ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ประเทศกัมพูชา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Xqbot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: ug:كامبوجا; cosmetic changes
ท่านเคาทน์ (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 62: บรรทัด 62:
= อาณาจักรขะแมร์ =
= อาณาจักรขะแมร์ =
อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน [1] มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ บางส่วนของประเทศไทย ลาว และเวียดนามบางส่วนในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา
อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน [1] มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ บางส่วนของประเทศไทย ลาว และเวียดนามบางส่วนในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา
== ยุคมืดของกัมพูชา ==
== '''ยุคมืดของกัมพูชา''' ==
ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรขแมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรขแมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรขแมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา ขเมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดน ประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองขเมรเป็นเวลาเกือบ400ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงคราม[[อานามสยามยุทธ]]ทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรขแมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรขแมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรขแมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา ขเมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดน ประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองขเมรเป็นเวลาเกือบ400ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงคราม[[อานามสยามยุทธ]]ทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา
=== สมัยอาณานิคมฝรั่งเศส ===
=== สมัยอาณานิคมฝรั่งเศส ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 16:57, 26 เมษายน 2552

ราชอาณาจักรกัมพูชา


Preăh Réachéanachâkr Kâmpŭchea
เปรียะ เรียเจียนาจักร กัมปุเจีย
Royaume du Cambodge
รัวโยม ดู กองโบดช์
คำขวัญ
(ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์)
ที่ตั้งของกัมพูชา
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
พนมเปญ
ภาษาราชการภาษาเขมร1
การปกครองราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุนเซน
เอกราช
2.5%
ประชากร
• ก.ค. 2548 ประมาณ
14,071,000 (63)
• สำมะโนประชากร 2541
11,437,656
จีดีพี (อำนาจซื้อ) 2548 (ประมาณ)
• รวม
30,650 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (98)
2,000 ดอลลาร์สหรัฐ (178)
เอชดีไอ (2547)0.571
ปานกลาง · 130
สกุลเงินเรียล 2 (KHR)
เขตเวลาUTC+7
• ฤดูร้อน (เวลาออมแสง)
UTC+7
รหัสโทรศัพท์855
โดเมนบนสุด.kh
1ผู้ที่ได้รับการศึกษาส่วนใหญ่รู้ภาษาฝรั่งเศสและภาษาอังกฤษ
2เป็นหน่วยเงินท้องถิ่น แม้ดอลลาร์สหรัฐจะใช้กันในวงกว้าง

กัมพูชา หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรกัมพูชา (ภาษาเขมร:) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีพรมแดนทางทิศใต้จรดกับอ่าวไทย ทางทิศตะวันตกติดกับประเทศไทย ทางทิศเหนือติดกับประเทศไทยและลาว ทางทิศตะวันออกติดกับเวียดนาม กัมพูชาเป็นอดีตประเทศอาณานิคมของฝรั่งเศสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพียงแค่ประเทศเดียวเท่านั้นที่มีการปกครองด้วยระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ

ประวัติศาสตร์

จากการพิสูจน์อายุโดยคาร์บอน 14 ที่ถ้ำกบาลสเปียนทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา บอกได้ว่า ผู้คนที่รู้จักทำหม้อดินอาศัยอยู่ในถ้ำนี้ตั้งแต่ 4200 ปี ก่อนคริสตกาล อีกถ้ำหนึ่งใกล้ทะเล มีผู้คนอาศัยอยู่ราวพันปีหลังจากนั้น ซึ่งพอจะสรุปได้ว่ามีผู้คนเข้ามาอาศัยในดินแดนนี้นานก่อนหน้านั้นแล้ว มีผู้พบหลักฐานเก่าแก่ไปกว่านั้นคือ วัฒนธรรมการใช้เครื่องมือหินกรวดทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กะโหลกศีรษะ กระดูกพบที่สำโรงเซน อายุราว 1502 ปีก่อนคริสตกาล ชี้ให้เห็นว่าผู้คนในยุคก่อนประวัติศาสตร์มีความละม้ายคล้ายคลึง กับชาวกัมพูชาในปัจจุบันซึ่งมีการผสมสายเลือดกับชาวจีนและเวียดนาม

อาณาจักรขะแมร์

อาณาจักรขอม เป็นหนึ่งในอาณาจักรโบราณ เริ่มต้นขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ 6 โดยเริ่มจากอาณาจักรฟูนัน [1] มีที่ตั้งอยู่ในบริเวณประเทศกัมพูชา โดยมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ บางส่วนของประเทศไทย ลาว และเวียดนามบางส่วนในปัจจุบัน นับเป็นอาณาจักรที่มีแสนยานุภาพมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต่อมาได้อ่อนกำลังลงจนเสียดินแดนบางส่วนให้กับอาณาจักรสุโขทัยและแตกสลายในที่สุดเมื่อตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรอยุธยา

ยุคมืดของกัมพูชา

ยุคมืดของกัมพูชา เริ่มตั้งแต่อาณาจักรอยุธยาได้โจมตีอาณาจักรขแมร และ ได้เผา พระนคร เมืองหลวงของอาณาจักรขแมร ราบเป็นหน้ากลอง ทำให้อาณาจักรขแมรเป็นส่วนหนึ่งของสยามประเทศตั้งแต่บัดนั้นมา ขเมรเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรอยุธยาในฐานะดินแดน ประเทศราช อาณาจักรอยุธยาปกครองขเมรเป็นเวลาเกือบ400ปี ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์เขมรตกอยู่ภายใต้การควบคุมของจักรวรรดิสยามอย่างเข้มงวด ในสมัยรัชกาลที่3 ได้เกิด สงครามอานามสยามยุทธทำให้กัมพูชาเป็นรัฐอารักขาระหว่างสยามกับญวณ ก่อนที่จะตกเป็นของฝรั่งเศสในเวลาต่อมา

สมัยอาณานิคมฝรั่งเศส

กัมพูชาเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสมาตั้งแต่พ.ศ. 2406 ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองกัมพูชาไว้ แล้วปลดผู้ปกครองกัมพูชาที่เป็นชาวฝรั่งเศสและผู้นิยมฝรั่งเศสออกไป เมื่อสงครามโลกครั่งที่ 2 ยุติลง ฝรั่งเศสได้ขับไล่ญี่ปุ่นออกจากกัมพูชาเป็นฝ่ายชนะสงคราม กัมพูชาจึงต้องตกเป็นของฝรั่งเศสอีกครั้งหนึ่ง ต่อมาฝรั่งเศสมีภาระการต่อสู้ติดพันกับนักชาตินิยมในเวียดนาม จึงต้องหาทางประนีประนอมกับกัมพูชา โดยได้จัดทำสนธิสัญญาขึ้นเพื่อเปลี่ยนสภาพจากการที่กัมพูชาเป็นเมืองขึ้นมาเป็นรัฐในอารักขาแห่งเครือจักรภพของฝรั่งเศสในระยะที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ฝรั่งเศสได้เจ้าสีหนุเป็นกษัตริย์ปกครองกัมพูชา เมื่อญี่ปุ่นยึดกัมพูชาได้ จึงให้เจ้าสีหนุประกาศเอกราชเป็นอิสระจากฝรั่งเศส แต่เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสจึงกลับเข้ามามีอำนาจในกัมพูชาเหมือนเดิม

ประกาศเอกราช

ใน พ.ศ. 2490 กัมพูชาจึงได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญและจัดให้มีการเลือกตั้ง โดยเจ้าสีหนุประกาศยุบสภา ประกาศใช้กฎอัยการศึกและทำการปกครองกัมพูชาโดยตรงและได้เรียกร้องเอกราชจากฝรั่งเศส ซึ่งขณะนั่นที่ฝรั่งเศสกำลังเป็นฝ่ายเสียเปรียบในสงครามกับเวียดนามที่เดียนเบียนฟู ฝรั่งเศสจึงยอมให้เอกราชแก่กัมพูชาตามคำเรียกร้องของเจ้าสีหนุ และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2497 กัมพูชา จึงได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ตามข้อตกลงในสนธิสัญญาเจนีวาพร้อม ๆ กับลาว และเวียดนาม

การเมือง

สภาพการเมืองในกัมพูชาปัจจุบันถือว่ามีเสถียรภาพ พรรคการเมืองสองพรรคหลักซึ่งประกอบขึ้นเป็นรัฐบาลกัมพูชา คือ พรรคประชาชนกัมพูชา (CPP) ของสมเด็จฮุน เซน และพรรคฟุนซินเปค (FUNCINPEC) ของสมเด็จกรมพระนโรดม รณฤทธิ์ สามารถร่วมมือกันได้อย่างราบรื่น ทั้งในด้านบริหารและด้านนิติบัญญัติ รวมทั้งมีท่าทีที่สอดคล้องกันเป็นส่วนใหญ่ในประเด็นทางการเมืองสำคัญๆ ของประเทศ อาทิ เรื่องการนำตัวอดีตผู้นำเขมรแดงมาพิพากษาโทษ เป็นต้น

กลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลยังไม่มีความเข้มแข็งมากพอ และคงสามารถทำได้เพียงแต่สร้างผลกระทบทางลบต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาล โดยในทางการเมือง พรรคสม รังสี พรรคการเมืองฝ่ายค้านหนึ่งเดียวในสภาแห่งชาติกัมพูชา ได้เคลื่อนไหวตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลกัมพูชาอย่างแข็งขัน พยายามชี้ให้สาธารณชนและนานาชาติ เห็นถึงการทุจริตและประพฤติมิชอบของรัฐบาล รวมทั้งการใช้อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ส่วนตนและของพรรค อย่างไรก็ดี ในด้านความมั่นคง มีปรากฏการณ์ใหม่ คือ ได้เกิดกลุ่มติดอาวุธที่มีวัตถุประสงค์จะโค่นล้มรัฐบาลของสมเด็จฮุน เซน ที่สำคัญคือ Cambodian Freedom Fighters (CFF) ซึ่งมีชาวกัมพูชาสัญชาติอเมริกันเป็นหัวหน้า กลุ่มดังกล่าวได้ก่อการร้ายขึ้นในกรุงพนมเปญเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 แต่รัฐบาลกัมพูชาสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้ และอยู่ระหว่างกระบวนการพิพากษาตัวผู้กระทำผิด

การสืบราชสันตติวงศ์

ไม่เหมือนกับระบบกษัตริย์ส่วนใหญ่ในประเทศอื่นๆ ระบบกษัตริย์ของกัมพูชา ไม่เสมอไปที่ราชบัลลังก์จะตกไปสู่ผู้มีลำดับการสืบราชสันตติวงศ์ลำดับถัดไป ( ผู้ที่มีศักดิ์สูงสุดในราชวงศ์ หรือลูกคนโตของกษัตริย์องค์ก่อน เป็นต้น) และพระมหากษัตริย์ ไม่สามารถเลือกผู้ที่จะมาสืบราชสันตติวงศ์ได้ด้วยตัวเอง แต่ผู้ที่มีสิทธิ์ในการเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่นั้นคือ ราชสภาเพื่อคัดเลือกผู้ที่จะได้รับการสืบราชสันตติวงศ์ [Literally: ราชสภาเพื่อราชบัลลังก์] (Royal Council of the Throne) ซึ่งมีสมาชิกดังนี้ ๑). ประธานสภารัฐสภา แห่งราชอาณาจักรกัมพูชา (Radhsaphea ney Preah Reacheanachak Kampuchea: รัฐสเภียะ เนะ เพรียะ เรียะชอาณาจักร กัมปูเชีย) ๒). นายกรัฐมนตรี ๓).พระสังฆราช ศาสนาพุทธมหานิกาย ๔). พระสังฆราช ศาสนาพุทธ ธรรมยุตินิกาย ๕). รองประธานรัฐสภาคนที่หนึ่ง และ ๖).รองประธานสภาคนที่สอง ราชสภาจะจัดการประชุมในสัปดาห์ที่พระมหากษัตริย์ สวรรคตหรือ ไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้ต่อไป และเลือกพระมหากษัตริย์องค์ใหม่จากรายชื่อผู้มีสิทธิ์สืบราชสันตติวงศ์ และเป็นสมาชิกราชวงศ์

การแบ่งเขตการปกครอง

ประเทศกัมพูชาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 20 จังหวัด (เขต: provinces; khet) และ 4 เทศบาล* (กรุง: municipalities; krung)

ชื่อ เมืองเอก พื้นที่ (km²) ประชากร
(ปี 2541)
1. บันทายมีชัย / บันเตียเมียนเจย (Banteay Meanchey) เมืองศรีโสภณ 6,679 577,772
2. พระตะบอง (Battambang) เมืองพระตะบอง 11,702 793,129
3. กำปงจาม / ก็อมปวงจาม (Kampong Cham) เมืองกำปงจาม 9,799 1,608,914
4. กำปงชนัง / ก็อมปวงชนัง (Kampong Chhnang) เมืองกำปงชนัง 5,421 417,693
5. กำปงสปือ / ก็อมปวงสปือ (Kampong Speu) เมืองกำปงสปือ 7,017 598,882
6. กำปงธม / ก็อมปวงต็วม (Kampong Thom) เมืองกำปงธม 13,814 569,060
7. กำปอด / กำโพธิ (Kampot) เมืองกำโพธิ 4,873 528,405
8. กันดาล / ก็อนดาล (Kandal) เมืองท่าเขมา 3,568 1,075,125
9. เกาะกง (Koh Kong) กรุงเกาะกง 11,160 132,106
10. แกบ* (Kep) - 336 28,660
11. กระแจะ (Kratié) เมืองกระแจะ 11,094 263,175
12. มณฑลคีรี / ม็อนด็อลกิรี (Mondulkiri) เมืองแสนมโนรมย์ 14,228 32,407
13. โอดดาร์เมียนเจีย / อุดรมีชัย (Oddar Meancheay) เมืองสำโรง 6,158 68,279
14. ไพลิน* (Pailin) - 803 22,906
15. พนมเปญ / พนุมเป็ญ* (Phnom Penh) - 376 2,009,264
16. สีหนุวิลล์ / กรุงพระสีหนุ / กำปงโสม* (Sihanoukville, Kampong Som) - 868 235,190
17. พระวิหาร / เปรียะฮ์วิเหียร์ฺ (Preah Vihear) เมืองพนมตะเบงเมียนเจีย 13,788 119,261
18. โพธิสัตว์ / โพธิ์ซัด (Pursat) เมืองโพธิสัตว์ 12,692 360,445
19. เปรยแวง (Prey Veng) เมืองเปรยแวง 4,883 946,042
20. รัตนคีรี (Ratanakiri) เมืองบ้านลุง 10,782 94,243
21. เสียมเรียบ (Siem Reap) เมืองเสียมเรียบ 10,299 696,164
22. สตึงแตรง (Stung Treng) เมืองสตรึงแตรง 11,092 81,074
23. สวายเรียง (Svay Rieng) เมืองสวายเรียง 2,966 478,252
24. ตาแก้ว (Takéo) เมืองตาแก้ว 3,563 790,168

ภูมิประเทศ

กัมพูชา มีลักษณะภูมิประเทศคล้ายชามหรืออ่าง คือ ตรงกลางเป็นแอ่งทะเลสาบและลุ่มแม่น้ำโขงอันกว้างขวาง มีภูเขาล้อมรอบอยู่ 3 ด้าน ได้แก่

  • ด้านตะวันออกมีแนวเทือกเขาอันนัมที่เป็นพรมแดนกับประเทศเวียดนาม
  • ด้านเหนือและตะวันตกเฉียงเหนือมีแนวเทือกเขาพนมดงรักที่เป็นพรมแดนกับประเทศไทย
  • ด้านใต้และตะวันตกใต้มีแนวเทือกเขาบรรทัดที่เป็นแนวพรมแดนกับประเทศไทย

เฉพาะด้านตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้นที่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำโขง

แม่น้ำ/ทะเลสาบสำคัญ

  1. แม่น้ำโขง ไหลจากลาวเข้าสู่ภาคเหนือของกัมพูชาแล้วไหลผ่านเข้าเขตเวียดนาม มีความยาวในเขตกัมพูชารวม 500 กิโลเมตร
  2. แม่น้ำทะเลสาบ เชื่อมระหว่างแม่น้ำโขงกับทะเลสาบ ความยาว 130 กิโลเมตร
  3. แม่น้ำบาสัก (Bassac) เชื่อมต่อกับแม่น้ำทะเลสาบที่หน้าพระมหาราชวัง กรุงพนมเปญ ความยาว 80 กิโลเมตร
  4. ทะเลสาบโตนเลสาบ อยู่ห่างจากกรุงพนมเปญประมาณ 100 กิโลเมตร ฤดูน้ำหลากน้ำท่วมถึง 7,500 ตารางกิโลเมตร ลึกถึง 10 เมตร โตนเลสาบครอบคลุมพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กำปงธม กำปงซะนัง โพธิสัตว์ พระตะบอง และเสียมเรียบ ในโตนเลสาบมีปลาชุกชุมกว่า 300 ชนิด

ภูเขา

ยอดเขาสูงที่สุดของกัมพูชาคือ พนมอาออรัล สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 1,813 เมตรทิศเหนือของกัมพูชามีเขตแดนติดกับประเทศไทยระยะทางยาว 750 กิโลเมตร ติดกับจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ สระแก้ว จันทบุรี ตราด โดยมีเทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาบรรทัดกั้น

ป่าไม้

กัมพูชาเป็นประเทศที่มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์มากที่สุดหากเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน ปัจจุบันป่าไม้ลดลงอย่างมากหลังจากที่รัฐบาลเปิดให้สัมปทานป่ากับบริษัทเอกชนจากประเทศ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และญี่ปุ่น

ภูมิอากาศ

  • มีอากาศมรสุมเขตร้อนเป็นแบบร้อนชื้นแถบมรสุม ฤดูฝนเริ่มจากเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม

ฤดูแล้ง เริ่มจากเดือนพฤศจิกายน-เมษายน เดือนเมษายนมีอุณหภูมิสูงสุดที่สุด เดือนมกราคมมีอุณหภูมิต่ำที่สุด เดือนตุลาคมมีฝนตกชุกที่สุด

เศรษฐกิจ

  1. เกษตรกรรม อยู่บริเวณที่ราบภาคกลาง รอบทะเลสาบเขมร พืชที่สำคัญคือ ข้าวเจ้า ยางพารา พริกไทย
  2. การประมง บริเวณรอบทะเลสาบเขมร เป็นแหล่งประมงน้ำจืดที่สำคัญที่สุดในภูมิภาค
  3. การทำป่าไม้ บริเวณเขตภูเขาทางภาคเหนือ โดยล่องมาตามแม่น้ำโขง
  4. การทำเหมืองแร่ ยังไม่ค่อยสำคัญ
  5. อุตสาหกรรม เป็นอุตสาหกรรมขนาดย่อม ส่วนใหญ่เป็นโรงสีข้าว โรงเลื่อย รองเท้า

ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสังคมนิยมเป็นระบอบประชาธิปไตย และหลังจากสงครามภายใน ประเทศกัมพูชาเริ่มสงบลง และเริ่มพัฒนาฟื้นฟูบูรณะประเทศ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการเพิ่มมากขึ้น จึงเปิดโอกาสให้ ประเทศทำการค้าขายกับต่างประเทศมากยิ่งขึ้น กัมพูชาจึงกำหนดนโยบายที่มุ่งหวังการพัฒนาศักยภาพทางการเกษตร การท่องเที่ยว และส่งเสริมให้มีการลงทุนจากต่างชาติ โดยกำหนดยุทธการต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้ของรัฐและได้ดำเนินมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การปรับปรุงกฎหมายด้านเศรษฐกิจ การเพิ่มสิทธิประโยชน์แก่นักลงทุนต่างประเทศ การปฏิรูประบบจัดเก็บภาษีเงินได้ และเร่งรัดพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐานทางเศรษฐกิจ เช่น สนามบิน ถนน ไฟฟ้า ประปา และสาธารณูปโภคต่างๆ เป็นต้น ภายใต้ความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย และ UNDP รวมทั้งประเทศที่ให้ความช่วยเหลืออื่นๆ

แต่การพัฒนาเศรษฐกิจของกัมพูชาได้เติบโตอย่างช้าๆ โดยเฉพาะในช่วงปี 2540-2541 กัมพูชาต้องเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย และความขัดแย้งทางการเมืองภายในประเทศ ส่งผลให้นักลงทุนต่างประเทศถอนตัวออกจากประเทศกัมพูชา ส่งผลให้การฟื้นฟูบูรณะและการพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างล่าช้า แต่หลังจากปี 2542 สถานการณ์การเมืองกัมพูชาเริ่มมีความมั่นคงพอสมควร และนับเป็นปีแรกที่กัมพูชามีสันติภาพอย่างแท้จริง เพราะปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองภายในหมดไป ปัจจุบัน กัมพูชากำลังพัฒนาตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (ตุลาคม 2543 - กันยายน 2548) ทั้งนี้เพื่อให้อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ในเกณฑ์ร้อยละ 6-7 ต่อปี ภาวะเศรษฐกิจของกัมพูชาในอดีตที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ดังนี้

สินค้าเกษตรกรรมถือว่าเป็นแหล่งรายได้หลักของประเทศประมาณร้อยละ 43 ของ GDP มาจากข้าวและปศุสัตว์ ส่วนการประมงและป่าไม้มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 สินค้าเกษตรที่ส่งออกได้แก่ข้าว ไม้ และยางพารา รองลงมาได้แก่ ข้าวโพด ถั่วเหลือง สัตว์มีชีวิต ผลไม้ และปลา เป็นต้น ทั่วไปกัมพูชามีสินค้าส่งออกที่สำคัญได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม ไม้ ยางพารา ข้าว และปลา สินค้านำเข้าที่สำคัญได้แก่ผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง บุหรี่ ทอง วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักรและเครื่องยนต์

เศรษฐกิจกัมพูชาในปี 2546 คาดการณ์โดย The Economist Intelligence Unit (EIU) มีการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงเหลือ 5.0 % และ International Monetary Fund (IMF) คาดว่าเศรษฐกิจขยายตัว 4.7 % เทียบกับที่ขยายตัวราว 5.5 % ในปี 2545 ปัจจัยสำคัญที่บั่นทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของกัมพูชา ได้แก่ รายได้จากภาคการท่องเที่ยวที่ลดลง เนื่องจากเกิดเหตุการณ์การก่อความไม่สงบ โดยมีการเผาสถานทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ เกิดปัญหาการระบาดของโรคทางเดินหายใจ เฉียบพลันรุนแรง (SARS) ประกอบกับสถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมืองในกัมพูชา (หลังการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2546 ที่ผ่านมา) ทำให้นักท่องเที่ยวไม่มั่นใจในความปลอดภัยและ ปัญหาการเมืองที่ยังคงไร้เสถียรภาพ ทำให้นักลงทุนต่างชาติขาดความเชื่อมั่นในการเข้าไปลงทุนในกัมพูชา ถึงแม้ว่าวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2546 สภาแห่งชาติของกัมพูชา (The National Assembly) ได้อนุมัติการออกกฎหมายการลงทุนฉบับใหม่ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายการลงทุนฉบับลงวันที่ 5 สิงหาคม 2534 (Law on the Amendment to the Law on Investment of the Kingdom of Cambodia) เพื่อเอื้อสิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนแก่นักลงทุนต่างชาติ ส่วนภาคธุรกิจก่อสร้างยังคงอยู่ในภาวะซบเซา

ปี 2547 EIU และ IMF คาดว่าเศรษฐกิจกัมพูชาจะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 5.5 % - 5.8 % ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่รัฐบาลกัมพูชาคาดว่าจะขยายตัวสูงถึง 5.5 % - 6.0 % เนื่องจากรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ประกอบกับเมื่อเดือนธันวาคม 2546 รัฐบาลสหรัฐอเมริกาประกาศเพิ่มโควตานำเข้าสิ่งทอสำหรับปี 2547 ให้กัมพูชาเพิ่มขึ้นอีก 14 % ซึ่งคาดว่าจะทำให้กัมพูชามีรายได้จากการส่งออกเสื้อผ้าสำเร็จรูปไปสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น และภาคธุรกิจก่อสร้างเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และจากการที่กัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิก ใหม่ของ WTO อย่างสมบูรณ์เมื่อเดือนตุลาคม 2547 ทำให้กัมพูชามีพันธกรณีที่ต้องเร่งปรับปรุงกฎหมายด้านการลงทุนให้ได้มาตรฐานสากล ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นและเข้าไปลงทุนในกัมพูชาเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการย้ายฐานการผลิตเข้าไปตั้งโรงงานผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปในกัมพูชาเพื่อส่งออก เนื่องจากกัมพูชายังมีอัตราค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ ทางด้านอัตราเงินเฟ้อ EIU และ IMF คาดว่าปี 2547 กัมพูชาจะมีอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 3.1 % - 3.5 % จากอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยราว 1.3 % - 2.6 % ในปี 2546 เนื่องจากราคาอาหารในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลก (ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย, 2547)

ประชากร

จำนวนประชากร
14,071,000 (ก.ค. 2548)
เชื้อชาติ
ชาวเขมร 90% ชาวญวน 4% ชาวจีน 3 % อื่นๆ เช่นชาวไทย ดูเพิ่มได้ที่ไทยเกาะกง ชาวลาว ชาวจาม ชาวจะราย ชาวระแดว์ ชาวเสตียง ชาวเมฺรญ และชาวเปือร์ 3% เป็นต้น
ภาษา
ภาษาเขมรเป็นภาษาราชการ ส่วนภาษาที่ใช้โดยทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเวียดนาม ภาษาไทย และภาษาจีน
ศาสนา
รัฐธรรมนูญกัมพูชาบัญญัติให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะมีผู้นับถือพระพุทธศาสนา 95% ศาสนาอิสลาม 3% ศาสนาคริสต์ 1.7% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.3%

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA แม่แบบ:Link FA