ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ภาธร ศรีกรานนท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 116: บรรทัด 116:


'''ผังวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ วงดนตรีส่วนพระองค์ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล หัวหิน'''
'''ผังวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ วงดนตรีส่วนพระองค์ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล หัวหิน'''
'''นักดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ณ ปัจจุบัน''' ได้แก่ พลเรือตรีหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (ศิลปินแห่งชาติ และ องคมนตรี) (ทรัมเป็ต) ,เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ศิลปินแห่งชาติ) (เปียโน) , พลโท ทันตแพทย์ ทวีศักดิ์ ทวีศรี (ทรัมเป็ต) ,นายนนท์ บูรณสมภพ (บาริโทนแซ็กโซโฟน) ,นายถาวร เยาวขันธ์ (กลอง) ,นายกวี อังศวานนท์ (เทนเนอร์แซ็กโซโฟน) ,นายสุวิทย์ อังศวานนท์, นายพัลลภ สุววรณมาลิก,นายสันทัด ตัณฑนันทน์ (ทรอมโบน) ,นายอนิรุธ ทินกร ณ อยุธยา (เบส) และ ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ (อัลโตแซ็กโซโฟน )
'''นักดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ณ ปัจจุบัน''' ได้แก่ พลเรือตรีหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (ศิลปินแห่งชาติ และ องคมนตรี) (ทรัมเป็ต) ,เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ศิลปินแห่งชาติ) (เปียโน) , พลโท ทันตแพทย์ ทวีศักดิ์ ทวีศรี (ทรัมเป็ต) ,นายนนท์ บูรณสมภพ (บาริโทนแซ็กโซโฟน) ,นายถาวร เยาวขันธ์ (กลอง) ,นายกวี อังศวานนท์ (เทนเนอร์แซ็กโซโฟน) ,นายสุวิทย์ อังศวานนท์(ทรอมโบน), นายพัลลภ สุววรณมาลิก(ทรอมโบน),นายสันทัด ตัณฑนันทน์ (ทรอมโบน) ,นายอนิรุธ ทินกร ณ อยุธยา (เบส) และ ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ (อัลโตแซ็กโซโฟน )


<!-- ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด กรกฏาคม 2549 โดย น.ส. ปฤณ สุภัควณิช -->
<!-- ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด กรกฏาคม 2549 โดย น.ส. ปฤณ สุภัควณิช -->

รุ่นแก้ไขเมื่อ 22:12, 28 กรกฎาคม 2549

ภาธร ศรีกรานนท์ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิกิประเทศไทยและสถานีย่อย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อรวบรวมเรื่องราวทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศไทย ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในโครงการนี้ได้ด้วยการช่วยกันพัฒนาบทความ ภาธร ศรีกรานนท์ หรือแวะไปที่หน้าโครงการหรือหน้าสถานีย่อยเพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม
??? บทความนี้ยังไม่ได้รับการพิจารณาตามการจัดระดับการเขียนบทความ

แม่แบบ:ชีวประวัติตนเอง

ไฟล์:พี่บีท3.jpg

ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ (บีท) (4 มกราคม พ.ศ. 2516 — ) เป็นนักประพันธ์ดนตรี นักวิชาการดนตรี และนักดนตรี (แซกโซโฟนและคลาริเน็ต) ชาวไทย

คุณค่าอันยิ่งใหญ่ของดนตรีสำหรับ ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ เป็นทั้งหมดของชีวิตจิตใจ ที่พร้อมจะพลีถวายเบื้องพระยุคลบาท ด้วยความจงรักภักดี สำนึกในพระเมตตาคุณ และพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น อย่างหาที่สุดมิได้ ที่ได้รับพระราชทานมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกก็ว่าได้ เนื่องจากได้มีโอกาสตามคุณพ่อ (เรืออากาศตรี ศ. (พิเศษ) ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ) เข้าเฝ้าถวายรับใช้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในด้านดนตรีอยู่เนือง ๆ ได้รับพระเมตตาคุณและพระมหากรุณาธิคุณ ให้ร่วมบรรเลงดนตรี ในวงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ ตั้งแต่อายุเพียง 14 ขวบ และทั้งยังทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานทุนส่วนพระองค์ เพื่อให้ไปศึกษาด้านดนตรี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533-2544 จนกระทั่ง ด.ช.ภาธร ได้มีโอกาสเรียนจนจบปริญญาเอกทางด้านดนตรี เป็น ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ ณ ปัจจุบันนี้

ประสบการณ์

ไฟล์:IMAGE 00025-6.jpg
ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ และ น.ส. ปฤณ สุภัควณิช (อุ๋มอิ๋ม) ผู้จัดการส่วนตัว

ปัจจุบัน

  • พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการพิจารณาเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เมื่อ ปี พ.ศ. 2544 จนถึงปัจจุบัน
  • ประธานกรรมการที่ปรึกษาโครงการและรองประธานคณะกรรมการอำนวยการโครงการดนตรีเพลงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สถาบัน Gen -X Academy
  • รองประธานคณะกรรมการอำนวยการ โครงการห้องสมุดคลังความรู้ดนตรี เพลงพระราชนิพนธ์เฉลิมพระเกียรติ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ (สอร.) องค์การมหาชน สำนักนายกรัฐมนตรี (TK Park)
  • กรรมการบริหาร หอสมุดดนตรีพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 9
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ สาขาศิลปกรรมศาสตร์ พิจารณาการเลื่อนขั้นข้าราชการระดับสูง สำนักงานข้าราชการพลเรือน
  • กรรมการสภา ผู้ทรงคุณวุฒิ และที่ปรึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม
  • กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพายัพ
  • กรรมการอำนวยการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ที่ปรึกษา กองกำกับการ กองสวัสดิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  • ที่ปรึกษา สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
  • ที่ปรึกษา สถานีวิทยุกระจายเสียงกรมประชาสัมพันธ์ ต่างประเทศ โครงการเพลงพระราชนิพนธ์
  • ผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ผู้แทนประจำประเทศไทย/ผู้ประสานงาน Benetton Cultural Research Institute FABRICA ประเทศอิตาลี
  • อนุกรรมการจัดทำโน้ตเพลงพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี
  • อนุกรรมการพิจารณากลั่นกรองเรื่องเกี่ยวกับเอกลักษณ์ไทย สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ
  • วิทยากรรับเชิญ วิชาการประพันธ์ดนตรี (ปริญญาโท) คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ได้มีผู้นำผลงานประพันธ์ไปแสดงในมหกรรมดนตรี และคอนเสิร์ตในหลายประเทศด้วยกัน อาทิเช่น คานาดา จีน ญี่ปุ่น โปรตุเกส ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และ ฮังการี และได้ออกตีพิมพ์จำหน่ายโดย Dorn Publications แห่งสหรัฐอเมริกา
  • ผู้จัดรายการ Various Jazz ทางสถานีวิทยุ FM98.5 Bede FM กรุงเทพฯ

อดีต

  • ที่ปรึกษา สถานีโทรทัศน์เฉลิมพระเกียรติผ่านดาวเทียม บริษัท อาร์.เอ็น.ที.เทเลวิชัน จำกัด (มหาชน) (พ.ศ. 2548)
  • ที่ปรึกษา โรงเรียนดนตรี มีฟ้า กรุงเทพฯ (พ.ศ. 2547-2548)
  • กรรมาธิการที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยนครพนม สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2547)
  • กรรมาธิการที่ปรึกษา คณะกรรมาธิการร่างพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ สภาผู้แทนราษฎร (พ.ศ. 2547)
  • อนุกรรมการเพลงสำคัญของชาติ สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2546-2547)
  • ผู้ก่อตั้ง และคณบดีคนแรก วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต (พ.ศ. 2545-2546)
  • อาจารย์พิเศษ วิชาเทคโนโลยีการสื่อความหมายทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม (ปริญญาโท) คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (พ.ศ. 2545-2546)
  • อนุกรรมการจัดทำแถบบันทึกเสียงเพลงชาติไทยและเพลงสรรเสริญพระบารมี สำนักงานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี (พ.ศ. 2544-2546)
  • ที่ปรึกษาบัณฑิตวิทยานิพนธ์ ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (พ.ศ. 2544)
  • กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อินทุธร จำกัด (พ.ศ. 2543-2545)
  • ที่ปรึกษาด้านเทคนิคการจัดการแสดง สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย (พ.ศ. 2543-2545)
  • วิทยากรรับเชิญ วิชาดนตรีชาติพันธุ์ (ปริญญาตรี) มหาวิทยาลัยเอดินบะระ สก๊อตแลนด์ (พ.ศ. 2542-2543)
  • ศึกษาวิจัย ระบบเสียงและวรรณยุกต์ ในภาษาต่าง ๆ เพื่อใช้ในการประพันธ์ สังคีตนาฏกรรม เรื่องเงาะป่า ซึ่งเป็นอุปรากรแบบโอเปร่าเรื่องแรก ที่เป็นภาษาไทย (พ.ศ. 2541-2543)
  • กรรมการตัดสินการประกวดดนตรีหลายแห่ง อาทิเช่น การประกวดวงโยธวาทิตนักเรียนแห่งประเทศไทย ชิงถ้วยพระราชทานฯ การประกวดวงดนตรีแจ๊สแห่งประเทศไทยในระดับมัธยมศึกษา และการประกวดดนตรีสากลต่อต้านยาเสพติดในโครงการโรงเรียนสีขาว เป็นต้น
  • บรรเลงเดี่ยวแซ็กโซโฟน ร่วมกับวงดนตรีชั้นนำ อาทิเช่น Bangkok Symphony Orchestra, National Symphony Orchestra, l’Orchestre National de Lille, Cleveland Orchestra Youth Orchestra และได้ร่วมเล่นกับนักดนตรีแจ๊ส ระดับโลกหลายคน อาทิเช่น Gary Burton, Benny Carter, Jimmy Heath, Milt Hinton, J.J. Johnson และ Urbie Green

รางวัลและเกียรติที่ได้รับ

  • ได้รับเกียรติบัตรเชิดชูเกียรติ จากนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในฐานะที่เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ งานเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติอย่างดียิ่ง (พ.ศ. 2548)
  • เป็นผู้ช่วยที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายการศึกษา (ศ.ดร. กระแส ชนะวงศ์) ทำเนียบรัฐบาล (พ.ศ. 2546-2547)
  • ได้รับ Certificate of Commendation จากรัฐบาลเมือง ลอส แองเจลิส มลรัฐคาลิฟอร์เนีย ในฐานะที่เป็นผู้ที่มีผลงานและทำประโยชน์ให้กับประชาคม ชาวคาลิฟอร์เนีย (พ.ศ. 2546)
  • ได้รับเชิญไปร่วมแสดงคอนเสิร์ตกับวง l’Orchestre National de Lille แห่งประเทศฝรั่งเศส ควบคุมวงโดย Jean-Claude Casadesus เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงของประเทศไทย และชักชวนให้นักลงทุนในยุโรปมาลงทุนและทำการค้ากับประเทศไทย จัดโดยคณะกรรมการสมาคมไทย-ฝรั่งเศส และ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนแห่งประเทศไทย (BOI) ที่โรงละคร Opera Comique ณ กรุงปารีส (พ.ศ. 2542)
  • ได้รับมอบหมายจากสถานเอกอัคราชทูตเยอรมันนีประจำประเทศไทย และสถาบันวัฒนธรรมไทย-เยอรมัน กรุงเทพฯ ให้ประพันธ์ Quintett für Klavier und Streichquartett เพื่อเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 140 ปีแห่งสัมพันธภาพทางการค้า ระหว่างประเทศไทยและเยอรมันนี (พ.ศ. 2541)
  • สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ ให้ประพันธ์ทำนองเพลง ชุด ฝนร่ำ…ใบไม้ร่วง (พ.ศ. 2540) เพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินเฮลิคอปเตอร์ตก ที่จังหวัดนราธิวาส และได้ร้องถวายที่พระราชวังบางปะอิน ในปี 2541 และได้ประพันธ์เพลงถวายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ อีกหลายเพลง อาทิเช่น เพียงภาพฝัน (พ.ศ. 2539) ด้วยกัน (พ.ศ. 2540) และ หยาดฝนหยาดน้ำตา (พ.ศ. 2540)
  • ร่วมแสดงคอนเสิร์ตในฐานะตัวแทนจากประเทศไทย ในงาน Five Lyra World Festival ที่กรุงบูดาเปช ประเทศฮังการี ได้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ไปบรรเลงและขับร้องให้ชาวต่างชาติฟัง ในครั้งนั้นได้บรรเลงเพลง Portrait of Siam ที่ประพันธ์ขึ้น และเป็นนักประพันธ์ดนตรีชาวเอเชียคนแรก ที่ได้รับรางวัล Lyra Prize ในสาขาดนตรีประพันธ์ จาก Foundation for Hungarian Performing Arts (พ.ศ. 2541)
  • ได้รับรางวัล Best Jazz Performance จากการเล่นคลาริเน็ตในงาน Tri C Jazz Festival ’91 ที่ เมืองคลีฟแลนด์ มลรัฐโอไฮโอ (พ.ศ. 2534)
  • ได้รับรางวัล Best Jazz Improvisation จากการเล่นคลาริเน็ต และบาริโทน แซ็กโซโฟน ในงาน Collegiate Jazz Festival ’91 ที่มหาวิทยาลัยแห่งนอเทรอดาม มลรัฐอินเดียนา (พ.ศ. 2534)
  • ได้รับเหรียญรางวัล จาก Interlochen Center for the Arts ในฐานะที่เป็นนักดนตรียอดเยี่ยมที่สุดของวงดุริยางค์ ที่ National Music Camp มลรัฐมิชิแกน (พ.ศ. 2533)
  • ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ร่วมบรรเลงดนตรีในวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ และได้ประพันธ์ และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงต่าง ๆ ถวาย (พ.ศ. 2533-ปัจจุบัน)
  • ทุนการศึกษา: ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานทุนการศึกษา (พ.ศ. 2533-2544) ทุนการศึกษา The Howard Hanson Memorial Scholarship จาก Interlochen Center for the Arts มลรัฐมิชิแกน (พ.ศ. 2532) และ ทุนการศึกษาจาก Fundacão Oriente ประเทศโปรตุเกส (พ.ศ. 2544)

การศึกษา

  • ACADEMIA DE MÚSICA ANTIGA DE LISBOA ลิสบอน โปรตุเกส XVIII Curso International de Música Antica
  • หลักสูตรดนตรีตะวันตกยุคกลาง รุ่นที่ 18 (พ.ศ. 2544) Faculty of Music มหาวิทยาลัยเอดินบะระ สก๊อตแลนด์
  • Doctor of Philosophy in Musical Composition ดนตรีดุษฎีบัณฑิต สาขาการประพันธ์ (พ.ศ. 2540 - 2544)
  • BERKLEE COLLEGE OF MUSIC บอสตัน แมสซาชูเส็ตส์ Pre-doctoral Special Program in Film Music หลักสูตรเพิ่มเติม ด้านดนตรีประกอบภาพยนตร์ (พ.ศ. 2539)
  • YALE UNIVERSITY School of Music นิวเฮเวน คอนเน็กติกัต Master of Music in Composition ดนตรีมหาบัณฑิต สาขาการประพันธ์ (พ.ศ. 2537 - 2539)
  • UNIVERSITY OF MICHIGAN School of Music แอนอาร์เบอร์ มิชิแกน Bachelor of Music in Composition ดนตรีบัณฑิต สาขาการประพันธ์ (พ.ศ. 2534- 2537)

ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ "หัวใจนี้มีแต่ดนตรี"

คำว่า “ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น” ยังคงใช้ได้เสมอเพราะมีหลายครอบครัวที่คุณพ่อ คุณแม่ ประกอบหน้าที่การงานอย่างไร คุณลูกก็เจริญรอยตาม อย่างเช่น ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ ที่เจริญรอยตามคุณพ่อ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ นักดนตรีชื่อดังของเมืองไทย “ผมผูกพันกับดนตรี มาตั้งแต่เด็ก  ๆ เพราะคุณพ่อเป็นนักดนตรี พี่สาวก็เล่นดนตรี เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่ผมเริ่มเล่นก็คือ อิเลคโทน” ดร. ภาธร ฟื้นความหลัง “และด้วยเหตุนี้กระมังทำให้ผมเลือกเรียนทางด้านดนตรีมาโดยตลอด โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ พระราชทานทุนการศึกษา ดร. ภาธร จบปริญญาตรีดนตรีศาสตร์ สาขาการประพันธ์และการแสดง จาก U. of Michigan อเมริกา ปริญญาโท สาขาการประพันธ์จาก Yale U. อเมริกา ปริญญาเอก สาขาการประพันธ์ จาก U. of Edinburgh สก๊อตแลนด์ รางวัลและเกียรติที่ได้รับของ ดร. ภาธร มีมากมาย อาทิ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ร่วมบรรเลงดนตรีในวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการพิจารณาเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ, สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ประพันธ์ทำนองเพลงถวายบ่อยครั้ง ได้รับรางวัล BEST PERFORMANCE จากการเล่นคลาริเน็ตในงาน TRI C JAZZ FESTIVAL’ 91 ที่เมืองคลีฟแลนด์ อเมริกา ได้รับรางวัล BEST IMPROVISER จากการเล่นคลาริเน็ตและบาริโทน แซ็กโซโฟนในงาน COLLEGIATE JAZZ FESTIVAL’ 91 ที่ University of Notre Dame อเมริกา ได้รับเหรียญรางวัลจาก INTERLOCHEN CENTER FOR THE ARTS ในฐานะที่เป็นนักดนตรียอดเยี่ยมที่สุดของวงดุริยางค์ที่ NATIONAL MUSIC CAMP รัฐมิชิแกน อเมริกา ฯลฯ ดร. ภาธร มองว่าการดนตรีในประเทศไทยยังสามารถพัฒนาไปได้อีกมากจึงอยากจะจับงานทางด้านนี้โดยในปัจจุบัน ดร. ภาธร เข้ามารับงานที่ ม.รังสิตในตำแหน่ง ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งวิทยาลัยดนตรีโดยในขณะนี้คืบหน้าถึงขึ้นที่จะเปิดรับนักศึกษาใหม่ได้ประมาณเทอม 2 ปีการศึกษา 2545 ใน 5 สาขาวิชาคือดนตรีประพันธ์ การแสดงดนตรี เทคโนโลยีดนตรี แจ๊สศึกษา และดนตรีไทยศึกษา การจัดตั้งวิทยาลัยดนตรีของ ม.รังสิต นับเป็น ม.เอกชนแห่งแรกในประเทศไทยที่ทำ เนื่องจากส่วนใหญ่การเรียนการสอนดนตรีจะอยู่ในรูปของสาขาวิชาหรืออย่างมากก็เป็นภาควิชาเท่านั้น แสดงให้เห็นว่าเราให้ความสำคัญกับการเรียนการสอนดนตรี ซึ่งปรัชญาของทางคณะก็คือจะผลิตบัณฑิตให้ไปประกอบวิชาชีพได้โดยตรงโดยเราจะเน้นการเรียนการสอนในภาคปฏิบัติ ปลูกฝังความรู้ในเรื่องเทคโนโลยี รวมทั้งปลูกจิตสำนึกให้รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมในสังคม เพื่อเป็นแนวทางให้นักศึกษาสามารถนำดนตรีไปช่วยพัฒนาสังคม

วันที่จังหวะชีวิต กับ จังหวะดนตรีเป็นเสียงเดียวกัน

นับเป็นรุ่นที่ 4 แล้วสำหรับครอบครัวนักดนตรีตระกูล “ศรีกรานนท์” ที่สืบทอดเจตนารมณ์ความเป็นครอบครัวนักดนตรีมาตั้งแต่รุ่นคุณทวดเชื้อสายชาวโปรตุเกสซึ่งย้ายถิ่นฐานมาอยู่ประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2433 (ค.ศ.1890) ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ ย้อนอดีตความเป็นมาของครอบครัวนักดนตรีว่า “ย้อนไปในยุคแรกที่คุณทวด (ลอเร็นซู ดือ ซือไกร่า) ได้เข้ามาอยู่ประเทศไทย คุณทวดถนัดการเล่นกีต้าร์คลาสสิกจึงตั้งชมรมกับกลุ่มเพื่อน เพื่อช่วยกันพัฒนาด้านดนตรี สืบทอดมาถึงรุ่นคุณปู่ (เรนัลโด ซีเกร่า) ซึ่งเป็นนักดนตรีตัวยงสามารถเล่นดนตรีได้หลายแนว ทั้งยังเล่นเครื่องดนตรีได้หลากชนิด เรียกว่าเป็นศิลปินมากความสามารถ แต่กระนั้นก็ยังไม่สามารถใช้อาชีพนักดนตรีในการประกอบอาชีพโดยตรงได้ เพราะในมุมมองของคนไทยในสมัยก่อนการเป็นนักดนตรียังเป็นอาชีพที่ไม่ค่อยได้รับความสำคัญสักเท่าไหร่

ในที่สุดคุณทวดจึงต้องมีอาชีพผู้นำการประมูลเป็นอาชีพหลัก เช่นเดียวกันกับคุณปู่ที่ต้องนำความสามารถพิเศษด้านภาษาที่สามารถสื่อสารได้ถึง 7-8 ภาษามาเป็นอาชีพหลักโดยทำงานอยู่ที่สถานทูตอเมริกา แต่ยังคงความรักในเสียงดนตรีอยู่เต็มในหัวใจตกทอดมาถึงรุ่นลูกหลาน” เมื่อมาถึงรุ่นที่ 3 ในยุคของเรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีสากล) ยังเล่าให้ลูก ๆ ฟังเสมอว่า “การเล่นดนตรี เป็นอาชีพแรกในชีวิตการทำงาน เพราะหลังเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้คุณปู่ต้องเสียชีวิต ในตอนนั้นคุณพ่ออายุได้ 18 ปี จึงต้องทำงานเพื่อหาเลี้ยงคนในครอบครัว ซึ่งในขณะนั้นคุณปู่ได้มีวงดนตรีเล็ก ๆ ชื่อ คีตะเสวี ซึ่งเป็นวงดนตรีร่วมสมัยกับวงสุนทราภรณ์ บรรเลงตามสถานีวิทยุและงานลีลาศต่าง ๆ ซึ่งคุณพ่อเคยไปร่วมเล่นมาบ้างแล้วจึงต้องเล่นดนตรีเพื่อหารายได้ให้กับครอบครัว และส่งตัวเองเรียนหนังสือไปด้วย ซึ่งคุณพ่อยอมรับว่าตลอดชีวิตที่ผ่านมาแม้มีใจรักงานดนตรีมากเพียงไหน แต่ยังไม่สามารถใช้ดนตรีมาเป็นอาชีพหลักได้ คงเป็นได้แค่เพียงงานอดิเรก หรือ อาชีพที่ 2 เท่านั้น” ทายาทบ้านศรีกรานนท์ บอกเล่า จนกระทั่งทุกวันนี้วงการดนตรีของไทยเริ่มให้การยอมรับการเป็นนักดนตรีอาชีพ และเชื่อมั่นว่าปัจจุบันสามารถใช้การเล่นดนตรีเป็นอาชีพหลักได้อย่างเต็มภาคภูมิ

ดร. ภาธร จึงตัดสินใจก้าวเข้าสู่การศึกษาด้านดนตรีอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่เรียนจบชั้นมัธยมปลายจาก Interlochen Arts Academy ซึ่งเป็นโรงเรียนสอนดนตรีและศิลปะที่มลรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา จากนั้นเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านดนตรี สาขาการประพันธ์และการแสดงที่ University of Michigan โดยคว้าปริญญาเกียรตินิยมมาได้ก่อนจะศึกษาต่อในระดับปริญญาโทดนตรีมหาบัณฑิต สาขาการประพันธ์ที่ Yale University และได้รับปริญญามหาบัณฑิตเกียรตินิยมเป็นใบที่สองเมื่อปี พ.ศ. 2539 หลังจากนั้นจึงเดินทางสู่ประเทศสก๊อตแลนด์เพื่อศึกษาปริญญาเอกด้านดนตรี สาขาการประพันธ์ที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ และวิชาโทด้านการร่างหลักสูตร พร้อมกับคำนำหน้าชื่อ “ดร. ” และวิชาความรู้ด้านการประพันธ์ ทั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานทุนการศึกษา นอกจากนั้นยังได้รับทุนการศึกษา The Howard Hanson Memorial Scholarship จาก Interlochen Center for the Arts และทุนการศึกษาจาก Fundacão Oriente แห่งประเทศโปรตุเกส

เขาคือชายหนุ่มนักดนตรีที่ยังคงบรรเลงดนตรีอยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ร่วมบรรเลงในวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ และได้ประพันธ์และเรียบเรียงเสียงประสานเพลงต่าง ๆ ถวาย

ดร. ภาธร บอกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นทั้งแรงบันดาลใจ และแรงผลักดันอันยิ่งใหญ่ในชีวิต และเป็นแบบอย่างของการเป็นนักดนตรีที่ดี

“ในช่วงหยุดเทอมมีโอกาสได้เข้าไปเล่นดนตรีถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร่วมกับ วง อ.ส.วันศุกร์ ซึ่งพระองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณรับสั่งชมว่าเล่นดีขึ้น และทรงรับสั่งให้เล่นแบบนั้น แบบนี้ หรือให้ไปลองฟังคนนั้น คนนี้เล่นดูบ้าง และทรงรับสั่งถึงเทคนิคการเป่าอีกด้วย ซึ่งพระองค์จะทรงสอนในขณะเล่นดนตรีร่วมกันกับวง อ.ส.วันศุกร์ ทั้งยังทรงแนะนำผู้เล่นคนอื่น ๆ ด้วย” สมาชิกวงอ.ส.วันศุกร์เล่าความประทับใจ ด้วยความรู้ความสามารถด้านดนตรีระดับด็อกเตอร์ จึงส่งผลให้เขาคาดหวังที่จะนำความรู้ที่มีมาพัฒนาแวดวงดนตรี “สิ่งที่ยังไม่ยอมหยุดยั้งคือ เรื่องเกี่ยวกับวิชาการ และการพัฒนาดนตรี ต้องยอมรับว่าทุกวันนี้วงการดนตรีได้พัฒนาในหลาย ๆ ด้าน แต่สิ่งที่คิดว่ายังขาดอยู่ คือ การสร้างรากฐาน ซึ่งเป็นรากเหง้าของการฝึกเป็นนักดนตรี คนที่อยู่ในวงการบางคนไม่ได้มีจิตวิญญาณของนักดนตรีเต็มที่ บางคนแฝงตัวเข้ามาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวแล้วก็จากไป แต่ไม่ใช่จะบอกว่าการเป็นนักดนตรีต้องอยู่อย่างสมถะเสมอไป หรือ มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ขาดแคลนกว่าคนอื่น เพียงแต่ควรจะมีอะไรที่สามารถให้จิตวิญญาณของความเป็นนักดนตรีอยู่ได้” ดร. ภาธร บอกความตั้งใจ

นอกจากนี้ยังควรปลูกฝังโดยให้การศึกษาด้านดนตรีกับเยาวชนเพื่อให้รู้จักฝึกโสตประสาท ให้รู้จักฟัง และคิดด้วยตัวเอง ซึ่งจะส่งผลให้เด็กต้องมีรสนิยมของตัวเอง และถือเป็นการสร้างฐานของผู้ฟังให้ขยายวงกว้างยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้สังคมเปิดใจรับกับดนตรีหลากสไตล์ “นี่เป็นสิ่งสำคัญมากอีกสิ่งหนึ่ง คือ ผู้ฟังที่ดี” การเรียนดนตรี หรือการมีความรู้ด้านดนตรี ไม่ได้มีจำกัดเฉพาะผู้ที่เป็นนักดนตรี หรือผู้ที่กำลังฝึกที่จะเป็นนักดนตรีเท่านั้น เพราะการเป็นผู้ฟังที่ดียังสามารถรับรสชาติของดนตรีในหลายแบบหลายสไตล์กว่า และทำให้สามารถสื่อสารถึงกันได้ดีระหว่างผู้บรรเลงกับผู้ฟัง ดนตรีไม่ใช่ภาษาสากลที่ผู้ฟังทุกคนจะสามารถเข้าใจในทางเดียวกันและรับรู้ได้ตรงกันทั้งหมด เพราะดนตรีแต่ละสไตล์ก็เป็นภาษาหนึ่งในตัวของเขาเอง ซึ่งถ้าผู้บรรเลงหรือผู้ฟังมีความรู้ด้าน“ภาษาของดนตรี” มากกว่าก็จะได้เปรียบ และสามารถเข้าใจได้ดีกว่า เพราะดนตรีนั้นเป็นทั้งศิลปะการแสดง (Performing Art) และศิลปะการสื่อสาร (Communication Art) ” ดร. ภาธร กล่าวเสริม

ไม่เพียงเท่านี้ดนตรียังสามารถนำไปพัฒนาสังคม และช่วยให้การเข้าถึงกลุ่มคนง่ายดายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นดนตรีบำบัด ดนตรีประยุกต์ อย่างเช่นที่ประเทศบอสเนีย ซึ่งเป็นประเทศที่สงครามเพิ่งสงบ จึงมีการใช้เสียงดนตรีเพื่อช่วยให้เด็กที่รอดพ้นจากภาวะหลังสงครามที่เป็นโรคซึมเศร้า เพราะได้เห็นภาพที่รุนแรง และหดหู่จนเกิดอาการซึม ส่งผลให้รับประทานอาหารไม่ได้ และในที่สุดก็เสียชีวิต

“อาจารย์ของผมเอง (Professor Nigel Osbórne) เคยบอกว่า ถ้าเปิดเสียงดนตรีที่มีจังหวะใกล้เคียงกับจังหวะการเต้นของหัวใจ หัวใจจะปรับการเต้นให้เข้ากับจังหวะเสียงเพลง ดังนั้นเขาจึงนำหลักการนี้มาประยุกต์ และหาผลงานประพันธ์ที่เด็กฟังแล้วสามารถเคลิบเคลิ้มไปด้วยได้ เพราะเด็กเหล่านี้ป่วยทางจิต ดังนั้นจึงสร้างสรรค์บทประพันธ์ให้เด็กเข้าถึง และปรับระดับหัวใจให้เข้ากับจังหวะ จากนั้นจึงเร่งจังหวะให้เร็วขึ้นทีละนิด เพื่อปรับระดับให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เมื่อหัวใจเต้นเร็วขึ้นเพื่อให้เลือดสูบฉีดแรงขึ้น เริ่มทำให้เด็กรู้สึกอยากกิน และพอกินได้เด็กก็หายป่วย” นักดนตรีดีกรีด็อกเตอร์ บอกข้อดีของดนตรีบำบัด

ดร. ภาธร กล่าวถึงความตั้งใจ และผลงานการเรียบเรียงเพลงพระราชนิพนธ์ที่กำลังเดินหน้า เพื่อสนองพระเดชพระคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณกับครอบครัวศรีกรานนท์ “สิ่งใดที่สามารถทำเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระองค์ท่านได้ในระยะกว้าง และระยะยาวจะพยายามทำต่อไปให้มากที่สุด ตอนนี้กำลังเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลงพระราชนิพนธ์ ให้เหมาะสำหรับการเล่นในวงดนตรีประเภทต่าง ๆ โดยได้ทำการวิจัย และศึกษาบทเพลงพระราชนิพนธ์ ศึกษาถึงระบบทำนองที่พระองค์ท่านทรงใช้ตามหลักวิชาการ เพื่อต่อไปในอนาคตหากมีวงดนตรีวงใดก็ตามต้องการจะขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ไปบรรเลงจะได้มีตัวอย่างที่สามารถฟังได้ ทุกฝ่ายก็จะสบายใจว่าเป็นตัวอย่างที่ถูกต้องแล้ว ไม่ผิดคอร์ด และทำนองของพระองค์ท่าน ที่ได้ทรงตั้งพระราชหฤทัยเอาไว้ การที่เราไม่ไปแก้คอร์ดที่พระองค์ท่านทรงพระราชนิพนธ์ไว้นี้เป็นการถวายความเคารพและเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านอย่างหนึ่ง ที่นักดนตรีทุกคนควรเข้าใจและสามารถทำได้ครับ” ปัจจุบัน ดร. ภาธร ยังเป็นนักดนตรี นักประพันธ์ดนตรี นักเรียบเรียงเสียงประสานเพลงพระราชนิพนธ์ทั้งแนวแจ๊ส และออร์เคสตรา ทั้งยังเป็นอาจารย์พิเศษผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทเพลงพระราชนิพนธ์ เพื่อเผยแผ่พระราชกรณียกิจด้านดนตรี พระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพทางด้านดนตรีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดร. ภาธรจึงเป็นผู้บรรยายและให้ความรู้ด้านดนตรีตะวันตกตามสถาบันการศึกษาต่าง ๆ รวมถึงให้ความรู้ด้านดนตรีแก่ผู้ที่สนใจใฝ่รู้ด้านเพลงพระราชนิพนธ์ สนองพระเมตตาคุณและมหากรุณาธิคุณที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานทุนส่วนพระองค์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533-2544 เพื่อให้ไปศึกษาระดับปริญญาตรีจนจบปริญญาเอกด้านดนตรี มาพัฒนาวงการดนตรีและถ่ายทอดให้เยาวชนและคนในชาติได้มีความรู้และเชี่ยวชาญเทียบเท่าทันอารยประเทศ ดร. ภาธรจึงมีโอกาสเป็นผู้ก่อตั้งและเป็นคณบดีคนแรกของวิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต และได้จัดทำหลักสูตรให้นักศึกษาใช้มาจนถึงปัจจุบัน

มาจนทุกวันนี้คงเป็นบทพิสูจน์สำนวนของสุนทรภู่ที่ว่า “รู้อะไรให้กระจ่างเพียงอย่างเดียว แต่ให้เชี่ยวชาญเถิดจะเกิดผล” ซึ่งเป็นสิ่งที่ชายหนุ่มผู้นี้ยึดถืออยู่ในใจเสมอมา

ประวัติวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ วงดนตรีส่วนพระองค์

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นศิลปินผู้เพียบพร้อมด้วยพระปรีชาสามารถในการสร้างสรรค์ดนตรี เมื่อเสด็จนิวัตประเทศไทยใน พ.ศ. ๒๔๙๔ แล้วประทับที่พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เพราะระหว่างนั้นมีการก่อสร้างเพิ่มเติมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ได้ทรงรวบรวมพระประยูรญาติบางองค์และคนสนิทมาเล่นดนตรีกันและพระราชทานชื่อวงนี้ว่า “วงลายคราม” ขึ้นเป็นวงดนตรีส่วนพระองค์วงแรก มีสมาชิกของวงหลายท่าน เช่นหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์, หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์, หม่อมเจ้าแววจักร จักรพันธ์, หม่อมเจ้า กัมปลีสาน ชุมพล, หม่อมเจ้าชมปกบุตร ชุมพล, หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์พงษ์อมร กฤดากร, หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์, หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์, นายสุรเทิน บุนนาค และนายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ ตามลำดับ มาร่วมเล่นดนตรี ณ พระที่นั่งอัมพรสถานทุกเย็นวันศุกร์ นักร้องประจำวงมี หม่อมเจ้ามูรธาภิเศก โสณกุล และ หม่อมเจ้าขจรจบกิติคุณ กิติยากร ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ กรมประชาสัมพันธ์ได้น้อมเกล้าฯ ถวายเครื่องส่งวิทยุกำลังส่ง ๑๐๐ วัตต์ ซึ่งมีทั้งคลื่นสั้นและคลื่นยาว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงตั้ง “สถานีวิทยุ อ.ส.” ขึ้นที่พระที่นั่งอัมพรสถาน (ตัวอักษรย่อ อ.ส. ทรงนำมาจากคำว่า พระที่นั่งอัมพรสถาน) เพื่อใช้เป็นสื่อกลางให้ความบันเทิงและสาระประโยชน์ ตลอดจนข่าวสารต่าง ๆ แก่ประชาชน ปัจจุบันสถานีวิทยุ อ.ส. ได้ย้ายมาตั้งในบริเวณสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ต่อมา มีการปรับปรุงวงดนตรีลายคราม เนื่องจากนักดนตรีกิตติมศักดิ์เหล่านั้นเริ่มทรงพระชรามากขึ้น ไม่สามารถมาร่วมเล่นดนตรีได้อย่างเต็มที่ จนเหลือแค่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและนายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ เท่านั้น นายแมนรัตน์ จึงได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตหานักดนตรีเข้ามาถวายงานเพิ่มเติมจนครบวงให้สามารถเล่นต่อไปได้ ต่อมาจึงได้รับพระราชทานชื่อวงใหม่นี้ว่า “วงดนตรี อ.ส.วันศุกร์” พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดนตรีกับ วง อ.ส.วันศุกร์ บรรเลงออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.เป็นประจำทุกวันศุกร์ ทรงจัดรายการเพลง และทรงเลือกแผ่นเสียงเอง บางครั้งโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ฟังโทรศัพท์ขอเพลงจากวงดนตรีที่กำลังบรรเลงได้ด้วย ปัจจุบันนี้ วงดนตรี อ.ส. วันศุกร์ มีอายุ ๕๐ ปีเต็มย่างเข้า ๕๑ ปีแล้ว

สมาชิกวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ สมัยแรก ๆ นั้น ได้แก่ หม่อมเจ้าชุมปกบุตร ชุมพล,หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์พงษ์อมร กฤษดากร, หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์, พลเรือตรีหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (องคมนตรี) , เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ศิลปินแห่งชาติ) , หม่อมหลวงเสรี ปราโมช, เรือตรี อวบ เหมะรัชต์, นายเดช ทิวทอง, นายดำเกิง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา,นายไพบูลย์ ลีสุวัฒน์, นายเสนอ ศุขะบุตร, นายนนท์ บูรณสมภพ, นายกวี อังศวานนท์, นายสุวิทย์ อังศวานนท์, นายถาวร เยาวขันธ์, พลโท ทพ.ทวีศักดิ์ ทวีศรี, นายสันทัด ตัณฑนันทน์, นายอุทิตต์ ทินกร ณ อยุธยา, นายเกษม สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, นายพัลลภ สุววรณมาลิก และที่เข้ามาภายหลังได้แก่ นายธรรมรักษ์ ทินกร ณ อยุธยา, นายอนิรุธ ทินกร ณ อยุธยา , ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ และ พลตำรวจเอก เสริม จารุรัตน์ ตามลำดับ

ส่วนนักร้องที่เคยร้องอยู่ในวง ได้แก่ ท่านผู้หญิงสาวิตรี ศรีวิศารวาจา, คุณหญิงจามรี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา, ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร. คุณกัญดา ธรรมมงคล, ท่านผู้หญิงสุวรี เทพาคำ, นางจีรนันท์ เศวตนันท์, นาวาอากาศเอกอภิจิต ศุกระจันทร , นางสารา เกษมศรี, นางพรศรี สนิทวงศ์, คุณหญิงทองทิพย์ รัตนะรัตน์ เป็นต้น ( ปัจจุบันไม่มีนักร้องแล้ว )

ผังวงดนตรี อ.ส.วันศุกร์ วงดนตรีส่วนพระองค์ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข พระราชวังไกลกังวล หัวหิน นักดนตรี อ.ส.วันศุกร์ ณ ปัจจุบัน ได้แก่ พลเรือตรีหม่อมหลวงอัศนี ปราโมช (ศิลปินแห่งชาติ และ องคมนตรี) (ทรัมเป็ต) ,เรืออากาศตรี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. แมนรัตน์ ศรีกรานนท์ (ศิลปินแห่งชาติ) (เปียโน) , พลโท ทันตแพทย์ ทวีศักดิ์ ทวีศรี (ทรัมเป็ต) ,นายนนท์ บูรณสมภพ (บาริโทนแซ็กโซโฟน) ,นายถาวร เยาวขันธ์ (กลอง) ,นายกวี อังศวานนท์ (เทนเนอร์แซ็กโซโฟน) ,นายสุวิทย์ อังศวานนท์(ทรอมโบน), นายพัลลภ สุววรณมาลิก(ทรอมโบน),นายสันทัด ตัณฑนันทน์ (ทรอมโบน) ,นายอนิรุธ ทินกร ณ อยุธยา (เบส) และ ดร. ภาธร ศรีกรานนท์ (อัลโตแซ็กโซโฟน )


ลิงก์ภายนอก