ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กินทามะ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 233: บรรทัด 233:
[[หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่น]]
[[หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็น]]
[[หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่นแนวโชเน็น]]
[[หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่นแนวตลก]]
[[หมวดหมู่:การ์ตูนญี่ปุ่นแนวไซไฟ]]
[[หมวดหมู่:สยามอินเตอร์คอมมิกส์]]


[[ca:Gintama]]
[[ca:Gintama]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:05, 29 ตุลาคม 2552

แม่แบบ:ยังไม่จบ

กินทามะ
ไฟล์:Gintama.jpg
โปสเตอร์ภาพยนตร์การ์ตูนเรื่องกินทามะ
ชื่อภาษาอังกฤษGin Tama
แนวตลก,ล้อเลียน, ต่อสู้, ไซไฟ
มังงะ
กินทามะ
เขียนโดยฮิเดอากิ โซราจิ
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น สำนักพิมพ์ชูเอฉะ
ไทย สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์
แคนาดา สหรัฐ สำนักพิมพ์วิซมีเดีย
เยอรมนี สำนักพิมพ์ Tokyopop
ฝรั่งเศส สำนักพิพม์ Kana
อิตาลี สำนักพิมพ์ Planeta DeAgostini
สเปน สำนักพิมพ์ Glénat
เกาหลีใต้ สำนักพิมพ์ Haksan
อนิเมะ
กินทามะ
สตูดิโอซันไรส์
อนิเมะ
กินทามะ
กำกับโดยชินจิ ทากามาสึ
โยอิจิ ฟูจิตะ
สตูดิโอซันไรส์
มังงะ
3-Nen Z-Gumi GinPachi-sensei
เขียนโดยโทโมฮิโตะ โอซากิ
สำนักพิมพ์ญี่ปุ่น ชูเอฉะ
อนิเมะ
White Demon's Birth
สตูดิโอซันไรส์

กินทามะ ญี่ปุ่น: 銀魂โรมาจิในชื่ออังกฤษ Gin Tamaทับศัพท์: มีความหมายว่า จิตวิญญาณสีเงิน เป็นการ์ตูนญี่ปุ่น เขียนโดย ฮิเดอากิ โซราจิ เริ่มลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546 และลงตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับซากาตะ กินโทกิ อดีตซามูไรที่ทำอาชีพรับจ้างอิสระ เพื่อหาเงินมาเลี้ยงชีพในยุคที่ซามูไรตกต่ำเนื่องจากการรุกรานของมนุษย์ต่างดาว เนื้อเรื่องเป็นการผสมผสานระหว่างแนวย้อนยุคและแนววิทยาศาสตร์ ลักษณะแนวเรื่องเป็นแนวตลกและต่อสู้

ออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน (โอวีเอ) ของการ์ตูนกินทามะ ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2006 อะนิเมะทัวร์ ในปี พ.ศ. 2548 หลังจากนั้นบริษัทซันไรส์ได้นำการ์ตูนกินทามะมาจัดทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูนฉายทางช่องทีวีโตเกียว ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน

ในญี่ปุ่น กินทามะเป็นการ์ตูนที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ติดอันดับใน 10 อันดับแรกของการ์ตูนที่มียอดขายสูงสุด กระแสตอบรับของการ์ตูนกินทามะมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านบวกคือความชื่นชอบเนื้อหาที่ตลกขบขันและมีเนื้อเรื่องที่สนุกตื่นเต้น ส่วนกระแสด้านลบคือด้านลายเส้นของการ์ตูน

นอกจากหนังสือและภาพยนตร์การ์ตูนแล้ว ปัจจุบัน กินทามะยังออกมาในรูปของสื่ออื่น ได้แก่ ไลท์โนเวล และวิดิโอเกมส์อีกด้วย

ล่าสุดในนิตยสารโชเน็นจัมป์ฉบับที่ 48 ของปี พ.ศ. 2552 ได้ลงข่าวว่ากินทามะจะถูกดัดแปลงเป็นภาพยนตร์จอเงิน โดยทิ้งคำโปรยไว้ว่า "Wasshoi Matsuri!!" ซึ่งรายละเอียดเกี่ยวกับตัวภาพยนตร์ยังไม่เปิดเผยมากนัก [1]

ในประเทศไทย กินทามะได้รับลิขสิทธิ์หนังสือการ์ตูนโดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์รายสัปดาห์ในนิตยสารการ์ตูนซีคิดส์ และตีพิมพ์เป็นหนังสือการ์ตูนรวมเล่มมาแล้ว 24 เล่ม ส่วนภาพยนตร์การ์ตูนได้รับลิขสิทธิ์โดยบริษัท ทีไอจีเอ มีการวางจำหน่ายทั้งในรูปแบบวีซีดีและดีวีดี ในปัจจุบัน การ์ตูนกินทามะยังไม่เคยออกอากาศทางโทรทัศน์ในประเทศไทย

เนื้อเรื่อง

ไฟล์:Spebtn gintama.gif

เนื้อเรื่องมีฉากในเมืองเอโดะ (คือโตเกียวในปัจจุบัน เอโดะเปลี่ยนชื่อเป็นโตเกียวในปี พ.ศ. 2405) ประเทศญี่ปุ่น ในยุคเอโดะ ยุคที่มนุษย์ต่างดาวที่เรียกกันว่า ชาวสวรรค์ ได้มาตั้งรกรากบนโลกมนุษย์ ชาวสวรรค์ได้ออกคำสั่งริบยศถาบรรดาศักดิ์และยึดดาบของซามูไรไป ทำให้ยุครุ่งเรืองของซามูไรได้จบสิ้นลง ชาวสวรรค์ได้มีอำนาจเหนือเอโดะมากยิ่งขึ้น แต่ยังมีคนหนึ่งที่ยังยึดมั่นในจิตวิญญาณของซามูไร เขาชื่อ ซากาตะ กินโทกิ เคยเป็นนักรบซามูไรต่อต้านชาวสวรรค์ ปัจจุบันเปิดร้านรับจ้างสารพัด มีผู้ช่วยคือ ชิมูระ ชินปาจิ หนุ่มแว่นที่ทำงานเพื่อเรียนรู้จิตวิญญาณของซามูไร และคางุระ เด็กหญิงชาวสวรรค์เผ่ายาโตะ ทั้งสามทำงานรับจ้างเพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเช่าบ้านและเลี้ยงชีวิตในยุคมืดของซามูไร

นอกจากเรื่องราวการทำงานรับจ้างต่างๆ กินโทกิและลูกน้องยังได้รู้จักกับกลุ่มตำรวจพิเศษติดอาวุธชินเซ็นงุมิ บางครั้งทั้งสองฝ่ายจะทะเลาะกัน บางครั้งจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เรื่องราวของพวกเขายังมีผู้เกี่ยวข้องอีกหลายคน เช่น คาซึระ โคทาโร่ นักรบขับไล่ต่างแดนซึ่งเป็นเพื่อนของกินโทกิและเป็นอาชญากรมีประกาศจับ ซารุโทบิ อายาเมะ นินจาสาวสายตาสั้นที่หลงรักกินโทกิ เป็นต้น ส่วนตัวละครตัวร้ายของเรื่องคือทากาสุงิ ชินสุเกะ หัวหน้ากลุ่มนักรบขับไล่ต่างแดนที่มีชื่อกลุ่มว่ากองทหารอสุรา เขาเป็นนักรบขับไล่ต่างแดนที่มีหัวรุนแรงกว่าคาซึระ และต้องการจะทำลายเอโดะให้ราบคาบ

ตัวละคร

ดูตัวละครทั้งหมดได้ที่ ตัวละครในกินทามะ

ตัวละครส่วนใหญ่ในการ์ตูนกินทามะได้ต้นแบบจากบุคคลในประวัติศาสตร์จริง โดยเฉพาะตัวละครในกลุ่มชินเซ็นงุมิที่ได้ต้นแบบจากกองกำลังชินเซ็นงุมิในประวัติศาสตร์จริง

ร้านรับจ้างสารพัดกินจัง

ตัวละครหลักในการ์ตูนเรื่องกินทามะ เป็นนักรับจ้างสารพัดที่รับจ้างทำทุกอย่าง เพื่อนำเงินค่าจ้างจากการทำงานมาจ่ายค่าเช่าร้าน ประกอบด้วยสมาชิก 3 คน (และ 1 ตัว) ได้แก่

ซากาตะ กินโทกิ

ตัวละครเอกของเรื่อง เป็นเจ้าของร้านรับจ้างสารพัด และในอดีตเคยเป็นสมาชิกของกลุ่มนักรบขับไล่ต่างแดน ซึ่งเป็นซามูไรที่ต่อสู้เพื่อขับไล่ชาวสวรรค์ออกจากเอโดะ แต่เมื่อเพื่อนเกือบทุกคนตายลง ก็ได้รู้ว่าไม่สามารถปกป้องทุกสิ่งได้ เป็นคนหน้าเหมือนปลาตาย (หน้านิ่งและดูไร้อารมณ์)เป็นคนกวนๆและถ้าไม่กินของหวานจะไม่มีเรี่ยวแรง เป็นคู่กัดกับฮิจิคาตะ และชินเซ็นงุมิมักจะเรียกเขาว่า "ลูกพี่" (อายุ 20 ปี)

ชิมูระ ชินปาจิ

ลูกชายของเจ้าของโรงฝึกดาบที่ปิดตัวลงเพราะบัญญัติการห้ามใช้ดาบ แล้วต่อมาได้เห็นจิตวิญญาณในตัวกินโทกิ จึงได้มาทำงานเป็นลูกจ้างของกินโทกิ ใส่แว่นจนเป็นจุดเด่น แต่ก็บทไม่เด่นนัก มักจะเป็นคนตบมุข (อายุ 16 ปี)

คางุระ

เด็กหญิงชาวสวรรค์ชนเผ่ายาโตะที่เดินทางมาที่โลกเพื่อหางานทำ แล้วจึงมาเป็นลูกจ้างอีกคนของกินโทกิ ชอบแต่งกายคล้ายคนจีน และมีกำลังมหาศาล ชอบพูดลงท้ายว่า "น่อ" (อายุประมาณ 13-14 ปี)

ซาดะฮารุ

เป็นสุนัขตัวใหญ่สีขาว ความจริงเป็นอินุงามิ(สุนัขเทพ) เป็นผู้เฝ้าทวารมังกรในเอโดะ แต่เมื่อชาวสวรรค์รุกราน จึงได้นำทวารมังกรมาเป็นพลังงานให้ท่าเรือ ทำให้อินุงามิไม่มีประโยชน์อีกต่อไป เลยโดนมิโกะผู้เลี้ยงดู (อาเนะ และ โมเนะ) มาทิ้งให้ร้านรับจ้างสารพัดเลี้ยงดู จะคืนร่างจริงก็ต่อเมื่อกินเลือดของแพะ (นมสด) และผลไม้สีแดง (สตอเบอร์รี่) (หรือก็คือนมสตอเบอร์รี่น่ะแหละ)

กองตำรวจติดอาวุธ ชินเซ็นงุมิ

นักรับจ้างสารพัดทั้งสาม บางครั้งต้องมาเกี่ยวข้องกับกลุ่มชินเซ็นงุมิ ซึ่งเป็นกองกำลังตำรวจพิเศษติดอาวุธ มีสมาชิกหลักๆได้แก่

คอนโด้ อิซาโอะ

หัวหน้ากลุ่มชินเซ็นงุมิ มีหน้าตาไม่ค่อยดีและมักถูกล้อว่าเป็นกอริลลาเป็นคนที่เห็นแต่ข้อดีของผู้อื่น ชอบโอทาเอะและทำตัวเป็นสโตรกเกอร์(โรคจิตชอบติดตาม) เคยเป็นหัวหน้าโรงฝึก

ฮิจิคาตะ โทชิโร่

รองหัวหน้ากลุ่มชินเซ็นงุมิ เป็นคนที่ชอบรับประทานมายองเนส (มายองเลอร์) ฉะนั้นถึงหน้าตาดีแต่เมื่อสาวๆเห็นกินมายองเนสเข้าก็คายของเก่าทุกราย (ยกเว้น คุริโกะ ลูกสาวของป๋ามัตสึไดระ)

โอคิตะ โซโกะ

หัวหน้าหน่วยที่ 1 แห่งกลุ่มและนักดาบอันดับหนึ่งแห่งชินเซ็นงุมิ ภายนอกมีนิสัยคล้ายเด็กๆ แต่แท้จริงแล้วชอบความรุนแรง อายุ 18

ยามาซากิ ซางารุ

หน่วยสอดแนมของทางชินเซ็นงุมิ ชอบเล่นแบดมินตั้น เป็นพวกบทจืดคล้ายๆชินปาจิ ใช้ไม้แบดมินตันเป็นอาวุธแทนดาบ

มัตสึไดระ คาทาคุริโกะ

หัวหน้ากองชินเซ็นงุมิ เป็นคนเก็บคอนโด้มาเลี้ยง ห่วงลูกสาวมาก ใส่แว่นกันแดดตลอดเวลา แต่ก็เป็นคนที่โหดมากๆ

อิโต้ คาโมทาโร่

ชายผู้อัจฉริยะไปซะทุกด้าน แต่ไม่มีใครสนใจ จึงร่วมมือกับกองทหารอสุราเพื่อโค่นล้มชินเซ็นงุมิและก่อการกบฏ และถูกกองทหารอสุราทรยศ จนตายในภายหลัง มักโดนคอนโด้เรียกว่า "อาจารย์ อิโต้"

ลักษณะการดำเนินเรื่อง

ลักษณะการดำเนินเรื่องหลักคือการใช้มุกตลกในการดำเนินเรื่อง ต่อมาเมื่อฮิเดอากิเขียนการ์ตูนกินทามะเป็นปีที่สอง เขาเริ่มใส่ความเป็นดรามาลงในการ์ตูนกินทามะ โดยคงความเป็นการ์ตูนตลกไว้ มุกตลกส่วนมากในเรื่องมีลักษณะล้อเลียนวัฒนธรรมหรือล้อเลียนการ์ตูนเรื่องอื่น

เนื้อเรื่องของกินทามะส่วนใหญ่จะจบในตอน แต่ก็มีเนื้อเรื่องบางช่วงจะมีเรื่อราวต่อเนื่องไปหลายตอน ซึ่งมักจะเน้นความเป็นดราม่า

ประวัติการสร้าง

ฮิเดอากิ โซราจิ นักเขียนการ์ตูนผู้เขียนเรื่องกินทามะ ได้ความคิดเรื่องกินทามะ จากคำแนะนำของบรรณาธิการให้เขียนการ์ตูนเกี่ยวกับชินเซ็นงุมิ เขาจึงมีความคิดที่จะเขียนการ์ตูรแนวผสมผสานระหว่างแนวญี่ปุ่นย้อนยุคกับแนวนิยายวิทยาศาสตร์ ซึ่งก็คือเรื่องกินทามะในเวลาต่อมา

รายชื่อตอน

ดูบทความหลักที่ รายชื่อตอนของกินทามะ (มังงะ) และ รายชื่อตอนของกินทามะ (อะนิเมะ)

ชื่อตอนของกินทามะจะมีลักษณะพิเศษคือ มีชื่อตอนทีมีความยาวมาก มีลักษณะคล้าย ๆ สุภาษิต และดูเหมือนไม่มีความเกี่ยวข้องกับเนื้อเรื่องในบางตอน แต่จริง ๆ แล้ว ชื่อตอนมีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์บางส่วนในตอนนั้น ๆ แต่อาจจะเป็นส่วนที่สั้น ๆ หรือไม่ค่อยมีความสำคัญ

รูปแบบต่าง ๆ

หนังสือการ์ตูน

หนังสือการ์ตูนกินทามะเล่มที่ 1 ตีพิมพ์โดยสำนักพิมม์ชูเอฉะ

การ์ตูนเรื่องกินทามะเริ่มลงตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์ ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ตั้งแต่วันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2546[2] จนถึงปัจจุบัน มีจำนวนตอนมากกว่า 200 ตอน และตีพิพม์ฉบับรวมเล่มตั้งแต่วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2547[3] จนถึงปัจจุบัน ออกมาถึงเล่มที่ 30[4] นอกจากนี้ สำนักพิมพ์ชูเอฉะยังลงกินทามะลงตอนแรกในหน้าเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ชูเอฉะ[5]

ในอเมริกาเหนือ กินทามะได้รับลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์วิซมีเดีย ตีพิมพ์ในนิตยสารโชเน็นจัมป์ระหว่าง เดือนมกราคมถึงพฤษภาคม พ.ศ. 2550 และตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มตั้งแต่วันที่ 3กรกฎาคม พ.ศ. 2550[6] จนถึงปัจจุบัน ออกมาถึงเล่มที่ 14[7]

ในประเทศไทย กินทามะได้ลิขสิทธิ์โดยสำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ ตีพิมพ์ลงในนิตยสารการ์ตูนซีคิดส์รายสัปดาห์ และตีพิมพ์ฉบับรวมเล่มตั้งแต่ พ.ศ. 2548[8] จนถึงปัจจุบัน ออกมาถึงเล่มที่ 23[9]

หนังสือการ์ตูนกินทามะที่ตีพิมพ์แล้วในประเทศไทย 23 เล่ม มีชื่อปกบนแต่ละเล่มดังนี้

  1. คนดีมักเป็นคนผมหยักศกตามธรรมชาติ
  2. ความมานะบากบั่นและความดื้อด้านต่างกันเพียงกระดาษกั้น
  3. มาลองคิดดูแล้ว ชีวิตคนเราหลังจากกลายเป็นคุณลุงเนี่ยมันนานกว่าตอนหนุ่มไม่ใช่เรอะ!! น่ากลั๊ว น่ากลัว
  4. คนเป็นพ่อลูกมักเกลียดอะไรเหมือน ๆ กัน
  5. ระวังสายพานให้ดี
  6. มีสิ่งที่ดาบฟาดฟันไม่ได้อยู่
  7. เรื่องไร้สาระเนี่ยจำกันแม่นซะจริง
  8. แฟนของลูกสาวต้องเขกซักโป๊ก
  9. ถ้าริจะเที่ยวคาบาเร่ต์อายุจะต้องถึง 20 ขวบก่อนนะ
  10. แมลงตัวเล็ก ๆ ก็มีจิตวิญญาณเหมือนกัน
  11. อาทิตย์ยังทอแสง
  12. ถ้าเร่งนักก็วิ่งเข้า
  13. ศัตรูเมื่อวาน วันนี้ก็ยังเป็นศัตรูเหมือนเดิม
  14. เมื่อสี่คนเรียงหน้า จะเกิดเชาว์ปัญญามากมาย
  15. รอยยิ้มคือการตกแต่งใบหน้าที่ดีที่สุดของผู้หญิง
  16. ผู้หญิงที่พูดว่าระหว่างฉันกับงานอันไหนสำคัญกว่ากัน ต้องโดนท่าเยอรมันซูเพล็กซ์
  17. ควรเล่นเกมส์แค่วันละหนึ่งชั่วโมง
  18. เหล่าบุรุษทั้งหลายจงเป็นลูกผู้ชายที่ไม่ยอมแพ้
  19. นักวางแผนมักตกหลุมพราง
  20. ก่อนหน้าจะเข้าสู่ช่วงหยุด ฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่สนุกที่สุด
  21. แม้สะโพกจะบิดเบี้ยว แต่ก็จะเดินเป็นเส้นตรง
  22. คนเรามักมีแรงผลักดันอยู่ที่หัวใจเสมอ...
  23. เมื่อถึงที่หมายในการไปเที่ยว มักมีเรื่องให้ทะเลาะกัน

ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์

ออริจินอลวิดีโอแอนิเมชัน (โอวีเอ) ของการ์ตูนกินทามะ ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ ได้รับการฉายในงานจัมป์เฟสต้า 2006 อะนิเมะทัวร์ ในปี พ.ศ. 2548

ภาพยนตร์การ์ตูนโทรทัศน์เรื่อง กินทามะ ผลิตโดยบริษัทซันไรส์ 99 ตอนแรกกำกับโดยชินจิ ทากามาสึ ตอนที่ 100 ถึง 105 กำกับโดยชินจิ ทากามาสึและโยอิจิ ฟูจิตะ ตั้งแต่ตอนที่ 106 เป็นต้นไปกำกับโดยโยอิจิ ฟูจิตะ [10] ออกอากาศทางทีวีโตเกียว ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 จนถึงถึงปัจจุบัน

ในประเทศญี่ปุ่น บริษัทอะนิเพล๊กซ์ได้จำหน่ายดีวีดีภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะภาคแรกระหว่างวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ถึงวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2550[11] [12] ภาคสอง ระหว่างวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 ถึงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 [13] ภาคสาม เริ่มออกดีวีดีแผ่นที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551 [14]

ส่วนในประเทศไทย บริษัททีไอทีเอ ได้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะภาคแรกและภาคสอง [15] และวางจำหน่ายภาพยนตร์กินทามะภาคแรกในรูปแบบวีซีดี 25 แผ่น[16]และ ดีวีดี 12 แผ่น[17]

ซีดีซาวน์แทร็ก

ดนตรีประกอบภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ประพันธ์โดย เออิจิ คามางาตะ ในวันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้มีการจำหน่ายซีดีเซาด์แทร็กของภาพยนตร์การ์ตูนกินทามะ ประกอบด้วยเซาวน์แทร็กจำนวน 32 เพลง รวมไปถึงเพลงเปิดเพลงแรก และเพลงปิดสองเพลงแรก [18]

ซีดีซาวน์แทร็กลำดับที่ 2 วางจำหน่ายในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยซาวน์แทร็กจำนวน 40 เพลง[19] ส่วนซีดีซาวน์แทร็กลำดับที่ 3 ที่เป็นลำดับล่าสุด วางจำหน่ายในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2552 ประกอบด้วยซาวน์แทร็กจำนวน 28 เพลง[20]

ไลท์โนเวล

ไลท์โนเวลกินทามะเล่มที่ 1

ไลท์โนเวล ที่มีตัวละครเป็นตัวการ์ตูนจาก กินทามะ เรื่องโดยโทโมฮิโตะ โอวากิ ภาพโดยฮิเดอากิ โซราจิ และตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะ ฉากของเรื่องเป็นโรงเรียน โดยกินโทกิรับบทอาจารย์ โดยใช้ชื่อว่า อาจารย์กินปาจิ และตัวละครอื่น ๆ ส่วนใหญ่รับบทนักเรียนในโรงเรียน และเนื้อเรื่องตีพิมพ์ในนิตยสาร จัมป์สแควร์ ใช้ชื่อเรื่องว่า 3 เน็น Z กุมิ กินปาจิเซ็นเซ ญี่ปุ่น: 3年Z組銀八先生โรมาจิ3-Nen Z-Gumi GinPachi-senseiทับศัพท์: ม. 3 ห้อง Z อาจารย์กินปาจิ ไลท์โนเวลเล่มแรกตีพิมพ์ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 และตีพิมพ์ถึงเล่มที่ 4 ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552[21][22]

วีดิโอเกม

ไกด์บุ๊ค

ปัจจุบันมีการตีพิมพ์ไกด์บุ๊คกินทามะแล้ว 3 เล่ม สำหรับมังงะ 2 เล่ม และอะนิเมะ 1 เล่ม ไกด์บุ๊คสำหรับมังงะเล่มแรก มีชื่อว่า Gintama Official Character Book - Gin Channelญี่ปุ่น: 銀魂公式キャラクターブック「銀ちゃんねる!」 ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ชูเอฉะในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2549 ในตัวหนังสือประกอบด้วยข้อมูลตัวละคร บทสัมภาษณ์ฮิเดอากิ โซราจิ และสติกเกอร์ตัวละคร [28] ไกด์บุ๊คสำหรับมังงะเล่ม 2 มีชื่อว่า Gintama Official Character Book 2 - Fifth Grade ญี่ปุ่น: 銀魂公式キャラクターブック2 「銀魂五年生」 ตีพิมพ์ในวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นเล่มที่เพิ่มข้อมูลของตัวละครใหม่เพิ่มเติมจากเล่มแรก [29] ไกด์บุ๊คสำหรับอะนิเมะมีชื่อว่า Gintama Official Animation Guide "Gayagaya Box" [] ข้อผิดพลาด: {{Lang-xx}}: ไม่มีข้อความ (ช่วยเหลือ)โรมาจิオフィシャルアニメーションガイド 銀魂あにめガヤガヤ箱ตีพิมพ์ในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2551 เนื่องในโอกาสกินทามะออกอากาศถึงตอนที่ 100 มีข้อมูลเกี่ยกวับนักพาย์ผู้พากย์เป็นตัวละครในกินทามะ[30]

เสียงตอบรับ

ในประเทศญี่ปุ่น การ์ตูนเรื่องกินทามะได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง ในปี พ.ศ. 2549 [31] หนังสือการ์ตูนกินทามะ 12 เล่มที่ออกวางแผงในปีนั้น ขายได้จำนวนรวมกัน 7,500,000 เล่ม ในปี พ.ศ. 2550 ยอดขายเพิ่มขึ้นเป็น 16 ล้านเล่ม ติดอันดับการ์ตูนขายดีของนิตยสารโซเน็นจัมป์ในปี พ.ศ. 2550 [32] ในปี พ.ศ. 2551 ยอดจำหน่ายของการ์ตูนกินทามะเป็น 20 ล้านเล่ม[33]

ส่วนในประเทศไทย ในระยะแรก กระแสตอบรับของการ์ตูนกินทามะเป็นไปในทางลบ เนื่องจากผู้อ่านบางกลุ่มอ่านกินทามะไม่เข้าใจ[8] แต่ด้วยการพัฒนาเนื้อหาของผู้แต่งในระยะต่อมา และการแปลเป็นภาษาไทยที่ได้อรรถรสมากยิ่งขึ้น จึงทำให้กินทามะกลับมามีความนิยมพอสมควรในประเทศไทย

อ้างอิง

  1. "Gintama Manga's Movie Adaptation Revealed" (ภาษาอังกฤษ). Anime News Network. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 ตุลาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 21 ตุลาคม2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "2004年新年2号" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2551. สืบค้นเมื่อ 18 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "銀魂―ぎんたま― 1" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุยายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. "銀魂―ぎんたま― 30" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  5. "Shonen Jump Posts 1st Japanese Chapters of 22 Manga for Free". Anime News Network. 3 สิงหาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  6. "Gin Tama, Vol. 1" (ภาษาอังกฤษ). Viz Media. สืบค้นเมื่อ 17 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "Gin Tama, Vol. 14". วิซมีเดีย. สืบค้นเมื่อ 7 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. 8.0 8.1 ข้อมูลการ์ตูนกินทามะ
  9. โซราจิ, ฮิเดอากิ. "เล่ม 23". กินทามะ. สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์คอมิกส์ .
  10. "Yoichi Fujita to Stop Directing Gintama This Spring". Anime News Network. 11 มกราคม 2552. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  11. "銀魂 1 通常版" (ภาษาอังกฤษ). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  12. "銀魂 第1期のDVD情報はこちら!!" (ภาษาอังกฤษ). ซันไรซ์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  13. "銀魂 シーズン其ノ弐のDVD情報はこちら!!". ซันไรส์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุยายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  14. "銀魂 シーズン其ノ参のDVD情報はこちら!!". ซันไรส์. สืบค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  15. "ประกาศจากบริษัททีไอจีเอเรื่องการถือลิขสิทธิ์การ์ตูนกินทามะปี 2". ทีไอจีเอ. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  16. "วีซีดีกินทามะแผ่นที่ 1-25". ทีไอจีเอ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 กรกฎาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  17. "ดีวีดีกินทามะแผ่นที่ 1-12". ทีไอจีเอ. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 21 ตุลาคม 2552. สืบค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  18. "銀魂 オリジナル・サウンドトラック Soundtrack" (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  19. "銀魂 オリジナル・サウンドトラック 2" (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  20. "銀魂 オリジナル・サウンドトラック 3" (ภาษาญี่ปุ่น). Amazon.com. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  21. "銀魂3年Z組銀八先生" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ 19 มิถุนายน 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  22. "銀魂3年Z組銀八先生" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ 19 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  23. "Gintama Gin-San to Issho" (ภาษาอังกฤษ). GameSpot. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  24. "Gintama: Banji Oku Chuubu" (ภาษาอังกฤษ). GameSpot. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  25. "Gintama: Gin-Oh Quest" (ภาษาอังกฤษ). GameSpot. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  26. "Gintama DS: Yorozuya Daisoudou" (ภาษาอังกฤษ). GameSpot. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  27. "Gintama: Gintoki vs. Dokata" (ภาษาอังกฤษ). GameSpot. สืบค้นเมื่อ 10 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  28. "銀魂公式キャラクターブック「銀ちゃんねる!」" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  29. "銀魂公式キャラクターブック2 「銀魂五年生」" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  30. "オフィシャルアニメーションガイド 銀魂あにめガヤガヤ箱" (ภาษาญี่ปุ่น). ชูเอฉะ. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  31. "Shounen Jump Manga Circulation Numbers". Comipress. June 1, 2006. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  32. "Comipress News article on "The Rise and Fall of Weekly Shōnen Jump"". Comipress. May 6, 2007. สืบค้นเมื่อ 2 มิถุนายน 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  33. "ジャンプ作品売り上げ推移" (ภาษาญี่ปุ่น). GeoCities. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2551. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น