ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไมเคิล แจ็กสัน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
PaePae (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
PaePae (คุย | ส่วนร่วม)
{{ปัจจุบัน}}
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{ปัจจุบัน}}
{{ต้องการอ้างอิง}}
{{ต้องการอ้างอิง}}



รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:32, 26 มิถุนายน 2552

ไมเคิล แจ็กสัน
ไฟล์:2006581253020.jpg
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดไมเคิล โจเซฟ แจ็กสัน
เกิด29 สิงหาคม พ.ศ. 2501
ที่เกิดแม่แบบ:Country data อเมริกา แกรี รัฐอินดีแอนา สหรัฐอเมริกา
เสียชีวิต25 มิถุนายน พ.ศ. 2552[1][2]
แนวเพลงป็อป,อาร์แอนด์บี
อาชีพนักร้อง นักแต่งเพลง นักแสดง นักเต้น นักออกแบบท่าเต้น โปรดิวเซอร์เพลง
ช่วงปีพ.ศ. 2511 - 2552
ค่ายเพลงMotown, Epic, Sony
เว็บไซต์michaeljackson.com

ไมเคิล แจ็กสัน (อังกฤษ: Michael Jackson) (29 สิงหาคม พ.ศ. 2501-25 มิถุนายน พ.ศ. 2552) มีชื่อเต็มว่า ไมเคิล โจเซฟ แจ็กสัน (Michael Joseph Jackson) หรือเรียกย่อ ๆ ว่า เอ็มเจ (MJ) หรือแจ็กโก้ (Jacko) เป็นนักร้องชาวอเมริกันที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากจนได้รับการขนานนามว่าเป็น ราชาเพลงป็อป หรือ “ King of Pop ”

ประวัติ

ไมเคิล แจ็กสัน เริ่มต้นอาชีพนักดนตรีในฐานะนักร้องนำของวง The Jackson 5 เมื่ออายุได้เพียง 7 ปี และได้ออกงานเดี่ยวชิ้นแรกในอัลบั้ม Got to Be There ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2514 ในขณะที่ยังเป็นสมาชิกของวง The Jackson 5 อยู่และมีอายุเพียง 11 ปี ไมเคิล แจ็กสันก็สามารถคว้าอันดับ 1 บนชาร์ตเพลงมาครองได้มากถึง 3 เพลงฮิตแล้ว

ปี พ.ศ. 2522 มีผลงานออกมาชุด “ Off the Wall ” อัลบั้มเปิดตัวที่ทำยอดขายกว่า 20 ล้านก๊อปปี้ทั่วโลกตามด้วยอัลบั้มประวัติศาสตร์ “ Thriller ”(พ.ศ. 2525) ซึ่งเป็นเจ้าของสถิติอัลบั้มที่มียอดขายสูงสุดตลอดกาลถึง 60 ล้านชุด และ “ Bad ” ในปี พ.ศ. 2530 ที่สร้างสถิติอีกครั้งด้วยการเป็นอัลบั้มที่มีซิงเกิ้ลต่าง ๆ ขึ้นถึงอันดับ 1 บิลบอร์ดมากที่สุด

ปี พ.ศ. 2534 ไมเคิลกลับมาพร้อมกับอัลบั้ม “ Dangerous ” ที่มีเพลง “ Black or White ” ติดอันดับ 1 ทั้งในบิลบอร์ดและชาร์ตเพลงทั่วโลก ก่อนที่จะส่งอัลบั้ม “ History ” กับเพลง “ You’re Not Alone ” ซึ่งเป็นซิงเกิ้ลแรกในประวัติศาสตร์ที่ติดอันดับ 1 ตั้งแต่สัปดาห์แรกที่วางจำหน่าย และล่าสุดกับ “ Invincible ” (พ.ศ. 2544) ซึ่งทิ้งห่างจากงานชุดที่แล้วถึง 10 ปีเต็ม

หลังจากว่างเว้นจากการทัวร์คอนเสิร์ตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2552 ไมเคิลได้ประกาศจะจัดคอนเสิร์ต ดิส อิส อิทโอทู อารีนา กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ โดยแรกเริ่มจัดเพียง 10 รอบ แต่ด้วยแฟนเพลงที่ให้ความสนใจคอนเสิร์ตนี้เป็นอย่างมาก จึงได้เพิ่มรอบเป็น 50 รอบ ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 ถึง 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553[ต้องการอ้างอิง] แต่ก็ได้เสียชีวิตไปก่อนที่จะถึงเวลาดังกล่าว โดยเสียชีวิต จากอาการหัวใจวาย ในบ้านพัก และเจ้าหน้าที่ได้นำร่างไมเคิล มาช่วยยื้อชีวิต แต่ไม่ทันการที่ ศูนย์พยาบาล ใน UCLA

คอนเสิร์ตในประเทศไทย

ไมเคิล แจ็กสัน เป็นที่รู้จักของคนไทยส่วนหนึ่งขึ้นมาจากมีชื่อถูกอ้างถึงในเพลง ทับหลัง ของคาราบาว ในปี พ.ศ. 2531 ที่มีเนื้อร้องในท่อนแยกว่า "เอาไมเคิล แจ็กสันคืนไป เอาพระนารายณ์คืนมา" ซึ่งเป็นบทเพลงที่ได้รับความนิยมจากกระแสเรียกร้องทวงคืนทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์จากสหรัฐอเมริกา

เคยเดินทางมาแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทย 2 ครั้ง โดยครั้งแรกในกลางปี พ.ศ. 2536 เป็นการโปรโมตปิดอัลบั้ม Dangerous กำหนดการแสดง 2 รอบ ในวันที่ 21 สิงหาคม และ 22 สิงหาคม ที่สนามศุภชลาศัย โดยทางบริษัท เทโรเอ็นเตอร์เทนเมนต์ เป็นผู้จัด ซึ่งก่อนการแสดงได้มีการโปรโมตทางช่อง 3 เป็นรายการพิเศษเกี่ยวกับไมเคิล แจ็กสัน มี เมทินี กิ่งโพยม เป็นพิธีกร โดยออกอากาศในช่วงเที่ยงของวันเสาร์-อาทิตย์ อยู่นานนับเดือน

คอนเสิร์ตในครั้งนี้เป็นคอนเสิร์ตที่ได้รับความสนใจอย่างท่วมท้นจากชาวไทย และกลายเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในสังคมอยู่ช่วงหนึ่ง ถึงความเหมาะสมของการจัดแสดง เพราะบางส่วนเห็นท่าเต้นลูบเป้าของไมเคิลไม่เหมาะสมต่อวัฒนธรรมไทยและเมื่อเดินทางมาถึง ไมเคิลได้แต่งตัวแปลก ๆ เมื่อลงจากเครื่องบินส่วนตัวด้วยผ้าปิดหน้า โดยเจ้าตัวอ้างว่าได้ยินว่ากรุงเทพ ฯ มีควันไอเสียเยอะ ซึ่งส่วนที่ไม่เห็นด้วยกับการแสดงเห็นว่าเป็นการแสดงออกที่ดูถูกประเทศไทย อีกทั้งต้องใช้ไฟฟ้าเป็นจำนวนมากในการแสดง และราคาบัตรที่เข้าชมก็นับว่าแพงมากด้วย คือ 500, 800, 1,000, 1,500 และ 2,500 บาท โดยคอนเสิร์ตวันแรกจบลงด้วยดี แต่ในวันที่ 22 สิงหาคม ไมเคิล อ้างว่าป่วย ขอเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 23 สิงหาคม แต่เมื่อมาถึงก็ขอเลื่อนไปอีก สร้างความไม่พอใจแก่แฟน ๆ จนเกิดเป็นจลาจลย่อย ๆ หน้าสนาม ซึ่งต้องใช้เทปเสียงของเจ้าตัวมาเปิดยืนยันว่าป่วยจริง ๆ ขอเลื่อนไปเป็นวันที่ 24 สิงหาคม อีกที คราวนี้เมื่อถึงวันที่ 24 สิงหาคมจริง ๆ ก็สามารถจัดการแสดงได้และจบลงด้วยดี ซึ่งปรากฏการณ์คอนเสิร์ตในครั้งนี้นับเป็นการแสดงคอนเสิร์ตใหญ่ของนักร้องชาวต่างประเทศระดับโลกครั้งแรกของไทย และต่อมาก็ได้มีศิลปิน นักร้องต่างประเทศทยอยเดินทางมาแสดงคอนเสิร์ตในประเทศไทยเรื่อย ๆ ตราบจนปัจจุบัน ซึ่งหลังจากเดินทางออกจากประเทศไทยแล้ว ไมเคิลก็ได้เดินทางต่อไปยังประเทศบรูไน เพื่อเปิดแสดงคอนเสิร์ตที่นั่น โดยมีสุลต่าลบรูไนเป็นผู้จัดและเปิดให้ประชาชนเข้าชมฟรี

ครั้งที่ 2 คือ ในกลางปี พ.ศ. 2538 เป็นการโปรโมตอัลบั้ม History จัดแสดงที่อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี แสดง 2 รอบอีกเช่นเคย แต่ครั้งนี้ไม่ได้รับความสนใจเท่าครั้งแรก

ในปี พ.ศ. 2542 ไมเคิลได้เผยว่าจะมีการจัดแสดงคอนเสิร์ตรอบพิเศษ โดยจะจัดแสดงทั่วอเมริกาเพียง 10 ที่ ซึ่งตัวไมเคิลเองอยากจะแสดงและโชว์อีกครั้ง แต่ในการแสดงอาจจะมีการเปิดเทปในการแสดงเป็นบางช่วง เพราะตัวไมเคิลเองอาจร้องไม่ไหว และการเต้นอาจจะไม่สนุกเหมือนครั้งที่ผ่านมา เพราะไมเคิลมีอายุถึง 48 ปี ในการแสดงครั้งนี้จะเปิดการแสดงในชุด Jackson 5 ซึ่งมีการรวมตัวเหล่าพี่น้องของไมเคิล ในการแสดงจะมีเพลงแค่ 16 เพลง ในชุด Jackson 5 จะมี 6 เพลงและเพลงของไมเคิลเอง 10 เพลง คือ You Are Not Alone, Heal the World, Billie Jean, Man in the Mirror, Will You Be There, Black or White, Beat It, Stanger in Moscow, Rock with You และ Bad และจะจัดขึ้นทั่วโลกในปี พ.ศ. 2552 เพียง 9 ประเทศ คือ สหรัฐอเมริกา, สหราชอาณาจักร, ญี่ปุ่น, อิตาลี, เสปน, เกาหลีใต้, ไต้หวัน, ฝรั่งเศส รวมถึงประเทศไทยด้วย ในราคาค่าตัวสำหรับการเดินทางไปแสดงคอนเสิร์ตถึง 20,000,000 ปอนด์ หรือคิดเป็นเงินไทยก็ประมาณ 650,000,000 บาท คอนเสิร์ตจะจัดขึ้นในประเทศไทยที่สนามศุภลาศัย ที่จุคนได้ถึง 70,000 คน โดยคาดว่าค่าบัตรเข้าชมจะมีราคา 1000, 2,000, 3,000, 4,000 บาทโดยประมาณ ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2551 ไมเคิล แจ๊กสัน และพี่น้องเขาให้สร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งเมื่อได้ปรากฏตัวอีกครั้งในรูปแบบคอนเสิร์ตเต็มที่ และทำให้นักข่าวตกตะลึง เมื่อสถานที่แสดงศิลปินวงอื่น ๆ ยังสามารถทำได้เพียง 50,000 คน เท่านั้น แต่ในที่นี้ไมเคิลได้ทำลายสถิติทั้งหมด เพียง 1 ครั้งเท่านั้น โดยมีผู้ชม ถึง 125,000 คนเลยทีเดียว

ชีวิตส่วนตัวและเรื่องอื้อฉาว

ไมเคิล แจ็กสัน ถูกมองว่าเป็นซุปเปอร์สตาร์ที่ชอบทำตัวให้เด่นดังและเป็นข่าวอยู่เสมอ ๆ โดยใช้ชีวิตบนความหรูหรา โอเวอร์เกินคนธรรมดา เช่น คฤหาสถ์ส่วนตัวใช้ชื่อว่า "Never Land" โดยตั้งชื่อให้เหมือนกับดินแดนในเทพนิยายเรื่อง ปีเตอร์แพน ซึ่งในนั้นมีเครื่องเล่นเหมือนสวนสนุกอยู่จำนวนมาก อีกทั้งยังชอบเลี้ยงดูอุปถัมภ์เด็ก ๆ จำนวนมากเป็นบุตรบุญธรรม ซึ่งได้มีการตีความทางจิตวิทยาว่า ตัวไมเคิลเองมีนิสัยเหมือนเด็กที่ไม่ยอมโต

นอกจากนั้นไมเคิลยังมีชีวิตที่แปลกพิศดาร เช่น มักแต่งตัวแปลก ๆ อย่างตอนเดินทางมาถึงประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2536 หรือเคยมีผู้พบว่าไมเคิลแต่งตัวเป็นผู้หญิงในห้องน้ำหญิงสาธารณะ หรือการที่เปลี่ยนสีผิวตัวเองด้วยวิทยาการทางการแพทย์จากผิวดำให้เป็นขาวซีดอย่างในปัจจุบัน หรือการผ่าตัดศัลยกรรมใบหน้าด้วยซิลิโคนหลายต่อหลายครั้ง

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2537 ไมเคิลได้สร้างประหลาดใจให้แก่แฟน ๆ เมื่อจู่ ๆ ประกาศหมั้นและแต่งงานกับ ลิซ่า มารี เพรสลีย์ บุตรสาวของเอลวิส เพรสลีย์อย่างกระทันหัน โดยทั้งคู่ได้ใช้ชีวิตเช่นสามี ภรรยา ก่อนจะเลิกรากันไปในปี พ.ศ. 2539 โดยไม่มีบุตรด้วยกัน (ภายหลังไมเคิลมีบุตร 2 คนจากการผสมเทียมกับเด็บบี้ โรวว์ พยาบาลสาวใหญ่ และมีเพิ่มอีก 1 คนจากสาวผู้ไม่เปิดเผยนาม ด้วยการผสมเทียมเช่นเดียวกัน)

ไมเคิลมีเรื่องอื้อฉาวเกี่ยวกับเด็กมากมาย มักปรากฏข่าวถึงการลวนลามทางเพศกับเด็กผู้ชายเสมอ ๆ โดยเฉพาะในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2548 ไมเคิลต้องขึ้นศาลฟังคำพิพากษาเลยทีเดียว เมื่อมีคดีข่มขืนเด็กผู้ชายคนหนึ่ง ปรากฏว่าศาลพิพากษาให้รอดพ้นไป รวมทั้งเคยอุ้มลูกของตัวเองซึ่งยังเป็นทารกอยู่โดยทำท่าว่าจะทิ้งลงมาจากหน้าต่างโรงแรมที่เจ้าตัวอาศัยอยู่ เพื่อทักทายแฟน ๆ ที่รออยู่ข้างล่าง จนได้รับเสียงตำหนิต่อว่าอย่างหนักจากสังคม เป็นต้น

ถึงแก่กรรม

ไมเคิล แจ็กสัน ได้ถึงแก่กรรมในวัย 50 ปี ในช่วงบ่ายของวันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ.2552 ณ โรงพยาบาล UCLA hospital (Ronald Reagan UCLA Medical Center) เวลา 14 นาฬิกา 26 นาที ตามเวลาท้องถิ่นโดยสาเหตุการเสียชีวิตมาจากอาการหัวใจวาย[3]

ผลงานอัลบั้ม

อัลบั้มชุด Thriller
  • พ.ศ. 2514 Got to Be There
  • พ.ศ. 2515 Ben
  • พ.ศ. 2515 A Collection of Michael Jackson's Oldies
  • พ.ศ. 2516 Music and Me
  • พ.ศ. 2518 Forever, Michael
  • พ.ศ. 2522 Off the Wall
  • พ.ศ. 2524 One Day in Your Life
  • พ.ศ. 2525 Thriller
  • พ.ศ. 2527 Farewell My Summer Love
  • พ.ศ. 2530 Bad
  • พ.ศ. 2534 Dangerous
  • พ.ศ. 2538 HIStory - Past, Present and Future - Book I
  • พ.ศ. 2540 Blood on the Dance Floor: HIStory in the Mix
  • พ.ศ. 2544 Invincible
  • พ.ศ. 2544 Greatest Hits - HIStory Volume I
  • พ.ศ. 2546 Number Ones
  • พ.ศ. 2547 Michael Jackson: The Ultimate Collection
  • พ.ศ. 2548 The Essential Michael Jackson

อิทธิพลต่อนักร้องรุ่นหลัง

  • ไมเคิล แจ็คสันยังเป็นนักร้องผู้มีอิทธิพลในวงการเพลงทั้งทางด้านการร้องและเต้นแก่ เรน, บี้ เดอะสตาร์, บาซู ฯลฯ จึงยังความตื่นตกใจแก่นักร้องในวงการหลายรายเช่นกัน

อ้างอิง

  1. "Michael Jackson Dies". TMZ. 25 มิถุนายน พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. "Michael Jackson has heart attack and dies in Los Angeles". TMZ. 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552. สืบค้นเมื่อ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552. {{cite news}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  3. King of Pop Michael Jackson dies, aged 50

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA