ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระพรหมวชิรปัญญาจารย์ (ทองดี สุรเตโช)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mahatee (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Tkit9s2o (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยนจาก "เผยแพร่" เป็น "เผยแผ่"
บรรทัด 32: บรรทัด 32:




====ด้านการเผยแพร่====
====ด้านการเผยแผ่====
'''พระธรรมกิตติวงศ์''' ได้เขียนหนังสือและแต่งตำราเพื่อเผยแพร่พระธรรมจำนวนมากดังรายการผลงานเขียนของท่านข้างล่างนี้ นอกจากนี้พระธรรมกิตติวงศ์ยังได้อนุญาตให้นำศัพท์เกี่ยวกับ[[พุทธศาสนา]]และคำที่ใช้กับพระและวัดในหนังสือ "'''คำวัด'''" มาเผยแพร่ใน[[อภิธานศัพท์พุทธศาสนา]]ใน[[วิกิพีเดีย]]อีกด้วย
'''พระธรรมกิตติวงศ์''' ได้เขียนหนังสือและแต่งตำราเพื่อเผยแผ่พระธรรมจำนวนมากดังรายการผลงานเขียนของท่านข้างล่างนี้ นอกจากนี้พระธรรมกิตติวงศ์ยังได้อนุญาตให้นำศัพท์เกี่ยวกับ[[พุทธศาสนา]]และคำที่ใช้กับพระและวัดในหนังสือ "'''คำวัด'''" มาเผยแพร่ใน[[อภิธานศัพท์พุทธศาสนา]]ใน[[วิกิพีเดีย]]อีกด้วย


==ตำแหน่งหน้าที่สำคัญ ==
==ตำแหน่งหน้าที่สำคัญ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:51, 18 พฤษภาคม 2552

พระธรรมกิตติวงศ์

(ทองดี สุรเตโช)
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. 9)
ส่วนบุคคล
เกิด15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 (78 ปี)
นิกายมหานิกาย
การศึกษาน.ธ.เอก, ป.ธ.๙, พ.ม.
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดราชโอรสาราม กรุงเทพมหานคร
อุปสมบท26 มิถุนายน พ.ศ. 2510
พรรษา56
ตำแหน่งราชบัณฑิต, กรรมการมหาเถรสมาคม, เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม


พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ. 9 - 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2489 - ) (บรรพชา 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2503, อุปสมบท 26 มิถุนายน พ.ศ. 2510) ราชบัณฑิต เจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม มีจารึกว่า พระธรรมกิตติวงศ์ ปริยัติวิธานธำรง กวีวงศดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมมิกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี หัวหน้าพระธรรมทูตสายที่ 8 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ชีวิตและงาน

พระธรรมกิตติวงศ์ เกิดที่อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร เมื่ออายุ 14 ปีและจบชั้นมัธยมต้นแล้วก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร เมื่ออายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระที่วัดเดิมคือวัดไตรภูมิ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร จากนั้นก็ได้ศึกษาธรรมที่สำนักเรียนวัดปากน้ำภาษีเจริญสอบได้เปรียญ 9 ประโยค เมื่อ พ.ศ. 2515 ด้วยอายุ 26 ปี ในทางโลก พระธรรมกิตติวงศ์สอบได้ประโยควิชาครูพิเศษมัธยม (พ.ม.) ในปีถัดมา

ด้านการงาน

ด้านการงาน พระธรรมกิตติวงศ์ ได้เป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอพรานกระต่าย เลขานุการเจ้าคณะเขตบางขุนเทียน ต่อมาได้เป็นอาจารย์สอนวิชาแต่งฉันท์ภาษามคธ ชั้นประโยค ป.ธ.8 ที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมส่วนกลางของคณะสงฆ์ ก่อนที่จะเป็นเจ้าคณะแขวงบางอ้อได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม

ด้านวิชาการ

ด้านวิชาการ พระธรรมกิตติวงศ์เคยเป็นรองประธานกรรมการตรวจสอบต้นฉบับต้นฉบับพระไตรปิฎกฉบับสังคายนา ภาษาไทยและภาษาบาลี เป็นรองประธานกรมมการตรวจสำนวนการแปลพระไตรปิฎกฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ เป็นกรรมการจัดทำแผนพัฒนาด้านการศึกษา กรมการศาสนา ประธานกรรมการจัดทำต้นฉบับพระไตรปิฎก ฉบับภาษาไทย นอกจากนี้ยังเคยเป็นประธานกรรมการพิจารณาและดำเนินการจัดตั้งสำนักหุบผาสวรรค์เป็นสถานศึกษาทางพุทธศาสนาอีกด้วย


ด้านการเผยแผ่

พระธรรมกิตติวงศ์ ได้เขียนหนังสือและแต่งตำราเพื่อเผยแผ่พระธรรมจำนวนมากดังรายการผลงานเขียนของท่านข้างล่างนี้ นอกจากนี้พระธรรมกิตติวงศ์ยังได้อนุญาตให้นำศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนาและคำที่ใช้กับพระและวัดในหนังสือ "คำวัด" มาเผยแพร่ในอภิธานศัพท์พุทธศาสนาในวิกิพีเดียอีกด้วย

ตำแหน่งหน้าที่สำคัญ

หลังจากสอบได้เปรียญ 9 ประโยคแล้ว พระธรรมกิตติวงศ์ได้ปฏิบัติงานด้านการศาสนาในตำแหน่งต่างๆ มาเป็นลำดับ นอกจากตำแหน่งรองเจ้าอาวาสวัดราชโอรสารามดังกล่าวแล้วก็ได้เป็นเจ้าคณะภาค 16 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม เป็นเจ้าอาวาสวัดราชโอรสาราม เจ้าสำนักเรียนวัดราชโอรสาราม เป็นหัวหน้าคณะธรรมทูตสายที่ 8 เป็นผู้อำนวยการฝึกอบรมพระนักเทศน์ในหนกลางและหนใต้ นอกจากนี้ พระธรรมกิตติวงศ์ ยังเป็นผู้อุปถัมภ์สร้างวัดพุทธวิหาร นครเบอร์ลิน และวัดธรรมวิหาร เมืองฮันโนเวอร์ ประเทศเยอรมันอีกด้วย พระธรรมกิตติวงศ์ ได้ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งเป็นราชบัณฑิต สาขาวิชาตันติภาษา สำนักศิลปกรรม ราชบัณฑิตยสถานเมื่อ พ.ศ. 2539

สมณศักดิ์

หนังสือที่เขียน

  • สมณศักดิ์: ยศช้าง ขุนนางพระ
  • หลักการแต่งฉันท์ภาษามคธ
  • ธรรมสารทีปนี
  • คู่มือการศึกษาบาลี เล่ม 1-4
  • ข้อคิด ข้อเขียน
  • พระในบ้าน
  • ภาษาธรรม
  • คำวัด เล่ม 1-5
  • คำพ่อคำแม่
  • ภาษิตนิทัศน์
  • คนกินคน (หนังสือแปล)
  • หัวใจอมตะ (หนังสือแปล)
  • คลังธรรม เล่ม 1-3
  • ธรรมบทชีวิต

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น