ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กลุ่มภาษาเซมิติก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Muanglanna (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
บรรทัด 257: บรรทัด 257:
ภาษาเมห์รีมีบรรพบุรุษใกล้เคียงกับภาษากลุ่มเซมิติกตะวันออก มากกว่าภาษากลุ่มเซมิติกใต้ ทุกวันนี้ ภาษาเมห์รีถูกจัดให้อยู่ระหว่างภาษากลุ่มเซมิติกใต้ตะวันออก หรือเป็นกลุ่มอิสระ
ภาษาเมห์รีมีบรรพบุรุษใกล้เคียงกับภาษากลุ่มเซมิติกตะวันออก มากกว่าภาษากลุ่มเซมิติกใต้ ทุกวันนี้ ภาษาเมห์รีถูกจัดให้อยู่ระหว่างภาษากลุ่มเซมิติกใต้ตะวันออก หรือเป็นกลุ่มอิสระ
[[หมวดหมู่:ภาษากลุ่มเซมิติก| ]]
[[หมวดหมู่:ภาษากลุ่มเซมิติก| ]]

[[arz:لغات ساميه]]


[[af:Semitiese taalfamilie]]
[[af:Semitiese taalfamilie]]
บรรทัด 263: บรรทัด 265:
[[an:Luengas semiticas]]
[[an:Luengas semiticas]]
[[ar:لغات سامية]]
[[ar:لغات سامية]]
[[arz:لغات ساميه]]
[[bg:Семитски езици]]
[[bg:Семитски езици]]
[[br:Yezhoù semitek]]
[[br:Yezhoù semitek]]
บรรทัด 277: บรรทัด 278:
[[es:Lenguas semíticas]]
[[es:Lenguas semíticas]]
[[et:Semi keeled]]
[[et:Semi keeled]]
[[fa:زبان‌های سامی]]
[[fi:Seemiläiset kielet]]
[[fi:Seemiläiset kielet]]
[[fr:Langues sémitiques]]
[[fr:Langues sémitiques]]
บรรทัด 310: บรรทัด 312:
[[sk:Semitské jazyky]]
[[sk:Semitské jazyky]]
[[sl:Semitski jeziki]]
[[sl:Semitski jeziki]]
[[sr:Семитски језици]]
[[sv:Semitiska språk]]
[[sv:Semitiska språk]]
[[sw:Lugha ya Kisemiti]]
[[sw:Lugha ya Kisemiti]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 03:42, 16 กันยายน 2552

จดหมายของอมาร์นา เขียนด้วย ภาษาอัคคาเดีย

ภาษากลุ่มเซมิติกเป็นกลุ่มของภาษาที่มีผู้พูดมากกว่า 300 ล้านคนในปริเวณแอฟริกาเหนือ ตะวันออกกลางและจงอยของแอฟริกา เป็นสาขาย่อยในตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติก และเป็นสาขาเดียวของตระกูลนี้ที่มีผู้พูดในทวีปเอเชีย ภาษากลุ่มเวฒิติกที่มีผู้พูดมากที่สุดคือภาษาอาหรับ (ภาษาแม่ 325 ล้านคน) รองลงมาคือภาษาอัมหาริก (27 ล้านคน) ภาษาตริกรินยา (6.7 ล้านคน) และภาษาฮีบรู (5 ล้านคน)

ภาษากลุ่มเซมิติกเป็นภาษากลุ่มแรกๆ ที่มีระบบการเขียน ภาษาอัคคาเดียเริ่มเขียนตั้งแต่ราว 2,000 ปีก่อนพุทธศักราช นอกจากนั้นยังมีอักษรโบราณที่ใช้เขียนภาษากลุ่มเซมิติกมากมาย เช่น อักษรฟินิเชียน อักษรอาหรับ อักษรอราเมอิก อักษรซีเรียค อักษรอาระเบียใต้ และอักษรเอธิโอปิก มีภาษามอลตาเท่านั้นที่เป็นภาษากลุ่มนี้แต่เขียนด้วยอักษรโรมัน ชื่อของภาษากลุ่มนี้มาจาก เซม บุตรชายของโนอาห์ ในไบเบิล

ประวัติ

จุดกำเนิด

พระคัมภีร์ไบเบิลภาษาฮีบรู

ภาษากลุ่มเซมิติกเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาแอฟโฟร-เอเชียติก โดยเป็นสาขาเดียวที่อยู่ในทวีปเอเชีย ส่วนสาขาอื่นอบู่ในทวีปแอฟริกา จากเหตุผลนี้จึงเชื่อว่าบรรพบุรุษของผู้พูดภาษาเซมิติกดั้งเดิมเป็นกลุ่มชนที่ออกจากแอฟริกามาสู่ตะวันออกกลาง อาจจะเป็นผู้มาจากทะเลทรายสะฮารา แต่ก็มีทฤษฎีว่าผู้พูดภาษาแอฟโฟร-เอเชียติกดั้งเดิมอยู่ในตะวันออกกลางและผู้พูดภาษาเซมิติกเป็นกลุ่มเดียวที่เหลืออยู่

ไบเบิลเขียนด้วยภาษากิเอซ (เอธิโอเปีย)

ผู้พูดภาษาเซมิติกดั้งเดิมคาดว่าเป็นผู้ที่มาถึงคาบสมุทรอาระเบียเมื่อราว 3,457 ปีก่อนพุทธศักราช จากนั้นภาษาลูกหลานในกลุ่มเซมิติกได้แพร่กระจายออกไป หลักฐานการเขียนเริ่มพบเมื่อราว 2,957 ปีก่อนพุทธศักราช เมื่อผู้พูดภาษาอัคคาเดียและภาษาอโมไรต์เข้าสู่เมโสโปเตเมียและอาจจะเคยอยู่ในสถานที่ เช่น เอบลาในซีเรีย

1,500 ปีก่อนพุทธศักราช

เมื่อราว 1,457 ปีก่อนพุทธศักราช ภาษากลุ่มเซมิติกตะวันออกเริ่มแพร่หลายในเมโสโปเตเมีย ในขณะที่ภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกใช้พูดตั้งแต่บริเวณจากซีเรียถึงเยเมน ภาษาอาระเบียใต้อาจจัดอยู่ในภาษากลุ่มเซมิติกใต้แต่หลักฐานมีน้อย ภาษาอัคคาเดียกลายเป็นภาษาเขียนสำคัญในดินแดนพระจันทร์เสี้ยวอันอุดมสมบูรณ์โดยใช้อักษรรูปลิ่มที่พัฒนามาจากอักษรที่ใช้เขียนภาษาสุเมเรีย กลุ่มชนที่พูดภาษาเอ็บลาไอต์หายไป โดยมีกลุ่มชนที่พูดภาษาอโมไรต์ขึ้นมาแทน

หลักฐานในช่วงนี้มิไม่มากนัก ที่พอมีบ้างคือตัวอักษร อักษรคานาอันไนต์เป็นอักษรชนิดดแรกของภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตกที่ใช้เมื่อราว 957 ปีก่อนพุทธศักราช และอักษรยูการิติกที่ใช้ในทางเหนือของซีเรียในอีก 200 ปีต่อมา ส่วนภาษาอัคคาเดียพพัฒนาต่อมาเป็นสำเนียงบาบิโลเนียและอัสซีเรีย

เอกสารเขียนด้วยภาษาซีเรียค

ไวยากรณ์

ภาษากลุ่มเซมิติกมีไวยากรณ์ร่วมกันหลายอย่าง แม้จะมีส่วนที่ผันแปรกันไปบ้าง แม้ในภาษาเดียวกันเอง เช่น ภาษาอาหรับในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11 กับภาษาอาหรับในปัจจุบัน

รากศัพท์พยัญชนะสามตัว

ภาษากลุ่มเซมิติกทั้งหมดมีลักษณะพิเศษของรากศัพท์ที่ประกอบด้วยพยัญชนะสามตัว (มีที่มีพยัญชนะ 2 หรือ 4 ตัวด้วย) สำหรับนาม คุณศัพท์ และกริยาซึ่งสร้างศัพท์ได้หลายทาง เช่น โดยแทรกเสียงสระ ซ้ำพยัญชนะ เติมอุปสรรค ปัจจัย หรืออาคม

ตัวอย่างเช่น รากศัพท์ k-t-b, (หมายถึงการเขียน) ในภาษาอาหรับ:

kataba كتب "he wrote" (masculine)
katabat كتبت "she wrote" (feminine)
kutiba كتب "it was written" (masculine)
kutibat كتبت "it was written" (feminine)
kitāb- كتاب "book" (the hyphen shows end of stem before various case endings)
kutub- كتب "books" (plural)
kutayyib- كتيب "booklet" (diminutive)
kitābat- كتابة "writing"
kātib- كاتب "writer" (masculine)
kātibah- كاتبة "writer" (feminine)
kātibūn(a) كاتبون "writers" (masculine)
kātibāt- كاتبات "writers" (feminine)
kuttāb- كتاب "writers" (broken plural)
katabat- كتبة "writers" (broken plural)
maktab- مكتب "desk" or "office"
maktabat- مكتبة "library" or "bookshop"
maktūb- مكتوب "written" (participle) or "postal letter" (noun)

และรากศัพท์เดียวกันในภาษาฮีบรู (k-t-):

katati כתבתי "I wrote"
katata כתבת "you (m) wrote"
kata כתב "he wrote" or "reporter" (m)
katteet כתבת "reporter" (f)
kattaa כתבה "article" (plural katavot כתבות)
mita מכתב "postal letter" (plural mitaim מכתבים)
mitaa מכתבה "writing desk" (plural mitaot מכתבות)
ktoet כתובת "address" (plural ktoot כתובות)
kta כתב "handwriting"
katu כתוב "written" (f ktua כתובה)
hiti הכתיב "he dictated" (f hitia הכתיבה)
hitkatte התכתב "he corresponded (f hitkata התכתבה)
nita נכתב "it was written" (m)
nitea נכתבה "it was written" (f)
kti כתיב "spelling" (m)
tati תכתיב "prescript" (m)
meutta מכותב "a person on one's mailing list" (meutteet מכותבת f)
ktubba כתובה "ketubah (a Jewish marriage contract)" (f) (note: b here, not )

ในภาษามอลตา ซึ่งรากศัพท์พยัญชนะจะเรียกว่า mamma:

jiena ktibt "I wrote"
inti ktibt "you wrote" (m or f)
huwa kiteb "he wrote"
hija kitbet "she wrote"
aħna ktibna "we wrote"
intkom ktibtu "you (pl) wrote"
huma kitbu "they wrote"
huwa miktub "it is written"
kittieb "writer"
kittieba "writers"
kitba "writing"
ktib "writing"
ktieb "book"
kotba "books"
ktejjeb "booklet"


ในภาษาตริกรินยาและภาษาอัมหาริก รากศัพท์นี้ปรากฏเฉพาะคำนาม kitab หมายถึง amulet และกริยา to vaccinate ภาษาที่เป็นลูกหลานในเอธิโอเปียมีรากศัพท์ที่ต่างไปสำหรับการเขียน คำกริยาในภาษาในตระกูลแอฟโฟรเอเชียติกอื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษากลุ่มเซมิติกมีลักษณะเดียวกันนี้ แต่มักเป็นพยัญชนะ 2 ตัวมากกว่า

คำศัพท์ทั่วไป

เพราะภาษากลุ่มเซมิติกมีจุดกำเนิดร่วมกัน จึงมักมีศัพท์และรากศัพท์ที่ใช้ร่วมกัน เช่น

English Proto-Semitic ภาษาอัคคาเดีย ภาษาอาหรับ ภาษาอราเมอิก ภาษาฮีบรู ภาษากีเอซ ภาษาเมห์รี
พ่อ *ʼab- ab- ʼab- ʼab-ā ʼāḇ ʼab ḥa-yb
หัวใจ *lib(a)b- libb- lubb- lebb-ā lēḇ(āḇ) libb ḥa-wbēb
บ้าน bayt- bītu, bētu bayt- beyt-ā báyiṯ, bêṯ bet beyt, bêt
peace *šalām- šalām- salām- shlām-ā šālôm salām səlōm
tongue *lišān-/*lašān- lišān- lisān- leššān-ā lāšôn lissān əwšēn
น้ำ *may-/*māy- mû (root *mā-/*māy-) māʼ-/māy mayy-ā máyim māy ḥə-mō

บางครั้ง รากศัพท์มีความหมายต่างไปในภาษาหนึ่งเมื่อเทียบกับภาษากลุ่มเซมิติกอื่นๆ ตัวอย่างเช่นรากศัพท์ b-y-ḍ ในภาษาอาหรับหมายถึงขาวและไข่ ในภาษามอลตา bajda หมายถึงขาวและไข่เช่นเดียวกัน แต่ในภาษาฮีบรูหมายถึงขาวเท่านั้น รากศัพท์ l-b-n ในภาษาอาหรับหมายถึงนม แต่ภาษาฮีบรูหมายถึงสีขาว รากศัพท์ l-ḥ-m ภาษาอาหรับหมายถึงเนื้อ แต่หมายถึงขนมปังในภาษาฮีบรู และวัวในภาษากลุ่มเซมิติกในเอธิโอเปีย ความหมายดั้งเดิมของรากศัพท์นี้อาจหมายถึงอาหาร คำว่า medina (ราก: m-d-n) ภาษาอาหรับหมายถึงเมือง แต่ในภาษาฮีบรูสมัยใหม่หมายถึงรัฐ ในบางครั้งไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างรากศัพท์ เช่น คำว่า ความรู้ ในภาษาฮีบรูใช้รากศัพท์ y-d-ʿ แต่ในภาษาอาหรับใช้ ʿ-r-f และ ʿ-l-m ภาษากลุ่มเซมิติกในเอธิโอเปีย ใช้ ʿ-w-q และ f-l-ṭ


การจัดจำแนก

การจัดจำแนกต่อไปนี้เป็นไปตามวิธีของ Robert Hetzron เมื่อ พ.ศ. 2519 และมีการปรับปรุงโดย John Huehnergard และ Rodgers ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางที่สุดในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการจัดจำแนกอยู่ เช่น อาจจัดภาษาอาหรับอยู่ในกลุ่มเซมิติกใต้ บางส่วนแยกภาษากลุ่มอาระเบียใต้ออกเป็นสาขาที่สามร่วมกับภาษากลุ่มเซมิติกตะวันออกและตะวันตก มากกว่าจะตั้งเป็นภาษากลุ่มเซมิติกใต้ นอกจากนั้นยังไม่มีเส้นแบ่งที่แน่นอนระหว่างภาษาเอกเทศกับสำเนียง ดังที่พบในภาษาอาหรับ ภาษาอราเมอิกและภาษากูเรก

การจัดกลุ่มภายในภาษากลุ่มเซมิติกก่อน พ.ศ. 2513 จัดให้ภาษาอาหรับอยู่ในภาษากลุ่มเซมิติกใต้ และยังไม่มีการค้นพบภาษาเอ็บลาไอต์ในช่วงนั้น

ภาษากลุ่มเซมิติกตะวันออก

ภาษากลุ่มเซมิติกตะวันตก

ในกรณีของภาษาอาหรับสำเนียงของชาวยิวที่มีคำยืมจากภาษาฮีบรูมาก จะจัดรวมไว้ในภาษาอาหรับคลาสสิกที่เขียนด้วยอักษรฮีบรู โดยใช้ศัพท์ว่าภาษาอาหรับของชาวยิว

ภาษากลุ่มเซมิติกใต้

ภาษาเมห์รีมีบรรพบุรุษใกล้เคียงกับภาษากลุ่มเซมิติกตะวันออก มากกว่าภาษากลุ่มเซมิติกใต้ ทุกวันนี้ ภาษาเมห์รีถูกจัดให้อยู่ระหว่างภาษากลุ่มเซมิติกใต้ตะวันออก หรือเป็นกลุ่มอิสระ