ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เกสริยาสถูป"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีอ้างอิง
Tmd (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
บรรทัด 27: บรรทัด 27:
[[หมวดหมู่:รัฐพิหาร]]
[[หมวดหมู่:รัฐพิหาร]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์พุทธศาสนา]]
[[หมวดหมู่:อภิธานศัพท์พุทธศาสนา]]
[[หมวดหมู่:สถานที่เนื่องด้วยพระพุทธองค์]]


{{โครงพุทธศาสนา}}
{{โครงพุทธศาสนา}}

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:40, 6 มิถุนายน 2552

เกสปุตตนิคม หรือ เกสริยา (อังกฤษ: Kesariya, เทวนาครี: केसरिया) ในปัจจุบัน เป็นสถานที่ตั้งของมหาสถูปพบใหม่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย ในสมัยพุทธกาลเป็นที่อยู่ของพวกชาวกาลามโคตรหรือกาลามชน อยู่ในแคว้นโกศล เป็นหมู่บ้านทางผ่านระหว่างเมืองในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าได้เคยเสด็จผ่านมาที่เกสปุตตนิคมและได้ทรงแสดงกาลามสูตร หรือเรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า เกสปุตตสูตร[1] แก่กลุ่มคนเหล่านี้จนยอมรับนับถือพระพุทธศาสนา

มหาสถูปแห่งเกสปุตตนิคม

พระมหาสถูปแห่งเกสริยา

ปัจจุบันเกสปุตตนิคมถูกเรียกเพี้ยนไปเป็นเกสเรีย หรือเกสริยา เดิมไม่เป็นที่รู้จักและไม่เป็นจุดสำหรับจาริกแสวงบุญของชาวพุทธ แต่หลังจากกองโบราณคดีอินเดียได้ขุดค้นเนินดินใหญ่พบพระมหาสถูปโบราณ ที่มีความเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1,400 ฟุต สูงถึง 51 ฟุต (เดิมอาจสูงถึง 70 ฟุต) ซึ่งทำให้มหาสถูปโบราณที่ค้นพบใหม่นี้กลายเป็นมหาสถูปที่ใหญ่ที่สุดในอินเดีย มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์ชเวดากองและพระมหาสถูปบุโรพุทโธ ซึ่งทำให้มีผู้สันนิษฐานว่ามหาสถูปแห่งเกสริยานี้เป็นต้นแบบของมหาสถูปทั้งสอง และนอกจากนี้ ในบริเวณไม่ไกลจากมหาสถูปแห่งเกสริยา นักโบราณคดีอินเดียได้พบเสาหินพระเจ้าอโศกที่สมบูรณ์ที่สุด ที่ยังคงเหลือหัวสิงห์บนยอดเสา เช่นเดียวกับที่เมืองเวสาลีอีกด้วย[2]

เกสริยาในปัจจุบันอยู่ห่างจากกุสินาราประมาณ 120 กิโลเมตร ในเขตหมู่บ้านเลาลิยะนันทัน (Lauliyanandan) และนันทันฆาต (Nandanghat) ในจังหวัดจัมปารัน รัฐพิหาร การเดินมามาที่แห่งนี้เป็นไปด้วยความยากลำบาก ทำให้ไม่ค่อยมีผู้แสวงบุญมาสักการะมหาสถูปแห่งนี้เท่าใดนัก

อ้างอิง

  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต เกสปุตตสูตร (กาลามสูตร). พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1]>. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52
  2. พบมหาสถูปของพุทธ..ที่ใหญ่ที่สุดในโลก..ที่รัฐพิหารอินเดีย. พระมหาดร.คมสรณ์ คุตตธมฺโม เว็บบล็อก oknation. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [2]. เรียกข้อมูลเมื่อ 4-6-52

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น

  • Kesariya, Bihar. Buddhist-Tourism.Com. เข้าถึงเมื่อ 4-6-52 (อังกฤษ)