ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำบลน้ำขาว"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 63: บรรทัด 63:
๑.การไหว้ทวดต้นดู่
๑.การไหว้ทวดต้นดู่
===อาชีพหลักของชาวบ้านคูตีน===
===อาชีพหลักของชาวบ้านคูตีน===
๑.การทำสวนยาง
๑.การทำสวนยาง
๒.การทำนา
๒.การทำนา


===บ้านคูหัวนอน===
===บ้านคูหัวนอน===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:00, 29 กรกฎาคม 2552

ตำบลน้ำขาว มักมีชื่อเรียกสั้น ๆ ว่า บ้านน้ำขาว ซึ่งเป็นอีกตำบลหนึ่งที่ตั้งอยู่ใน อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตำบลน้ำขาวเป็นตำบลใหญ่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ มีระบบเครือญาติเป็นห่วงเรียงร้อยต่อกันเป็นลูกโซ่ จากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง จากครอบครัวหนึ่งไปสู่อีกครอบครัวหนึ่ง และจากบ้านหนึ่ง ไปสู่อีกบ้านหนึ่ง ทุกคนมีอารมณ์ ความรู้สึกลึก ๆ ที่ใกล้เคียงกัน ทั้งด้านความเชื่อ ความศรัทธา วัฒนธรรม ประเพณี

ธรรมชาติบนเขา
ธรรมชาติบนเขา
ธรรมชาติ
ธรรมชาติ

ที่มาของชื่อ ตำบลน้ำขาว

น้ำขาวมีผู้ให้ความเป็นมาไว้หลายคน บางคนก็บอกว่ามาจาก น่ำข้าว มาเป็น น้ำขาว บางคนก็บอกว่าเป็นที่ตั้งในที่ลุ่มพอฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มไปทั้งทุ่ง ซึ่งบ้านตั้งอยู่รายรอบทุ่งน้ำ จึงดูน้ำสีขาวไปหมด จึงได้ตั้งชื่อว่า บ้านน้ำขาว แต่จากการศึกษาการตั้งชื่อบ้านแล้วส่วนมาก จะตั้งชื่อตามสภาพภูมิศาสตร์ หรือต้นไม้ที่ขึ้น จึงมีโอกาสสูงที่บ้านน้ำขาวจะมาจาก สภาพหมู่บ้านที่ตั้งในสภาพที่ลุ่ม พอมีน้ำหลากดูน้ำจะขาวไปหมดจึงได้ชื่อว่าบ้านน้ำขาว (ซึ่งสอดคล้องกับชื่อบ้านน้ำขาวในอำเภอนาทวี)[1]

ประวัติตำบลน้ำขาว

คนน้ำขาวมาจากไหน? ... นี่คือคำถามที่พวกเราชาวน้ำขาว น่าจะช่วยกันหาคำตอบ คำบอกเล่าจากคนเฒ่า คนแก่ ศัพท์ภาษาพูด อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ ล้วนเป็นสื่อที่จะช่วยไขปริศนาดังกล่าวได้... คนน้ำขาวทุกคนน่าจะศึกษาแล้วช่วยกันคิดวิเคราะห์ หาความเป็นไปได้ ทุกคนมีสิทธิที่จะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับเว๊บไซด์นี้ สิ่งที่คาดหวังคือ อยากให้มี การเสวนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในหมู่ของคนน้ำขาว เพื่อร่วมกันสร้างประวัติศาสตร์ท้องถิ่นให้ลูกหลานของพวกเรา ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ไหนได้มีโอกาส มาเรียนรู้ร่วมกัน สืบไป... อารยะ เทพศรี

สภาพภูมิศาสตร์ของน้ำขาว

ตำบลน้ำขาวมีพื้นที่ติดต่อด้วยกันหลายตำบล ทางทิศเหนือติดต่อตำบลแค ทิศใต้จดตำบลนาหมอศรี (อ.นาทวี) ทิศตะวันออกจดตำบลขุนตัดหวายและตำบลแค ทิศตะวันตกจดอำเภอหาดใหญ่และตำบลแค สภาพพื้นที่โดยทั่วไป จะเป็นสภาพพื้นที่ราบลุ่มที่เหมาะแก่การทำนาเป็นส่วนมาก นอกจากนั้นก็จะเป็นพื้นที่ในการทำสวนผลไม้ เช่น เงาะ มังคุด ทุเรียน เป็นต้น (แต่ในอดีตพื้นที่ได้ชื่อว่าดินแดนที่มีส้มจุกที่มีรสดี จนขึ้นชื่อลือนามไปทั้งสงขลา มาในปัจจุบันผลไม้ที่เป็นชื่อเสียงแต่ไม่ถึงกับเด่นดังเหมือนส้มจุกคือมังคุด) ซึ่งตอนนี้ผู้เขียนกำลังศึกษาหาความเป็นมาที่นิยมปลูกส้มจุกของน้ำขาวแต่ยังหารายละเอียดไม่ชัดเจน นอกจากสภาพพื้นที่ของน้ำขาวจะเป็นที่ลุ่มทำนาข้าว สวนทุเรียนแล้วทางด้านทิศตะวันตก ที่เป็นสภาพภูเขาก็มีสวนยางที่เป็นอาชีพหลักของน้ำขาว แต่ทั้งนี้การที่ประชากรมีอาชีพทำสวน ก็อาศัยลำคลองที่ไหลผ่านมาจากเทือกเขาที่กั้นระหว่าง ตำบลน้ำขาว กับ อำเภอหาดใหญ่ ทำให้เกิดที่ไหลผ่าน บ้านคลองแงะ , หัวควน , บ้านคูตีน,บ้านคูหัวนอน , บ้าน้ำขาวใน , บ้านต้นเหรียง ลงคลองอีกสายที่แยกจากบ้านต้นเหรียง จะออกไปสู่บ้านนาหยาม และออกบ้านป่าระไม ตำบลขุนตัดหวาย จึงเป็นสภาพพื้นที่อุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง จำนวนประชากรในเขต อบต. 3,692 คน และจำนวนหลังคาเรือน 841 หลังคาเรือน[2]

สภาพทางเศรษฐกิจ

อาชีพ ทำสวนยางเป็นอาชีพหลัก ประมาณร้อยละ 90 ของพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด ทำนา / ปลูก ไม้ผลประมาณร้อยละ 8 ค้าขาย รับราชการประมาณร้อยละ 2 ของพื้นที่

สภาพทางสังคม

โรงเรียนประถมศึกษา 2 แห่ง / ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน 1 แห่ง หมู่ที่ 3

ภาพทั่วไปของตำบลน้ำขาว
ภาพทั่วไปของตำบลน้ำขาว

โรเรียนชุมชนวัดน้ำขาว ตั้งอยู่หมู่ที่ 6

โรงเรียนบ้านคลองแงะตั้งอยู่หมู่ที่ 11

ศูนย์เด็กก่อนวัยเรียน ตั้งอยู่หมู่ที่ 3

รงเรียนมัธยมศึกษา _-_ แห่ง

โรงเรียนอาชีวศึกษา _-_ แห่ง

โรงเรียน/ สถาบันชั้นสูง _-_ แห่ง

อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน 5 แห่ง หมู่ที่ 1,2,3,6 และหมู่ที่ 7 [3]

ชื่อบ้านนามเมือง

บ้านนาดี

หรือบ้านนาหยาม เดิมจริงจากการสัมภาษณ์ สอบถาม ผู้เฒ่าผู้แก่จะได้คำตอบ พอสรุปได้ว่า หมู่บ้านนี้ ชื่อ นาหยาม (เน้นคำว่า หยาม มาจากภาษากลางว่าฤดู) หมายถึงต้องถึงฤดู หรือมีน้ำมาจริง ๆ จึงจะทำนาได้ จึงเรียกว่า บ้านนาหยาม แต่เมื่อทำนาไป ทำให้ผลิตดี จึงเรียกว่า บ้านนาดี จึงยังใช้บ้านนี้ทั้งสองอย่างอยู่

บ้านออกวัด

เนื่องจากสภาพบ้านตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัดน้ำขาวนอกเลยเรียกหมู่บ้านนี้ว่า บ้านออกวัด

บ้านเกาะแค

เนื่องจากบ้านเกาะแคเป็นหมู่บ้านตั้งอยู่ในสภาพทางภูมิศาสตร์เป็นพื้นที่ดอน มีนารายล้อมรอบหมู่บ้าน เมื่อถึงฤดูน้ำหลากจะดูเหมือนกับหมู่บ้านเป็นเกาะ และภายในหมู่บ้านก็อาศัยมีต้นไม้คือ ต้นแค เป็นไม้ใหญ่ในหมู่บ้าน จึงได้ชื่อว่า บ้านเกาะแค

บ้านต้นเหรียง

เนื่องจากหมู่บ้านนี้มีไม้ใหญ่ที่เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน คือ ต้นเหรียง

น้ำขาวกลาง

หมู่ที่ 5 (มาจากลักษณะพื้นที่ที่อยู่จุดกลางตำบล ซึ่งมาเติมคำว่ากลางเอาทีหลังเพื่อกันความผิดพลาด) น้ำขาวกลาง หมู่ที่ 5 เป็นหมู่บ้านที่เกิดขึ้นมายาวนานในยุคบุกเบิกตำบลน้ำขาว พื้นที่เป็นที่ราบลุ่มทุ่งนา ทิศเหนือจดหมู่ที่ 5 ตำบลแค สมัยก่อนอาณาเขตคลุมไปถึงบ้านแม่เหวียนทั้งหมด ตอนหลังได้แยกออกเป็นหมู่ที่ 6 เนื่องจากในสมัยก่อน หมู่ที่ 5 เป็นป่ารกทึบเป็นทางเสื่อผ่าน เป็นจุดชุมนุมโจรในยุคนั้น ในสมัยก่อนผู้นำท้องถิ่นจะเป็นที่นับหน้าถือตาของชาวบ้านทั่วไป เป็นที่พึ่งของผู้ตกทุกข์ได้เข้ามาพึ่งพิงอาศัยโดยเฉพาะโจรลักวัว มักจะมาลงเอยกันที่หมู่ 5 เพราะมีพื้นที่เป็นเกาะกลางทุ่งนา เหมาะสมแก่การหลบซ่อนผูกวัวก่อนที่จะเข้าโรงฆ่า (งานแต่ง,งานศพ) และในประวัติศาสตร์ของ นายกลั่น นิลมณี ผู้ใหญ่บ้านคนแรกได้บันทึกไว้บางตอนว่า นาหมู่ 5 คือ ที่นาชายค่าย (ปัจจุบันมีเจ้าของซึ่งอยู่กระจายอยู่ทุกหมู่บ้าน ของตำบลน้ำขาว จึงสันนิษฐานว่าในสมัยก่อนคนน้ำขาว น่าจะแตกกอไปจากส่วนกลางของตำบลนั่นเอง) ทำไมจึงเรียกชายค่าย ในสมัยญี่ปุ่นขึ้น ทหารญี่ปุ่นจะมาตั้งฐานทัพชั่วคราว (จุดพัก) ก่อนเข้าโจมตีมาเลเซีย เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามก็เลยทิ้งร่องรอยไว้ต่อมากลายเป็นจุดพักเจ้าหน้าที่ตำรวจที่เข้ามาจับร้าย ซึ่งมักจะหลบซ่อนอยู่ในพื้นที่หมู่ที่ 5 เลยกลายเป็นชื่อทุ่งชายค่ายมาจนถึงทุกวันนี้

บ้านคูตีน

จากการสอบถามมีคูที่ใช้ทดน้ำเข้านา โดยน้ำมาจากคลองคู เลียบริมบ้านเพื่อใช้น้ำจากคูนำไปใช้ทางการเกษตรเพื่อไปทำนา เดิมเป็นคูค่ายสมัยญี่ปุ่นขึ้นที่สงขลาเพื่อไปยึดพม่าซึ่งเป็นนิคมของอังกฤษ มีร่องรอยเหลืออยู่บ้างส่วนทิศเหนือหมู่บ้าน ปู ยา ตา ยาย ซึ่งเคยเล่าให้ฟัง เลยเรียกบ้านคู เนื่องจากอยู่ทางทิศเหนือภาษาถิ่นเลยเรียกว่า บ้านคูตีน หรือคนเฒ่าสมัยก่อนเรียกว่าบ้านคูค่าย ===ประเพณีของบ้านคูตีน

         ๑.การไหว้ทวดต้นดู่

อาชีพหลักของชาวบ้านคูตีน

๑.การทำสวนยาง

๒.การทำนา

บ้านคูหัวนอน

สภาพภูมิศาสตร์ตั้ง หมู่บ้านโดยมีคูน้ำไหลผ่าน เนื่องจากตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ ภาษาถิ่นเลยเรียก บ้านคูหัวนอน

บ้านคูย่างควาย

อยู่ในหมู่บ้านท่าคู หมู่ที่ 8 ตำบลน้ำขาว สาเหตุที่ชื่อบ้านนี้ว่าคูย่างควาย เพราะในสมัยก่อนนั้น เมื่อเกิดโรคระบาดขึ้นกับสัตว์เลี้ยง สัตว์เลี้ยงตายกันไปหมดทั้งบ้าน ทั้งตำบล หรือทั้งอำเภอ เพราะในสมัยนั้นไม่มียาวัคซีนที่จะป้องกันโรค และเวลาสัตว์เกิดโรคขึ้นแล้วยาบำบัดไม่มี สัตวแพทย์ไม่มี ชาวบ้านคนมุสลิม บ้านท่าคู หมู่ที่ 4 มีภูมิปัญญาที่ดี เมื่อควายเกิดโรคขึ้น เนื่องจากฝนตกหนักหรือภูมิอากาศหนาวจัด เพื่อป้องกันความหนาว ใช้ไม้เรียบเข้าที่ปากคูแห้ง ๆ ต้อนฝูงควายขึ้นไปบนสะพานที่ปูด้วยไม้ แล้วสุมไฟเข้าไปในคูที่มีควายอยู่ข้างบน เพราะจะทำร้านทำแคร่ย่างควายทั้งฝูงย่อมทำไม่ได้ จึงใช้คูเรียบไม้ สำหรับย่างควาย ควายอบอุ่นตลอดฤดูหนาว โรคระบาดไม่เกิดทั้งที่ตำบลใกล้เคียง เช่น นาหมอศรี บ้านคูแค ขุนตัดหวาย ควายถูกโรคระบาดเช่นกัน... เทียบ แก้วมหากาฬ

บ้านหัวควน

เกิดจากสภาพภูมิศาสตร์ของบ้านตั้งริมควนภาษา ท้องถิ่นเลยเรียก บ้านหัวควน รู้เรื่องบ้านหัวควนโดยละเอียด ต้องสอบถาม ตาญาน ชายพรม

ประเพณีวัฒนธรรม

1. การไหว้เทวดา เป็นประเพณีที่มีมานานในบ้านหัวควน

การสร้างความเข้มแข็งไห้ชุมชน

1.ธนาคารหมู่บ้าน (กลุ่มสัจจะ)นายเจริญ หนูแก้ว ประธานกลุ่ม (และเป็นสมาชิก อสม.)

บ้านคลองแงะ

มีผู้ให้คำตอบไว้ว่ามาจากลำคลองที่แยกจากกัน โดยใช้ภาษาถิ่นเรียกว่า แงะ เช่น เรียกแงะไม้ เมื่อตั้งชื่อบ้านก็เลยเอาตามชื่อคลองที่แตกแงะจากกัน เป็น บ้านคลองแงะ [4]

นันทนาการพื้นบ้าน

นันทนาการพื้นบ้านของคนน้ำขาวที่มีในสมัยก่อนซึ่งเป็นการละเล่นที่กำลังสูญหายไปตามกาลเวลา ความนิยม และการก้าวมาอย่างรวดเร็วของ ของเล่นยุคไฮเทค เป็นการเร่งให้เยาวชนรุ่นหลัง ๆ ลืมเลือนการละเล่นที่บ่งบอกถึงความเป็นเอกลักษณ์ความเป็นชาติพันธ์ของตนเอง การละเล่น มี

1.โลกยะแล่

2.ม้าหลังแดง

3.กุโบริ

4.โจรลักวัว

5.ทอยราว

6.เตย

7.ลูกกาไหว

8.ยับโหยง [5]

วัฒนธรรม

วัฒนธรรม ที่เห็นได้ชัดเจนของคนน้ำขาวและกำลังสาบสูญ คือ

การตำข้าวเม่า พอหมดฤดูการทำนา เหลือข้าวเขียวในนาก็มาช่วยกันเก็บข้าวที่เหลือในนาซึ่งอาจจะสุกไม่ทันเพื่อนนำมาทิ่มตำเพื่อเป็นอาหารเสริมของคนในสมัยนั้น จะใช้เวลาในช่วง ค่ำ ซึ่งเป็นเวลาที่ว่างเว้นจากภารกิจต่าง ๆ แล้วในการทิ่มข้าวเม่า

การแกงใบนมหวันกับเนื้อ เป็นวิถีชีวิต ที่มีที่เดียวคือที่น้ำขาว ที่มีการแกงเนื้อกับใบนมหวัน ซึ่งเราน่าจะช่วยกันฟื้นฟู และอนุรักษ์ให้เป็นเอกลักษณ์ของตำบลน้ำขาว (เพราะมันอร่อยมากๆ)

แกงบอร์เตาะ เป็นแกงที่บ่งบอกได้ถึงหลาย ๆ อย่างในแกงนี้ เช่น การอนุรักษ์ธรรมชาติ การประหยัด วิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย การใช้สมดุลทางธรรมชาติ เป็นการนำเอาปลาที่ได้จากการดักไซ ซึ่งกว่าจะไปเก็บในตอนเช้าอาจจะพอง หรือเหลือจากที่ปูกินในตอนกลางคืน ส่วนใหญ่จะเน้นปลาช่อนตัวโต ๆ นำมาแกงกับใบยอเป็นการไม่สูญเปล่าของชีวิตที่เสียไป (ภาษาบ้านเราว่า ดายของ)

นอกจากที่เขียนมาแล้วก็จะเห็นเหมือนกับวัฒนธรรมบ้านอื่น ไม่ว่า การทำขนมจีน หรือแม้แต่การแต่งเปรตเดือนสิบ การใช้วัตถุการตกแต่งก็มีเหมือนกันหลายบ้าน [6]


ประเพณี

ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวน้ำขาว ที่ยังคงมีหลงเหลืออยู่และบางอย่างกำลังสูญหายไป ก็ฝากความหวังไว้กับคนรุ่นต่อ ๆ ไป

วันว่าง จะมีขึ้นในเดือนห้า เป็นการรวมญาติครั้งยิ่งใหญ่อีกงานหนึ่ง ไม่ว่าจะทำงานที่ไหน ทุกคนจะต้องกลับมายังบ้านเกิดของตน เพื่อมาร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นวันที่แสดงออกซึ่งความกตัญญู ไม่ว่าจะมีภารกิจที่ยุ่งยากขนานไหนทุกคนก็ต้องพยายามปลีกเวลามาให้ได้

แห่เทียนหัวสา เป็นประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาซึ่งอาจจะเหมือน ๆ กับหมู่บ้านอื่น

อาบน้ำพระ จะมีในช่วงเดือนเมษายน (เดือนห้า) อากาศร้อน จึงมีประเพณีรดน้ำดำหัว ขอพรผู้ใหญ่และอาบน้ำพระ

ขึ้นเปล ทำขวัญเด็กแรกเกิด เป็นประเพณีที่ทำขึ้นมาเพื่อต้อนรับสมาชิกใหม่ของครอบครัว เป็นภูมิปัญญาชาวบ้านในการสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง ซึ่งกำลังมีการรณรงค์อยู่ในยุคปัจจุบันนี้

ประเพณีแต่งงาน เป็นการสร้างครอบครัวใหม่ ซึ่งมีขั้นตอนในการทำพิธีมากมาย เช่น

1.การซัดน้ำบ่าว-สาว

2.รับขวัญตีนม่าน

3.เฉียงพร้าว ฯลฯ


ก่อนตาย จำเริญอายุ เป็นการต่ออายุให้ผู้กำลังใกล้จะตาย หรือเป็นการชี้แนะให้ผู้ที่กำลังจะตายไปในทางที่ดี พ้นจากความทรมานหรือทำให้ทรมานน้อยลง

ประเพณีช่วยงาน ซึ่งเมื่อมีงานต่าง ๆ ขึ้นมาในหมู่บ้าน ก็จะมีการแบ่งงานกันทำ เช่น

1.คนหาบน้ำ

2.คนเชือดเนื้อ

3.คนขูดพร้าว

4.นายเตา

ทุกงานมีหัวหน้า เมื่อเวลาขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด จะเรียกเอาแต่หัวหน้างานซึ่งจะเป็นผู้รับผิดชอบในงานนั้น ๆ [7] [8]

ตราตำบลน้ำขาว
ตราตำบลน้ำขาว

ป้ายแกงเวร

“ป้ายแกงเวร ภูมิปัญญาของคนน้ำขาวที่เหลือไว้แต่ความทรงจำ" ป้ายแกงเวรคือ การมอบหมายความรับผิดชอบในการดูแลเรื่องอาหาร โดยเฉพาะแกงหนึ่งหม้อควงเขียวต่อหนึ่งครัว สำหรับเลี้ยงพระของแต่ละหมู่บ้านขึ้น โดยแบ่งให้รับผิดชอบกันเป็นวัน ๆ เช่นวันจันทร์หมู่บ้านใดรับผิดชอบ หมู่บ้านนั้นก็จำต้องมาแบ่งเวรย่อยกันอีกเป็นกลุ่ม ๆ ภายในหมู่บ้านของตนเอง อาจจะกลุ่มละ 2-3 ครอบครัวต่อครั้ง ก็แล้วแต่จะตกลงกัน พอวันจันทร์ถัดไปก็หมุนเวียนภารกิจ ดังกล่าวกันไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดก็จะกลับมาครบรอบใหม่อีกครั้งหนึ่ง หมุนเวียนสลับกันไปตลอดไม่มีการหยุด หากหยุดหรือเกิดลืมวันใด วันนั้น “พระต้องอด” ด้วยข้อกำหนด ข้อตกลงที่เกิดจากความยึดมั่น เชื่อมั่นในหลักการของพระพุทธศาสนาดังกล่าว ของคนน้ำขาวที่ “กลัวพระจะไม่ได้ฉัน” นี้เอง ป้ายแกงเวรจึงเกิดขึ้นเพื่อเป็นสารแทนจดหมายเป็นสื่อแทนคำบอกกล่าว กันลืม ! จากครอบครัวหนึ่ง สู่อีกครอบครัวหนึ่ง เป็นบ่วงคล้องเกี่ยวต่อเนื่องกันไปเป็นวงกลม ในบ่วงดังกล่าวจะแฝงความศรัทธา ในพระพุทธศาสนา สัจจะ ต่อข้อตกลงและความรับผิดชอบ ความสามัคคี ในหมู่คณะไว้ด้วยอย่างแนบแน่น ด้วยกุศลโลบายที่แฝงไปด้วยความละเอียดอ่อน ลุ่มลึก มองเห็นทะลุถึงบาปและบุญที่เป็นรูปธรรมเพียงวันเดียว ไม่ต้องรอถึงชาติหน้าตอนบ่าย ๆ “ ใครลืมแกงเวร ทั้ง ๆ ที่ป้ายแขวนอยู่หน้าบ้าน บาปที่เชื่อว่ามีจริง ก็จะปรากฏให้เห็นในพริบตา คำติฉินนินทา ความเชื่อถือจากเพื่อนบ้าน ก็จะหมดไปในบัดดล ทุกคนจึงถือว่าป้ายแกงเวร คือ สัญลักษณ์หรือใบบอกบุญที่ใครจะมาละเมิดหาได้ไม” ป้ายแกงเวร จึงเป็นภูมิปัญญาที่คนน้ำขาวรวมกันสร้างขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือสื่อสารทางใจ สู่กันและกัน ป้ายแกงเวร คือ E-mail Address ของคนรุ่นก่อนที่คิดค้นขึ้น เพราะกลัวพระจะไม่ได้ฉัน ซึ่งคนน้ำขาวรุ่นใหม่ไม่มีโอกาสได้สัมผัสอย่างแท้จริง ปัจจุบัน ป้ายแกงเวร ถูกแขวนไว้อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีใครรู้ที่มา และความหมาย อันเป็นในสำคัญทางเทือกเถาเหล่าก่อที่แท้จริงของคนน้ำขาว โลกของการสื่อสารไร้พรมแดน โลกของการบริโภคทรัพยากรอย่างบ้าคลั้ง โลกของการเอารัดเอาเปรียบ โลกของเล่หลี่ยมคนโกง ที่เราเรียกว่า “ระบบไฮเทค” เทียบไม่ได้กับไม้กระดานแผ่นเดียว คือ “ป้ายแกงเวร” ของคนน้ำขาว ที่ถูกสร้างขึ้นเพียงเพื่อวัตถุประสงค์ซื่อ ๆ ตรงไปตรงมา กลัวพระจะไม่ได้ฉันท์ แต่กลับแฝงไว้ด้วยพลังของความศรัทธา สัจจะที่แท้จริงและความสามัคคีในหมู่คณะที่ยั่งยืน ที่โอบอุ้มชุมชนน้ำขาวให้เป็นชุมชนที่แข็มแข็งมาจนถึงปัจจุบัน

อารยะ เทพศรี

โบราณสถานเจดีย์ควนธง

ในรัชสมัยพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราวปี พ.ศ. 2439 เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) ข้าหลวงเมืองสงขลา มณฑลนครศรีธรรมราช ต้องการก่อสร้างเจดีย์บนภูเขา ซึ่งสามารถมองเห็นโดดเด่นและสง่าเพื่อบรรจุพระบรมธาตุ ที่ได้รับมาจากลังกา ได้สั่งการให้ข้าราชบริพาร ออกทำการสำรวจ จนกระทั่งได้พบควนธงในพื้นที่อำเภอจะนะ ซึ่งเป็นทำเลที่เหมาะสมมากที่สุด จึงได้ปักธงช้างเผือกและธงธรรมจักร ไว้เป็นหลักฐานสำคัญ หนึ่งเดือนต่อมา นายคง ผู้นำชาวบ้านน้ำขาวพร้อมด้วยลูกบ้านได้ร่วมมือร่วมใจกันทำการก่อสร้างเจดีย์แบบลังกา ทรงกลมฐานสี่เหลี่ยมจุตรัส ขนาดยาวด้านละ 5 วา ตัวองค์เจดีย์ฐานทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง 8 เมตร (4 วา) มีความสูงจากฐานถึงยอดเจดีย์ 12 เมตร (6 วา) บรรจุพระบรมธาตุไว้ในส่วนกลางขององค์เจดีย์ โดยแบ่งพลพรรคออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มแรก อยู่พื้นราบใกล้คลองคู มีหน้าที่ทำอิฐ

กลุ่มที่สอง เดินขึ้นลงทำหน้าที่รับส่งของ ระหว่างกลุ่มแรกกับกลุ่มที่สาม

กลุ่มที่สาม เดินขึ้นลงทำหน้าที่รับส่งของ ระหว่างกลุ่มที่สองกับกลุ่มที่สี่

กลุ่มที่สี่ อยู่บนยอดควนธง มีหน้าที่อ่านแปลน และทำการก่อสร้างเจดีย์ควนธงจนแล้วเสร็จ ใช้เวลาในการก่อสร้าง 2 เดือนเศษ

ได้มีการจัดฉลองสมโภชน์เจดีย์ควนธง 7 วน 7 คืน มีหนัง โนรา แสดงครบ 7 คืน และมีการสวดชัยมงคลคาถา เพื่อเป็นศิริมงคลของเจดีย์ควบคู่กันไปด้วยครบ 7 วัน 7 คืน ตรงกับกลางเดือนสามของปี ชาวบ้านน้ำขาว ได้พากันขึ้นไปกราบนมัสการเจดีย์ควนธง ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 5 เป็นประจำทุกปี พร้อมกับนิมนต์พระสงฆ์ เพื่อทำประทักษิณา และมีการเลี้ยงพระ (ถวายภัตตาหารเพล) [9] [10]

อ้างอิง

  1. ที่มาของตำบลน้ำขาว
  2. ข้อมูลทั่วไป
  3. ข้อมูลพื้นฐาน
  4. ชื่อบ้านนามเมือง
  5. นันทนาการพื้นบ้าน
  6. วัฒนธรรม
  7. คนน้ำขาว
  8. ประเพณี
  9. เจดีย์ควนธง
  10. ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน