ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มหาปวารณา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Eq072 (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: {{พุทธศาสนา}} '''มหาปวารณา''' ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระศาสดาทรง…
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 14:43, 9 พฤษภาคม 2552

มหาปวารณา ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 พระศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำปวารณา คือ ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่้งกันและกัน หมายถึงยอมมอบตนให้สงฆ์กล่าวตักเตือน ในข้อบกพร่องที่ภิกษุทั้งหลายได้เห็นได้ยิน หรือมีข้อสงสัย ด้วขจิตเมตตา เพื่อจักได้สำรวมระวังปรับปรุงแก้ไขตนเอง เพื่อความเจริญของพระธรรมวินัยและความผาสุกในการอยู่ร่วมกัน

ความเป็นมาของวันมหาปวารณา

ภิกษุจำพรรษาในแคว้นโกศล ตั้งกติกาไม่พูดกัน ใช้วิธีบอกใบ้ หรือใช้มือแทนคำพูด เมื่อออกพรรษาแล้วไปเฝ้าพระศาสดา พระองค์ตรัสถาม ทรงติเตียน และทรงอนุญาตการปวารณา คือ การอนุญาตให้ภิกษุอื่นว่ากล่าวตักเตือนกันได้ กิกษุจำพรรรษาแล้วปวารณาด้วยเหตุ 3 ประการคือ

  1. โดยได้เห็น
  2. โดยได้ยิน ได้ฟัง
  3. โดยสงสัย

วิธีปวารณา

ภิกษุเถระพึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวปวารณา 3 ครั้งเพื่อให้ภิกษุนวกะกล่าวปรวารณาตอบ ภิกษุนวกะก็ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า นั่งกระโหย่งประคองอัญชลีแล้วกล่าวปวารณา 3 ครั้ง ต่อมา พระุพุทธองค์ทรงอนุญาให้นั่งกระโหย่งในระหว่างที่ยังปวารณา และทรงอนุญาตให้ภิกษุที่ปวารณาแล้วนั่งบนอาสนะ เพราะเคยมีภิกษุชราภาพนั่งกระโหย่งคอยนานจนเป็นลมล้มลง

ปวารณาสูตร พระศาสดาทรงปวารณาแก่หมู่สงฆ์

คราวหนึ่งในพระวิหารบุพพาราม กรุงสาวัตถี พระศาสดาประทับอยู่กับภิกษุสงฆ์ 500 รูป ล้วนเป็นพระอรหัตน์ในวันอุโบสถขึ้น 15 ค่ำเพื่อจะทรงทำปวารณา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแต่กเหล่าภิกษุนั้นว่า จะติเตียนการกระทำทางกาย ทางวาจาของพระองค์บ้างหรือไม่ พระสารีบุตรตอลปฏิเสธเพราะพระองค์ยังทางที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น จากนั้นพระสารีบุตรก็กล่าวปวารณาให้พระศาสดาติเ้ตียนท่าน พระผู้มีพระภาคเจ้ากล่าวปฏิเสธ เพราะพระสารีบุตรเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญามาก พระสารีบุตรทูลถามอีกว่า พระองค์จะไม่กล่าวติเตียนการกระทำทางกาย ทางวาจา ของเหล่าภิกษุบ้างหรือ พระองค์กล่าวปฏิเสธ เพราะเหล่าภิกษุได้บรรลุวิชชา 3 อภิญญา 6 ได้อุภโตภาควิมุตติ และได้ปัญญาวิมุติเป็นพระอรหัตน์

เหตุที่ทำให้เป็นคนว่ายากและว่าง่าย

อนุมานสูตร ธรรมที่ทำให้เป็นผู้ว่ายาก 16 ประการ

  1. เป็นผู้มีความปรารถนาลามก
  2. เป็นผู้ยกตนข่มผู้อื่น
  3. เป็นผู้มักโกรธ มีความโกรธครอบงำแล้ว
  4. เป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธ
  5. เป็นผู้มักโกรธ มักระแวง
  6. เป็นผู้มักโกรธ เปล่งวาจาใกล้ต่อความโกรธ
  7. เมื่อภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับโต้เถียงโจทก์
  8. เมื่อภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับรุกรานโจทก์
  9. เมื่อภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับเอาเรื่องอื่นมากลบเกลื่อนพูดนอกเรื่อง แสดงความโกรธ ความมุ่งร้าย ความไม่เชื่อฟังปรากฏ
  10. เมื่อภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง ไม่พอใจตอบในความประพฤติ
  11. เมื่อภิกษุผู้เป็นโจทก์ฟ้อง กลับปรักปรำโจทก์
  12. ภิกษุเป็นผู้ลบหลู่ ตีเสมอ
  13. ภิกษุเป็นผู้ริษยา ตระหนี่
  14. ภิกษุเป็นผู้โอ้อวด เจ้ามายา
  15. ภิกษุเป็นผู้กระด้าง ดูหมิ่นผู้อื่น
  16. ภิกษุเป็นผู้ถือแต่ความเห็นของตน ถือรั้นถอนได้ยาก