ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิทยาลัย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
บรรทัด 39: บรรทัด 39:
{{โครงความรู้}}
{{โครงความรู้}}


[[ar:كلية (جامعية)]]
[[bg:Колеж]]
[[bg:Колеж]]
[[da:Seminarium]]
[[da:Seminarium]]
[[de:Hochschule]]
[[de:College]]
[[en:College]]
[[en:College]]
[[es:Colegio]]
[[es:Colegio]]
บรรทัด 48: บรรทัด 49:
[[fi:College]]
[[fi:College]]
[[fr:Collège]]
[[fr:Collège]]
[[he:מכללה]]
[[he:מכללות אקדמיות בישראל]]
[[id:Kolese]]
[[id:Kolese]]
[[it:college]]
[[it:College]]
[[it:Collegio]]
[[it:Facoltà universitaria]]
[[it:Facoltà]]
[[ja:単科大学]]
[[ja:単科大学]]
[[ka:კოლეჯი]]
[[ka:კოლეჯი]]
[[nl:Hogeschool]]
[[nl:Hogeschool]]
[[no:College]]
[[pl:College]]
[[pl:College]]
[[pt:Faculdade]]
[[pt:Faculdade]]
[[ru:Колледж]]
[[ru:Колледж]]
[[simple:College]]
[[simple:College]]
[[sl:Kolidž]]
[[sv:College]]
[[sv:College]]
[[ta:கல்லூரி]]
[[tl:Dalubhasaan]]
[[tl:Dalubhasaan]]
[[uk:Коледж]]
[[uk:Коледж]]
[[ur:دانشگاہ]]
[[yi:קאלעדזש]]
[[yi:קאלעדזש]]
[[zh:學院]]
[[zh:學院]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:09, 6 พฤศจิกายน 2552

วิทยาลัย (อังกฤษ: college) มีหลายความหมาย ความหมายหนึ่งที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในสังคมไทย หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาที่เน้นการฝึกทักษะเฉพาะสาขาวิชา เช่น การจัดการ เศรษฐศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ ช่าง ดนตรี เป็นต้น

การจัดการศึกษาของวิทยาลัยนั้นอาจจะบริหารงานเป็นเอกเทศ เช่น วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้า, วิทยาลัยเทคนิค, และวิทยาลัยอาชีวศึกษา หรือ เป็นหน่วยในสังกัดของมหาวิทยาลัย เช่น วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต, วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล, วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล,วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยทักษิณ,วิทยาลัยภูมิปัญญาชุมชน มหาวิทยาลัยทักษิณ และวิทยาลัยนวัตกรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็ได้

อีกความหมายหนึ่งของวิทยาลัยนั้น อาจจะหมายถึง สถานศึกษาทั่ว ๆ ไป เช่น โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หรือ ในชื่อภาษาอังกฤษของโรงเรียน เช่น อัสสัมชัญ (Assumption College) หรือ เซนต์คาเบรียล (St. Gabriel's College) เป็นต้น


วิทยาลัยชุมชน

วิทยาลัยชุมชนในอดีต

การจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนในประเทศไทย เกิดจากความจำเป็นในการผลิตกำลังคนเพื่อสนองความต้องการพัฒนาประเทศและมีแนวความคิดที่จะใช้การจัดการศึกษาตามหลักการวิทยาลัยชุมชนมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513

แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 3 กำหนดนโยบายการศึกษาระดับอุดมศึกษา ให้ส่งเสริมการศึกษาและทดลองการจัดการศึกษาแบบวิทยาลัยชุมชนเพื่อสนองความต้องการกำลังคนระดับกลางในแขนงวิชาที่ประเทศมีความต้องการมาก ตลอดจนปัญหาในระดับอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาเป็นไปเพื่อคนส่วนน้อยไม่เกิดความเป็นธรรมในสังคม ปัญหาดังกล่าวเป็นอุปสรรคต่อความเจริญของประเทศ คณะรัฐมนตรีจึงเห็นชอบให้เตรียมการปฏิรูปการศึกษา

ปี พ.ศ. 2520 จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนภูเก็ตขึ้นเป็นแห่งแรก โดยให้เป็นวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2523 ได้จัดตั้งขึ้นอีกแห่งที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในปี พ.ศ. 2527 ได้จัดตั้งวิทยาลัยชุมชนในสังกัดวิทยาลัยครู ขึ้น 4 แห่ง คือ วิทยาลัยชุมชนพิบูลสงคราม วิทยาลัยชุมชนอุบลราชธานี วิทยาลัยชุมชนนครราชสีมา และวิทยาลัยชุมชนนครศรีธรรมราช (แต่ในระหว่างที่เตรียมการดำเนินงานวิทยาลัยชุมชนนั้น มีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิทยาลัยครูให้เปิดสอนถึงระดับปริญญาตรี ดังนั้น จึงไม่มีการดำเนินการวิทยาลัยชุมชนต่อ)

ในปี พ.ศ. 2537 คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้กระทรวงศึกษาธิการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนขึ้น โดยให้สถาบันการศึกษาเฉพาะทาง ได้แก่ วิทยาลัยเกษตรกรรม วิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยนาฏศิลป์ และวิทยาลัยช่างศิลป์ จำนวน 77 แห่งทั่วประเทศ เป็นวิทยาลัยชุมชน โดยขยายฐานวิชาการจากเดิมให้มีบทบาทการจัดการศึกษาและบริการชุมชนให้กว้างขวางขึ้นและให้มีคณะกรรมการบริหารวิทยาลัยชุมชนขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการ (ซึ่งวิทยาลัยชุมชนดังกล่าวดำเนินการได้ถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงได้ยุติตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในขณะนั้น)

วิทยาลัยชุมชนในปัจจุบัน

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2545 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบโครงการจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และกระทรวงศึกษาธิการมีประกาศจัดตั้งวิทยาลัยชุมชน เมื่อวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2545 จำนวน 10 จังหวัด คือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิจิตร ตาก บุรีรัมย์ มุกดาหาร หนองบัวลำภู สระแก้ว อุทัยธานี ระนอง และนราธิวาส และในปี พ.ศ. 2547 ได้ดำเนินการขยายจัดตั้งวิทยาลัยชุมชนเพิ่มเติม คือ จังหวัดยโสธร สมุทรสาคร ตราด สตูล และพังงา

ดูเพิ่ม