ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกาะนาแวสซา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: ta:நவாசா தீவு
TXiKiBoT (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: lt:Navasa
บรรทัด 65: บรรทัด 65:
[[kw:Ynys Navassa]]
[[kw:Ynys Navassa]]
[[lb:Navassa]]
[[lb:Navassa]]
[[lt:Navasa]]
[[lv:Navasas sala]]
[[lv:Navasas sala]]
[[mk:Остров Наваса]]
[[mk:Остров Наваса]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:51, 17 ตุลาคม 2552

เกาะนาวาสซา

เกาะนาวาสซา (อังกฤษ: Navassa Island; ฝรั่งเศส: La Navase) เป็นเกาะร้างขนาดเล็กในทะเลแคริบเบียนอยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกาผ่านองค์การบริหารปลาและสัตว์ป่าแห่งสหรัฐ (US Fish and Wildlife Service) นอกจากนั้นเฮติได้อ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะแห่งนี้เช่นเดียวกัน

ลักษณะทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศ

เกาะนาวาสซามีขนาดประมาณ 2 ตารางไมล์ (5.2 ตารางกิโลเมตร) โดยเกาะตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์ห่างจากฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่อ่าวกวนตานาโม ในคิวบาประมาณ 100 กิโลเมตรหรือ 90 ไมล์ทะเล ซึ่งคิดเป็นหนึ่งในสี่ของระยะทางจากจาเมกาไปยังเฮติ โดยจุดที่สูงที่สุดสูงประมาณ 77 เมตรอยู่ห่างจากประภาคาร Navassa Island Light ไปทางใต้ประมาณ 100 เมตร

ลักษณะภูมิประเทศของเกาะนาวาสซาส่วนใหญ่แล้วจะประกอบไปด้วยหินปูนและยอดของแนวปะการังที่โผล่พ้นน้ำ โดยชายฝั่งของเกาะเป็นหน้าผาสูง 15 เมตร แต่บนเกาะเองก็มีทุ่งหญ้าที่ใหญ่พอที่จะให้ฝูงแพะมาอาศัยอยู่ได้ นอกจากนี้บนเกาะยังมีต้นไม้ตระกูลมะเดื่อ และกระบองเพชรขึ้นกระจายอยู่ทั่วไป โดยทั่วไปแล้วลักษณะภูมิประเทศและนิเวศวิทยาของเกาะนาวาสซาคล้ายคลึงกับเกาะโมนา ซึ่งเป็นเกาะหินปูนขนาดเล็กอยู่ในช่องแคบโมนาที่ตังอยู่ระหว่างเฮติและสาธารณรัฐโดมินิกัน นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ของทั้งสองเกาะนี้ยังคล้ายคลึงกันมากอีกด้วย กล่าวคือ ทั้งสองเกาะเป็นดินแดนของสหรัฐอเมริกา เคยผ่านการทำเหมืองกัวโนมาแล้ว และปัจจุบันนี้ได้ถูกประกาศให้เป็นเขตคุ้มครองธรรมชาติเหมือนกัน นอกจากชาวประมงเฮติและคนอื่นๆที่มักแวะเวียนมาพักบนเกาะนี้ เกาะนาวาสซาไม่มีผู้คนอาศัยอยู่แต่อย่างใด ดังนั้นบนเกาะจึงไม่มีท่าเรืออยู่เลย ทรัพยากรธรรมชาติอย่างเดียวของเกาะ คือ กัวโน หรือมูลนกที่นิยมมาใช้ทำปุ๋ย กิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆประกอบไปด้วยการประมงขนาดเล็กและการลากอวนเชิงพาณิชย์เท่านั้น

ประวัติศาสตร์ของเกาะ

ในปี ค.ศ. 1504 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส ผู้ซึ่งในขณะนั้นติดอยู่บนเกาะจาเมก้า ได้ส่งลูกเรือไปยังเกาะ Hispaniola เพื่อขอความช่วยเหลือ ระหว่างทางพวกเขาพบเกาะขนาดเล็ก และเมื่อทำการสำรวจก็พบว่าไม่มีน้ำจืดบนเกาะเลย ดังนั้นลูกเรือจึงขนานนามให้เกาะว่า Navaza (Nava แปลว่าที่ราบหรือทุ่ง) หลังจากนั้นเกาะแห่งนี้ก็ถูกหลีกเลี่ยงโดยชาวเรือต่อมาอีกกว่า 350 ปี

แม้ว่าทางการเฮติจะได้ทำการอ้างกรรมสิทธิ์เหนือเกาะแห่งนี้มาก่อนแล้ว แต่เกาะนาวาสซาก็ถูกสหรัฐอเมริกาอ้างสิทธิ์ในปี ค.ศ. 1857 โดย Peter Duncan กัปตันเดินเรือชาวอเมริกัน และกลายเป็นเกาะแห่งที่สามที่ถูกอเมริกาเข้าครอบครองภายใต้กฎหมาย Guano Islands Act ที่ถูกประกาศใช้ในปี ค.ศ. 1856 โดยสาเหตุที่อเมริกาเข้าครอบครองเกาะแห่งนี้ก็เป็นเพราะความอุดมสมบูรณ์ของกัวโนนั่นเอง หลังจากนั้นสหรัฐอเมริกาก็ทำขุดกัวโนไปตั้งแต่ปี 1865 ถึง 1898 แม้ว่าเฮติจะทำการคัดค้านการผนวกดินแดนของสหรัฐอเมริกาในครั้งนี้ แต่สหรัฐอเมริกาก็ปฏิเสธการอ้างสิทธิ์ของเฮติมาตลอด และในปี 1857 ก็ทำการครอบครองเกาะในฐานะที่เป็น unincorporated unorganized territories (ดินแดนที่ถูกผนวกโดยสหรัฐอเมริกา แต่ไม่ถูกรวมเข้ากับรัฐใดรัฐหนึ่ง และไม่มีรัฐบาลท้องถิ่นคอยปกครอง)

ในช่วงกลางศตวรรษที่สิบเก้า กัวโนฟอสเฟตเป็นเป็นปุ๋ยที่การเกษตรของอเมริกาใช้เป็นหลัก Duncan ได้ทำการโอนย้ายกรรมสิทธิ์ในฐานะผู้ค้นพบไปยังนายจ้าง ซึ่งเป็นพ่อค้ากัวโนชาวอเมริกันในจาเมกา ซึ่งได้ทำการขายต่อให้กับบริษัทที่เพิ่งก่อตั้งนามว่า Navassa Phospate Company ในบัลติมอร์ ภายหลังสงครามกลางเมืองอเมริกา บริษัทได้ทำการสร้างเหมืองที่มีขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งประกอบไปด้วยค่ายสำหรับจุคนงานผิวดำจากรัฐแมรี่แลนด์จำนวน 140 คน บ้านสำหรับหัวหน้างานผิวขาว ร้านช่างเหล็ก คลัง และโบสถ์ 1 หลัง การทำเหมืองเริ่มขึนในปี ค.ศ. 1865 โดยคนงานจะทำการขุดกัวโนโดยใช้ระเบิดและพลั่ว (Pickaxe) จากนั้นจะลำเลียงโดยรถรางไปยังอ่าว Lulu เพื่อทำการลำเลียงกัวโนลงเรือของบริษัทนามว่า SS Romance ต่อไป โดยบริเวณที่พักอาศัยในอ่าว Lulu ถูกเรียกว่า Lulu Town ซึงเป็นเมืองที่เคยปรากฏอยู่ในแผนที่ในสมัยนั้น ต่อมาได้มีการขยายรางให้เข้าไปในเกาะมากยิ่งขึ้น

เนื่องจากการขนส่งกัวโนเป็นงานที่ใช้แรงคนเพียงอย่างเดียว และยังเป็นการทำงานภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ร้อนจัด ประกอบกับสภาวะแวดล้อมโดยทั่วไปของเกาะก็ไม่อำนวยต่อการอยู่อาศัย ทำให้ในที่สุดคนงานได้ก่อการจลาจลบนเกาะในปี ค.ศ. 1889 ส่งผลให้มีหัวหน้างานเสียชีวิตไป 5 คน ภายหลังการจลาจลเรือรบของสหรัฐอเมริกาได้ทำการขนส่งคนงาน 18 คนกลับไปยังบัลติมอร์เพื่อขึ้นศาลในข้อหาฆาตกรรมใน 3 คดี โดยสมาคมลับชาวผิวดำนามว่า The Order of Galilean Fisherman ได้ทำการระดมทุนเพื่อช่วยเหลือคนงานในการต่อสู้คดีในชั้นศาล โดยแก้ต่างว่าคนงานได้กระทำลงไปเพื่อเป็นการป้องกันตนเองหรือเกิดจากการบันดาลโทสะ และยังได้โต้แย้งว่าสหรัฐอเมริกาไม่มีอำนาจตุลาการที่เหมาะสมในการตัดสินคดีความใดๆที่เกิดขึ้นบนเกาะ ท้ายที่สุดแล้วคดีก็ได้ไปถึงชั้นศาลสูงสุดในเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 1890 ซึ่งศาลมีคำตัดสินว่ากฎหมาย Guano Act นั้นถูกต้องตามรัฐธรรมนูญ และให้ประหารชีวิตคนงานเหมือง 3 คนในฤดูใบไม้ผลิของปี ค.ศ. 1891 ภายหลังการตัดสินของศาล ได้มีการยื่นฎีกาโดยโบสถ์ชาวผิวดำทั่วประเทศ และลูกขุนผิวขาวสามคนจากทั้งสามคดี ไปยังประธานาธิบดีเบนจามิน แฮริสัน ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนแปลงคำตัดสินให้เหลือเพียงการจำคุกในที่สุด

หลังจากนั้นก็ได้มีการทำเหมืองกัวโนบนเกาะนาวาสซาอีกครั้ง แต่ในขนาดที่เล็กลงมาก สงครามระหว่างสเปนและสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1898 ส่งผลให้บริษัทต้องทำการอพยพคนออกจากเกาะและเข้าสู่ภาวะล้มละลายในที่สุด เจ้าของใหม่ของเกาะตัดสินใจที่จะคืนเกาะให้กลับคืนสู่ธรรมชาติในปี ค.ศ. 1901

เกาะนาวาสซากลับมามีความสำคัญอีกครั้งภายหลังการเปิดคลองปานามาในปี ค.ศ. 1904 ซึ่งส่งผลให้การเดินเรือระหว่างชายฝั่งตะวันออกของอเมริกากับคลองปานามาต้องผ่านช่องแคบ Westward (Westward Passage) ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างคิวบาและเฮติ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีประภาคารบนเกาะนาวาสซาซึ่งเป็นอุปสรรคที่สำคัญในการเดินเรือผ่านช่องแคบแห่งนี้ ในที่สุด US Lighthouse Service ก็ได้ทำการสร้างประภาคาร Navassa Island Light สูง 162 ฟุต (46 เมตร) ขึ้นบนเกาะในปีค.ศ. 1917 ที่ระดับความสูง 395 ฟุตหรือ 120 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล โดยมีผู้ดูแลและผู้ช่วยสองคนคอยทำหน้าที่ดูแลรักษาอยู่บนเกาะ จนกระทั่งได้มีการติตตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติให้กับประภาคารในปีค.ศ. 1929 จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีผู้ดูแลประภาคารคอยประจำอยู่บนเกาะ และภายหลังจากที่ US Lighthouse Service ถูกยุบรวมเข้ากัย US Coast Guard US Coast Guard ก็กลายเป็นหน่วยงานที่คอยดูแลซ่อมแซมประภาคารแห่งนี้ โดยมีการตรวจสภาพปีละสองครั้ง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งหน่วยสังเกตการณ์บนเกาะ และหลังจากสิ้นสุดสงคราม กองทัพเรือได้ทำการถอนกำลังออกไป และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน ก็ไม่มีผู้อาศัยอยู่บนเกาะ โดยในปี ค.ศ. 1930 ได้มีการสำรวจทางวิทยาศาสตร์โดยมหาวิทยาลัย Harvard เพื่อศึกษาชีวิตบนเกาะและในทะเลโดยรอบ

ในช่วงปีค.ศ. 1903 ถึง 1917 เกาะแห่งนี้เป็นดินแดนที่ขึ้นอยู่กับฐานทัพเรือของสหรัฐอเมริกาในอ่าวกัวตานาโม และในช่วง 1917 ถึง 1996 เกาะได้ถูกโอนมาให้ US Coast Guard คอยเป็นผู้ดูแล ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 1996 เกาะได้รับการดูแลโดยกระทรวงกิจการภายในของสหรัฐอเมริกา โดยในวันที่ 29 สิงหาคม 1996 US Coast Guard ได้ทำการรื้อประภาคารออกเพื่อโอนการดูแลไปยังกระทรวงกิจการภายใน

ภายหลังจากการสำรวจทางวิทยาศาสตร์โดย Center of Marine Conservation ในกรุงวอชิงตัน เกาะนาวาสซาได้รับการยกย่องให้เป็น แหล่งอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของทะเลแคริบเบียน ส่งผลให้ในวันที่ 3 ธันวาคม 1999 US Fish and Wildlife Service ได้เข้าควบคุมดูแลเกาะแห่งนี้ และได้กลายเป็นพื้นที่อนุรักษ์ในที่สุด

อ้างอิง