ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 32: บรรทัด 32:
*ที่ปรึกษาทางวิชาการ สำนักงาน[[แม่กองธรรมสนามหลวง]] ของคณะสงฆ์ไทย
*ที่ปรึกษาทางวิชาการ สำนักงาน[[แม่กองธรรมสนามหลวง]] ของคณะสงฆ์ไทย
*กรรมการอำนวยการ ประจำสำนักงานใหญ่[[องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก]]
*กรรมการอำนวยการ ประจำสำนักงานใหญ่[[องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก]]
*กรรมการมูลนิธิปุญญานุภาพ (อนุสรณ์ถึง อ.[[สุชีพ ปุญญานุภาพ]])
*กรรมการ[[มูลนิธิปุญญานุภาพ]] (อนุสรณ์ถึง อ.[[สุชีพ ปุญญานุภาพ]])


==เคยเป็น==
==เคยเป็น==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 09:16, 3 กรกฎาคม 2549

ประวัติการศึกษา

ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ สำเร็จเปรียญ ๙ ประโยค ขณะเป็นสามเณร ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เป็น นาคหลวง รูปแรกของ วัดบวรนิเวศวิหาร, สำเร็จการศึกษาศาสนศาสตรบัณฑิต (สาขาภาษาและวรรรณคดีอังกฤษ) เกียรตินิยม ได้ที่ 1 ในคณะมนุษยศาสตร์ จากมหามกุฏราชวิทยาลัย หลังจากขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตลาสิกขา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกได้ทรงสนับสนุนให้ศึกษาต่อโดยประทานทุนส่วนพระองค์จาก นิธิน้อย คชวัตร ซึ่งเป็นทุนการศึกษาที่ทรงตั้งเพื่อศิษยานุศิษย์ของพระองค์ที่มีอาจาระดีงาม อนุสรณ์ถึงโยมมารดาของพระองค์ จนสำเร็จอักษร ศาสตรมหาบัณฑิต สาขาสันสกฤต-บาลีจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างศึกษา ได้ทุนคะแนนเยี่ยม ภาษาสันสกฤตในนามนิสิตจุฬาฯ จาก มูลนิธิคีตาศรม ประเทศไทย


จากนั้น สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ ได้ทรงสนับสนุนทุนการศึกษาให้นายปฐมพงษ์ศึกษาต่อในประเทศอังกฤษ จนสำเร็จ ปริญญาโทด้าน วรรณคดีสันสกฤต ของ พระพุทธศาสนา มหายาน และของ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู จากวิทยาลัยบูรพคดีศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน (School of Oriental and African Studies (SOAS), University of London) และจบปริญญาเอกจากคณะบูรพคดีศึกษา (Faculty of Oriental Studies) สถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด(Oxford University) ประเทศอังกฤษ โดยสังกัด วิทยาลัยเซนต์แอนส์ (St Anne's College)

ระหว่างเรียนหนังสือในอ๊อกซฟอร์ด มี ศ.ดร.ริชาร์ด ฟรานซิส กอมบริช (Prof Dr Richard Francis Gombrich) ผู้ก่อตั้ง ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษาในอ๊อกซฟอร์ด และ ดร.เจมส์ เบนสัน (James Benson) ผู้ชำนาญ อัษฏาธยายี ของ อ๊อกซฟอร์ด เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ วิชาที่ศึกษาในอ๊อกซฟอร์ดคือภาษาพระเวท, อัษฏาธยายี ของ ปาณินิ, ภาษาอเวสตะ, ภาษาเปอร์เซียโบราณ และ นิรุกติศาสตร์เปรียบเทียบ (Comparative philology) ระหว่างศึกษาได้ทุนโบเดนประจำสถาบันตะวันออกของอ๊อกซฟอร์ด และทุนอื่นๆ ในอ๊อกซฟอร์ด เพื่อไปทำวิจัยเพิ่มเติมที่ ภาควิชาสันสกฤตและอินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสหรัฐอเมริกาและ มหาวิทยาลัยปารีส ในฝรั่งเศส

คนไทยรุ่นก่อนๆ ที่เคยเรียน ภาษาบาลี และ สันสกฤต ที่ สถาบันตะวันออก มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ได้แก่ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์วรรณไวทยากร), กรมพระจันทบุรีนฤนาถ, หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ฯลฯ แต่ ดร.ปฐมพงษ์เป็นคนไทยคนแรก ที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก

หน้าที่การงานในปัจจุบัน

เคยเป็น

  • คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์มติชน ปีพ.ศ. 2537
  • คอลัมนิสต์หนังสือพิมพ์สยามรัฐ ปีพ.ศ. 2547
  • บรรณาธิการ WFB Review ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก แทนอาจารย์ศิริ พุทธศุกร์
  • ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ คณะกรรมาธิการ การศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฏร (รัฐบาล ฯพณฯ ชวน หลีกภัย)

ผลงานหนังสือและบทความ

  • ศิลปะในการแปลภาษาบาลี. กรุงเทพฯ: มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย .
  • ประวัติภาษาบาลี: ความเป็นมา และที่สัมพันธ์กับภาษาปรากฤตและสันสกฤต . กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
  • บาลี-สันสกฤตวิชาการ (บรรณาธิการ). รวมบทความนักบาลีและสันสกฤตร่วมสมัย มูลนิธิมหามกุฏ ฯ จัดพิมพ์เนื่องในวันประสูติสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆ ปริณายก และเนื่องในวาระครบรอบ 100 ปี แห่งการสถาปนามหามกุฏราชวิทยาลัย
  • ภาษาและภาษาศาสตร์ในบาลีและสันสกฤต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย .
  • "การศึกษาของสงฆ์ในอดีต (ตั้งแต่สมัย พุทธกาลจนถึงรัชกาลที่ 4)." ใน 100 ปี มหามกุฏราชวิทยาลัย 2436 - 2536. กรุงเทพฯ : มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย , 2536, pp. 409-425
  • "ความหมายดั้งเดิมของอาตมัน (อัตตา) ในอินเดีย." นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ 84 ปีที่ 85 ฉบับที่ 5 กุมภาพันธ์ 2544, pp. 64-71.
  • "ภิกษุณีและสามเณรีในประเทศไทย: ทางตันและทางออก." นิตยสารธรรมจักษุ พฤศจิกายน 2545 (ภาคที่หนึ่ง ) และธันวาคม 2545 (ภาคที่สอง ).
  • Nine Lectures in Buddhism (ed.). A Collection of Articles from an International Conference held by the World Fellowship of Buddhists at Thammasat Univertsity in honour of H.M. King of Thailand on his 60 th Birthday Anniversay. Bangkok: The World Fellowsip of Buddhists.

บทความบางส่วนของดร.ปฐมพงษ์ทางอินเตอร์เน็ต