ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ลบ หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ยุโรป ออก ด้วยสจห.
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: sv:Medelhavsländer
บรรทัด 60: บรรทัด 60:
[[simple:Mediterranean region]]
[[simple:Mediterranean region]]
[[sk:Stredomorie (Stredozemné more)]]
[[sk:Stredomorie (Stredozemné more)]]
[[sv:Medelhavsländer]]
[[uk:Середземномор'я]]
[[uk:Середземномор'я]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 07:54, 20 กรกฎาคม 2552

บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนที่ปลูกมะกอกได้
แผนที่การเมืองของบริเวณเมดิเตอร์เรเนียน

บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน (อังกฤษ: Mediterranean area) ประกอบด้วยดินแดนรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในความหมายทางชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) “บริเวณเมดิเตอร์เรเนียน” หมายถึงบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่อุ่น, มีฝนตกระหว่างฤดูหนาว, แห้งระหว่างหน้าร้อนที่เหมาะแก่พืชพันธุ์เมดิเตอร์เรเนียน กฎที่ว่ากันง่ายๆ คือเป็นบริเวณ “โลกเก่า” (Old World) ที่ปลูกมะกอกได้

ภูมิศาสตร์

บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนครอบคลุมอาณาบริเวณสามทวีปคือ ยุโรป, เอเชีย และ แอฟริกา

ยุโรปอยู่ทางตอนเหนือที่รวมทั้งคาบสมุทรใหญ่สามคาบที่รวมทั้งคาบสมุทรไอบีเรีย, คาบสมุทรอิตาลี และ คาบสมุทรบอลข่าน โดยมีแนวเทือกเขาเป็นที่กั้นเขตแดนทางตอนเหนือที่รวมทั้งเทือกเขาพิเรนีสที่แยกสเปนจากฝรั่งเศส, เทือกเขาแอลป์ที่แยกอิตาลีจากยุโรปกลาง, เทือกเขาไนาริคแอลป์ตามแนวตะวันออกของทะเลเอเดรียติค และเทือกเขาบอลข่าน กับ เทือกเขาราดาพี (Rhodope Mountains) ของคาบสมุทรบอลข่านที่แยกทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจากบริเวณแบบภาคพื้นทวีปของยุโรปกลางและยุโรปตะวันตก

บริเวณเมดิเตอร์เรเนียนกว้างออกไปถึงทางตะวันตกของทวีปเอเชียที่ครอบคลุมด้านตะวันตกและด้านใต้ของอานาโตเลียยกเว้นบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีปของตอนกลางอานาโตเลีย และรวมทั้งบริเวณที่มีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนของบริเวณลว้านทางตะวันออกสุดของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนที่แยกทางด้านตะวันออกและใต้โดยทะเลทรายซีเรีย และ ทะเลทรายเนเกฟ

ทางตอนเหนือของบริเวณมาเกรบ (Maghreb) ของทางตะวันตกเฉียงเหนือของทวีปอาฟริกามีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนที่แยกจากส่วนอื่นของทวีปโดยทะเลทรายซาฮาราที่แล่นตลอดแนวทางตอนเหนือของทวีปโดยเทือกเขาแอตลาส ทางฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทะเลทรายซาฮารายืดออกทางฝั่งทะเลตอนใต้ของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ยกเว้นทางตอนเหนือของคาบสมุทรเซอเรเนเอคา (Cyrenaica)ในลิเบียที่มีภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนแบบแห้ง

อ้างอิง

  • David Attenborough 1987. The First Eden: the Mediterranean World and Man. Little Brown and Company, Boston.
  • Dallman, Peter F. 1998. Plant Life in the World's Mediterranean Climates. California Native Plant Society, University of California Press, Berkeley, California.
  • Suc J-P. 1984. "Origin and evolution of the Mediterranean vegetation and climate in Europe". Nature 307: 429-428.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น