ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รองศาสตราจารย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Nat3738 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
{{แม่แบบ:ตำแหน่งในมหาวิทยาลัย}}
{{ตำแหน่งในมหาวิทยาลัย}}


'''รองศาสตราจารย์''' (Associate professor) ใช้อักษรย่อว่า '''รศ.''' เป็น[[ตำแหน่งทางวิชาการ]] ต่อมาจากตำแหน่ง [[ผู้ช่วยศาสตราจารย์]] ก่อนจะเป็น [[ศาสตราจารย์]] โดยต้องมีชั่วโมงสอน มีผลงาน[[เอกสารคำสอน]]อย่างน้อย 1 รายวิชา คุณภาพดี และงานแต่ง เรียบเรียง แปลหนังสือ คุณภาพดี หรือผลงานวิจัย คุณภาพดี หรือ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่เป็นที่ยอมรับ
'''รองศาสตราจารย์''' (Associate professor) ใช้อักษรย่อว่า '''รศ.''' เป็น[[ตำแหน่งทางวิชาการ]] ต่อมาจากตำแหน่ง [[ผู้ช่วยศาสตราจารย์]] ก่อนจะเป็น [[ศาสตราจารย์]] โดยต้องมีชั่วโมงสอน มีผลงาน[[เอกสารคำสอน]]อย่างน้อย 1 รายวิชา คุณภาพดี และงานแต่ง เรียบเรียง แปลหนังสือ คุณภาพดี หรือผลงานวิจัย คุณภาพดี หรือ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่เป็นที่ยอมรับ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:12, 31 สิงหาคม 2552

รองศาสตราจารย์ (Associate professor) ใช้อักษรย่อว่า รศ. เป็นตำแหน่งทางวิชาการ ต่อมาจากตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ก่อนจะเป็น ศาสตราจารย์ โดยต้องมีชั่วโมงสอน มีผลงานเอกสารคำสอนอย่างน้อย 1 รายวิชา คุณภาพดี และงานแต่ง เรียบเรียง แปลหนังสือ คุณภาพดี หรือผลงานวิจัย คุณภาพดี หรือ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่นที่เป็นที่ยอมรับ

ตำแหน่งรองศาสตราจารย์แสดงถึงผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีผลงานทางวิชาการ ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีหน้าที่หลักในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันการศึกษาชั้นสูง คือ มีชั่วโมงสอนประจำวิชาใดวิชาหนึ่งที่กำหนดไว้ในหลักสูตรของสถาบันอุดมศึกษาและมีความชำนาญพิเศษในการสอนและ ทำการสอนโดยใช้เอกสารคำสอน ประกอบการสอนมาแล้ว ทำการวิจัย ทำประโยชน์แก่สาธารณะ อาจมีงานแต่ง เรียบเรียง ตำรา หรือหนังสือที่ใช้ประกอบการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด

ในประเทศไทย ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ จะต้องดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ และปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งดังกล่าวมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี และได้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการตามปกติ หรือได้รับอนุมัติให้ลาศึกษาบางส่วน (อย่างมากไม่เกิน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์) ซึ่งตำแหน่งรองศาสตราจารย์จะต้องผ่านการกลั่นกรองและประเมินผลงานอย่างเคร่งครัดและเข้มงวดในความถูกต้องของวิชา เมื่อผ่านการประเมินแล้วจึงจะได้รับการแต่งตั้งของสภามหาวิทยาลัย การเสนอขอแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ ผู้เสนอขอสามารถดำเนินการเพื่อขอแต่งตั้งได้ 2 วิธี คือ วิธีปกติ และวิธีพิเศษ ดังต่อไปนี้

  1. วิธีปกติ หมายถึง ผู้เสนอขอมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่ง มีความรู้ ความสามารถ และมีผลงานทางวิชาการ ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดทุกประการ
  2. วิธีพิเศษ หมายถึง ผู้เสนอขอมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งต่างไปจากที่กำหนดไว้ในมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง เช่น ระยะเวลาไม่ครบ หรือเสนอขอข้ามขั้น ซึ่งผู้เสนอขอต้องเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และมีผลงานทางวิชาการที่สูงกว่าปกติ

ในปี พ.ศ. 2550 มีผู้ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 5,426 คน และสถาบันอุดมศึกษาของเอกชนจำนวน 220 คน[1]

ดูเพิ่ม

  • สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา-สกอ. (2549). หลักเกณฑ์และวิธีพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ผศ.) รองศาสตราจารย์ (รศ.) และศาสตราจารย์ (ศ.) พ.ศ. 2549 (ฉบับใหม่) เริ่มใช้ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549

อ้างอิง

  1. http://www.mua.go.th/infodata/50/teacher50.xls/