ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สถานีโทรทัศน์ไอทีวี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 116: บรรทัด 116:
การสนับสนุนครั้งไม่ได้รับอนุญาตไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชนและส่วนราชการ
การสนับสนุนครั้งไม่ได้รับอนุญาตไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชนและส่วนราชการ
อาทิเช่น [[ปตท.]]และ[[เชลล์]] ฯลฯก็ถูกฟ้องร้องต่อไอทีวีอีกไม่นานไอทีวีต้องปิดตัว
อาทิเช่น [[ปตท.]]และ[[เชลล์]] ฯลฯก็ถูกฟ้องร้องต่อไอทีวีอีกไม่นานไอทีวีต้องปิดตัว

สถานียังเปิดอยู่ 24ชม

== ดูเพิ่ม ==
== ดูเพิ่ม ==
* [[บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)|บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)]]
* [[บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)|บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 08:49, 19 สิงหาคม 2552

บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน SET:ITV
อุตสาหกรรมสื่อสารมวลชน
ก่อตั้ง1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539
สำนักงานใหญ่1010 อาคารชินวัตรทาวเวอร์ 3 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย
บุคลากรหลัก
นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล ประธานกรรมการ บมจ.ไอทีวี

ทรงศักดิ์ เปรมสุข ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไอทีวี

อัชฌา สุวรรณปากแพรก ผู้อำนวยการสถานีฯ
ผลิตภัณฑ์สถานีโทรทัศน์ไอทีวี
รายได้679.11 ล้านบาท (ข้อมูลปี พ.ศ. 2548)
พนักงาน
1,010 คน
เว็บไซต์www.itv.co.th

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี (อังกฤษ: Independent Television ชื่อย่อ: itv) เริ่มต้นออกอากาศอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 เวลา 19.00 น. โดยเริ่มต้นจากการนำเสนอ ข่าวภาคค่ำประจำวัน เพื่อตอกย้ำภาพลักษณ์ การเป็น สถานีโทรทัศน์เพื่อข่าวสาร และสาระความรู้ โดยผู้ประกาศข่าวคู่แรกของสถานี คือ กิตติ สิงหาปัด และ เทพชัย หย่อง ออกอากาศทางช่อง 26 และช่อง 29 โดยมี สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นเจ้าของคลื่นความถี่และผู้กำกับสัมปทาน ยุติการออกอากาศ ตั้งแต่เวลา 24.00 น. ของวันพุธที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 หลังจากนั้น ก็ถูกเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นทีไอทีวี จวบจนมาถึง ทีวีไทย ทีวีสาธารณะ มาจนถึงปัจจุบันนี้

ประวัติ

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ถือกำเนิดจากดำริของรัฐบาลในสมัยที่ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรี และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) ที่ต้องการให้มีสถานีโทรทัศน์เสรี เพื่อการนำเสนอข่าวสาร และสาระความรู้สู่ประชาชน โดยเปิดให้เอกชนเช่าสัมปทาน เพื่อให้มีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง โดยในโครงการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าวนั้น ระบุวัตถุประสงค์ในการก่อตั้งไว้ว่า ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ พ.ศ. 2535 สถานีโทรทัศน์ทั้งหมด อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ซึ่งสามารถบิดเบือนการนำเสนอข่าว ให้เป็นไปตามที่ตนต้องการได้ ประชาชนจึงไม่สามารถรับรู้ข่าวที่ทหารเข้าปราบปรามประชาชนในช่วงนั้นได้ ประจวบเหมาะกับการที่มีเสียงเรียกร้องของประชาชน ให้รัฐบาลใช้นโยบายจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรีดังกล่าว เพื่อเสนอข้อมูลข่าวสารที่เป็นจริง และรายการต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นต้น

ในปี พ.ศ. 2538 สปน.ได้เปิดประมูลสัมปทานการดำเนินงานสถานีโทรทัศน์เสรีขึ้น โดยกลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ซึ่งนำโดยธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ชนะการประมูล และได้รับอนุมัติให้ดำเนินงาน โครงการสถานีโทรทัศน์เสรีช่องใหม่ ในระบบยูเอชเอฟ ออกอากาศทางช่อง 26 นับเป็นสถานีโทรทัศน์ระบบยูเอชเอฟช่องแรกของประเทศไทย จากนั้น กลุ่มบริษัท สยามทีวีแอนด์คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ได้ก่อตั้ง บริษัท สยาม อินโฟเทนเมนท์ จำกัด เพื่อเป็นนิติบุคคลที่ดำเนินการสถานีฯ โดยมีการลงนามในสัญญาสัมปทานฯ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 พร้อมทั้งเชิญชวนให้บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมถือหุ้น และบริหารสถานีฯ ด้วย

ในระยะแรก สถานีโทรทัศน์ไอทีวี มีที่ทำการอยู่บนชั้นที่ 16, 17 และ 21 ของตึกฝั่งตะวันออก อาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า ถนนพหลโยธิน โดยมีระบบการบริหาร ที่เน้นภาพลักษณ์ของการนำเสนอข่าวสารและสาระเป็นหลัก โดยมี เทพชัย หย่อง เป็นผู้อำนวยการฝ่ายข่าว พร้อมทั้งนำทีมงานจากเครือเนชั่น เข้าเป็นบุคลากรหลักในการดำเนินงาน ทั้งนี้ ในช่วงแรกของไอทีวี มีรายการข่าว และรายการสารคดีเชิงข่าว ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ได้แก่ ข่าวภาคค่ำ, ไอทีวี ทอล์ค, สายตรงไอทีวี, ถอดรหัส, ย้อนรอย เป็นต้น ซึ่งทำให้ไอทีวีมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับในการนำเสนอข่าวสารในเวลาต่อมา รวมถึงการเป็นผู้นำในเชิงข่าวสืบสวนสอบสวนอีกด้วย

เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2541 บจก.สยาม อินโฟเทนเมนท์ เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พร้อมกับเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) และในราวปี พ.ศ. 2542 หน่วยงานภาครัฐแห่งหนึ่งได้เปลี่ยนแปลงช่องสัญญาณให้กับไอทีวี จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29 โดยส่งสัญญาณจากยอดอาคารใบหยก 2 และมีสถานีเครือข่ายทั้งสิ้น 52 แห่งทั่วประเทศ นับเป็นสถานีโทรทัศน์ที่มีเครือข่ายมากที่สุด ครอบคลุมจำนวนผู้รับชม ประมาณร้อยละ 98 ของประชากรในประเทศไทย

ต่อมา ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2543 บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เข้าซื้อหุ้นของ บมจ.ไอทีวี จากธนาคารไทยพาณิชย์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่แสดงความจำนงจะขายหุ้น หลังประสบปัญหาในการบริหารสถานีฯ ส่งผลให้พนักงานฝ่ายข่าวของสถานีฯ บางส่วนไม่เห็นด้วย และเมื่อ บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด เข้าซื้อหุ้นเป็นผลสำเร็จ กลุ่มผู้บริหารและพนักงานฝ่ายข่าวบางส่วน ที่นำโดย เทพชัย หย่อง ตัดสินใจลาออกจากสถานีฯ และหลังจากนั้น ไอทีวีก็เคลื่อนย้ายที่ทำการ จากอาคารไทยพาณิชย์ ปาร์ค พลาซ่า มาอยู่บนอาคารชินวัตร 3 ถนนวิภาวดีรังสิต

ในช่วงประมาณปี พ.ศ. 2546 นายไตรภพ ลิมปพัทธ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บอร์น ออพปอเรชั่น จำกัด และ บริษัท บอร์น แอนด์ แอสโซซิเอทด์ จำกัด และ บริษัท กันตนา กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ได้จัดทำบันทึกความเข้าใจเบื้องต้น (เอ็มโอยู) ร่วมกับ บมจ.ไอทีวี พร้อมเข้าถือหุ้นในสัดส่วนร้อยละ 10 และมีผลให้นายไตรภพมีสถานะเป็นผู้อำนวยการสถานีโทรทัศน์ไอทีวีด้วย ซึ่งถือเป็นการกลับสู่ไอทีวีอีกครั้ง หลังจากที่ในระยะเริ่มแรกของสถานีฯ นายไตรภพ เคยเข้าร่วมกับกลุ่มสยามทีวี ในการประมูลสถานีโทรทัศน์เสรีมาแล้ว แต่ไม่นานนักก็ได้ถอนตัวออกไป

เมื่อเข้าบริหารไอทีวี นายไตรภพได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบของสถานีฯ ใหม่ในหลายด้าน เช่น เปลี่ยนแปลงเวลานำเสนอข่าวภาคค่ำ จาก 19.00 น. มาเป็น 18.00 น., ปรับปรุงรูปแบบการนำเสนอรายการประเภทข่าวใหม่ และเปลี่ยนแปลงผังรายการในช่วงเวลา 15.00-24.00 น. โดยเพิ่มเติมรายการบันเทิง เช่น ร่วมมือร่วมใจ, ไอทีวี ฮอตนิวส์, บุปผาแฟนคลับ (ของ บมจ.กันตนา กรุ๊ป), ชวนชื่นคาเฟ่ (ของ บมจ.กันตนา กรุ๊ป) เป็นต้น พร้อมทั้งนำรายการทั้งหมดของ บจก.บอร์นฯ เช่น ทไวไลท์โชว์, เกมเศรษฐี, วอท อีส อิท? อะไรกันนี่ เป็นต้น ซึ่งเดิมออกอากาศทางไทยทีวีสีช่อง 3 มาออกอากาศทางไอทีวีด้วย แต่ในเวลาต่อมา บจก.บอร์น และ บมจ.กันตนา กรุ๊ป ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายตามที่ตกลงไว้ในบันทึกความเข้าใจได้ จึงส่งผลให้ทั้งสองบริษัทกลายเป็นผู้เช่าเวลาของสถานีฯ เท่านั้น พร้อมกันนั้น นายไตรภพก็ต้องสิ้นสุดการเป็นผู้อำนวยการสถานีฯ ลงเฉพาะตัว โดยมี นายทรงศักดิ์ เปรมสุข และนายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล เข้ามาเป็นผู้บริหารสถานีฯ แทน

ในวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาเพิกถอนคำสั่งของอนุญาโตตุลาการ ที่ชี้ขาดให้ สปน.ลดค่าสัมปทานแก่สถานีฯ เป็นเงิน 230 ล้านบาท ตลอดจนการปรับเพิ่มสัดส่วนรายการบันเทิงในผังรายการ เป็นร้อยละ 50 เท่ากับรายการข่าวและสาระ รวมถึงการจ่ายค่าชดเชยโดย สปน. ซึ่งเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2549 ศาลปกครองสูงสุดก็พิพากษายืนตามศาลปกครองกลาง ส่งผลให้ บมจ.ไอทีวี ต้องจ่ายค่าสัมปทานสำหรับเช่าสถานีโทรทัศน์ไอทีวี เป็นเงิน 1,000 ล้านบาทต่อปีตามเดิม และต้องปรับเพิ่มสัดส่วนให้รายการข่าวและสาระ เป็นร้อยละ 70 ต่อรายการบันเทิง ร้อยละ 30 ตามเดิม นอกจากนี้ บมจ.ไอทีวี ยังต้องเสียค่าปรับจากการผิดสัญญาสัมปทาน จากการเปลี่ยนแปลงผังรายการที่ไม่เป็นไปตามสัญญาสัมปทาน คิดเป็นร้อยละ 10 ของค่าสัมปทานในแต่ละปี คิดเป็นรายวัน วันละ 100 ล้านบาท นับตั้งแต่เริ่มมีการปรับผังรายการ รวมระยะเวลา 2 ปี

จากนั้น สถานีฯ จึงต้องเปลี่ยนแปลงรูปแบบการออกอากาศโดยทันที ประกอบกับที่ผู้ผลิตรายการบางส่วน เริ่มถอนรายการออกจากสถานีฯ เป็นผลให้ความนิยม (เรตติ้ง) ของสถานีฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2549 นายจุลยุทธ หิรัณยะวสิต ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ประกาศให้ บมจ.ไอทีวี ชำระค่าสัมปทานที่ค้างอยู่ จำนวนทั้งสิ้น 2,210 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 15 เป็นจำนวนเงินรวม 464 ล้าน 5 แสนบาท มาชำระกับ สปน.ภายใน 45 วัน และให้ชำระค่าปรับ กรณีทำผิดสัญญาเรื่องปรับผังรายการ อีกกว่า 97,760 ล้านบาท ทั้งนี้ สปน.กับ บมจ.ไอทีวี ได้เปิดการเจรจา ขอให้ต่อเวลาเรียกชำระออกไปอีก 30 วัน ไปสิ้นสุดในวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2550 แต่อย่างไรก็ตาม บมจ.ไอทีวี ก็ไม่สามารถจ่ายค่าสัมปทานและคำเสียหายดังกล่าว ให้กับ สปน.ได้ ที่สุดแล้ว ในวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 คณะรัฐมนตรีจึงมีมติให้ยกเลิกสัญญาสัมปทานจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เสรี ระหว่าง สปน.กับ บมจ.ไอทีวี และสั่งให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ในวันเดียวกัน เมื่อเวลา 24:00 น.

ผู้ประกาศข่าวและผู้รายงานข่าว

ผลงานที่สำคัญ

การเปลี่ยนแปลงการส่งโทรทัศน์ ระบบยูเอชเอฟ

สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ได้ออกอากาศในระบบยูเอชเอฟ ทางช่อง 26 มาตั้งแต่วันที่1 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 มาโดยตลอด จนกระทั่งมาถึงปี พ.ศ. 2542 ไอทีวี ก็ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานรัฐบาล ให้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงการออกอากาศของเครื่องส่งโทรทัศน์สีระบบยูเอชเอฟ จากช่อง 26 มาเป็นช่อง 29 ในระบบเดียวกัน แต่ราวปีเดียวกัน ไอทีวี ก็ได้ย้ายเสาส่งระบบยูเอชเอฟ จากอาคาร เอสซีบี ปาร์ค พลาซ่า มาอยู่ที่ อาคารใบหยก 2 แทน ที่กรุงเทพมหานคร ส่งผลทำให้ต้องมีการฉายภาพนิ่งเพื่อประกาศการเปลี่ยนสัญญาณและการย้ายเสาส่ง ของสถานีฯ ไว้ที่ช่อง 26 เป็นระยะสั้น และในที่สุด ก็ได้ทำการแพร่ภาพออกอากาศตามปกติ ทางช่อง 29 ตั้งแต่เวลานั้นเป็นต้นมา สำหรับเครื่องส่ง และเครื่องรับโทรทัศน์ดังกล่าว

รวมเวลาการออกอากาศทั้งหมด

10 ปี 8 เดือน 6 วัน 5 ชั่วโมง

ตราสัญลักษณ์ของสถานีฯ

หลัง เมษายน พ.ศ. 2547 ตราสัญลักษณ์ของไอทีวี ที่ใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 นั้น จะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เป็นสีแดง ดั่งที่เห็น เท่านั้น จนถึงช่วงที่ต้องยุติการแพร่ภาพออกอากาศ เป็นต้น

เพลงประจำสถานีฯ

บทความนี้ที่เกี่ยวกับเพลงฯ มีเจ้าของเนื้อร้อง ทำนอง และนักร้องของเพลงนี้ด้วย ต้องการหาข้อมูลเพิ่มเติม เพลงประจำสถานีชื่อว่า เพลง ไอทีวี ทีวีเสรี ซึ่งเป็นเพลงประจำสถานีโทรทัศน์ไอทีวี ซึ่งใช้ในช่วงก่อนเปิดสถานีและบางเวลาในการออกอากาศของสถานี โดยเพลงนี้ใช้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จนถึง พ.ศ. 2541 ซึ่งมีเนื้อร้องดังต่อไปนี้

1 - ก้าวใหม่ทีวีเสรี ทีวีเพื่อปวงชน ทุกๆสิ่ง ทุกๆอย่าง จากไอทีวี นำสิ่งที่คุณต้องการ ข่าวสารและบันเทิง พร้อมจะให้ทุกๆอย่าง เป็นทีวีเสรี

(เสียงทอรัส 1 - ไอทีวี)

2 - เราพร้อมจะให้ความสุข เราพร้อมทุกสิ่งสร้างสรรค์ ครบครันบันเทิงในครอบครัว

(เสียงทอรัส 1 ซ้ำ)

3 - เสนอทุกสิ่งใหม่ๆ ก้าวไปทั่วในโลกกว้าง ก้าวไปสู่จุดหมายที่ยิ่งใหญ่

(เสียงทอรัส 2 - ไอทีวี ไอทีวี ทีวีเสรี )

4 - นำหนึ่งในความก้าวหน้า (เสียงทอรัส 2 - เสียงสูง) นำหนึ่งในความฉับไว เหอะ เห้อ

(เสียงทอรัส 1 เสียงสูง) แล้วร้องด้วย 3 ต่อจากนั้นกลับไปที่ท่อนที่ 1 ตามลำดับ จนถึงท่อน 4

เสนอทุกสิ่งใหม่ๆ ก้าวไปทั่วในโลกกว้าง ก้าวไปสู่จุดหมายที่สิ่งใหญ่ ก้าวไปสู่จุดหมายที่ยิ่งใหญ่

ข้อมูลอื่นๆ

ภาคเหนือ ออกอากาศจากศูนย์ข่าวเชียงใหม่ ครอบคลุมสถานีลูกข่ายส่ง 11 สถานี

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ออกอากาศจากศูนย์ข่าวขอนแก่น ครอบคลุมสถานีลูกข่ายส่ง 12 สถานี

ภาคกลางและภาคตะวันออก ออกอากาศจากสถานีฯที่กรุงเทพฯ ครอบคลุมสถานีลูกข่ายส่ง 6 สถานี

ภาคใต้ฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย ออกอากาศจากศูนย์ข่าวหาดใหญ่ ครอบคลุมสถานีลูกข่ายส่ง 10 สถานี

ซึ่งทั้งหมดนี้ออกอากาศภายในเวลา 17:00 น. ถึง 17:10 น. ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 ถึง พ.ศ. 2547

การเปลี่ยนแปลงสู่สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี

ดูรายละเอียดที่ สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี

เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2550 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ส่งหนังสือยกเลิกสัญญามายัง บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ยุติการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ผ่านระบบยูเอชเอฟ(UHF) ช่อง29 อย่างเป็นทางการ ในเวลา 24.00 น. ของวันดังกล่าว และให้กรมประชาสัมพันธ์ ดำเนินการออกอากาศ สถานีโทรทัศน์ชื่อใหม่ ในคลื่นความถี่เดิม โดยใช้ชื่อว่า สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี โดยเป็นการออกอากาศอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เวลา 00.00 น. ของวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 เป็นต้นไป

ความผิดพลาดในการโฆษณา

การสนับสนุนครั้งไม่ได้รับอนุญาตไม่ว่าจะเป็นบริษัทเอกชนและส่วนราชการ อาทิเช่น ปตท.และเชลล์ ฯลฯก็ถูกฟ้องร้องต่อไอทีวีอีกไม่นานไอทีวีต้องปิดตัว

สถานียังเปิดอยู่ 24ชม

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

ก่อนหน้า สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ถัดไป

แม่แบบ:กล่องสืบตำแหน่ง