ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนัตตา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บริการเปลี่ยนหมวดหมู่อัตโนมัติด้วยบอต
บรรทัด 38: บรรทัด 38:
{{รายการอ้างอิง}}
{{รายการอ้างอิง}}


[[หมวดหมู่:ธรรมหมวด 3]]
[[หมวดหมู่:ธรรมหมวด ]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์พุทธศาสนา]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์พุทธศาสนา]]
{{โครงพุทธ}}
{{โครงพุทธ}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:12, 1 สิงหาคม 2552

อนัตตา หรือ อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา ไม่มีตัวตน มิใช่อัตตา มิใช่ตัวตน หรือ สภาพที่บังคับบัญชาไม่ได้ โดยทั่วไปหมายถึง สังขารธรรม อันได้แก่ ขันธ์ 5 คำนี้จัดเป็นหนึ่งในชื่อเรียกที่เป็นคำไวพจน์ของขันธ์ซึ่งถูกใช้เป็นอย่างมากในพระไตรปิฎก จะมาคู่กับคำไวพจน์ของขันธ์อีก 2 คำ คือ อนิจจัง กับ ทุกขัง นั่นเอง

เหตุที่ได้ชื่อว่า "อนัตตา"

อนัตตา ที่ขันธ์ 5 ได้ชื่อนี้ เพราะมีอนัตตลักษณะดังนี้

  1. เป็นสภาพว่างเปล่า คือหาสภาวะที่แท้จริงไม่ได้ เพราะประกอบด้วยธาตุ 4 เมื่อแยกธาตุออก สภาวะที่แท้จริงก็ไม่มี
  2. หาเจ้าของมิได้ คือไม่มีใครเป็นเจ้าของแท้จริง สงวนรักษามิให้เปลี่ยนแปลงไม่ได้
  3. ไม่อยู่ในอำนาจ คือไม่อยู่ในบัญชาของใคร ใครบังคับไม่ได้ เช่นบังคับมิให้แก่ไม่ได้
  4. แย้งต่ออัตตา คือตรงข้ามกับอัตตา

อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ ไม่เหมือนกัน

อนัตตา กับ อนัตตลักษณะ เป็นคนละอย่างกัน เพราะเป็น ลักขณวันตะ และ ลักขณะ ของกันและกัน[1][2][3][4][5] ดังนี้ :-

  • อนตฺตา (อนตฺตา) - หมายถึง ขันธ์ 5 ทั้งหมด เป็นปรมัตถ์ เป็นสภาวะธรรม มีอยู่จริง, คำว่า"ทุกขัง"เป็นคำไวพจน์ชื่อหนึ่งของขันธ์ 5.
  • อนัตตลักษณะ (อนตฺตลกฺขณํ,อนตฺตตา) - หมายถึง เครื่องกำหนดขันธ์ 5 ทั้งหมดซึ่งเป็นตัวทุกขัง. อนัตตลักษณะเป็นบัญญัติ ไม่ใช่สภาวะธรรม ไม่มีอยู่จริง ดังที่ท่านกล่าวไว้ในอัฏฐสาลินีว่า "วุฏฺฐานคามินี ปน วิปสฺสนา กิมารมฺมณาติ ลกฺขณารมฺมณาติ. ลกฺขณํ นาม ปญฺญตฺติคติกํ น วตฺตพฺพธมฺมภูตํ.-ก็วุฏฐานคามินีวิปัสสนามีอะไรเล่าเป็นอารมณ์ ตอบว่า มีลักษณะเป็นอารมณ์ ชื่อว่า ลักษณะมีคติเป็นบัญญัตติ เป็นนวัตตัพพธรรม"[6]. อนัตตลักษณะทำให้เราทราบได้ว่าขันธ์ 5 ไม่มีตัวตน ไรอำนาจ ไม่มีเนื้อแท้แต่อย่างใด ได้แก่ อาการที่ไร้อำนาจบังคับตัวเองให้ไม่เปลี่ยนแปลงไปของขันธ์ 5 เช่น อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ ไม่ให้เสื่อมสิ้นไปเป็นขันธ์ 5 อันใหม่ไม่ได้, อาการที่ขันธ์ 5 บังคับตนไม่ให้มีขึ้นไม่ได้ ไม่ให้กลับไปไม่มีอีกครั้งไม่ได้ (บังคับให้ไม่หมดไปไม่ได้) เป็นต้น.

ในวิสุทธิมรรค ท่านได้ยกอนัตตลักษณะจากปฏิสัมภิทามรรคมาแสดงไว้ 5 แบบ เรียกว่า โต 5 และในพระไตรปิฎกยังมีการแสดงอนัตตลักษณะไว้ในแบบอื่นๆอีกมากมาย. แต่คัมภีร์ที่รวบรวมไว้เป็นเบื้องต้นเหมาะสำหรับเป็นคู่มือสำหรับปฏิบัติธรรมได้แก่ คัมภีร์ปฏิสัมภิทามรรค เพราะสามารถจะจำคำที่คนโบราณใช้กำหนดกันจากคัมภีร์นี้แล้วนำไปใช้ได้ทันที ดังที่ท่านแสดงไว้เป็นต้นว่า "จกฺขุ อหุตฺวา สมฺภูตํ หุตฺวา น ภวิสฺสตีติ ววตฺเถติ - นักปฏิบัติธรรมย่อมกำหนดว่า "จักขุปสาทที่ยังไม่เกิดก็เกิดมีขึ้น พอมีขึ้นแล้วต่อไปก็จะกลายเป็นไม่มีไปอีก"เป็นต้น (ให้เพ่งเล็งถึงลักษณะที่ไรอำนาจบังคับตัวเองใหไม่เปลี่ยนไปไม่ได้ ก็จะกลายเป็นการกำหนดอนัตตขลักษณะ).

การแปลอนตฺตา

การแปลคำว่า อนัตตานั้น ใช้ได้ทั้งคำว่า ไม่มีอัตตา, ไม่มีตัวตน, มิใช่อัตตา, มิใช่ตัวตน เพราะ

  1. สามารถแปลเข้ากันได้กับพระพุทธพจน์ที่ว่า "สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา, สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา, สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา - สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นสิ่งไม่เที่ยง,สังขาร (ขันธ์ 5) ทั้งหมดทั้งสิ้น มันเป็นตัวทุกข์, สรรพสิ่งทุกสิ่งทุกอย่าง (ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ) มันไม่ใช่ตัวตน"ดังนี้. ซึ่งในพระคัมภีร์ต่างๆ เช่น อภิธัมมัตถสังคหะ ปริจเฉทที่ 8 และ อภิธัมมาวตาร บัญญัตินิทเทส เป็นต้น ท่านได้ระบุไว้ว่า ไม่มีอะไรพ้นไปจาก ขันธ์ 5, นิพพาน, บัญญัติ ดังนั้นขันธ์ 5 จังไม่ใช่ตัวตน เพราะตัวตนไม่มีอยู่ในที่ใดๆเลย.
  2. สามารถแปลเข้ากันได้กับสักกายทิฏฐิ 4 หรือ 20 ดังที่ทรงตรัสไว้ทั้ง 4 อย่าง คือ
    1. ความเข้าใจผิดว่า ขันธ์ 5 เป็นตัวตนเราเขา,
    2. ความเข้าใจผิดว่า ตัวตนเราเขามีขันธ์ 5 อยู่,
    3. ความเข้าใจผิดว่า มีขันธ์ 5 อยู่ในตัวตนเราเขา,
    4. ความเข้าใจผิดว่า มีตัวตนเราเขาในขันธ์ 5[1]
  3. ในทิฏฐิวิสุทธินิทเทส คัมภีร์วิสุทธิมรรค ก็กล่าวปฏิเสธิอัตตาให้ไม่มีอยู่ในที่ใดๆโดยประการทั้งปวง.

ฉะนั้น พึงทราบว่า สามารถแปลได้ทั้งคำว่า อนัตตตา แปลว่า ไม่มีอัตตา , ไม่มีตัวตน , มิใช่อัตตา, และ มิใช่ตัวตน ดังอธิบายมานี้.

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. พุทฺธโฆสาจริโย, วิสุทฺธิมคฺค-อฏฺฐกถา , อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถา, ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทโส, วิสุทฺธิ. 2 ข้อ 739.
  2. ธมฺมปาลาจริโย, ปรมตฺถมญฺชูสา-ฏีกา, อุปกฺกิเลสวิมุตฺตอุทยพฺพยญาณกถาวณฺณนา ปฏิปทาญาณทสฺสนวิสุทฺธินิทฺเทสวณฺณนา วิสุทธิมคฺคมหาฏีกา, วิสุทฺธิ.มหาฏี. 2 ข้อ 739.
  3. พุทฺธโฆสาจริโย, สมฺโมหวิโนทนี-อฏฺฐกถา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อฏฺฐกถา,อภิ.อฏฺ. 2 ข้อ 154.
  4. ธมฺมปาลาจริโย, มูลฏีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-มูลฏีกา,อภิ.มูลฏี. 2 ข้อ 154.
  5. ธมฺมปาลาจริโย, ลีนตฺถวณฺณนา-ฏีกา, อายตนวิภงฺคนิทฺเทสวณฺณนา สุตฺตนฺตภาชนีวณฺณนา อภิธมฺม-อนุฏีกา, อภิ.อนุฏี. 2 ข้อ 154.
  6. อภิ.ธ.อ.มกุฏ 75/-/620", บาลีอยู่ใน "โลกุตฺตรกุสลวณฺณนา - -34- อฏฺฐสาลินี ธมฺมสงฺคณี-อฏฺฐกถา (พุทฺธโฆส) - อภิ.อฏฺ. 1 ข้อ 350"