ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jittat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
 
Jittat (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
: ''ดูบทความหลัก [[สภาพทั่วไปก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย]]
: ''ดูบทความหลัก [[สภาพทั่วไปก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย]]
{{โครง-ส่วน}}
{{โครง-ส่วน}}

==การเตรียมการปฏิวัติ==
คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวัน[[พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา]]เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จประทับที่[[พระราชวังไกลกังวล]] ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพ

ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน [[ประยูร ภมรมนตรี|ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี]] ในวันที่ [[12 มิถุนายน]] พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม

หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้าน[[พระยาทรงสุรเดช]] โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม เช่น ฝ่ายพลเรือนแบ่งไปคุมตามวังที่สำคัญ บางกลุ่มให้ไปตัดสายโทรศัพท์ และจะใช้คนจำนวนมากเพื่อเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระสวรรค์วรพินิตมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย

แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน


==การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475==
==การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:49, 22 กรกฎาคม 2549

การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 คือการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไปเป็นระบอบประชาธิปไตย โดยคณะราษฎร ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

สภาพก่อนการปฏิวัติ

ดูบทความหลัก สภาพทั่วไปก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทย

การเตรียมการปฏิวัติ

คณะราษฎรได้มีการประชุมเตรียมการหลายครั้ง รวมถึงได้มีการล้มเลิกแผนการบางแผนการ เช่น การเข้ายึดอำนาจในวันพระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาเนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จนกระทั่งสุดท้ายได้ข้อสรุปว่าจะดำเนินการในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับที่พระราชวังไกลกังวล ทำให้เหลือข้าราชการเพียงไม่กี่คนอยู่ในกรุงเทพ

ในการวางแผนดังกล่าวกระทำที่บ้าน ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี ในวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการวางแผนควบคุมสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ซึ่งเป็นผู้สำเร็จราชการรักษาพระนคร โดยมีการเลื่อนวันเข้าดำเนินการหลายครั้งเพื่อความพร้อม

หลังจากนั้นยังได้มีการประชุมกำหนดแผนการเพิ่มเติมอีกที่บ้านพระยาทรงสุรเดช โดยมีการวางแผนว่าในวันที่ 24 มิถุนายนจะดำเนินการอย่างไร และมีการแบ่งงานให้แต่ละกลุ่ม เช่น ฝ่ายพลเรือนแบ่งไปคุมตามวังที่สำคัญ บางกลุ่มให้ไปตัดสายโทรศัพท์ และจะใช้คนจำนวนมากเพื่อเชิญสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระสวรรค์วรพินิตมายังพระที่นั่งอนันตสมาคม นอกจากนี้ยังมีการวางแผนให้เตรียมรถยนต์สำหรับลากปืนใหญ่มาตั้งเตรียมพร้อมไว้ โดยทำทีท่าเป็นตรวจตรารถยนต์อีกด้วย

แม้ว่าทางคณะราษฎรจะพยายามที่ทำลายหลักฐานต่าง ๆ แล้ว ยังมีข่าวเล็ดรอดไปยังทางตำรวจ ซึ่งได้ออกหมายจับกลุ่มผู้ก่อการ 4 คน คือหลวงประดิษฐ์มนูธรรม พ.ต. หลวงพิบูลสงคราม ร.ท. ประยูร ภมรมนตรี และ นายตั้ว ลพานุกรม อย่างไรก็ตามเมื่อนำเข้าแจ้งแก่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต ก็ถูกระงับเรื่องไว้ก่อน เนื่องจากไม่ทรงเห็นว่าน่าจะเป็นอันตราย และให้ทำการสืบสวนให้ชัดเจนก่อน

การยึดอำนาจในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475

หลังจากการปฏิวัติ

เอกสารอ้างอิง

  • สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. การเมืองการปกครองไทย: พ.ศ. 1762 - 2500. สำนักพิมพ์เสมาธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 4. พ.ศ. 2549.