ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เสาอโศก"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสจห.
Taweetham (คุย | ส่วนร่วม)
เสาพระเจ้าอโศกมหาราช ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น เสาอโศก: มีหลายบทความลิงค์มาที่เสาอโศก ไม่ใช�
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:33, 11 พฤษภาคม 2552

เสาพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เมืองเวศาลี
หัวเสาพระเจ้าอโศกมหาราช ที่เมืองเวศาลี

เสาพระเจ้าอโศกมหาราช (อังกฤษ: Pillars of Ashoka, ฮินดี: अशोक_स्तंभ) เป็นเสาหินโบราณที่สร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช พระมหาจักรพรรดิแห่งราชวงศ์เมารยะ ที่ปกครองอนุทวีปอินเดียในช่วงยุคพุทธศตวรรษที่ 4 พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างเสาหินทราย (ซึ่งต่อมาเรียกกันว่า "เสาอโศก") ขึ้นเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และเพื่อระบุสถานที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนา

เสาหินเหล่านี้สร้างโดยหินทรายจากเมืองจุณนา เมืองทางตอนเหนือของอินเดีย ซึ่งถือได้ว่ามีคุณภาพดีที่สุดในสมัยนั้น โดยเสาทุกเสาจะมีหัวสิงห์แกะสลักประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่องอาจดุจราชสีห์ และแผ่ไปไกลดุจเสียงแห่งราชสีห์ โดยตัวเสาจะมีคำจารึกถึงความสำคัญของสถานที่ตั้งเสาหรือประกาศพระบรมราชโองการของพระเจ้าอโศกมหาราช

เสาอโศกที่สมบูรณ์ที่สุดอยู่ที่เมืองอารามหลวงแห่งเจ้ามัลละในเมืองเวศาลี เมืองสำคัญในสมัยพุทธกาล แต่เสาอโศกต้นที่ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือ เสาอโศกที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี สถานที่พระพุทธเจ้าแสดงปฐมเทศนา เป็นเสาที่หักเป็นสี่ท่อน แต่ว่ารูปสลักรูปสิงห์สี่ทิศบนเสายังคงมีสภาพสมบูรณ์ ปัจจุบันรัฐบาลอินเดียได้นำรูปสลักที่เสานี้มาเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รูปพระธรรมจักร 24 ซี่ ได้ถูกนำไปประดิษฐานในธงชาติอินเดีย และข้อความที่จารึกไว้โดยพระเจ้าอโศกว่า "สตฺยเมว ชยเต" (คำแปล: ความจริงชนะทุกสิ่ง) ได้กลายมาเป็นคำขวัญประจำชาติอินเดียในปัจจุบัน

เดิมนั้น เสาอโศกมีอยู่ทั่วอาณาจักรของพระเจ้าอโศกมหาราช แต่ต่อมาได้ถูกทำลายลงทั้งจากมนุษย์และภัยธรรมชาติ คงเหลือเพียงไม่กี่ต้นเท่านั้นที่ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ในปัจจุบัน

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น