ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดพระธาตุดอยเวา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aquapatinth (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 40: บรรทัด 40:
== ประเพณี ==
== ประเพณี ==
ปัจจุบันมีประเพณีนมัสการพระธาตุในทุกๆปี โดยจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ (ตรงกับเดือน 3 ใต้ คือ [[วันมาฆบูชา]]) และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ใน[[วันสงกรานต์]] ของทุกปี
ปัจจุบันมีประเพณีนมัสการพระธาตุในทุกๆปี โดยจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ (ตรงกับเดือน 3 ใต้ คือ [[วันมาฆบูชา]]) และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ใน[[วันสงกรานต์]] ของทุกปี
[[ไฟล์:Wat Doiwao scenic.jpg|thumb|150px|left|จุดชมวิวสองฝั่งสาย ฝั่งซ้ายคือไทย ฝั่งขวารัฐฉาน มีแม่น้ำสายคั่นกลาง]]
[[ไฟล์:Wat Doiwao scenic.jpg|thumb|150px|left|จุดชมวิวสองฝั่งสาย ฝั่งซ้ายคือจังหวัดเชียงราย ฝั่งขวาแขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน มีแม่น้ำสายคั่นกลาง]]

== สิ่งที่น่าสนใจ ==
== สิ่งที่น่าสนใจ ==
บริเวณโดยรอบองค์พระธาตุบนยอดนั้น ยังเป็นที่ตั้งของไพชยนต์ปราสาท ซึ่งเป็นวิหารขนาดเล็ก ประดิษฐานพระแก้วมรกตจำลอง (หรือโดยนัยว่าเป็น[[พระอินทร์]]) และมีรูปปั้นแมงป่องยักษ์ เพื่อรำลึกถึงพระองค์เวา (เวา [[ภาษาล้านนา]]แปลว่า [[แมงป่อง]]) และมีพระราชานุสาวรีย์[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] ให้สักการะบูชา นอกจากนี้ยังมีจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสายด้วย ปัจจุบันได้มีถนนขึ้นและลงดอยแล้ว เป็นถนนคอนกรีตอย่างดี ใช้ได้ทุกฤดูกาล แต่ทางค่อนข้างชัน
บริเวณโดยรอบองค์พระธาตุบนยอดนั้น ยังเป็นที่ตั้งของไพชยนต์ปราสาท ซึ่งเป็นวิหารขนาดเล็ก ประดิษฐานพระแก้วมรกตจำลอง (หรือโดยนัยว่าเป็น[[พระอินทร์]]) และมีรูปปั้นแมงป่องยักษ์ เพื่อรำลึกถึงพระองค์เวา (เวา [[ภาษาล้านนา]]แปลว่า [[แมงป่อง]]) และมีพระราชานุสาวรีย์[[สมเด็จพระนเรศวรมหาราช]] ให้สักการะบูชา นอกจากนี้ยังมีจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสายด้วย ปัจจุบันได้มีถนนขึ้นและลงดอยแล้ว เป็นถนนคอนกรีตอย่างดี ใช้ได้ทุกฤดูกาล แต่ทางค่อนข้างชัน

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:51, 27 มิถุนายน 2552

วัดพระธาตุดอยเวา
พระธาตุดอยเวา พระธาตุเหนือสุดแดนสยาม ห่างจากพรมแดนเพียง 500 เมตร
แผนที่
ชื่อสามัญวัดพระธาตุดอยเวา
ที่ตั้งถนนพหลโยธิน ตำบลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
หมายเหตุทางเข้าแคบ นักท่องเที่ยวมาก ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดพระธาตุดอยเวา เป็นวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยเวานั้น ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการต้องเดินขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสาย สามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศ

ประวัติพระธาตุดอยเวา

พระธาตุดอยเวา สร้างในพ.ศ. 296 ในรัชสมัยพระองค์เวา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ โดยชื่อนั้นได้นำมาจากพระนามของพระองค์เวา ต่อมาพระธาตุเจดีย์ได้พังลงตามกาลเวลา นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤหบดีอำเภอแม่สาย ได้ร่วมกับ พระภิกษุดวงแสง รัตนมณี พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และ กรมศิลปากร ร่วมกันจัดสร้างขึ้นขึ้นใหม่ ในการขุดแต่งครั้งนี้ พบผอบหินสีดำ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในองค์พระธาตุดังเดิม มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2494 และสร้างเสร็จพร้อมฉลองสมโภชพระธาตุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดยมีพุทธบริษัททั้งสองประเทศ ร่วมงานอย่างคับคั่ง

ประเพณี

ปัจจุบันมีประเพณีนมัสการพระธาตุในทุกๆปี โดยจะจัดขึ้นในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 เหนือ (ตรงกับเดือน 3 ใต้ คือ วันมาฆบูชา) และมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุ ในวันสงกรานต์ ของทุกปี

จุดชมวิวสองฝั่งสาย ฝั่งซ้ายคือจังหวัดเชียงราย ฝั่งขวาแขวงท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน มีแม่น้ำสายคั่นกลาง

สิ่งที่น่าสนใจ

บริเวณโดยรอบองค์พระธาตุบนยอดนั้น ยังเป็นที่ตั้งของไพชยนต์ปราสาท ซึ่งเป็นวิหารขนาดเล็ก ประดิษฐานพระแก้วมรกตจำลอง (หรือโดยนัยว่าเป็นพระอินทร์) และมีรูปปั้นแมงป่องยักษ์ เพื่อรำลึกถึงพระองค์เวา (เวา ภาษาล้านนาแปลว่า แมงป่อง) และมีพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช ให้สักการะบูชา นอกจากนี้ยังมีจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสายด้วย ปัจจุบันได้มีถนนขึ้นและลงดอยแล้ว เป็นถนนคอนกรีตอย่างดี ใช้ได้ทุกฤดูกาล แต่ทางค่อนข้างชัน

อ้างอิง