ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สันติอโศก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
→‎หลักปฏิบัติ: ว่าด้วยอาหาร
บรรทัด 16: บรรทัด 16:


สมณะโพธิรักษ์ มีพิธีกรรมนอกกฏระเบียบของมหาเถรสมาคม เช่น บวชให้กับคนที่ศรัทธาในลัทธิของตน โดยใช้วิธีการเรียกคนที่ต้องการจะบวชเข้ามา แล้วก็บอกว่า "เธอเป็นสมณะ" ซึ่งปฏิบัติเหมือนกับการที่[[พระพุทธเจ้า]]ทรงประทาน[[เอหิภิกขุอุปสัมปทา]] หลังจากที่มีจำนวนนักบวชมากขึ้น จึงมีการออกกฏใหม่ว่า จะตัดสินว่าให้คนๆ นี้บวชหรือไม่ โดยการเสียงส่วยใหญ่ของคณะสมณะ{{อ้างอิง}}
สมณะโพธิรักษ์ มีพิธีกรรมนอกกฏระเบียบของมหาเถรสมาคม เช่น บวชให้กับคนที่ศรัทธาในลัทธิของตน โดยใช้วิธีการเรียกคนที่ต้องการจะบวชเข้ามา แล้วก็บอกว่า "เธอเป็นสมณะ" ซึ่งปฏิบัติเหมือนกับการที่[[พระพุทธเจ้า]]ทรงประทาน[[เอหิภิกขุอุปสัมปทา]] หลังจากที่มีจำนวนนักบวชมากขึ้น จึงมีการออกกฏใหม่ว่า จะตัดสินว่าให้คนๆ นี้บวชหรือไม่ โดยการเสียงส่วยใหญ่ของคณะสมณะ{{อ้างอิง}}

ชาวสันติอโศกรับประทาน[[อาหารมังสวิรัติ]]และห้ามนำเนื้อสัตว์เข้าไปในเขตพุทธสถาน นอกจากนี้ยังไม่สนับสนุนการดื่มนม{{อ้างอิง}} สำหรับสมณะและสิกขมาตุนั้นจะรับประทานอาหารเพียงมื้อเดียว ส่วนบุคคอื่นๆ ในชุมชนอาจรับประทานอาหารเพียงสองมื้อ ส่วนเด็กในโรงเรียนสัมมาสิกขานั้นให้รับประทานอาหารสามมื้อ{{อ้างอิง}}


== คดีความ ==
== คดีความ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:33, 6 สิงหาคม 2552

สันติอโศก เป็นพุทธสถาน ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 65/1 ซอยนวมินทร์ 46 ถนนนวมินทร์ แขวงบึงกุ่ม เขตบึงกุ่ม กทม.

ประวัติ

สันติอโศก ก่อตั้งโดย สมณะโพธิรักษ์ (นายรัก รักพงษ์) ซึ่งเคยบวชเป็นพระภิกษุในคณะธรรมยุติ แต่ไม่เห็นด้วยระเบียบ กฎเกณฑ์ของวัด จึงได้บวชใหม่เป็นพระสังกัดคณะมหานิกาย ได้นามว่า โพธิรักษ์

วันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2518 สมณะโพธิรักษ์ได้ประกาศตั้ง พุทธสถานสันติอโศก[ต้องการอ้างอิง] ในบริเวณหมู่บ้านใกล้วัดหนองกระทุ่ม ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม มีกลุ่มคนที่ศรัทธาเข้าร่วมประมาณ 60 คน และได้ประกาศแยกตัวออกจากคณะสงฆ์ไทย ประกาศไม่อยู่ภายใต้กฏระเบียบและการปกครองของมหาเถรสมาคมและคณะสงฆ์ โดยอ้างว่ายึดเอาพระธรรมวินัย เป็นหลักปกครองพวกกลุ่มตนเอง

สันติอโศกมี 9 เครือข่ายอโศก ได้แก่ ปฐมอโศก, ศีรษะอโศก ,ราชธานีอโศก, อโศกแห่งภูผ่าฟ้าน้ำ และ ทักษิณอโศก มีศูนย์รวมที่สันติอโศกพุทธสถาน เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ (ก่อตั้งเมื่อ 7 ส.ค. 2519)

ปัจจุบันเรียกตนเองว่า สมณะ เพื่อแตกต่างจากคำว่า พระ เนื่องด้วยผลคำตัดสินของศาล[ต้องการอ้างอิง]

หลักปฏิบัติ

สันติอโศกมีคำสอนที่ยึดเอาพระไตรปิฎกเป็นหลัก การแต่งกายคล้ายพระ โดยโพธิรักษ์กล่าวว่า มนุษย์เราสามารถย้อนกลับไปใช้ชีวิตในช่วงที่พระพุทธเจ้ายังมีชีวิตอยู่ได้เช่นสอนว่า ในสมัยพุทธกาลไม่มีพระพุทธรูปจึงไม่จำเป็นต้องสร้างพระพุทธรูปก็ได้ให้เคารพแต่คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าก็พอ[ต้องการอ้างอิง]

สมณะโพธิรักษ์ มีพิธีกรรมนอกกฏระเบียบของมหาเถรสมาคม เช่น บวชให้กับคนที่ศรัทธาในลัทธิของตน โดยใช้วิธีการเรียกคนที่ต้องการจะบวชเข้ามา แล้วก็บอกว่า "เธอเป็นสมณะ" ซึ่งปฏิบัติเหมือนกับการที่พระพุทธเจ้าทรงประทานเอหิภิกขุอุปสัมปทา หลังจากที่มีจำนวนนักบวชมากขึ้น จึงมีการออกกฏใหม่ว่า จะตัดสินว่าให้คนๆ นี้บวชหรือไม่ โดยการเสียงส่วยใหญ่ของคณะสมณะ[ต้องการอ้างอิง]

ชาวสันติอโศกรับประทานอาหารมังสวิรัติและห้ามนำเนื้อสัตว์เข้าไปในเขตพุทธสถาน นอกจากนี้ยังไม่สนับสนุนการดื่มนม[ต้องการอ้างอิง] สำหรับสมณะและสิกขมาตุนั้นจะรับประทานอาหารเพียงมื้อเดียว ส่วนบุคคอื่นๆ ในชุมชนอาจรับประทานอาหารเพียงสองมื้อ ส่วนเด็กในโรงเรียนสัมมาสิกขานั้นให้รับประทานอาหารสามมื้อ[ต้องการอ้างอิง]

คดีความ

เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2532 ที่ประชุมมหาเถรสมาคม มีมติเอกฉันท์ ขอให้สมเด็จพระสังฆราช ในฐานะประธานกรรมการมหาเถรสมาคม ทรงลงพระนามในพระบัญชาให้สึกพระโพธิรักษ์จากสมณเพศ แต่พระโพธิรักษ์ไม่ยอมเปล่งวาจาสึก จึงเพียงให้เปลี่ยนชุดเป็นสีขาว และถูกฟ้องพร้อมกับสมณะและสิกขามาตุข้อหาแต่งกายเลียนแบบพระ ศาลแขวงพระนครเหนือ มีคำพิพากษาเมื่อ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2538 หลังสืบพยานนานถึง 6 ปีเต็ม ให้จำเลยทั้งหมดมีความผิดตามโจทก์ฟ้อง จำคุกโพธิรักษ์ รวม 66 เดือน แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี บุคคลอื่นๆ ก็รอลงอาญาเช่นกัน ทั้งหมดยื่นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ยืนตามชั้นต้น ศาลฎีกาพิพากษา 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ให้ยืนตามศาลอุทธรณ์ สมณะโพธิรักษ์แพ้คดี มีคำสั่งรอลงอาญา 2 ปีพร้อมคุมประพฤติ

บทบาทในการเมืองไทย

อ้างอิง