ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 41: บรรทัด 41:
[[ไฟล์:Coral_inset.jpg|left|thumb|แผนที่ราชอาณาจักรฯ]]
[[ไฟล์:Coral_inset.jpg|left|thumb|แผนที่ราชอาณาจักรฯ]]


หลังจากที่รัฐสภากลางแห่งออสเตรเลียได้ออกกฎหมายห้ามการสมรสระหว่างเพศเดียวกันใน [[พ.ศ. 2547]] กลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์แห่งออสเตรเลียได้ล่องเรือไปถึงเกาะที่ใหญ่ที่สุดใน[[หมู่เกาะคอรัลซี]]และปักธงแห่งชาวเกย์กลางเกาะแล้ว ได้ประกาศแยกหมู่เกาะคอรัลซีจากประเทศออสเตรเลียและสถาปนาเป็น '''"ราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี"''' เมื่อวันที่ [[14 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2547|2547]] โดยนาย'''เดล พาร์เคอร์ แอนเดอร์ซัน''' (Dale Parker Anderson; เกิด พ.ศ. 2508) สมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มฯ ได้สถาปนาตนเองเป็น'''สมเด็จพระจักรพรรดิเดลที่ 1''' ({{lang-en|Emperor Dale I}})
หลังจากที่รัฐสภากลางแห่งออสเตรเลียได้ออกกฎหมายห้ามการสมรสระหว่างเพศเดียวกันใน [[พ.ศ. 2547]] กลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์แห่งออสเตรเลียได้ล่องเรือไปถึงเกาะที่ใหญ่ที่สุดใน[[หมู่เกาะคอรัลซี]]และปักธงแห่งชาวเกย์กลางเกาะแล้ว ได้ประกาศแยกหมู่เกาะคอรัลซีจากประเทศออสเตรเลียและสถาปนาเป็น '''"ราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี"''' เมื่อวันที่ [[14 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2547|2547]] โดยนาย'''เดล พาร์เคอร์ แอนเดอร์ซัน''' (Dale Parker Anderson; เกิด พ.ศ. 2508) สมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มฯ ได้สถาปนาตนเองเป็น'''จักรพรรดิเดลที่ 1''' ({{lang-en|Emperor Dale I}})


ในปีถัดมา กลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์แห่งออสเตรเลียจำใจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในข้อพิพาทภายในประเทศหลายประการ และในการแยกตัวจากออสเตรเลียของหลายกลุ่ม เช่น การสถาปนา'''เครือจักรภพเกย์และเลสเบียน''' ({{lang-en|Gay and Lesbian Commonwealth Kingdom}}) อันมีนายแจ็กซ์ บรูกซ์ (Jaix Broox) เป็นผู้นำคนแรก, การสถาปนา'''ชนเผ่าเกย์''' ({{lang-en|Unified Gay Tribe}}) มีนายบิล ฟรีแมน (Bill Freeman) และนายอองรีก เปแรซ (Enrique Pérez) เป็นผู้นำร่วมกันคนแรก, ตลอดจนการสถาปนา'''มูลนิธิเพื่อปิตุภูมิของชาวเกย์''' ({{lang-en|Gay Homeland Foundation}}) มีนายวิกเตอร์ ซิมเมอร์แมน (Victor Zimmerman) เป็นประธานมูลนิธิคนแรก
ในปีถัดมา กลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์แห่งออสเตรเลียจำใจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในข้อพิพาทภายในประเทศหลายประการ และในการแยกตัวจากออสเตรเลียของหลายกลุ่ม เช่น การสถาปนา'''เครือจักรภพเกย์และเลสเบียน''' ({{lang-en|Gay and Lesbian Commonwealth Kingdom}}) อันมีนายแจ็กซ์ บรูกซ์ (Jaix Broox) เป็นผู้นำคนแรก, การสถาปนา'''ชนเผ่าเกย์''' ({{lang-en|Unified Gay Tribe}}) มีนายบิล ฟรีแมน (Bill Freeman) และนายอองรีก เปแรซ (Enrique Pérez) เป็นผู้นำร่วมกันคนแรก, ตลอดจนการสถาปนา'''มูลนิธิเพื่อปิตุภูมิของชาวเกย์''' ({{lang-en|Gay Homeland Foundation}}) มีนายวิกเตอร์ ซิมเมอร์แมน (Victor Zimmerman) เป็นประธานมูลนิธิคนแรก
บรรทัด 47: บรรทัด 47:
อย่างไรก็ดี การสถาปนาราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซีไม่ได้รับการยอมรับจาก[[รัฐชาติ]]ใด ๆ และไม่ได้มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนจริง ๆ บนเกาะ หมู่เกาะคอรัลซียังคงร้างผู้คนอยู่ตามเดิม และถึงแม้ว่าในวันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2549|2549]] ราชอาณาจักรฯ ได้เริ่มจัดตั้งและให้บริการไปรษณีย์ระหว่างรัฐควีนส์แลนด์กับหมู่เกาะคอรัลซี เรียกชื่อ '''"ราชไปรษณีย์เกย์"''' ({{lang-en|Royal Gay Mail}}) แต่ก็มิได้มีการรับรองหรือยืนยันเอกราชของราชอาณาจักรฯ นี้จริง ๆ
อย่างไรก็ดี การสถาปนาราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซีไม่ได้รับการยอมรับจาก[[รัฐชาติ]]ใด ๆ และไม่ได้มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนจริง ๆ บนเกาะ หมู่เกาะคอรัลซียังคงร้างผู้คนอยู่ตามเดิม และถึงแม้ว่าในวันที่ [[1 มกราคม]] [[พ.ศ. 2549|2549]] ราชอาณาจักรฯ ได้เริ่มจัดตั้งและให้บริการไปรษณีย์ระหว่างรัฐควีนส์แลนด์กับหมู่เกาะคอรัลซี เรียกชื่อ '''"ราชไปรษณีย์เกย์"''' ({{lang-en|Royal Gay Mail}}) แต่ก็มิได้มีการรับรองหรือยืนยันเอกราชของราชอาณาจักรฯ นี้จริง ๆ


กระนั้น ผู้บริหารราชอาณาจักรฯ นับแต่เดือน[[มิถุนายน พ.ศ. 2549|มิถุนายน 2549]] เป็นต้นมา ได้จำหน่าย[[แสตมป์|ตราไปรษณียากร]] และตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตตราไปรษณียากรชุด[[อนุรักษ์นิยม|อนุรักษนิยม]]ออกมาเรื่อย ๆ เพื่อ "ส่งเสริมเกียรติภูมิอันสูงส่งและเป็นเอกลักษณ์ของบรรดานักสะสมตราไปรษณียากร" นอกจากนี้ [[เว็บไซต์]]ของราชอาณาจักรฯ ยังได้ประกาศว่าราชอาณาจักรมีสิทธิที่จะดำเนินด้วยตนเองซึ่งเศรษฐกิจทั้งปวงของราชอาณาจักร ทั้งทางการท่องเที่ยว การประมง และการจำหน่ายตราไปรษณียากร อีกด้วย และต่อมาทหารเรือของออสเตเรียได้ระเบิดและถล่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมด
กระนั้น ผู้บริหารราชอาณาจักรฯ นับแต่เดือน[[มิถุนายน พ.ศ. 2549|มิถุนายน 2549]] เป็นต้นมา ได้จำหน่าย[[แสตมป์|ตราไปรษณียากร]] และตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตตราไปรษณียากรชุด[[อนุรักษ์นิยม|อนุรักษนิยม]]ออกมาเรื่อย ๆ เพื่อ "ส่งเสริมเกียรติภูมิอันสูงส่งและเป็นเอกลักษณ์ของบรรดานักสะสมตราไปรษณียากร" นอกจากนี้ [[เว็บไซต์]]ของราชอาณาจักรฯ ยังได้ประกาศว่าราชอาณาจักรมีสิทธิที่จะดำเนินด้วยตนเองซึ่งเศรษฐกิจทั้งปวงของราชอาณาจักร ทั้งทางการท่องเที่ยว การประมง และการจำหน่ายตราไปรษณียากร อีกด้วย ทว่าต่อมาทหารเรือของออสเตรเลียได้ระเบิดและถล่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมด


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:00, 3 กรกฎาคม 2552

ราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียน
แห่งหมู่เกาะคอรัลซี
Flag
ธงชาติ
เพลงชาติ: "I am What I am"
("ฉันเป็นตัวของตัวเอง")
รูปแบบประเทศ: ประเทศจำลอง
ที่ตั้ง: หมู่เกาะคอรัลซี
ดินแดนที่อ้างสิทธิ์: หมู่เกาะคอรัลซี
ประชาชน: ชาวเกย์และชาวเลสเบียน
วันสถาปนารัฐ: 14 มิถุนายน 2547
ประมุข: จักรพรรดิเดลที่ 1
(เดล พาร์เคอร์ แอนเดอร์ซัน)
โครงสร้างการปกครอง: ราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
ภาษาราชการ: อังกฤษ
หน่วยเงิน: ยูโร

ราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี (อังกฤษ: Gay and Lesbian Kingdom of the Coral Sea Islands) เป็นประเทศที่จำลองขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองของกลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์ (อังกฤษ: Group for Gay Rights) ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย การสถาปนาประเทศนี้เป็นการแสดงออกของลัทธิชาตินิยมในหมู่ผู้ชื่นชอบเพศเดียวกัน (อังกฤษ: queer nationalism)

ประวัติ

แผนที่ราชอาณาจักรฯ

หลังจากที่รัฐสภากลางแห่งออสเตรเลียได้ออกกฎหมายห้ามการสมรสระหว่างเพศเดียวกันใน พ.ศ. 2547 กลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์แห่งออสเตรเลียได้ล่องเรือไปถึงเกาะที่ใหญ่ที่สุดในหมู่เกาะคอรัลซีและปักธงแห่งชาวเกย์กลางเกาะแล้ว ได้ประกาศแยกหมู่เกาะคอรัลซีจากประเทศออสเตรเลียและสถาปนาเป็น "ราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซี" เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2547 โดยนายเดล พาร์เคอร์ แอนเดอร์ซัน (Dale Parker Anderson; เกิด พ.ศ. 2508) สมาชิกคนหนึ่งของกลุ่มฯ ได้สถาปนาตนเองเป็นจักรพรรดิเดลที่ 1 (อังกฤษ: Emperor Dale I)

ในปีถัดมา กลุ่มเรียกร้องสิทธิชาวเกย์แห่งออสเตรเลียจำใจเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในข้อพิพาทภายในประเทศหลายประการ และในการแยกตัวจากออสเตรเลียของหลายกลุ่ม เช่น การสถาปนาเครือจักรภพเกย์และเลสเบียน (อังกฤษ: Gay and Lesbian Commonwealth Kingdom) อันมีนายแจ็กซ์ บรูกซ์ (Jaix Broox) เป็นผู้นำคนแรก, การสถาปนาชนเผ่าเกย์ (อังกฤษ: Unified Gay Tribe) มีนายบิล ฟรีแมน (Bill Freeman) และนายอองรีก เปแรซ (Enrique Pérez) เป็นผู้นำร่วมกันคนแรก, ตลอดจนการสถาปนามูลนิธิเพื่อปิตุภูมิของชาวเกย์ (อังกฤษ: Gay Homeland Foundation) มีนายวิกเตอร์ ซิมเมอร์แมน (Victor Zimmerman) เป็นประธานมูลนิธิคนแรก

อย่างไรก็ดี การสถาปนาราชอาณาจักรเกย์และเลสเบียนแห่งหมู่เกาะคอรัลซีไม่ได้รับการยอมรับจากรัฐชาติใด ๆ และไม่ได้มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนจริง ๆ บนเกาะ หมู่เกาะคอรัลซียังคงร้างผู้คนอยู่ตามเดิม และถึงแม้ว่าในวันที่ 1 มกราคม 2549 ราชอาณาจักรฯ ได้เริ่มจัดตั้งและให้บริการไปรษณีย์ระหว่างรัฐควีนส์แลนด์กับหมู่เกาะคอรัลซี เรียกชื่อ "ราชไปรษณีย์เกย์" (อังกฤษ: Royal Gay Mail) แต่ก็มิได้มีการรับรองหรือยืนยันเอกราชของราชอาณาจักรฯ นี้จริง ๆ

กระนั้น ผู้บริหารราชอาณาจักรฯ นับแต่เดือนมิถุนายน 2549 เป็นต้นมา ได้จำหน่ายตราไปรษณียากร และตั้งเป้าไว้ว่าจะผลิตตราไปรษณียากรชุดอนุรักษนิยมออกมาเรื่อย ๆ เพื่อ "ส่งเสริมเกียรติภูมิอันสูงส่งและเป็นเอกลักษณ์ของบรรดานักสะสมตราไปรษณียากร" นอกจากนี้ เว็บไซต์ของราชอาณาจักรฯ ยังได้ประกาศว่าราชอาณาจักรมีสิทธิที่จะดำเนินด้วยตนเองซึ่งเศรษฐกิจทั้งปวงของราชอาณาจักร ทั้งทางการท่องเที่ยว การประมง และการจำหน่ายตราไปรษณียากร อีกด้วย ทว่าต่อมาทหารเรือของออสเตรเลียได้ระเบิดและถล่มสิ่งก่อสร้างทั้งหมด

อ้างอิง

  • "Birth of a Queer Nation", The Pink Paper, London, 28 September 2004, front cover and centerfold pages.
  • "Mini-states Down Under are sure they can secede", by Nick Squires, The Daily Telegraph (UK) , 24 February 2005.
  • "If at first you don't secede...", by Mark Dapin, The Sydney Morning Herald - Good Weekend, 12 February 2005, pp 47-50
  • "Micronations", Lonely Planet Publications, 2006. ISBN 1-74104-730-7, The Gay & Lesbian Kingdom of the Coral Sea Islands, pages 39, 40, 41.
  • "Welcome to Heaven, The Gay and Lesbian Kingdom of the Coral Sea Islands", Horizon Magazine, Barcelona, Spain, pages 38 & 39 June 2006.
  • "Stamps of the Gay and Lesbian Kingdom of the Coral Sea Islands", Stamp News Australasia, Victoria, Australia, August Edition 2006 Vol 53 No 8 pages 34, 41 & 42.
  • "Royal Gay Mail", Philatelic Exporter, The World Stamp Trade Journal, August 2006 Edition, London, England, page 21.
  • "Fantasy Island, The Gay Kingdom", Envey Man Magazine, Bi Monthly 2006, issue 6, USA.
  • "Society, The Gay & Lesbian Kingdom of the Coral Sea Islands", Marie Claire, No 138 February 2007, Australia.

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น