ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มณฑลทหารบก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Zambo (คุย | ส่วนร่วม)
จังหวัดทหาร ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น จังหวัดทหารบก: ไม่ปรากฏว่ามีในทหารประเภทอื่น
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:53, 10 กันยายน 2552

จังหวัดทหาร เป็นการจัดแบ่งเขตการปกครองทางทหาร เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติกิจการทางทหาร เช่น การเรียกพล การระดมพล การเกณฑ์ทหาร เป็นต้น

ภารกิจ

ภารกิจของจังหวัดทหารบก เป็นไปตามภารกิจที่กำหนดไว้ตามอัตราการจัดและยุทโธปกรณ์ โดยมีภารกิจดังต่อไปนี้

- การบังคับบัญชากำลังประจำถิ่นของกองทัพบกตามที่ กระทรวงกลาโหมกำหนด

- รักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ รวมทั้งการศาลทหาร การคดี และการเรือนจำ

- ดำเนินการระดมสรรพกำลังในพื้นที่

- สนับสนุนหน่วยทหารในเขตพื้นที่

- ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์การต่อสู้เบ็ดเสร็จ เพื่อรักษาความสงบภายใน และการป้องกันประเทศ

ขีดความสามารถ

๑. รักษาระเบียบวินัยและแบบธรรมเนียมของทหารภายนอกที่ตั้งหน่วยทหาร และมีอำนาจสั่งการแก่หน่วยทหารในเขตพื้นที่ ในกรณีเกี่ยวกับการปฏิบัติตามกฎหมาย และตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด

๒.ใช้อำนาจตามกฎหมายในการสั่งการแก่หน่วยทหาร เกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยให้กับบุคคลสำคัญ สถานที่และอสังหาริมทรัพย์ ของทหารในเขตพื้นที่ รวมทั้งจัดการเฝ้ารักษาสถานที่ตั้งสำคัญอย่างต่อเนื่อง

๓. อำนวยการรักษาความปลอดภัย และสถานที่สำคัญทางทหารในเขตพื้นที่ ในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการก่อความไม่สงบ การพิทักษ์พื้นที่ส่วนหลัง การรักษาสถานที่และตำบลสำคัญสถานการณ์ฉุกเฉินทางการข่าวกรองและการต่อต้านข่าวกรอง

๔. ดำเนินการเกี่ยวกับการศาลทหาร การคดี และการเรือนจำ

๕. ดำเนินการระดมสรรพกำลังทางด้านกำลังพล การสัสดี การส่งกำลังบำรุง และการเกณฑ์ช่วยราชการทหาร

๖. การจัดการฝึกนักศึกษาวิชาทหาร

๗. ดำเนินการกำลังพลในเรื่อง การจัดทำประวัติรับราชการ การดำเนินการเกี่ยวกับบำเหน็จ บำนาญ สนับสนุนหน่วยทหารในเขตพื้นที่

๘. บำรุงขวัญทหารในเขตพื้นที่ด้วยการสวัสดิการ และการบำรุงขวัญอื่น ๆ เช่น การสโมสรทหาร การสงเคราะห์ทางการเงิน การออมทรัพย์ การสงเคราะห์ทางฌาปนกิจ การพิธีทหาร การกีฬา การบันเทิง การอบรมจิตใจ การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เป็นต้น

๙. จัดการสนับสนุนการฝึกให้กับหน่วยทหารในเขตพื้นที่

๑๐. การสนับสนุนทางการส่งกำลังให้แก่ตนเองและหน่วยทหารในเขตพื้นที่

๑๑. ดำเนินการบริหารเงินราชการ ทำการเบิกจ่าย เก็บรักษา จัดทำบัญชีเงินราชการให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ และรวบรวม จัดทำ บริหาร ควบคุมงบประมาณ ตลอดจนรายงานผลการใช้งบประมาณของหน่วยทหารในเขตพื้นที่ ที่ต้องรับการสนับสนุนงบประมาณ จากจังหวัดทหารบก

๑๒. จัดการประชาสัมพันธ์เพื่อประโยชน์ทางทหาร ตลอดจนติดต่อกับหน่วยพลเรือนในเขตพื้นที่

การแบ่งหน่วย

แบ่งตามกองทัพภาค มณฑลทหารบก และจังหวัดทหารบก ดังนี้

กองทัพภาคที่ ๑

ประกอบด้วย

  • มณฑลทหารบกที่ ๑๑

มีส่วนราชการในสังกัึด ดังนี้

(๑) จังหวัดทหารบกกรุงเทพ (จทบ.ก.ท.)

ที่ตั้ง 145 ถนนพระราม 5 แขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหาคร 10300

มีเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดนครปฐม จังหวัดนนทบุรี จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดสมุทรสาคร

(๒) จังหวัดทหารบกกาญจนบุรี (จทบ.ก.จ.)

มีเขตพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี และจังหวัดสุพรรณบุรี

  • มณฑลทหารบกที่ ๑๒

มีส่วนราชการในสังกัึด ดังนี้

(๑) จังหวัดทหารบกปราจีนบุรี (จทบ.ป.จ.)

มีเขตพื้นที่จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครนายก

(๒) จังหวัดทหารบกฉะเชิงเทรา (จทบ.ฉ.ช.)

มีเขตพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา

(๓) จังหวัดทหารบกสระแก้ว (จทบ.ส.ก.)

มีเขตพื้นที่จังหวัดสระแก้ว

  • มณฑลทหารบกที่ ๑๓

มีส่วนราชการในสังกัึด ดังนี้

(๑) จังหวัดทหารบกลพบุรี (จทบ.ล.บ.)

มีเขตพื้นที่จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยนาท จังหวัดสิงห์บุรี และจังหวัดอ่างทอง

(๒) จังหวัดทหารบกสระบุรี (จทบ.ส.บ.)

มีเขตพื้นที่จังหวัดสระบุรี และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

  • มณฑลทหารบกที่ ๑๔

มีส่วนราชการในสังกัึด ดังนี้

(๑) จังหวัดทหารบกชลบุรี (จทบ.ช.บ.)

มีเขตพื้นที่จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด และจังหวัดระยอง

  • มณฑลทหารบกที่ ๑๕

มีส่วนราชการในสังกัึด ดังนี้

(๑) จังหวัดทหารบกเพชรบุรี (จทบ.พ.บ.)

มีเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

(๒) จังหวัดทหารบกราชบุรี (จทบ.ร.บ.)

ที่ตั้ง ค่ายภาณุรังษี ส่วนที่ 1 158 ม.1 ต.โคกหม้อ อ.เมือง จ.ราชบุรี 70000

มีเขตพื้นที่จังหวัดราชบุรี และจังหวัดสมุทรสงคราม

กองทัพภาคที่ ๒

ประกอบด้วย

กองทัพภาคที่ ๓

ประกอบด้วย

กองทัพภาคที่ ๔

ประกอบด้วย


ประกอบด้วย