ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระนางตารา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JAnDbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: pl:Tārā (buddyzm)
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: de:Tara (Bodhisattvi); ปรับแต่งให้อ่านง่าย
บรรทัด 5: บรรทัด 5:
== ประวัติการนับถือ ==
== ประวัติการนับถือ ==


คาดว่าแนวคิดการนับถือพระนางตาราเริ่มเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 และกลายเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือแพร่หลายในพุทธศตวรรษที่ 13-17 มีผู้นับถือมากใน[[เนปาล]] ทิเบต และ[[มองโกเลีย]] เชื่อกันว่าแนวคิดการบูชาพระนางตาราเริ่มขึ้นในอินเดียเพื่อต่อต้านพิธีกรรม[[สตี]]
คาดว่าแนวคิดการนับถือพระนางตาราเริ่มเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 และกลายเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือแพร่หลายในพุทธศตวรรษที่ 13-17 มีผู้นับถือมากใน[[เนปาล]] ทิเบต และ[[มองโกเลีย]] เชื่อกันว่าแนวคิดการบูชาพระนางตาราเริ่มขึ้นในอินเดียเพื่อต่อต้านพิธีกรรม[[สตี]]


พระนางตาราได้รับการยกย่องว่าเป็นมารดาของ[[พระพุทธเจ้า]]และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในด้านของกรุณา ภาพลักษณ์ของพระนางส่วนหนึ่งจีนตนาการมาจาก[[พระนางสิริมหามายาเทวี]] มารดาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
พระนางตาราได้รับการยกย่องว่าเป็นมารดาของ[[พระพุทธเจ้า]]และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในด้านของกรุณา ภาพลักษณ์ของพระนางส่วนหนึ่งจีนตนาการมาจาก[[พระนางสิริมหามายาเทวี]] มารดาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน
บรรทัด 31: บรรทัด 31:
[[bo:འཕགས་མ་སྒྲོལ་མ་ལ་བསྟོད་པ།]]
[[bo:འཕགས་མ་སྒྲོལ་མ་ལ་བསྟོད་པ།]]
[[cs:Tárá]]
[[cs:Tárá]]
[[de:Tara (Bodhisattva)]]
[[de:Tara (Bodhisattvi)]]
[[en:Tara (Buddhism)]]
[[en:Tara (Buddhism)]]
[[es:Tārā]]
[[es:Tārā]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:16, 25 กันยายน 2552

พระนางตาราเขียวหรือพระศยามตาราโพธิสัตว์ Kumbm, Gyantse, Tibet, 2536

พระนางตาราเป็นพระโพธิสัตว์ฝ่ายหญิงในพระพุทธศาสนาแบบทิเบต คำว่าตารามาจากภาษาสันสกฤตหมายถึงข้าม การบูชาพระนางเริ่มเมื่อพุทธศตวรรษที่ 8 - 11 ในอินเดียเหนือและแพร่หลายที่สุดในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13 - 17 โดยถือว่าเป็นชายาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ปัจจุบันมีนับถือในทิเบต ส่วนชาวพุทธในจีนจะนับถือเจ้าแม่กวนอิมที่เป็นภาคหญิงของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์แทน

ประวัติการนับถือ

คาดว่าแนวคิดการนับถือพระนางตาราเริ่มเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 8 และกลายเป็นพระโพธิสัตว์ที่มีผู้นับถือแพร่หลายในพุทธศตวรรษที่ 13-17 มีผู้นับถือมากในเนปาล ทิเบต และมองโกเลีย เชื่อกันว่าแนวคิดการบูชาพระนางตาราเริ่มขึ้นในอินเดียเพื่อต่อต้านพิธีกรรมสตี

พระนางตาราได้รับการยกย่องว่าเป็นมารดาของพระพุทธเจ้าและพระโพธิสัตว์ทั้งหลายในด้านของกรุณา ภาพลักษณ์ของพระนางส่วนหนึ่งจีนตนาการมาจากพระนางสิริมหามายาเทวี มารดาของพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

กำเนิดและรูปลักษณ์

ตำนานทางพุทธศาสนามหายานกล่าวว่าพระนางตาราเกิดจากน้ำตาของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ เมื่อมองเห็นว่าสัตว์โลกมีแต่ความทุกข์ เมื่อน้ำตาของพระองค์ไหลลงมาจนกลายเป็นทะเลสาบ จึงเกิดดอกบัวขึ้น และในดอกบัวนั้นมีพระนางตาราสถิตย์อยู่ ตำนานบางฉบับกล่าวว่า พระนางตาราเกิดจากรังสีธรรมของพระอมิตาภะพุทธะ

รูปลักษณ์ดั้งเดิมของพระนางตารามี 2 แบบ คือพระนางตาราเขียวมีผู้นับถือมากในทิเบต และพระนางตาราขาวมีผู้นับถือมากในมองโกเลีย เมื่อแนวคิดเกี่ยวกับการบูชาพระนางตาราพัฒนาขึ้น จึงมีการสร้างภาคโกรธและภาคดุขึ้นมาหลายแบบ เช่น พระนางตาราน้ำเงิน อุครตารา เอกชฎะ ภาคเอกชฎะนี้เป็นภาคดุที่แพร่หลายที่สุด กายสีน้ำเงิน มีตาที่สามบนหน้าผาก ตกแต่งร่างกายด้วยงูและพวงมาลัยศีรษะคน เหยียบอยู่บนร่างของคนตาย นอกจากนี้ยังมีการสร้างพระนางตาราในภาคที่เป็นเทพแห่งความรักหรือเทพแห่งการรักษาโรคอีกด้วย

พระนางตาราปางต่างๆ

ในทิเบต พระนางตารามีหลายปางคือ

  • พระนางตาราขาว หรือ พระจินดามณีจักรตารา ทรงชุดขาวล้วน ถือดอกบัวบาน เป็นตัวแทนของความกรุณา มีพระเนตร 7 ดวง หมายถึงเฝ้ามองสรรพสัตว์อยู่ตลอดเวลา พระหัตถ์ขวาประทานพร พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัว และทำมุทราไตรลักษณ์
  • พระนางตาราเขียว หรือพระศยามตารา ทรงชุดเขียวล้วน ถือดอกบัวตูมสีน้ำเงิน ออกโปรดสรรพสัตว์ในเวลากลางคืน
  • พระนางตาราแดง ทรงสีแดงทับทิม หมายถึงความปรารถนาของสรรพสัตว์ที่จะหลุดพ้นจากสังสารวัฏ ประทับบนพระอาทิตย์
  • พระนางตาราดำ ทรงสีดำ หมายถึงสุญญตา ซึ่งเป็นความสามารถในการข้ามพ้นอวิชชา ความเห็นผิดต่างๆ

อ้างอิง

  • ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. ศูนย์ไทยทิเบต. 2538
  • สุมาลี มหณรงค์ชัย. พระชินพุทธะห้าพระองค์. กทม. ศูนย์ไทยธิเบต. 2547