ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไรชส์อุนมิทเทิลบาร์ไคท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
* [[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]
* [[จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]]
* [[ราชนครรัฐอิสระ]]
* [[ราชนครรัฐอิสระ]]
* [[ราชฆราวัสจักร]] <!--(Imperial State) ไม่ใช่ราชอาณาจักร แต่เป็นอาณาจักรที่ได้รับสิทธิพิเศษ)-->
* [[ราชรัฐของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์]] <!--(Imperial State) ไม่ใช่ราชอาณาจักร แต่เป็นอาณาจักรที่ได้รับสิทธิพิเศษ)-->
* [[ราชสังฆาจักร]] <!--(Imperial Abbey)-->
* [[ราชสังฆาจักร]] <!--(Imperial Abbey)-->
* [[การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี]]
* [[การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:00, 28 กันยายน 2552

รัฐจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปี ค.ศ. 1789 แต่ละรัฐที่เห็นเป็นสีต่างๆ ต่างก็มีสิทธิทางการปกครองและทางด้านการยุติธรรมที่ต่างกันไปตามแต่จะระบุโดยพระจักรพรรดิ

ราชรัฏฐาภิสิทธิ์ (เยอรมัน: Reichsfreiheit หรือ Reichsunmittelbarkeit, อังกฤษ: Imperial immediacy) เป็นฐานะหรือสิทธิทางการเมืองที่มอบให้แก่ราชนครรัฐอิสระ, คริสต์ศาสนสถาน หรือ ราชรัฐชั้นรองโดยจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ รัฐที่ได้รับ "ราชรัฏฐาภิสิทธิ์" เช่น “แอบบีอภิสิทธิ์” หรือ “ดินแดนอภิสิทธิ์” อยู่ภายใต้การปกครองโดยตรงของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์และราชสภา (Reichstag) โดยไม่ตัองมีเจ้าผู้ครองอื่นเป็นตัวกลาง ในภาษาสมัยปัจจุบันก็หมายถึงรูปแบบของรัฐที่ปกครองตนเอง

ผลได้ผลเสีย

ผลได้ของการเป็นราชรัฏฐาภิสิทธิ์คือสิทธิในการเรียกเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม, มีตลาด, พิมพ์เหรียญกษาปณ์, มีกองทัพ และมีระบบยุติธรรมของตนเองได้ สิทธิหลังสุดอาจจะรวม “ศาลเลือด” (Blutgericht) หรือศาลอาญาที่มีสิทธิลงโทษผู้ทำผิดถึงประหารชีวิตได้ สิทธิเหล่านี้ขึ้นอยู่การการมอบให้ในพระราชประกาศสิทธิโดยพระจักรพรรดิ

ผลเสียของการเป็นราชรัฏฐาภิสิทธิ์อาจจะรวมทั้งการเข้ายุ่งเกี่ยวโดยตรงโดยตรงของจักรวรรดิ เช่นที่เกิดขึ้นหลายครั้งในเมืองทางตะวันตกเฉียงใต้หลังจากสงครามชมาคาลดิค (Schmalkaldic War) และการจำกัดหรือการสูญเสียสิทธิที่ได้รับมอบทั้งหมดถ้าพระจักรพรรดิหรือราชสภาไม่สามารถปกป้องสิทธิดังกล่าวได้จากการต่อต้านหรือรุกรานจากภายนอก เช่นที่เกิดขึ้นระหว่างสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่หนึ่งของสงครามการปฏิวัติฝรั่งเศส (French Revolutionary Wars) หรือระหว่างสงครามมหาสัมพันธมิตรครั้งที่สองในสงครามนโปเลียน สนธิสัญญาลูนเนวิลล์ (Treaty of Lunéville) ที่ลงนามกันเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1801 ระหว่างสาธารณรัฐฝรั่งเศสและจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ระบุให้พระจักรพรรดิสละพระราชสิทธิทุกอย่างที่มีต่อจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในการประชุมครั้งสุดท้ายของราชสภา (เยอรมัน: Reichsdeputationshauptschluss) ในปี ค.ศ. 1802 ถึงปี ค.ศ. 1803 หรือที่เรียกว่า “การปฏิรูปดินแดนในเยอรมนีราชนครรัฐอิสระและสังฆาจักรเกือบทั้งหมดต่างก็สูญเสีย “ราชรัฏฐาภิสิทธิ์” และถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของฆราวัสจักรที่ปกราชวงศ์ต่างๆ

ปัญหาในความเข้าใจจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

การที่จะทำความเข้าใจถึงการมอบหรือการใช้ “ราชรัฏฐาภิสิทธิ์” ทำให้ประวัติของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นระบบที่ยากต่อการเข้าใจ โดยเฉพาะในบรรดานักประวัติศาสตร์ แม้แต่โดยนักประวัติศาสตร์ร่วมสมัยเช่นโยฮันน์ โวล์ฟกัง ฟอน เกอเธอ และ โยฮันน์ กอทท์ลีบ ฟิคท์ (Johann Gottlieb Fichte) ผู้เรียกจักรวรรดิว่า “มหายักษ์” ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 นักประวัติศาสตร์ผู้เขียนเกี่ยวกับจักรวรรดิว่าไม่เป็นทั้ง “โรมัน” และ ไม่ทั้ง “ศักดิ์สิทธิ์” หรือ ไม่แม้แต่เป็น “จักรวรรดิ” เมื่อเทียบกับ “จักรวรรดิบริติช” มีความเห็นว่าจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์เป็นความล้มเหลวอันใหญ่หลวงที่รุ่งเรืองถึงจุดสูงสุดเมื่อต้นยุคกลาง และเสื่อมโทรมลงตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา[1] หลังจากการตีพิมพ์งานของเจมส์ ไบรซ์ชิ้นใหญ่เกี่ยวกับจักรวรรดิที่มีชื่ออันเหมาะสมว่า “จักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์” เป็นเวลาเกือบหนึ่งร้อยปี ทัศนคตินี้ก็เป็นทัศนคติของนักประวัติศาสตร์ของสมัยใหม่ตอนต้นเกือบทุกคนเรื่อยมา ซึ่งมีส่วนในการวางรากฐานของปรัชญาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เยอรมันที่เป็นที่โต้แย้งกันที่เรียกว่า “วิถีพิเศษ” (Sonderweg)[2]

อ้างอิง

  1. James Bryce (1838-1922), Holy Roman Empire, London, 1865.
  2. James Sheehan, German History 1770-1866, Oxford, Oxford University Press, 1989. Introduction, pp. 1-8.
  • Braun, B.: Reichsunmittelbarkeit in German, French and Italian in the online Historical Dictionary of Switzerland. Version of 2005-05-03. URL last accessed 2006-11-29.
  • Bryce, James (1838-1922), Holy Roman Empire, London, 1865.
  • Sheehan, James, German History 1770-1866, Oxford, Oxford University Press, 1989.

ดูเพิ่ม