ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มิลตัน ฟรีดแมน"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
2T (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยน หมวดหมู่:นักเศรษฐศาสตร์ → หมวดหมู่:นักเศรษฐศาสตร์ชาวอเมริกัน ด้วยสจห.
NNa (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
{{รอการตรวจสอบ}}
{{รอการตรวจสอบ}}
[[ไฟล์:MiltonFriedman.jpg|thumb|200px]]

'''มิลตัน ฟรีดแมน''' (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2455-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549)เจ้าของประโยคที่โด่งดัง “ในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรี ๆ” (There's no such thing as a free lunch.) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำ[[สำนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม]] ของ [[มหาวิทยาลัยชิคาโก]] [[สหรัฐอเมริกา]] ผู้ได้รับ[[รางวัลโนเบล]]สาขาเศรษฐศาสตร์ ในปีค.ศ. 1976 เขาได้สร้างความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในสาขาวิชา มหเศรษฐศาสตร์, จุลเศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และสถิติเชิงเศรษฐศาสตร์ เขาเป็นผู้สนับสนุน ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี (laissez-faire capitalism)ในหนังสือ ''Capitalism and Freedom'' เขาสนับสนุนการลดการแทรกแซงและการมีบทบาทของรัฐบาลในตลาดเสรีเพื่อสร้างเสรีภาพทางสังคมและการเมือง ในปีพ.ศ. 2517 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์สำหรับความสำเร็จในด้านการวิเคราะห์การบริโภค, ประวัติศาสตร์และทฤษฎีด้านเงินตรา และสำหรับการพิสูจน์ให้เห็นถึงความซับซ้อนของนโยบายเสถึยรภาพ
'''มิลตัน ฟรีดแมน''' (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2455-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549)เจ้าของประโยคที่โด่งดัง “ในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรี ๆ” (There's no such thing as a free lunch.) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำ[[สำนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม]] ของ [[มหาวิทยาลัยชิคาโก]] [[สหรัฐอเมริกา]] ผู้ได้รับ[[รางวัลโนเบล]]สาขาเศรษฐศาสตร์ ในปีค.ศ. 1976 เขาได้สร้างความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในสาขาวิชา มหเศรษฐศาสตร์, จุลเศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และสถิติเชิงเศรษฐศาสตร์ เขาเป็นผู้สนับสนุน ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี (laissez-faire capitalism)ในหนังสือ ''Capitalism and Freedom'' เขาสนับสนุนการลดการแทรกแซงและการมีบทบาทของรัฐบาลในตลาดเสรีเพื่อสร้างเสรีภาพทางสังคมและการเมือง ในปีพ.ศ. 2517 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์สำหรับความสำเร็จในด้านการวิเคราะห์การบริโภค, ประวัติศาสตร์และทฤษฎีด้านเงินตรา และสำหรับการพิสูจน์ให้เห็นถึงความซับซ้อนของนโยบายเสถึยรภาพ



รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:37, 29 พฤษภาคม 2552

ไฟล์:MiltonFriedman.jpg

มิลตัน ฟรีดแมน (31 กรกฎาคม พ.ศ. 2455-16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549)เจ้าของประโยคที่โด่งดัง “ในโลกนี้ ไม่มีอะไรที่ได้มาฟรี ๆ” (There's no such thing as a free lunch.) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ประจำสำนักเศรษฐศาสตร์เสรีนิยม ของ มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐอเมริกา ผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ในปีค.ศ. 1976 เขาได้สร้างความก้าวหน้าเป็นอย่างมากในสาขาวิชา มหเศรษฐศาสตร์, จุลเศรษฐศาสตร์, ประวัติศาสตร์และสถิติเชิงเศรษฐศาสตร์ เขาเป็นผู้สนับสนุน ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรี (laissez-faire capitalism)ในหนังสือ Capitalism and Freedom เขาสนับสนุนการลดการแทรกแซงและการมีบทบาทของรัฐบาลในตลาดเสรีเพื่อสร้างเสรีภาพทางสังคมและการเมือง ในปีพ.ศ. 2517 เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์สำหรับความสำเร็จในด้านการวิเคราะห์การบริโภค, ประวัติศาสตร์และทฤษฎีด้านเงินตรา และสำหรับการพิสูจน์ให้เห็นถึงความซับซ้อนของนโยบายเสถึยรภาพ

ประวัติ

ฟรีดแมนเกิดในเมืองนิวยอร์ก เป็นลูกคนสุดท้องและลูกชายเพียงคนเดียวในบรรดาพี่น้องทั้งสี่คน มีพื้นเพครอบครัวเป็นชนชั้นแรงงานชาวยิว ซึ่งอพยพย้ายถิ่นมาจากประเทศ ออสเตรีย-ฮังการี จากแคว้นเบเรโฮฟ(Berehove:Bergsaß/Beregszász) ซึ่งปัจจุบันอยู่ในประเทศยูเครน มารดาชื่อซาราห์ เอเธล แลนเดา (2435-?) บิดาชื่อเยโน ซอล ฟรีดแมน พี่ที่เหลืออีก 3 คน คือ ทิลลี เอฟ. ฟรีดแมน(2462-?) เฮเลน ฟรีดแมน(2463-?) และรูธ ฟรีดแมน(2464-?) หลังจากบิดาเสียชีวิต ทั้งครอบครัวจึงย้ายไปเมืองราห์เวย์ มลรัฐนิวเจอร์ซีย์ http://th.wikipedia.org/skins-1.5/common/images/button_link.png ลิงก์ภายใน เขาสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรัตเกอร์ส์เมื่อ พ.ศ. 2475 และสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยชิคาโกในปี พ.ศ. 2476 ซึ่งทำให้เขาได้รับอิทธิพลด้านความคิดเป็นอย่างมากจากจาคอบ ไวเนอร์(Jacob Viner) ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชาวแคนาดา, แฟรงค์ ไนท์(Frank Knight) นักเศรษฐศาสตร์คนสำคัญในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 และเฮนรี่ ไซมอนส์(Henry Simons)เขาไม่สามารถหาอาชีพในแวดวงการศึกษาได้ จนกระทั่งได้ทำงานให้โครงการ ข้อสัญญาใหม่(The New Deal)ชื่อที่ใช้เรียกโครงการบรรเทา, ฟื้นฟู และปฏิรูประบบเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในยุคเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ (The Great Depression)ระหว่างปี พ.ศ. 2476-2480 ในยุคประธานาธิบดีแฟรงคลิน ดี. รูสเวลท์ ต่อมา เขาได้เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยวิสคอนซินเป็นระยะเวลาสั้นๆ ก่อนจะออกมาเนื่องจากในคณะเศรษฐศาสตร์ที่นั้น มีลัทธิต่อต้านเชื้อชาติยิวอยู่ (Anti-Semitism)และกลับไปเข้ารับงานราชการอีกครั้ง เขาเข้ารับตำแหน่งที่ปรึกษาของเจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังระดับสูงในช่วงปี 2484-2486 และในฐานะโฆษกกระทรวงการคลังในปีพ.ศ. 2485 เขาให้การสนับสนุนนโยบายจัดเก็บภาษีแนวทางเคย์นเซียน (Keynesian Policy of Taxation)

ปีพ.ศ. 2489 มหาวิทยาลัยโคลัมเบียได้มอบปริญญาเอกแก่เขา ต่อมา เขาเข้ารับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาเศรษฐศาสตร์ประจำมหาวิทยาลัยชิคาโก ณ ที่นี่ เขาได้ช่วยสร้างชุมชนนักวิชาการที่เกี่ยวดองกันอย่างเหนียวแน่น และหลายคนในกลุ่มก็เป็นผู้ชนะรางวัลโนเบล รู้จักกันในนาม สำนักเศรษฐศาสตร์แห่งชิคาโก้ (Chicago School of Economics) ปีพ.ศ. 2519 เขาชนะรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์"สำหรับสำหรับความสำเร็จในด้านการวิเคราะห์การบริโภค, ประวัติศาสตร์และทฤษฎีด้านเงินตรา และสำหรับการพิสูจน์ให้เห็นถึงความซับซ้อนของนโยบายเสถึยรภาพ" นับแต่ พ.ศ. 2520 ฟรีดแมนได้เข้าร่วมงานกับสถาบันฮูเวอร์ ที่มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ในปี พ.ศ. 2531 เขาได้รับรางวัลเหรียญเกียรติคุณทางวิทยาศาสตร์ระดับชาติ (National Meadal of Science หรือ Presidential Medal of Science)ของสหรัฐอเมริกา และเป็นที่ยอมรับกันว่าเขาเป็นนักเศรษฐศาสตร์ผู้ทรงอิทธิพลที่สุดคนหนึ่งในศตวรรษที่ 20

ฟรีดแมนมีลูกชายชื่อเดวิด ดี. ฟรีดแมน เป็นนักปรัชญาและนักเศรษฐศาสตร์

มิลตัน ฟรีดแมนถึงแก่กรรมเมื่ออายุได้ 94 ปีที่ซาน ฟรานซิสโก เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ด้วยอาการหัวใจล้มเหลว

รางวัลที่ได้รับ

  • พ.ศ. 2494 เหรียญรางวัลจอห์น เบทส์ คล้าร์ก (John Bates Clark Medal)
  • พ.ศ. 2519 รางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ (Nobel Prize in Economics)
  • พ.ศ. 2531 เหรียญเกียรติคุณทางวิทยาศาสตร์ (Natiom Medal of Science)
  • พ.ศ. 2531 เหรียญอิสริยาภรณ์แห่งเสรีภาพ(Presidential Medal of Freedom)