ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาวิทยาลัยเอดินบะระ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mcmcmc (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขลิงค์
Mcmcmc (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขลิงค์
บรรทัด 78: บรรทัด 78:


== แหล่งข้อมูลอื่น ==
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.mcducation.org/ สถาบันส่งเสริมการศึกษาต่อสกอตแลนด์]
* [http://www.ed.ac.uk/ The University of Edinburgh] มหาวิทยาลัยเอดินบะระ
* [http://www.ed.ac.uk/ The University of Edinburgh] มหาวิทยาลัยเอดินบะระ
* [http://www.studentnewspaper.org/ Student newspaper]   หนังสือพิมพ์นักศึกษาของมหาวิทยาลัย
* [http://www.studentnewspaper.org/ Student newspaper]   หนังสือพิมพ์นักศึกษาของมหาวิทยาลัย

* [http://www.mcducation.org/ สถาบันส่งเสริมการศึกษาต่อสกอตแลนด์]


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:01, 17 กันยายน 2552

มหาวิทยาลัยเอดินบะระ
ตราประจำมหาวิทยาลัย
ประเภทรัฐ
สถาปนาพ.ศ. 2126
ตึกโอลด์คอลเลจ ที่ตั้งของคณะนิติศาสตร์

มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (อังกฤษ: The University of Edinburgh ; ละติน: Universitas Academica Edinburgensis) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1583 เป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในด้านการสอนและการวิจัย ตั้งอยู่ที่เมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ สหราชอาณาจักร เอดินบะระเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยโบราณของสกอตแลนด์ และเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่ใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดในสหราชอาณาจักร

เอดินบะระเป็นสมาชิกของกลุ่มรัสเซล (Russell Group) ซึ่งเป็นกลุ่มมหาวิทยาลัยวิจัยของสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ยังเป็นมหาวิทยาลัยเดียวของสกอตแลนด์ (และมหาวิทยาลัยเดียวในสหราชอาณาจักร นอกเหนือจาก เคมบริดจ์ และอ๊อกซฟอร์ด) ที่เป็นสมาชิกของ Coimbra Group และ LERU สองกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำของยุโรป และยังเป็นสมาชิกของเครือข่ายมหาวิทยาลัยวิจัย Universitas 21 อีกด้วย

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 18 มหาวิทยาลัยเอดินบะระได้กลายเป็นศูนย์กลางของยุครู้แจ้งของยุโรป (European Enlightenment) และกลายเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่สำคัญที่สุดของทวีปยุโรป

ประวัติ

เอดินบะระเป็นหนึ่งในสี่มหาวิทยาลัยเก่าแก่ของสกอตแลนด์ ซึ่งประกอบไปด้วย มหาวิทยาลัยเซนต์แอนดริวส์, มหาวิทยาลัยกลาสโกว์, มหาวิทยาลัยอเบอร์ดีน, และ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ (เรียงตามความเก่าแก่จากมากไปน้อย) ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1583 ในช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเมืองเอดินบะระ และนับเป็นมหาวิทยาลัยแรก ที่เงินทุนสนับสนุนมาจากสภาเมือง (แทนที่จะเป็นจากโบสถ์ดังเช่นมหาวิทยาลัยทั่วไปในสมัยนั้น). สาขาวิชาแรกที่เปิดสอนคือ กายวิภาคศาสตร์ และวิชาที่ต่อมาได้พัฒนากลายเป็นวิชาศัลยกรรม จากนั้นก็ได้ขยายการเรียนการสอนไปสู่สาขาอื่น ๆ อาคารหลังแรกของมหาวิทยาลัย คือ โอลด์คอลเลจ (Old College) ตั้งอยู่บนถนนเซาท์บริดจ์ บริเวณเมืองเก่า (โอลด์ทาวน์; Old town) ของเมือง (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของคณะนิติศาสตร์ และสำนักงานฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัย)

ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีหลักสูตรครอบคลุมเกือบทุกสาขาวิชา ยกเว้นด้านเกษตรกรรม (วิทยาลัยเกษตรกรรมสก็อต มีอาคารตั้งอยู่ในบริเวณวิทยาเขตคิงส์บิลดิ้งของมหาวิทยาลัย แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัย) และมีสำนักวิชาวิทยาการสารสนเทศที่ใหญ่มาก โดยเป็นหนึ่งในผู้นำของโลกในสาขานี้ โดยเฉพาะด้านปัญญาประดิษฐ์, ภาษาศาสตร์เชิงคำนวณ, ชีววิทยาระบบ, และวิทยาการคอมพิวเตอร์เชิงทฤษฎี

ที่ตั้ง

Teviot Row House อาคารสหภาพนักศึกษา ที่สร้างขึ้นมาเป็นการเฉพาะ ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

อาคารของมหาวิทยาลัยตั้งกระจายอยู่โดยรอบเมือง โดยมีสองวิทยาเขตใหญ่คือ จอร์จสแควร์ เป็นที่ตั้งของกลุ่มคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ คิงส์บิลดิ้ง เป็นที่ตั้งของกลุ่มคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีวิทยาเขตอื่น ๆ อีก ได้แก่ คณะเทววิทยา ที่ the Mound, คณะศึกษาศาสตร์ ที่ปลายถนนรอยัลไมล์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ ที่ Summerhall ติดกับสวนสาธารณะ the Meadows, กลุ่มคณะแพทยศาสตร์ ที่ Little France, และ Pollock Halls ซึ่งเป็นกลุ่มอาคารหอพักนักศึกษา

ชื่อเสียง

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดย เดอะการ์เดียน ปี 2008 ได้จัดอันดับมหาวิทยาลัยเอดินบะระไว้ดังนี้

  • ที่ 1 ของ UK ทางด้านคอมพิวเตอร์
  • ที่ 1 ของ UK ทางด้านฟิสิกส์
  • ที่ 2 ของ UK ทางด้านการแพทย์
  • ที่ 2 ของ UK ทางด้านสัตวแพทย์
  • ที่ 7 ของ UK โดยภาพรวม

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย ไทมส์ไฮเออร์เอดูเคชันซัปพลีเมนต์ เมื่อปี ค.ศ. 2005 (The 2005 Times Higher Education Supplement [THES] World University Rankings) จัดอันดับมหาวิทยาลัยเอดินบะระดังนี้:

  • ที่ 16 ของโลก ด้านชีวเวช
  • ที่ 14 ของโลก จากมุมมองของผู้จ้างงาน
  • ที่ 27 ของโลก ด้านศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์
  • ที่ 38 ของโลก ด้านวิทยาศาสตร์
  • ที่ 30 ของโลก โดยภาพรวม

การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดย มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้ เจียวทง (The Academic Ranking of World Universities 2005 [ARWU]) จัดอันดับมหาวิทยาลัยเอดินบะระดังนี้:

  • ที่ 5 ของสหราชอาณาจักร
  • ที่ 9 ของยุโรป
  • ที่ 47 ของโลก

ปี ค.ศ. 2005 มหาวิทยาลัยได้รับเลือกจากหนังสือพิมพ์ซันเดย์ไทมส์ (สหราชอาณาจักร) เป็นมหาวิทยาลัยสกอตแลนด์แห่งปี (Sunday Times Scottish University of the Year)

ปี ค.ศ. 2006 หนังสือแนะนำมหาวิทยาลัยโดยหนังสือพิมพ์ไทมส์ (สหราชอาณาจักร) (The Times Good University Guide 2006) จัดอันดับมหาวิทยาลัยเอดินบะระเป็นอันดับที่ 5 ของสหราชอาณาจักรในภาพรวม และอันดับที่ 4 ในด้านคุณภาพการเรียนการสอน

เกร็ดน่ารู้

  • หลาย ๆ คณะของมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะคณะแพทย์ศาสตร์ ถูกสร้างขึ้นตามแบบมหาวิทยาลัยเอดินบะระ
  • คณะแพทย์ศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแม็กกิลล์ (McGill University) ถูกก่อตั้งขึ้นตามอย่างจากมหาวิทยาลัยเอดินบะระ และคณาจารย์ผู้ก่อตั้งก็จบจากเอดินบะระ
  • มหาวิทยาลัยควีนส์ ในแคนาดา ถูกก่อตั้งตามแบบมหาวิทยาลัยเอดินบะระ และยังมีขนบธรรมเนียมตามแบบสก็อตจนถึงปัจจุบัน
  • เอดินบะระเป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับเงินบริจาคมากที่สุดเป็นอันดับ 3 ของสหราชอาณาจักร รองจากออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์
  • เอดินบะระเป็นมหาวิทยาลัยที่มีศิษย์เก่าเป็นนายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรมากรองจากออกซฟอร์ดและเคมบริดจ์[1]

ศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง

แหล่งข้อมูลอื่น


อ้างอิง

  1. มหาวิทยาลัยเอดินบะระ