ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัยโบราณ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Mattis (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 22: บรรทัด 22:


==สมัยโบราณในยุโรป==
==สมัยโบราณในยุโรป==
{{Main|สมัยคลาสสิค}}
สมัยโบราณในยุโรปหรือบางครั้งเรียกว่า “สมัยคลาสสิค” ({{lang-en|'''Classical antiquity''' หรือ '''Classical era''' หรือ '''Classical period'''}}) เป็นคำกว้างๆ ที่ใช้เรียกสมัยของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณ[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]]ที่ประกอบด้วยวัฒนธรรมของ[[กรีกโบราณ]] และ [[โรมันโบราณ]]ที่เรียกรวมกันว่า[[โลกกรีก-โรมัน]]
สมัยโบราณในยุโรปหรือบางครั้งเรียกว่า “[[สมัยคลาสสิค]]” ({{lang-en|'''Classical antiquity''' หรือ '''Classical era''' หรือ '''Classical period'''}}) เป็นคำกว้างๆ ที่ใช้เรียกสมัยของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณ[[ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน]]ที่ประกอบด้วยวัฒนธรรมของ[[กรีกโบราณ]] และ [[โรมันโบราณ]]ที่เรียกรวมกันว่า[[โลกกรีก-โรมัน]]


ยุคโบราณโดยทั่วไปเริ่มขึ้นเมื่อมีการบันทึกมหากาพย์โดย[[โฮเมอร์]]เมื่อราว 800 ถึง 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และดำเนินต่อมาจนถึงการรุ่งเรืองของ[[คริสต์ศาสนา]]และ[[การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน]]ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ยุคโบราณสิ้นสุดลงเมื่อเกิดการสลายตัวของวัฒนธรรมคลาสสิคในตอนปลายของ[[ยุคโบราณตอนปลาย]] (Late Antiquity) (ค.ศ. 300-ค.ศ. 600) ที่คาบต่อไปยังสมัย[[ยุคกลางตอนต้น]] (ค.ศ. 600-ค.ศ. 1000)
ยุคโบราณโดยทั่วไปเริ่มขึ้นเมื่อมีการบันทึกมหากาพย์โดย[[โฮเมอร์]]เมื่อราว 800 ถึง 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และดำเนินต่อมาจนถึงการรุ่งเรืองของ[[คริสต์ศาสนา]]และ[[การล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน]]ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ยุคโบราณสิ้นสุดลงเมื่อเกิดการสลายตัวของวัฒนธรรมคลาสสิคในตอนปลายของ[[ยุคโบราณตอนปลาย]] (Late Antiquity) (ค.ศ. 300-ค.ศ. 600) ที่คาบต่อไปยังสมัย[[ยุคกลางตอนต้น]] (ค.ศ. 600-ค.ศ. 1000)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:05, 28 กรกฎาคม 2552

ฟาโรห์ ผู้ปกครองอารยธรรมอียิปต์ อารยธรรมที่โด่งดังในสมัยโบราณ
สาธารณรัฐโรมัน อารยธรรมที่โด่งดังอีกแห่งในสมัยโบราณ
พ่อขุนรามคำแหงมหาราช กษัตริย์ไทยในสมัยโบราณ มหาราชองค์แรกของไทย

สมัยโบราณ ในความหมายที่เป็นสากล จะหมายถึง ช่วงเวลาที่มนุษย์รู้จักการตั้งถิ่นฐานถาวร สร้างอารยธรรม วัฒนธรรม อักษรต่างๆ ขึ้นมา ซึ่งในแต่ละประเทศ สมัยโบราณจะมาถึงเร็วหรือช้า จะไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับว่าช่วงเวลาใดทีประเทศนั้นอยู่ในช่วงสร้างและประดิษฐ์อารยธรรมที่จะเป็นหลักฐานยืนยันได้ว่าอารยธรรมของประเทศนี้เริ่มต้นขึ้นแล้ว ช่วงเวลานั้น ของประเทศนั้น ก็จะจัดอยู่ในช่วงสมัยโบราณ

สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลกจะตรงกับ 3,500 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 476 เพราะในช่วงเวลาดังกล่าว อารยรรมที่โด่งดังจำนวนมากของโลกถือกำเนิดในช่วงนี้ เช่น อารยธรรมโรมัน กรีก เมโสโปเตเมีย จีน อียิปต์ ฯลฯ นักประวัติศาสตร์ทั่วโลกจึงกำหนดช่วงเวลาดังกล่าวให้เป็นสมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก

สมัยโบราณโดยเฉลี่ยของโลก สิ้นสุดใน ค.ศ. 476 เมื่อจักรวรรดิโรมันตะวันตกล่มสลายลง เหลือแต่จักรวรรดิโรมันตะวันออก ที่เปิดเมืองรับเอาศาสนาคริสต์เข้ามามีบทบาทสูงในสังคมโรมัน และอิทธิพลของโรมันก็แผ่ขยายไปทั่วยุโรป และไปทั่วโลก ทำให้โลกโดยรวมออกจากสมัยโบราณ เข้าสู่ สมัยกลาง

แต่ถ้าพิจารณาเฉพาะในบริเวณอาณาเขตประเทศไทย ยุคโบราณ จะตรงกับ พ.ศ. 1043 - พ.ศ. 2394 เพราะในช่วงเวลานี้ อารยธรรมที่สำคัญหลายอารยธรรม ก่อตัวและสร้างขึ้นในอาณาเขตประเทศไทย ตั้งแต่อารยธรรมสุวรรณภูมิ ฟูนัน บ้านเชียง ทวารวดี ละโว้ หริภุญชัย ตามพรลิงก์ ศรีวิชัย ล้านนา เชียงแสน เงินยางเชียงแสน สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์ ฯลฯ ก่อตัวตามอาณาเขตประเทศไทยปัจจุบันและผลัดกันเป็นใหญ่ในดินแดนไทยตามช่วงเวลาต่างๆ

สมัยโบราณของไทย ถึงแม้จะมีหลายอารยธรรมที่เป็นใหญ่ในดินแดนของไทยในปัจจุบันก็ตาม แต่อารยธรรมที่เป็นที่ยอมรับของนักประวัติศาสตร์ไทยว่าเป็นอารยธรรมที่แสดงออกถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน ทั้งภาษา การแต่งกาย วัฒนธรรมต่างๆ มีเพียง 6 อารยธรรมเด่นๆ คือ เชียงแสน เงินยางเชียงแสน สุโขทัย อยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ และนอกจากนี้มีอารยธรรม อื่นๆ ที่ถือเป็นอารยธรรมแบบไทย เช่น อารยธรรมล้านนา หริภุญชัย

สมัยโบราณของไทย สิ้นสุดลงใน พ.ศ. 2394 เมื่อสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งรัตนโกสินทร์ขึ้นครองราชย์ เพราะทรงเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่จะเป็นผลดีต่อประเทศ จึงทรงเปิดประเทศรับเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ทำให้ไทยก้าวออกจากสมัยโบราณ เข้าสู่ สมัยใหม่ โดยไม่ผ่านสมัยกลาง (เหตุผลเป็นอย่างไร ให้ดูที่บทความ สมัยกลาง)

ทางด้านอารยธรรมสมัยโบราณของต่างประเทศ โดยเฉพาะในแถบยุโรป มีอารยธรรมที่น่าสนใจเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก เช่น อารยธรรมอียิปต์ กรีก โรมัน บุคคลที่มีชีวิตอยู่ในช่วงหลายพันปีก่อน แล้วยังมีชื่อเสียงอยู่จนถึงปัจจุบันมีมากมาย เช่น จูเลียส ซีซาร์, คลีโอพัตรา รวมทั้งฟาโรห์หลายพระองค์แห่งอียิปต์

สมัยโบราณในยุโรป

สมัยโบราณในยุโรปหรือบางครั้งเรียกว่า “สมัยคลาสสิค” (อังกฤษ: Classical antiquity หรือ Classical era หรือ Classical period) เป็นคำกว้างๆ ที่ใช้เรียกสมัยของประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่มีศูนย์กลางอยู่ในบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่ประกอบด้วยวัฒนธรรมของกรีกโบราณ และ โรมันโบราณที่เรียกรวมกันว่าโลกกรีก-โรมัน

ยุคโบราณโดยทั่วไปเริ่มขึ้นเมื่อมีการบันทึกมหากาพย์โดยโฮเมอร์เมื่อราว 800 ถึง 700 ปีก่อนคริสต์ศักราช และดำเนินต่อมาจนถึงการรุ่งเรืองของคริสต์ศาสนาและการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 5 ยุคโบราณสิ้นสุดลงเมื่อเกิดการสลายตัวของวัฒนธรรมคลาสสิคในตอนปลายของยุคโบราณตอนปลาย (Late Antiquity) (ค.ศ. 300-ค.ศ. 600) ที่คาบต่อไปยังสมัยยุคกลางตอนต้น (ค.ศ. 600-ค.ศ. 1000)

ยุคโบราณมักจะหมายถึงมุมมองอันเป็นอุดมคติของยุคของผู้คนในสมัยต่อมาเช่นในคำกล่าวของเอดการ์ อัลเลน โพ ที่ว่า “ความรุ่งโรจน์ในกาลครั้งหนึ่งของกรีกโบราณ, ความยิ่งใหญ่ในกาลครั้งหนึ่งของโรมันโบราณ!”[1]

วัฒนธรรมของกรีกโบราณมีอิทธิพลอันยิ่งใหญ่ต่อภาษา การปกครอง ระบบการศึกษา ศิลปะ และ สถาปัตยกรรมของโลกยุคใหม่ เป็นเชื้อเพลิงของยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาของยุโรปตะวันตกและอีกครั้งหนึ่งในยุคฟื้นฟูคลาสสิคในคริสต์ศตวรรษที่ 18 และ 19

อ้างอิง

  1. Poe EA (1831). "To Helen"

|- style="text-align: center; vertical-align: middle;" | rowspan="1" style="width: 26%; background-color: inherit;" | ยุคก่อนประวัติศาสตร์ | rowspan="1" style="width: 4%;" | | rowspan="1" style="width: 40%; padding: .5em 0; background-color: inherit;" | ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์สากล
(3,500 ปีก่อนคริสตกาล - ค.ศ. 476) | rowspan="1" style="width: 4%;" | | rowspan="1" style="width: 26%; background-color: inherit;" | สมัยกลาง

|- style="text-align: center; vertical-align: middle;" | rowspan="1" style="width: 26%; background-color: inherit;" | ยุคก่อนประวัติศาสตร์ | rowspan="1" style="width: 4%;" | | rowspan="1" style="width: 40%; padding: .5em 0; background-color: inherit;" | ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ไทย
(พ.ศ. 1043 - พ.ศ. 2394) | rowspan="1" style="width: 4%;" | | rowspan="1" style="width: 26%; background-color: inherit;" | สมัยใหม่