ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยเชื้อสายอินเดีย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 35: บรรทัด 35:
* [[วารินทร์ สัจจเดว]] ผู้ประกาศข่าว นักจัดรายการวิทยุ นักแสดง
* [[วารินทร์ สัจจเดว]] ผู้ประกาศข่าว นักจัดรายการวิทยุ นักแสดง
* [[หยาดทิพย์ ราชปาล]] ดารา นักแสดง
* [[หยาดทิพย์ ราชปาล]] ดารา นักแสดง
* [[สุระ จันทร์ศรีชวาลา]] ประธานกรรมการบริษัท มิตรแท้ประกันภัย จำกัด





รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:27, 17 สิงหาคม 2552

ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย
ไฟล์:WatKhaekSilom.jpg
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
กรุงเทพมหานคร, จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดภูเก็ต
ไทย ประเทศไทย
ภาษา
ภาษาไทย, ภาษาฮินดี, ภาษาปัญจาบ, ภาษาทมิฬ
ศาสนา
ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, ศาสนาซิกข์, ศาสนาพุทธ, ศาสนาอิสลาม, ฯลฯ

ชาวไทยเชื้อสายอินเดีย หรือคนไทยเรียกกันห้วนๆว่า "แขก" หรือ "อาบัง" ในประเทศไทยนอกจากใช้เรียกชาวมุสลิมแล้ว ยังเรียกได้อีก 3 กลุ่ม ได้แก่ แขกซิกข์ แขกนามธารี และแขกพราหมณ์ ซึ่งอพยพหนีความยากลำบากจากอินเดีย มาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของไทย

การแบ่งกลุ่ม

การแบ่งกลุ่มชาวไทยเชื้อสายอินเดีย แบ่งได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ได้แก่

ชาวซิกข์

ซิกข์ ชาวซิกข์จะมีการแต่งกายที่มีจุดเด่นคือ ผู้ชายจะโพกหัว และมีคำลงท้ายว่า สิงห์ ชาวซิกข์ทุกคนมีสัญลักษณ์ประจำกาย 5 อย่าง ได้แก่ 1 คือ เกศ คือไว้ผมให้ยาว ไม่ตัดเด็ดขาด 2 คือ กังฆะ คือ หวีอันเล็ก 3 การ่า หมายถึงกำไลข้อมือเหล็กสวมที่ข้อมือขวา 4 กาช่า คือ กางเกงในขาสั้น 5 กรีปาน หมายถึงมีดดาบโค้ง นอกจากนี้ยังห้ามกินเนื้อวัว และไม่มีรูปเคารพ แต่เมื่อมาอยู่เมืองไทย กต้องเปลี่ยนตัวเองตามสังคม เช่น มีดมีขนาดเล็กลง ยาวเพียงไม่กี่นิ้ว บางคนทำเป็นจี้ห้อยคอ บางคนเปลี่ยนจากกำไลเหล็กเป็นกำไลทอง

ชาวซิกข์เดินทางจากรัฐปัญจาบเข้ามาในไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยเข้ามาทางมาเลเซีย โดยผ่านภาคใต้ หรือมาทางบกโดยผ่านจากพม่า หลายคนเข้ามาเป็นพลตระเวน (ตำรวจ) แต่ส่วนใหญ่นิยมทำการค้ามากกว่า คนไทยจึงเรียกกันติดปากว่า แขกขายผ้า ชาวซิกข์ที่เปิดเป็นล่ำเป็นสันอยู่ที่บ้านหม้อ สมัยนั้นเรียก ร้านแขก เมื่อการค้าเจริญขึ้น จึงได้ชักชวนญาติพี่น้องเข้ามามากขึ้น และรวมกลุ่มตั้งแหล่งทำกินที่พาหุรัด เมื่อพาหุรัดแออัด ชาวซิกข์เลยหาที่อยู่ใหม่แถบ ท่าพระ บางแค สุขุมวิท หรือคลองตัน และที่สี่แยกบ้านแขกในเฉพาะซอยสารภี 2 ถือเป็นชนกลุ่มใหญ่ นอกจากขายผ้า ชาวซิกข์ นิยมปล่อยเงินกู้ หรือขายของเงินผ่อนด้วย

นามธารี

นามธารี (Namdhari) นิกายนี้เป็นนิกายหนึ่งในศาสนาซิกข์โดยองค์พระศาสดาศิริสัตคุรุรามซิงห์ (พระศาสดาองค์ที่ 12) เมื่อ พ.ศ. 2400 นอกจากการปฏิบัติตามหลักศาสนาซิกข์แล้ว ยังต้องถือบัญญัติขององค์พระศาสดาศิริสัตคุรุรามซิงห์ด้วย เช่น ห้ามกินเนื้อสัตว์ และไข่ทุกชนิด ต้องสวดมนต์ระลึกถึงพระนามของพระผู้เป็นเจ้า "นามซิมราน" (Nam Simran) ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง ชายต้องโพกศีรษะด้วยผ้าสีขาวเท่านั้น ผู้หญิงห้ามใช้เครื่องประดับหรือแต่งหน้าทาปาก เน้นชีวิตเรียบง่าย ถิ่นที่คนกลุ่มนี้อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากคือ สุขุมวิท สี่แยกบ้านแขก

พราหมณ์-ฮินดู

แขกพราหมณ์ฮินดู บรรพบุรุษชาวพราหมณ์ฮินดูในไทยส่วนใหญ่เป็นชาวปัญจาบ และอุตตรประเทศ จากอินเดีย ชาวฮินดูที่อพยพมาจากรัฐปัญจาบนิยมกิจการค้าผ้าที่พาหุรัด ส่วนที่มาจากอุตตรประเทศเกือบทั้งหมดเป็นแขกยาม ก่อนที่จะลดจำนวนเมื่อทางการประกาศห้ามคนต่างด้าวทำอาชีพนี้

ชาวพราหมณ์ฮินดูนิยมตั้งถิ่นฐานในกรุงเทพมากกว่าที่อื่นๆ พวกที่มาจากรัฐปัญจาบนิยมตั้งชุมชนแถบพาหุรัด สี่แยกบ้านแขก และถนนสุขุมวิท โดยที่สี่แยกบ้านแขกอยู่หนาแน่นนับร้อยครัวเรือนในซอยสารภี 2 และกระจายตามซอยในถนนอิสรภาพ ได้แก่ซอยอิสรภาพ 3,6,8,12 และ 15 ส่วนที่มาจากรัฐอุตตรประเทศตั้งถิ่นฐานแถบหัวลำโพง

ภาษา

ภาษาของชาวไทยเชื้อสายอินเดียในปัจจุบันเหลือจำนวนผู้พูดน้อย เนื่องจากชาวไทยเชื้อสายอินเดีย ร้อยละ 80 เกิดในแผ่นดินไทย หลายคนจึงหันมาพูดภาษาไทยกัน แต่ก็ยังมีส่วนน้อยที่สามารถพูดภาษาดั้งเดิมของตนเองได้ และบางคนก็ผสมกลมกลืนกับชาวไทยทั่วไป

ชาวไทยเชื้อสายอินเดียที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน