ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: eo:Ŝimo; เล็กๆการเปลี่ยนแปลง
SieBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: sr:Buđi
บรรทัด 83: บรรทัด 83:
[[simple:Mould]]
[[simple:Mould]]
[[sl:Plesen]]
[[sl:Plesen]]
[[sr:Buđi]]
[[sv:Mögel]]
[[sv:Mögel]]
[[tg:Мағор]]
[[tg:Мағор]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 06:52, 30 มิถุนายน 2552

Fungi
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: Early Devonian - Recent (but see text)
Clockwise from top left: Amanita muscaria, a basidiomycete; Sarcoscypha coccinea, an ascomycete; black bread mold, a zygomycete; a chytrid; a Penicillium conidiophore.
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
โดเมน: Eukarya
ไม่ได้จัดลำดับ: Opisthokonta
อาณาจักร: Fungi
(L., 1753) R.T. Moore, 1980[1]
Subkingdoms/Phyla
Chytridiomycota
Blastocladiomycota
Neocallimastigomycota
Glomeromycota
Zygomycota

Dikarya (inc. Deuteromycota)

Ascomycota
Basidiomycota

รา เป็นสิ่งมีชีวิต ที่อยู่ในอาณาจักรฟังไจ ไม่มีคลอโรฟิลล์ มีสปอร์ สืบพันธุ์ได้ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ มีทั้งชนิดเซลล์เดียว และหลายเซลล์ การดำรงชีพของราจะหลั่งเอนไซม์ออกนอกเซลล์ เมื่อย่อยสลายอาหารแล้วจึงดูดซับเข้าไปภายในเซลล์ ทำให้ราต้องการความชื้นสูง ถ้าไม่มีความชื้น ราจะอยู่ไม่ได้ เชื้อราแบ่งเป็นสองกลุ่มคือ ราเซลล์เดียว และที่เป็นเส้นใย (hypha) ราที่มีหลายเซลล์ จะมีโครงร่างเป็นไมซีเลียม ซึ่งเป็นกลุ่มของเส้นใยที่แตกแขนงหลายทิศทาง แผ่ปกคลุมบริเวณที่เจริญอยู่ แต่ละเส้นเรียกไฮฟา ซึ่งมีรูปร่างเป็นหลอด มีผนังเซลล์บาง มีองค์ประกอบเป็นไคติน เส้นใยแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ

  • เส้นใยแบบมีผนังกั้น (septate hypha) สามารถเห็นนิวเคลียสและไซโตพลาสซึมเป็นช่องๆได้อย่างชัดเจน
  • เส้นใยแบบไม่มีผนังกั้น (nonseptate hypha) นิวเคลียสและไซโตพลาสซึมจะอยู่กันอย่างกระจัดกระจาย

การสืบพันธุ์

  • แบบไม่อาศัยเพศโดยอาจจะเกิดจาก
    • การสร้างสปอร์ ซึ่งจะไปงอกเป็นไมซีเลียมที่มีนิวเคลียสเป็น n
    • เส้นใยแตกหักออกไปแล้วเจริญเป็นไมซีเลียมอันใหม่
    • การแบ่งออกเป็นสองส่วนหรือการแตกหน่อ
  • แบบอาศัยเพศได้โดยเส้นใยที่เป็น n หลอมรวมกันแล้วรวมนิวเคลียสเป็น 2n เกิดจากการรวมตัวของนิวเคลียส (nucleus) จากสองเซลล์ที่อยู่ใกล้กัน หรืออยู่คนละ hypha แล้วมีการแบ่งเซลล์แบบ meiosis เจริญเป็น sexual spore ซึ่งมีรูปร่างต่างๆ กัน โดยมีจำนวนสปอร์ภายในเครื่องห่อหุ้มหรืออยู่บนโครงสร้างพิเศษจำนวนจำกัด
    • Zygospore
    • Ascospore
    • Basidiospore

การจัดจำแนก

แบ่งตามไฟลัมได้ 4 ไฟลัมคือ

  • Chytridiomycota หรือไคทริด เป็นพวกที่มี แฟลกเจลล่า เป็นราที่มีการสร้างสปอร์ที่มีแฟลกเจลเลต มักอยู่ร่วมกัน กับ สาหร่าย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในน้ำ จัดเป็นราที่โบราณที่สุด พบตามพืชน้ำที่ตายแล้ว หรือตามเศษหินเศษทรายในน้ำ เป็นปรสิตในพืชน้ำและสัตว์ เช่น Batrachochytrium เป็นปรสิตในกบ
  • Zygomycota หรือไซโกต ฟังไจ เป็นพวกที่อาศัยอยู่บนดิน เช่น ราดำ บางชนิดก่อให้เกิดโรคราสนิม บางชนิดใช้ผลิตกรดฟูมาลิก Rhizopus nigricans มีการสร้างไซโกสปอร์จากเซลล์ใหม่ที่เกิดจากการปฏิสนธิ ตัวอย่างเช่น ราขนมปัง เมื่อสายของราที่ต่างกันมาพบกัน จะเกิดการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ มีการรวมของนิวเคลียสได้เป็น ไซโกสปอร์ (2n) ส่วนที่เป็นไซโกสปอร์นี้จะเป็นระยะพักของรามีผนังหนาเป็นสีดำ เมื่อสภาวะเหมาะสมไซโกสปอร์จะงอก และสร้างส่วนที่เรียกว่าสปอแรงเกีย (sporangia) ซึ่งจะเกิดการแบ่งตัวแบบไมโอซิส สร้างสปอร์ที่เป็น n เมื่อสปอร์นี้งอกจะได้เส้นใยที่มีนิวเคลียสเป็นแฮพลอยด์ต่อไป
  • Ascomycota หรือ แซค ฟังไจ เป็นฟังไจที่พบมากที่สุด มีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ในถุง แอสคัส ภายในมี แอสโคสปอร์ เช่น ยีสต์(yeast)
  • Basidiomycota หรือคลับ ฟังไจ สร้างเซลล์สืบพันธุ์ บนอวัยวะที่คล้ายกระบอง(Basidium) ภายในมี Basidiospore เป็นราที่ผลิตบาสิดิโอสปอร์ (basidiospore) ซึ่งจะงอกเป็นสายที่เป็นแฮพลอยด์ เรียก primary mycelium จากนั้นผนังของไมซีเลียมจะมารวมกันได้เป็นเซลล์ที่มีนิวเคลียสสองอัน แต่ละอันเป็น n เรียกว่าไดคาริโอต (dikaryote) เส้นใยที่เป็นไดคาริโอตนี้จะรวมกันเป็นโครงสร้างที่สร้างเซลล์สืบพันธุ์หรือ tertiary mycelium ซึ่งเป็นส่วนที่เรียกว่าดอกเห็ด เมื่อจะมีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ นิวเคลียสทั้งสองอันรวมเข้าเป็น 2n จากนั้นจึงแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสเพื่อสร้างสปอร์อีก ส่วนใหญ่เป็นเห็ดทั้งที่กินได้และเป็นพิษสามารถกินได้ เช่น เห็ดหอม เห็ดนางฟ้า เป็นต้น
  1. "Taxonomic proposals for the classification of marine yeasts and other yeast-like fungi including the smuts". Bot. Mar. 23: 371. 1980.