ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันเข้าพรรษา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Eq072 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Eq072 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 43: บรรทัด 43:
# ขอถวายผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่ภิกษุณีสงฆ์เพื่อปกปิดความไม่งามและไม่ให้ถูกเย้ยยัน
# ขอถวายผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่ภิกษุณีสงฆ์เพื่อปกปิดความไม่งามและไม่ให้ถูกเย้ยยัน
== เหตุการณ์สมัยพุทธกาล พระศาสดาเสด็จจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ==
== เหตุการณ์สมัยพุทธกาล พระศาสดาเสด็จจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ==
ในพรรษาที่ (นับแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา) ได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เมื่อพระศาสดาทรงกระทำยมกปาฎิหาริย์แล้ว ทรงรำพึงว่า จะจำพรรษาที่ไหน ทรงตรวจดูแล้วเห็นว่าพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายทำปาฎิหาริย์แล้วจำพรรษาในภพดาวดึงส์ พระศาสดาทรงจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะ ประทับนั่งท่ามกลางเทวบริษัท ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดเทพบุตรพุทธมารดา เมื่อทรงแสดงธรรมอยู่ ในเวลาภิกษาหาร ทรงนิรมิตพระพุทธนิมิตให้แสดงธรรมแทนพระองค์แล้วเสด็จไปบิณฑบาตที่อุตรกุรุทวีป เมื่อทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว เสด็จไปสู่เทวโลก ทรงแสดงธรรมเองต่อจากที่พระพุทธนิมิตแสดง โดยทรงแสดงธรรมทำนองนี้ตลอด 3 เดือน เมื่อจบพระธรรมเทศนา เทพบุตรพุทธมารดาได้สำเร็จโสดาปัตติผล ธรรมาภิสมัยมีแต่เทวดาแปดหมื่นโกฎิ
ในพรรษาที่ 7 (นับแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา) ได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เมื่อพระศาสดาทรงกระทำยมกปาฎิหาริย์แล้ว ทรงรำพึงว่า จะจำพรรษาที่ไหน ทรงตรวจดูแล้วเห็นว่าพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายทำปาฎิหาริย์แล้วจำพรรษาในภพดาวดึงส์ พระศาสดาทรงจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะ ประทับนั่งท่ามกลางเทวบริษัท ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดเทพบุตรพุทธมารดา เมื่อทรงแสดงธรรมอยู่ ในเวลาภิกษาหาร ทรงนิรมิตพระพุทธนิมิตให้แสดงธรรมแทนพระองค์แล้วเสด็จไปบิณฑบาตที่อุตรกุรุทวีป เมื่อทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว เสด็จไปสู่เทวโลก ทรงแสดงธรรมเองต่อจากที่พระพุทธนิมิตแสดง โดยทรงแสดงธรรมทำนองนี้ตลอด 3 เดือน เมื่อจบพระธรรมเทศนา เทพบุตรพุทธมารดาได้สำเร็จโสดาปัตติผล ธรรมาภิสมัยมีแต่เทวดาแปดหมื่นโกฎิ

== ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ ==
== ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ ==
# ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้[[ภิกษุ]]สงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
# ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้[[ภิกษุ]]สงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:58, 9 พฤษภาคม 2552

วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติดปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ("พรรษา" แปลว่า ฤดูฝน, "จำ" แปลว่า อยู่) พิธีเข้าพรรษานี้ถือเป็นศาสนพิธีสำหรับพระภิกษุโดยตรง ละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใดๆ ก็ตาม เริ่มนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน) และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา

วันเข้าพรรษาในปฏิทินสุริยคติ

อย่างไรก็ตาม บางประเทศที่นับถือพุทธศาสนาอาจกำหนดวันไม่ตรงกับของไทยในบางปี เนื่องจากประเทศเหล่านั้นอยู่ในตำแหน่งบนโลกที่ต่างไปจากประเทศไทย ทำให้วันเวลาคลาดเคลื่อนไป

ปี วันที่ วันที่ วันที่
ปีชวด 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2539 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
ปีฉลู 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2540 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ปีขาล 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2541 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ปีเถาะ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2542 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 2 สิงหาคม พ.ศ. 2566
ปีมะโรง 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2567
ปีมะเส็ง 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2568
ปีมะเมีย 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2545 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ???
ปีมะแม 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2546 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 ???
ปีวอก 1 สิงหาคม พ.ศ. 2547 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 ???
ปีระกา 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2560 ???
ปีจอ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2561 ???
ปีกุน 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 ???

ประวัติวันเข้าพรรษา

ในสมัยพุทธกาลนั้น พระพุทธเจ้าไม่ได้ทรงบัญญัติพระวินัยให้พระสงฆ์สาวกอยู่ประจำพรรษา เหล่าภิกษุสงฆ์จึงต่างพากันออกเดินทางเผยแผ่พระพุทธศาสนาในที่ต่างๆ โดยไม่ย่อท้อทั้งในฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน ต่อมาชาวบ้านได้พากันติเตียนว่า พวกสมณะไม่ยอมหยุดพักสัญจรแม้ในฤดูฝน ในขณะที่นักบวชในศาสนาอื่น พากันหยุดเดินทางในช่วงฤดูฝน การที่พระภิกษุสงฆ์จาริกไปในที่ต่างๆ แม้ในฤดูฝน อาจเหยียบย่ำข้าวกล้าของชาวบ้านได้รับความเสียหาย หรืออาจไปเหยียบย่ำโดนสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่ออกหากินจนถึงแก่ความตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทราบเรื่อง จึงได้วางระเบียบให้ภิกษุประจำอยู่ที่วัดเป็นเวลา 3 เดือน พระสงฆ์ที่เข้าจำพรรษาแล้วจะไปค้างแรมที่อื่นไม่ได้ แต่ถ้าหากเดินทางออกไปแล้วและไม่สามารถกลับมาในเวลาที่กำหนด คือ ก่อนรุ่งสว่าง ก็จะถือว่าพระภิกษุรูปนั้น"ขาดพรรษา"

แต่หากมีกรณีจำเป็นบางอย่าง พระภิกษุผู้จำพรรษาสามารถไปค้างที่อื่นได้ โดยไม่ถือว่าเป็นการขาดพรรษา แต่ก็จะต้องกลับมาภายในระยะเวลาไม่เกิน 7 วัน เรียกว่า "สัตตาหกรณียะ" เช่น

  1. การไปรักษาพยาบาล หาอาหารให้ภิกษุหรือบิดามารดาที่เจ็บป่วย เป็นต้น กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก ๕ และมารดาบิดา
  2. การไประงับภิกษุสามเณรที่อยากจะสึกมิให้สึกได้ กรณีนี้ทำได้กับสหธรรมิก ๕
  3. การไปเพื่อกิจธุระของคณะสงฆ์ เช่น การไปหาอุปกรณ์มาซ่อมกุฏิที่ชำรุด หรือ การไปทำสังฆกรรม เช่น สวดญัตติจตุตถกรรมวาจาให้พระผู้ต้องการอยู่ปริวาส เป็นต้น
  4. หากทายกนิมนต์ไปทำบุญ ก็ไปให้ทายกได้ให้ทาน รับศีล ฟังเทสนาธรรมได้ กรณีนี้หากโยมไม่มานิมนต์ ก็จะไปค้างไม่ได้.

ประเภทของการเข้าพรรษา

การเข้าพรรษาแบ่งได้เป็น 2 ประเภท[1] คือ

  1. ปุริมพรรษา (เขียนอีกอย่างว่า บุริมพรรษา) คือ การเข้าพรรษาแรก เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 (สำหรับปีอธิกมาส คือ มีเดือน 8 สองหน จะเริ่มในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 หลัง) จนถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หลังจากออกพรรษาแล้ว พระที่อยู่จำพรรษาครบ 3 เดือน ก็มีสิทธิที่จะรับกฐินซึ่งมีช่วงเวลาเพียงหนึ่งเดือน นับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12
  2. ปัจฉิมพรรษา คือ การเข้าพรรษาหลัง ใช้ในกรณีที่พระภิกษุต้องเดินทางไกลหรือมีเหตุสุดวิสัย ทำให้กลับมาเข้าพรรษาแรกในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ไม่ทัน ต้องรอไปเข้าพรรษาหลัง คือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 9 แล้วจะไปออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ซึ่งเป็นวันหมดเขตทอดกฐินพอดี ดังนั้นพระภิกษุที่เข้าปัจฉิมพรรษาจึงไม่มีโอกาสได้รับกฐิน แต่ก็ได้พรรษาเช่นเดียวกับพระที่เข้าปุริมพรรษาเหมือนกัน

เครื่องอัฏฐบริขารของภิกษุระหว่างการจำพรรษา

โดยปรกติเครื่องใช้สอยของพระภิกษุตามพุทธานุญาตที่ให้มีประจำตัวนั้น มีเพียง อัฏฐบริขาร ซึ่งได้แก่ สบง จีวร สังฆาฏิ เข็ม บาตร รัดประคด หม้อกรองน้ำ และมีดโกน แต่ช่วงหน้าฝนของการจำพรรษาในสมัยก่อนนั้น กว่าพระสงฆ์จะหาที่พักแรมได้ บางครั้งก็ถูกฝนเปียกปอน ชาวบ้านผู้ใจบุญจึงถวาย "ผ้าจำนำพรรษา" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยน และยังถวายของจำเป็นแก่กิจประจำวันเป็นพิเศษในช่วงเข้าพรรษา จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ความเป็นมาของการถวายผ้าอาบน้ำฝน

ครั้งหนึ่งสมัยพุทธกาล พระศาสดาประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร นางวิสาขาได้มาฟังธรรม แล้วทูลอาราธนาพระศาสดาและหมู่สงฆ์ไปฉันที่บ้านของนางในวันรุ่งขึ้น เช้าวันนั้น เกิดฝนตกครั้งใหญ่ ตกในทวีปทั้ง 4 พระศาสดารับสั่งให้ภิกษุทั้งหลายสรงสนานกาย นางวิสาขามหาอุบสิกาสั่งให้นางทาสีไปนิมนต์ภิกษุมารับภัตตาหารที่บ้านของตน เมื่อนางทาสีไปถึงที่วัดเห็นภิกษุเปลื้องผ้าสรงสนานกาย ก็เข้าใจว่า ในอารามมีแต่พวกชีเปลือยไม่มีภิกษุอยู่จึงกลับบ้าน ส่วนนางวิสาขานั้นเป็นสตรีที่ฉลาดรู้แจ้งในเหตุการณ์ทั้งปวง เมื่อได้โอกาสอันควรจึงทูลขอพร 8 ประการต่อพระศาสดา พระศาสดาทรงอนุญาตพร 8 ประการคือ

  1. ขอถวายผ้าวัสสิกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่พระสงฆ์เพื่อปกปิดความเปลือยกาย
  2. ขอถาวายภัตแต่พระอาคันตุกะ เนื่องจากพระอาคันตุกะไม่ชำนาญหนทาง
  3. ขอถวายคมิกภัตแกต่พระผู้เตรียมตัวเดินทาง เพื่อจะได้ไม่พลัดจากหมู่เกวียน
  4. ขอถวายคิลานภัตแก่พระอาพาธ เพื่อไม่ให้อาการอาพาธกำเริบ
  5. ขอถวายภัตแก่พระผู้พยาบาลพระอาพาธ เพื่อให้ท่านนำคิลานภัตไปถวายพระอาพาธได้ตามเวลา และพระผู้พยาบาลจะได้ไม่อดอาหาร
  6. ขอถวายคิลานเภสัชแก่พระอาพาธ เพื่อให้อาการอาพาธทุเลาลง
  7. ขอถวายยาคูเป็นประจำแก่สงฆ์
  8. ขอถวายผ้าอุทกสาฎก (ผ้าอาบน้ำ) แก่ภิกษุณีสงฆ์เพื่อปกปิดความไม่งามและไม่ให้ถูกเย้ยยัน

เหตุการณ์สมัยพุทธกาล พระศาสดาเสด็จจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์

ในพรรษาที่ 7 (นับแต่ตรัสรู้เป็นต้นมา) ได้เสด็จจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เมื่อพระศาสดาทรงกระทำยมกปาฎิหาริย์แล้ว ทรงรำพึงว่า จะจำพรรษาที่ไหน ทรงตรวจดูแล้วเห็นว่าพระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายทำปาฎิหาริย์แล้วจำพรรษาในภพดาวดึงส์ พระศาสดาทรงจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของท้าวสักกะ ประทับนั่งท่ามกลางเทวบริษัท ทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดเทพบุตรพุทธมารดา เมื่อทรงแสดงธรรมอยู่ ในเวลาภิกษาหาร ทรงนิรมิตพระพุทธนิมิตให้แสดงธรรมแทนพระองค์แล้วเสด็จไปบิณฑบาตที่อุตรกุรุทวีป เมื่อทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว เสด็จไปสู่เทวโลก ทรงแสดงธรรมเองต่อจากที่พระพุทธนิมิตแสดง โดยทรงแสดงธรรมทำนองนี้ตลอด 3 เดือน เมื่อจบพระธรรมเทศนา เทพบุตรพุทธมารดาได้สำเร็จโสดาปัตติผล ธรรมาภิสมัยมีแต่เทวดาแปดหมื่นโกฎิ

ประโยชน์ในการเข้าพรรษาของพระภิกษุ

  1. ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
  2. หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ก็เป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
  3. เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา
  4. เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
  5. เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา

การปฏิบัติตนในวันเข้าพรรษา

ไฟล์:Vajiralongkorn 06.jpg
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเจิมเทียนพรรษาและเครื่องประกอบ ที่จะนำไปถวายบูชาพระปฏิมายังพระอารามหลวงในฤดูพรรษากาล

แม้การเข้าพรรษาจะเป็นเรื่องของภิกษุ แต่พุทธศาสนิกชนก็ถือเป็นโอกาสดีที่จะได้ทำบุญ รักษาศีล และชำระจิตใจให้ผ่องใส ในวันนี้หรือก่อนวันนี้หนึ่งวัน พุทธศาสนิกชนมักจะจัดเครื่องสักการะเช่น ดอกไม้ ธูปเทียน เครื่องใช้ เช่น สบู่ ยาสีฟัน เป็นต้น มาถวายพระภิกษุ สามเณรที่ตนเคารพนับถือ หรือมีการช่วยพระทำความสะอาดเสนาสนะ ซ่อมแซมกุฏิวิหารและอื่นๆ พอถึงวันเข้าพรรษาก็จะไปร่วมทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ฟังธรรมและรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่างๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น

มีประเพณีที่สำคัญและสืบทอดกันเรื่อยมา ก็คือ ประเพณีหล่อเทียนพรรษา สำหรับให้พระภิกษุและพุทธศาสนิกชนทั่วไปได้จุดบูชาพระประธานในโบสถ์ซึ่งเทียนพรรษาสามารถอยู่ได้ตลอด 3 เดือน และเป็นกุศลทานอย่างหนึ่งในการให้ทานด้วยแสงสว่าง อีกทั้งมีการ "ประกวดเทียนพรรษา" ของแต่ละจังหวัดโดยจัดเป็นขบวนแห่ทั้งทางบกและทางน้ำ

กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา

ไฟล์:Tienpansa.gif
ประเพณีแห่เทียนพรรษา อุบลราชธานี
  1. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา
  2. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิกษุสามเณร
  3. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังพระธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล
  4. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ
  5. อยู่กับครอบครัว


การพูด

1.พูดจาไพรเพราะ 2.ไม่พูดโกหก 3.พูดอย่างนิ่มนวล

อ้างอิง

  1. ศ.พิเศษจำนงค์ ทองประเสริฐ, ปุริมพรรษา, อ้างอิงจากหน้าเว็บเมื่อ 2 กรกฎาคม 2549
  • ปัณณวัฒน์. ปฏิทิน 100 ปี พ.ศ. 2468-2568 คัมภีร์พยากรณ์คู่บ้าน. กรุงเทพฯ : ไพลิน, 2550. ISBN 974-455-535-1

ดูเพิ่ม

แหล่งข้อมูลอื่น