



== ก่อนกำแพงก่อตัว ==
== ก่อนกำแพงก่อตัว ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:37, 11 พฤศจิกายน 2552

กำแพงเบอร์ลิน ภาพถ่ายจากฝั่งเบอร์ลินตะวันตก เมื่อปี พ.ศ. 2529

กำแพงเบอร์ลิน (เยอรมัน: Berliner Mauer) เป็นกำแพงที่สร้างขึ้นช่วงหลังเยอรมันพ่ายสงครามโลกครั้งที่สอง และถูกแบ่งเป็นสองประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นพรมแดนเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมันตะวันตก ออกจากเยอรมนีตะวันออกที่โอบล้อมอยู่โดยรอบ มีความยาวทั้งสิ้น 1,387 กิโลเมตร เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และได้ทำหน้าที่ในการปิดกั้นพรมแดนนี้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนจะทลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532

ในเยอรมันตะวันออก กำแพงเบอร์ลิน คือ แนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว มันคือ สัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หรือที่เรียกกันว่า สงครามเย็น นั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือน หน้าต่างสู่เสรีภาพ

นับตั้งแต่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน การข้ามผ่านแดนจากเยอรมันตะว้นออก ไปยังเยอรมันตะวันตก กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนและถูกพบเห็น มีโทษสถานเดียว คือ การยิงทิ้ง ณ บริเวณกำแพงนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 28 ปี คาดว่ามีผู้เสียชีวิตที่กำแพงเบอร์ลินขณะหลบหนีระหว่าง 136 ถึง 206 คน[1]


ก่อนกำแพงก่อตัว

แผนที่แนวกำแพงและด่านตรวจ พื้นที่สีขาวคือเบอร์ลินตะวันตก สีชมพูที่เหลือทั้งหมดคือเยอรมนีตะวันออก
แผนที่การปกครองเยอรมนีในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง

ในปี ค.ศ. 1945 ภายหลังกองทัพนาซีเยอรมัน ภายใต้การนำของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้พ่ายในสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพสัมพันธมิตรได้เข้ายึดครองประเทศเยอรมัน และต่อมา 4 ประเทศมหาอำนาจที่เป็นแกนนำในสงครามครั้งนั้น ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ ฝรั่งเศส และสหภาพโซเวียต ได้ทำสนธิสัญญาในการแบ่งการดูแลประเทศเยอรมันออกเป็น 4 ส่วนภายใต้การดูแลของแต่ละประเทศ และเช่นกัน กรุงเบอร์ลิน เมืองหลวงของประเทศ ได้ถูกแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ส่วนเช่นเดียวกัน

ปีต่อมา เยอรมนีภายใต้การปกครองของ 3 ประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส รวมกันจัดตั้งเป็นประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ เยอรมันตะวันตก ในขณะที่เยอรมนีส่วนที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต ได้จัดตั้งเป็นประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมนี หรือ เยอรมันตะวันออก ในช่วงแรก ประชาชนของทั้งสองประเทศสามารถเดินทางข้ามแดนไปมาหาสู่กันได้เป็นปกติ แต่เมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น ความแตกต่างระหว่างการปกครองแบบประชาธิปไตยในเยอรมันตะวันตก และการปกครองในระบบคอมมิวนิสต์ในเยอรมันตะวันออก มีความแตกต่างที่เด่นชัดขึ้น ในขณะที่เยอรมันตะวันตกได้รับการพัฒนา และฟื้นฟูประเทศ อาคารบ้านเรือนต่าง ๆ ที่พังทลายในช่วงสงครามโลกได้รับการบูรณะ ส่วนเยอรมันตะวันออกทุกอย่างกลับสวนทางกัน ยิ่งไปกว่านั้นธุรกิจทุกอย่างถูกเปลื่ยนมือไปเป็นของรัฐ เป็นเหตุให้ผู้คนพากันอพยพข้ามถิ่นจากเยอรมันตะวันออก ไปยังเยอรมันตะวันตกกันมากขึ้น เฉพาะในปี ค.ศ. 1961 เพียงปีเดียว ซึ่งมีข่าวลือว่า ทางเยอรมันตะวันออกจะปิดกั้นพรมแดนระหว่างสองประเทศ ทำให้ผู้คนกว่า 3 ล้านคน พากันอพยพไปยังเยอรมันตะวันตก เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้รัฐบาลเยอรมันตะวันออก ภายใต้การควบคุมของสหภาพโซเวียตได้เร่งสร้างกำแพงกันแนวระหว่างสองประเทศ และรวมไปถึง แนวกำแพงที่ปิดล้อมกรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตกอีกด้วย

กำแพงเบอร์ลิน

ผลจากการย้ายออกของชาวเยอรมันตะวันออก ที่มีมากเกินการควบคุม รัฐบาลเยอรมันตะวันออกในขณะนั้น จึงได้สร้างกำแพงกั้นระหว่างประเทศเยอรมันตะวันออก และเยอรมันตะวันตก ว่ากันว่า แนวกำแพงที่กั้นระหว่างสองประเทศนี้ยาวเป็นอันดับสองรองจากกำแพงเมืองจีนทีเดียว

ในส่วนของกรุงเบอร์ลิน นครหลวงของประเทศทั้งสอง มีที่ตั้งอยู่ใจกลางประเทศเยอรมันตะวันออก ดังนั้น นครเบอร์ลินฝั่งตะวันตก จึงถูกปิดล้อมด้วยเยอรมันตะวันออกรอบด้าน ในระยะแรก การเดินทางเข้าออกระหว่างเบอร์ลินตะวันออก และเบอร์ลินตะวันตก เป็นไปโดยเสรี กระทั่งเมื่อมีการอพยพของชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมาก เป็นเหตุให้รัฐบาลเยอรมันตะวันออกเร่งสร้างกำแพงเพื่อปิดกั้นการย้ายถิ่นของชาวเยอรมัน ในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นวันแรกที่มีการสร้างกำแพงเพื่อปิดล้อมกรุงเบอร์ลินตะวันตก และเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามเย็นในยุคนั้น

กำแพงเบอร์ลิน ถูกใช้งานเป็นเวลา 28 ปี ในช่วงเวลานี้ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบของกำแพงถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้งจะเพิ่มความแข็งแรง และความสูงของกำแพงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันการหลบหนีของชาวเยอรมันตะวันออก เนื่องจากกำแพงกันระหว่างเยอรมันตะวันออก และเยอรมันตะวันตก มีจุดเปราะบางที่สุดที่กรุงเบอร์ลินนี่เอง กำแพงเบอร์ลินทั้ง 4 รุ่นมีพัฒนาการดังนี้

  • กำแพงรุ่นที่ 1 เริ่มสร้างเมื่อวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นแนวรั้วลวดหนาม เป็นการสร้างชั่วคราวเพื่อป้องกันการอพยพของประชาชน เป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่มีอายุใช้งานสั้นที่สุด
  • กำแพงรุ่นที่ 2 เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ถูกสร้างขึ้นแทนกำแพงรั้วลวดหนามทันทีที่กำแพงรั้วลวดหนามเสร็จสมบูรณ์ แต่กำแพงก่ออิฐถือปูนนี้ก็ไม่แข็งแรงพอที่ปิดกั้นความปรารถนาในการแสวงหาเสรีภาพของประชาชน มีความพยายามในการหลบหนีด้วยการทำลายกำแพงเกิดขึ้นหลายครั้ง
  • กำแพงรุ่นที่ 3 เป็นรั้วคอนกรีตสำเร็จรูป ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และความสูงเพิ่มขึ้น
  • กำแพงรุ่นที่ 4 ถูกสร้างในปี ค.ศ. 1975 เป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปขนาดกว้าง 1.2 เมตร สูง 3.6 เมตร จำนวนกว่า 45,000 แผ่นถูกต่อเป็นแนวรอบกรุงเบอร์ลินตะวันตกเชื่อมต่อด้วยท่อคอนกรีตที่ด้านบนกำแพง กำแพงรุ่นนี้ถูกใช้งานจนกระทั่งถึงการล่มสลายในปี ค.ศ. 1989 และเป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่ถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ในการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่ 4 ใช้งบประมาณสูงถึงกว่า 1,650 ล้านมาร์ก ณ ขณะนั้นทีเดียว[2]

สำหรับประชาชนเยอรมันทั้งตะวันตก และตะวันออก และประชาคมโลกในระบบประชาธิปไตย กำแพงเบอร์ลิน เปรียบเสมือนการปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน ว่ากันว่า กำแพงเบอร์ลิน เป็นกำแพงแห่งเดียวในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปิดกั้นประชาชนในประเทศของตนจากโลกภายนอก ในขณะที่กำแพงเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกนั้นมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้ามารุกรานเสรีภาพของชาวเมือง ในทางกลับกัน สหภาพโซเวียต ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างกำแพงเบอร์ลิน กลับมองว่า กำแพงเบอร์ลิน คือนวัตกรรมของชนชาติ

การลอบข้ามกำแพง

ในระหว่างที่กำแพงยังตั้งอยู่นั้น มีความพยายามหลบหนีข้ามเขตแดนราว 5,000 ครั้ง ในช่วงแรกนั้น การหลบหนีเป็นไปอย่างไม่ยากนัก เนื่องจากกำแพงในช่วงแรกเป็นเพียงรั้วลวดหนามเตี้ย ๆ และบางส่วนก็กระโดดออกมาทางหน้าต่างของตึกที่อยู่ติดกับกำแพง แต่ไม่นานนักกำแพงก็เปลี่ยนเป็นคอนกรีตที่แน่นหนา ส่วนหน้าต่างตึกต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกำแพงก็ถูกก่ออิฐปิดตาย

หากการสร้างกำแพงเบอร์ลิน คือ นวัตกรรมของชนชาติ การลอบข้ามกำแพงเบอร์ลิน เป็นย่อมเป็นนวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่กว่า มีการลอบข้ามกำแพงเบอร์ลินหลายต่อหลายครั้งที่แสดงถึงความสร้างสรรค์อันยิ่งใหญ่ เช่น การข้ามกำแพงด้วยบอลลูน การสร้างสลิงข้ามแนวกำแพงด้วยเวลาไม่ถึง 2 นาที การขุดอุโมงค์ลอดใต้กำแพง ซึ่งสามารถช่วยชาวเบอร์ลินตะวันออกหลบหนีได้มากถึงกว่าร้อยคน เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีจุดข้ามแดนบางจุดที่ได้รับการช่วยเหลือจากกองทัพสัมพันธมิตร อาทิ จุดข้ามแดนโดยการว่ายข้ามแม่น้ำ กองทัพอังกฤษได้หย่อนบันไดลิงไว้ในฝั่งตรงข้ามเพื่อให้ผู้ที่ว่ายน้ำข้ามไปสามารถปีนขึ้นฝั่งได้[3]

การเสียชีวิตในการลอบข้ามกำแพง

ในการลอบข้ามกำแพง เป็นความเสี่ยงที่ต้องแลกมาด้วยชีวิต ด้วยรัฐบาลเยอรมันตะวันออกมีกฏที่ว่าผู้หลบหนีจะถูกยิงทิ้งทันทีที่พบเห็น จำนวนผู้เสียชีวิต และบาดเจ็บจากการลอบข้ามกำแพงเบอร์ลินนั้นยังไม่แน่ชัดนัก บางแหล่งระบุว่ามี 192 คนถูกฆ่าระหว่างการหลบหนี และอีกประมาณ 200 คนบาดเจ็บสาหัส ขณะที่บางแหล่งข้อมูลกลับมีตัวเลขผู้เสียชีวิตเพียง 136 คน[4] บางแหล่งข้อมูลกับมีตัวเลขผู้เสียชีวิตสูงถึง 246 คน[3] และในวิกีพีเดียภาษาอังกฤษได้ระบุตัวเลขผู้เสียชีวิตไว้ 100 - 200 คน เหตุที่เป็นดังนี้ เนื่องจากทางรัฐบาลเยอรมันตะวันออกไม่ได้ทำรายงานเรื่องนี้ และเมื่อมีผู้เสียชีวิตในการลอบข้ามกำแพง ทางการก็ไม่ได้แจ้งข่าวแก่ครอบครัวอีกด้วย

เหตุการณ์เสียชีวติ ณ กำแพงเบอร์ลิน ครั้งที่โด่งดังที่สุด เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) เมื่อนายปีเตอร์ เฟตช์เตอร์ (Peter Fechter)เด็กหนุ่มที่ลอบข้ามกำแพงเบอร์ลินถูกยิง และปล่อยให้เลือดไหลจนตายต่อหน้าสื่อมวลชนตะวันตก เป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินการต่อต้านกำแพงเบอร์ลินอย่างเป็นรูปธรรม เมื่อวัน ผู้หลบหนีรายสุดท้ายที่ถูกยิงตายคือนาย Chris Gueffroy เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)

การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน

ในปี ค.ศ. 1989 ตรงกับยุคที่ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียต ได้มีการทดลองการปฎิรูปการปกครองไปสู่ระบบประชาธิปไตย ในเยอรมันตะวันออก ได้มีการชุมนุมประท้วงใหญ่อย่างสงบขึ้นโดยเฉพาะในเมืองโพสต์ดัม ไลพ์ซิก และเดรสเดน เริ่มต้นในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1989 และดำเนินเรื่อยมา เป็นเหตุให้รัฐบาลเยอรมันตะวันออกได้รับความกดดันเป็นอย่างมาก กระทั่งได้มีการประกาศว่า จะเปิดพรมแดนให้ชาวเยอรมันสามารถเดินทางผ่านแดนได้อย่างอิสระ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ในวันดังกล่าวชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากได้มารวมตัวกัน ณ กำแพงเบอร์ลิน เพื่อข้ามผ่านแดนไปยังเบอร์ลินตะวันตกครั้งแรกในรอบ 28 ปี จึงถือเอาวันดังกล่าว เป็นวันล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน

มีบางแหล่งข้อมูลอ้างว่า ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 นาย Günter Schabowski รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ (Minister of Propaganda) ของเยอรมนีตะวันออกได้แถลงข่าว (ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของเขาเอง) ว่าทางการจะอนุญาตให้ชาวเบอร์ลินตะวันออก ผ่านเข้าออกเขตแดนได้อย่างเสรีอีกครั้ง ทันใดนั้นเอง ผู้คนนับหมื่นที่ได้ทราบข่าวก็ได้หลั่งไหลไปยังด่านต่าง ๆ ของกำแพง. หลังจากความโกลาหลอยู่ช่วงหนึ่ง เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยังไม่ได้รับคำสั่งใด ๆ จากทางการ ในที่สุดเจ้าหน้าที่ก็ต้องยอมปล่อยให้ฝูงชนผ่านเขตแดนไปอย่างไม่มีทางเลือก ชาวเบอร์ลินตะวันตกออกมาต้อนรับชาวเบอร์ลินตะวันออก บรรยากาศในเช้ามืดวันนั้นเหมือนงานเฉลิมฉลอง

ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2532 กำแพงเบอร์ลินได้ถูกทุบทำลายบางส่วนโดยชาวเยอรมัน และชาวยุโรป แต่การทำลายกำแพงเบอร์ลินอย่างเป็นทางการ เริ่มเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2533 แต่กระนั้นยังคงอนุรักษ์กำแพงบางช่วงไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ นอกจากนี้ ยังมีการประมูลจำหน่ายชิ้นส่วนกำแพงเบอร์ลิน และได้มีการมอบชิ้นส่วนของกำแพงเบอร์ลินไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่สำคัญ ๆ อีกหลายแห่ง อาทิ ด้านหน้าสภายุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม พิพิธภัณฑ์นิวเซียม กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอมริกา พิพิธภัณฑ์จอห์น เอฟ เคนเนดี และพิพิธภัณฑ์โรแนล เรแกน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

แหล่งข้อมูลอื่น


อ้างอิง



แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA