ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฌ็อง อานูย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BodhisattvaBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: he:ז'אן אנווי
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: no:Jean Anouilh
บรรทัด 97: บรรทัด 97:
[[lt:Jean Anouilh]]
[[lt:Jean Anouilh]]
[[nl:Jean Anouilh]]
[[nl:Jean Anouilh]]
[[no:Jean Anouilh]]
[[pl:Jean Anouilh]]
[[pl:Jean Anouilh]]
[[pt:Jean Anouilh]]
[[pt:Jean Anouilh]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:40, 19 พฤษภาคม 2552

ฌอง อานุยห์ (Jean Anouilh) นักประพันธ์ชาวฝรั่งเศส เกิดเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน ค.ศ. 1910 ที่เมืองบอร์โดซ์ ประเทศฝรั่งเศส พ่อของเขาชื่อ ฟรองซัวส์ อานุยห์ (François Anouilh) เป็นช่างตัดเสื้อ แม่ของเขาชื่อ มารี–มัคเดอแรน ซูลู (Marie–Magdeleine Soulue) เป็นนักไวโอลิน

ประวัติ

เขาเข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนกอลแบร์ (Colbert) จากนั้นเขาก็เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยชับตัล (collège Chaptal) ซึ่งเขาได้เริ่มต้นเรียนทางด้านกฎหมายที่นี่ หลังจากที่เขาเรียนจบทางด้านกฎหมายแล้ว เขาได้ใช้เวลา 2 ปี ในโรงพิมพ์ ซึ่งทำให้เขาได้รับประสบการณ์เป็นอย่างมาก เมื่อเขาอายุได้ 18 ปี เขาได้เข้ามาอยู่ที่กอมเมดี้ เดส์ ฌอง – เซลิเซ่ (Comédies des Champs – Elysées) ซึ่งมี หลุยส์ ชูแวร์ (Louis Jouvert) เป็นหัวหน้า เขาได้เข้ามาทำหน้าที่ในฐานะผู้ช่วยของหลุยส์ ชูแวร์ และในปี ค.ศ. 1930 เขาต้องลาออกจากกอมเมดี้ เดส์ ฌอง – เซลิเซ่ (Comédies des Champs–Elysées) เนื่องจากเขาต้องไปรับราชการทหาร

ต่อมาในปี ค.ศ. 1931 หลังจากที่เขากลับมาจากรับราชการทหารแล้ว เขาได้แต่งงานกับนักแสดงที่ชื่อ โมแนล วาลองแต็ง (Monelle Valentin) และมีบุตรสาวด้วยกัน 1 คน คือ แคทเธอรีน (Catherine)

ในปีค.ศ. 1932 เขาได้เขียนบทละครเรื่อง L’Hermine ซึ่งบทละครเรื่องนี้ ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยบทละครเรื่องนี้ได้รับการยกย่องว่าเป็นบทละครที่ดี แต่ผลงานอีก 2 เรื่องถัดมา ก็ประสบความล้มเหลว ได้แก่ เรื่อง Mandarine และเรื่อง Y avait un prisonnier

ในปี ค.ศ. 1937 บทละครเรื่อง Le voyageur sans bagage ก็จัดว่าเป็นบทละครที่ประสบความสำเร็จอีกบทละครหนึ่ง ซึ่งบทละครเรื่องนี้ถูกนำมาเล่นซ้ำแล้วซ้ำเล่าถึง 190 ครั้ง

ในปี ค.ศ. 1944 ได้มีการนำบทละครเรื่อง Antigone ออกมาแสดง ซึ่งบทละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก บทละครเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงโศกนาฏกรรม ที่สะท้อนให้เห็นถึงชะตากรรมของมนุษย์ ผู้ผยองในความยิ่งใหญ่ของตนเอง จนก่อให้เกิดเป็นสถานการณ์ความขัดแย้งที่นำไปสู่ความพินาศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ในปี ค.ศ. 1953 เขาได้แต่งงานใหม่อีกครั้งกับ ชาร์ล็อต ชาร์ดง ทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 3 คน คือ แคโรลีน (Caroline), นิโกลาส์ (Nicolas) และมารี–โกลอมบ์ (Marie–Colombe)

ในช่วงบั้นปลายชีวิตของเขา ผลงานของเขาก็เริ่มน้อยลง เนื่องจากเขารู้สึกเบื่อหน่ายกับการวิจารณ์ ดังนั้นเขาจึงใช้ชีวิตอยู่อย่างสันโดษ จะสังเกตได้ว่า ช่วงนี้ผลงานของเขาจะออกมาน้อยมาก อีกทั้งผลงานที่ออกมานั้นก็ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร

ฌอง อานุยห์เสียชีวิตในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1987 ที่เมืองโลซาน ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ รวมอายุได้ 77 ปี

ผลงานโดยรวม

บทละครที่เป็นแนวโศกนาฏกรรม ตอนจบของเรื่องจะไม่สุขสมหวัง (Pièces noires)

  • Hermine (1932)
ฟร็อง” ชายหนุ่มผู้ซึ่งตกหลุมรัก “โมนีม” หญิงสาวผู้ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยฐานะ แต่ด้วยเพราะฟร็องเป็นคนที่ไม่มีฐานะและไม่มียศถาบรรดาศักดิ์อื่นใด ทำให้ป้าของโมนีมกีดกันการแต่งงาน สิ่งนี้เองทำให้ฟร็องต้องฆ่าป้าของโมนีม เมื่อตอนแรกที่โมนีมรู้เรื่องก็ถึงกับต่อว่าฟร็อง แต่ในท้ายที่สุดแล้วเธอก็ได้บอกกับเขาตอนที่เขากำลังถูกตำรวจจับว่าเธอรักเขามาก
  • Le voyageur sans bagage (1937)
เป็นเรื่องราวของชายหนุ่มผู้ความจำเสื่อม เขาได้ปฏิเสธที่จะกลับไปที่บ้านเพื่อพบกับครอบครัวเนื่องจากเขาได้พบว่าเขาเป็นญาติกับเด็กกำพร้าคนหนึ่ง ซึ่งในที่สุดเขาก็ได้จากไปพร้อมกับเด็กคนดังกล่าว
  • La sauvage (1938)
"แตแคส" นักไวโอลินสาว เธอมีฐานะยากจน เธอตกหลุมรัก “ฟลอค็องก์” นักแสดงหนุ่มผู้ร่ำรวยและมีชื่อเสียง แต่เธอกลับล้มเลิกที่จะแต่งงานกับเขา เพราะเธอไม่สามารถใช้ชีวิตในแบบที่เขาเป็นได้ เพราะเธอไม่ชอบชีวิตที่หรูหรา และถึงแม้ว่าเธอจะพยายามที่จะปรับตัวเองเท่าใด แต่เธอก็ไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้
  • Roméo et Jeannette (1946)
"เฟรเดริก" ตอนแรกเขาจะต้องแต่งงานกับ "จูเลีย" หญิงสาวที่เรียบร้อย แต่เขากลับหลงรัก "เชอแนต" ซึ่งเป็นน้องสาวของจูเลีย ซึ่งแม้ว่าคนภายนอกจะมองดูว่าแปลก แต่เค้าก็ไม่สนใจและเขาทั้งสองคนกลับพากันหนีไปและหนีไปกระโดดน้ำตายด้วยกันทั้งคู่

Pièces grinçantes

เป็นลักษณะบทละครที่เป็นแนวเสียดสีทางสังคมหรือการเมือง

  • La Valse de toréadors (1952)
ข้าทาสของภรรยาเขาได้แกล้งป่วยและนักร้องก็ได้ลาออกทำให้นายพลแซงก์ เป ต้องปลอบใจตัวเองเหมือนกับอย่างที่เขาได้ทำกับคนอื่นๆ แต่เขาก็ได้พบกับความรักใหม่ที่ดีกับผู้ช่วยของเขานั่นเอง
  • Le Boulanger, la boulangère et le petit mitron (1968)
ย้อนกลับไปในช่วงสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 16 เป็นเรื่องราวของพระราชินีและรัชทายาท เป็นเรื่องที่เต็มไปด้วยการเสียดสีและการนองเลือดที่ซึ่งพบว่าในเรื่องมีความขัดแย้งในฉากที่เป็นจริงและฉากที่คิดค้นขึ้นมาใหม่ผ่านทางตัวละครที่เป็นเด็ก 2 ตัวละคร ที่ต่อมาในภายหลังพบว่าทั้งสองคนเป็นเด็กกำพร้า

บทละครเกี่ยวกับความรัก (Pièces roses)

  • Le Bal des voleurs (1938)
ด้วยความเข้าใจของ Lady Hurf ที่คิดว่า พวกโจรเป็นพวกที่ใหญ่โตและมีอำนาจของประเทศสเปน อีกทั้งพวกโจรกลุ่มนี้ยังทำให้ Lady Hurf รู้สึกชอบใจ ดังนั้นจึงทำให้พวกโจรสามารถที่จะเข้าไปอยู่ในปราสาทของเธอได้ไม่ยาก อีกทั้งชายหนุ่มที่โรแมนติกที่สุดของพวกโจรได้แต่งงานกับหญิงสาวที่โรแมนติกที่สุดของพวกโจร การแต่งงานจึงไม่มีการคัดค้านอะไร อีกทั้ง Lady Hurf ยังสนับสนุนอีกด้วย
  • Le Rendez – vous de Senlis (1941)
เพิ่อที่จะได้แต่งงานกับ Isabelle หญิงสาวที่เขาหลงรัก Georges จึงสร้างพ่อแม่ที่เป็นไปตามแบบฉบับของกวีที่สุดขึ้นมา และเขาได้ดึงตัวเองออกมาจากชีวิตที่เหลวไหล ซึ่งเขามีทั้งภรรยาและเมียน้อยอยู่แล้ว แต่เขาก็เพิกเฉยไม่สนใจ

บทละครที่มีการกล่าวกินจริงและเนื้อเรื่องจะไม่สมจริง (Pièces faceuses)

  • Colombe (1951)
คู่สมรสของ Julien ต้องไปรับราชการทหารและขอเงินช่วยเหลือจากแม่ไม่เป็นผลสำเร็จ มาดาม Alexandra บ้าละครมาก Colombe จึงตัดสินใจไปเป็นนักแสดง เมื่อกลายเป็นดาราละคร ตัวเองก็ชอบละครไปด้วย จากเดิมที่ไม่ชอบละคร

บทละครที่ตัวละครจะแต่งตัวอย่างสวยงาม (Pièces costumées)

  • L’Alouette (1952)
เกิดขึ้นในยุคของ ฌาน ดาร์ค ซึ่งในตอนนั้นเธอถูกทรมาน และตัวละครของเรื่อง คือ โกชง ซึ่งเป็นเสมือนตัวแทนในการช่วยชีวิตเธอให้รอดพ้นจากพวกทหารอังกฤษที่ทรมานเธอ
  • Becket ou l’honneur de Dieu (1959)
โศกนาฏกรรมที่เกิดโดยทันทีทันใดและเกิดจากระบบราชาธิปไตยที่ผู้ปกครองเป็นใหญ่ เรื่องดังกล่าวว่าด้วยลัทธิการปกครองแบบกดขี่ของกษัตริย์อังกฤษที่ไม่เคยได้ยอมรับจากพระเจ้า ทำให้ผู้ที่สนับสนุนในเรื่องของศาสนาถึงกับยอมตายเพื่อศาสนา

อิทธิพลของผลงานของ Jean Anouilh ที่ส่งผลกระทบต่อสังคมไทยและสังคมฝรั่งเศส

ผลกระทบที่มีต่อสังคมไทย

ละครเรื่องนี้ได้มีการแปลออกมาเป็นภาษาไทยโดยใช้ชื่อว่าอันตราคนีและได้มีการจัดแสดงที่หอประชุมมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี พ.ศ. 2519 โดยได้มีการดัดแปลงให้เข้ากับสภาพสังคมไทยอยู่ 2 ประการ ประการแรกคือมีการแปลงชื่อตัวละครและสถานที่แบบกรีกโดยใช้ชื่อให้เป็นแบบไทย ประการที่สองคือบทละครเรื่องนี้ได้มีการเสริมขยายคำพูดบางคำพูดเข้าไปเพื่อให้พาดพิงถึงเหตุการณ์ร่วมสมัยของไทยในช่วงนั้น กล่าวคือละครเรื่องนี้แสดงในช่วงเดือนกรกฎาคม 2519 ซึ่งเกิดก่อนเหตุการณ์มหาวิปโยคในช่วงเดือนตุลาคม 2519 ไม่นาน ซึ่งเป็นการแสดงในช่วงที่มีกิจกรรมทางประชาธิปไตยสูงสุดยุคหนึ่งของประเทศ ซึ่งเราสามารถอนุมานได้ว่าบทละครเรื่องนี้ได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจรัฐกับสิทธิของพลเมือง ผ่านทางตัวละครหลัก 2 ตัวคือ Créon ซึ่งพออนุมานได้ว่าเป็นตัวแทนของพวกผู้นำทรราชย์ในยุคนั้น ส่วนตัวละครอีกตัวหนึ่งคือ Antigone คือตัวแทนของประชาชนหรือนักศึกษาที่กล้าลุกขึ้นมาท้าทายอำนาจเผด็จการในยุคนั้น บทละครเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการเมืองในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 โดยตรง แต่ก็เป็นหนึ่งในบทละครที่เสียดสีและสะท้อนสภาพทางการเมืองและสังคมในยุคดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

ผลกระทบต่อประเทศฝรั่งเศส

โดย จุดประสงค์ที่ Anouilh เขียนเรื่องนี้ในปี1942และนำละครเรื่องนี้ออกแสดงในปี 1944 เนื่องจาก ในปี 1944 ช่วงนั้นเป็นช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 (1939-1945) เป็นช่วงที่ลัทธินาซีได้แผ่อำนาจปกครองยุโรปรวมทั้งประเทศฝรั่งเศสด้วยซึ่งทำให้ชาวฝรั่งเศสถูกกดขี่ข่มเหงและถูกลิดรอนสิทธิเสรีภาพเป็นอย่างมาก ซึ่งละครเรื่องนี้ Anouilh ต้องการที่จะนำผลงานชิ้นนี้เปรียบเสมือนเป็นกระจกสะท้อนให้แก่ชาวฝรั่งเศสในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพกลับคืนมา โดยเปรียบ Antigone เป็นชาวฝรั่งเศส และ เปรียบ Créon เป็นนาซีนั่นเอง

เมื่อละครเรื่องนี้ได้นำออกแสดงในปี 1944 นั้น Anouilh ชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของแต่ละฝ่ายซึ่งต่างก็มีปรัชญาชีวิตและอุดมการณ์ของตน ฝ่ายหนึ่งจำต้องทำหน้าที่เพื่อรักษากฎหมายและความสงบสุขของบ้านเมืองให้ดีที่สุดแม้จะต้องทำในสิ่งที่ขัดต่ออุดมการณ์ของตัวนั่นก็คือ Créon อีกฝ่ายหนึ่งบูชาอุดมการณ์แม้จะต้องตายก็คือ Antigone Anouilh สามารถชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของแต่ละฝ่ายนี้ได้ ซึ่งแม้แต่ฝ่ายเผด็จการนาซียังยอมให้นำเรื่องนี้ออกแสดงและละครเรื่องนี้ยังส่งผลให้ชาวฝรั่งเศสหลายๆคนลุกขึ้นสู้กับอำนาจเผด็จการเพื่อเรียกร้องอิสรภาพกลับคืนสู่ประเทศฝรั่งเศส

อ้างอิง