ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านลอมกลาง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 54: บรรทัด 54:
'''บ้านลอมกลาง''' หรือในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย''' เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาว[[ไทลื้อ]] ที่อพยพมาจากเมือง[[เชียงลาบ]] ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามสภาพของภูมิศาสตร์คือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำบั่ว ซึ่งกำเนิดมาจากยอดดอยภูคาประกอบกับในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ตามประวัติ พงศวดารน่าน และพื้นเมืองเชียงแสนจากจารึกวัดป่าสัก อ.เชียงแสนได้กล่าวไว้ว่า
'''บ้านลอมกลาง''' หรือในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย''' เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาว[[ไทลื้อ]] ที่อพยพมาจากเมือง[[เชียงลาบ]] ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามสภาพของภูมิศาสตร์คือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำบั่ว ซึ่งกำเนิดมาจากยอดดอยภูคาประกอบกับในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ตามประวัติ พงศวดารน่าน และพื้นเมืองเชียงแสนจากจารึกวัดป่าสัก อ.เชียงแสนได้กล่าวไว้ว่า


ปี พ.ศ. 2101 เชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ส่วนหัวเมืองสิบสองปันนาตอนล่างนั้นพม่าสั่งให้เจ้าเมืองเชียงแขงรวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งอยู่แถบชายแดนจีนทางสิบสองปันนาเข้าพม่า ได้แก่เมืองยอง เชียงลาบ บ้านยู้ เมืองหลวงตลอดจนถึงเมืองอูในลาวตอนบนให้ขึ้นไปกับเมืองเชียงแสน ในขณะที่ตำนานเมืองยอง ได้กล่าวถึงสมัยพระยาสุทโธธัมมราช กษัตริย์พม่าลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์ตองอูได้มอบหมายให้พระยาแสนสุรินทร์ทาพรหมราชเจ้าเมืองยองดูแลหัวเมืองต่างๆรวม 12 หัวเมืองได้แก่ เมืองยู้ เมืองหลวย เชียงแข เมืองวะ เมืองกาย เมืองเลน เมืองติน เมืองสาด เมืองพระยาก เมืองปะแลว เชียงลาบและเชียงทอง เมืองยองในสมันนี้จึงอยู่ศูนย์กลางในฐานะอำนาจย่อยของพม่าทางตะวันออก
ปี พ.ศ. 2101 ตรงกับสมัยเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ส่วนหัวเมืองสิบสองปันนาตอนล่างนั้นพม่าสั่งให้เจ้าเมืองเชียงแขง (ตามจารึกพื้นเมืองเชียงแสน วัดป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เจ้าเมืองเชียงแขงก็คือเจ้าหลวงเชียงลาบนั่นเอง) รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งอยู่แถบชายแดนจีนทางสิบสองปันนาเข้าพม่า ได้แก่เมืองยอง เชียงลาบ บ้านยู้ เมืองหลวงตลอดจนถึงเมืองอูในลาวตอนบนให้ขึ้นไปกับเมืองเชียงแสน โดยเชียงลาบได้ถูกรวบเป็นหัวเมืองสำคัญทางทิศเหนือ
ในขณะที่ตำนานเมืองยอง ได้กล่าวถึงสมัยพระยาสุทโธธัมมราช กษัตริย์พม่าลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์ตองอูได้มอบหมายให้พระยาแสนสุรินทร์ทาพรหมราชเจ้าเมืองยองดูแลหัวเมืองต่างๆรวม 12 หัวเมืองได้แก่ เมืองยู้ เมืองหลวย เชียงแข เมืองวะ เมืองกาย เมืองเลน เมืองติน เมืองสาด เมืองพระยาก เมืองปะแลว เชียงลาบและเชียงทอง เมืองยองในสมันนี้จึงอยู่ศูนย์กลางในฐานะอำนาจย่อยของพม่าทางตะวันออก


ปี พ.ศ. 2347 กองทัพหลวงจากกรุงเทพ ฯ พร้อมด้วยกองทัพจากเชียงใหม่ นครลำปาง น่าน และเวียงจันทน์ ได้ยกไปตีเชียงแสน ตั้งล้อมอยู่สองเดือนจึงยึดเชียงแสนไว้ได้ เจ้ากาวิละสั่งให้รื้อกำแพงเมือง และทำลายเมืองไม่ให้ใช้เป็นที่มั่นของข้าศึกได้อีกต่อไป แล้วอพยพครอบครัวชาวเชียงแสนลงมาประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน แบ่งออกเป็นห้าส่วน ส่งลงไปกรุงเทพ ฯ ส่วนหนึ่งซึ่งต่อมาได้ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่เหลือส่งไปอยู่ที่เวียงจันทน์ น่าน เชียงใหม่ และนครลำปาง
ปี พ.ศ. 2347 กองทัพหลวงจากกรุงเทพ ฯ พร้อมด้วยกองทัพจากเชียงใหม่ นครลำปาง น่าน และเวียงจันทน์ ได้ยกไปตีเชียงแสน ตั้งล้อมอยู่สองเดือนจึงยึดเชียงแสนไว้ได้ เจ้ากาวิละสั่งให้รื้อกำแพงเมือง และทำลายเมืองไม่ให้ใช้เป็นที่มั่นของข้าศึกได้อีกต่อไป แล้วอพยพครอบครัวชาวเชียงแสนลงมาประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน แบ่งออกเป็นห้าส่วน ส่งลงไปกรุงเทพ ฯ ส่วนหนึ่งซึ่งต่อมาได้ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่เหลือส่งไปอยู่ที่เวียงจันทน์ น่าน เชียงใหม่ และนครลำปาง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 15:28, 24 เมษายน 2552

บ้านลอมกลาง อยู่ในจังหวัดน่าน

บ้านลอมกลาง
คือเมืองย่างสมัยพญาภูคา บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน
คือเมืองย่าง บนยอดดอยม่อนหลวง
ที่ตั้ง ทางหลวงแผ่นดิน 1170 หลักกิโลเมตรที่ 12 เขตบริการองค์การบริหารส่วนตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ 55140
แผนที่ [1]



กลุ่มชาติพันธุ์ ไทลื้อ
ภาษา ไทลื้อ ,คำเมือง
จำนวนหลังคาเรือน 97 หลังคาเรือน
จำนวนประชากร 311 คน แยกเป็นชาย 147 คน หญิง 164 คน

สภาพทางภูมิศาสตร์

บ้านลอมกลาง หมู่ 3 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ 55140 เป็นชุมชนชองชาวไทลื้อ ที่อพยพมาจากเมืองเชียงลาบ (ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ อำเภอเชียงลาบ จังหวัดท่าขี้เหล็ก รัฐฉาน ประเทศพม่า) บ้านลอมกลางตั้งอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลยม เนื้อที่ของหมู่บ้านจำนวน 2500 ไร่ จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 97 ครัวเรือน ตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1170 หลักกิโลเมตรที่ 12 (ถนนท่าวังผา-ศิลาเพชร) สภาพเป็นเนินภูเขา อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างลำน้ำบั่วและแม่น้ำย่าง ทางด้านทิศเหนือเป็นภูเขาสูงโอบล้อมอยู่เป็นที่ตั้งของดอยม่อนหลวง และดอยม่อนหีโง จรดไปถึงลำน้ำหมู บ้านนานิคม และข้ามไปถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ จรดห้วยช้างสั่น บ้านป่ากลาง อ.ปัว และบ้านน้ำฮาว ทิศใต้เป็นเนินที่ราบเรียกว่าทุ่งฆ้อง และที่ราบสูงบ้านเสี้ยวโดยมีแม่น้ำย่างกั้นระหว่างบ้านเสี้ยวกับบ้านลอมกลาง ทางทิศเหนือห่างจากหมู่บ้าน 2 กม.เป็นดอยภูคา ทิศตะวันตกเป็นเนินลงลำน้ำบั่วกั้นระหว่างบ้านสบบั่วกับบ้านลอมกลาง

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับบ้านนานิคม หมู่ 10 ต.ยม และบ้านป่ากลาง ต.ป่ากลาง อำเภอปัว

ทิศใต้ ติดกับบ้านเสี้ยว

ทิศตะวันออก ติดกับบ้านทุ่งฆ้อง และบ้านเชียงยืน

ทิศตะวันตก ติดกับบ้านสบบั่ว

ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน

ไฟล์:ผีเฮือน.jpg
หอผีบรรพบุรุษชาวเมืองเชียงลาบ บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

บ้านลอมกลาง หรือในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ของชาวไทลื้อ ที่อพยพมาจากเมืองเชียงลาบ ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามสภาพของภูมิศาสตร์คือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำบั่ว ซึ่งกำเนิดมาจากยอดดอยภูคาประกอบกับในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ตามประวัติ พงศวดารน่าน และพื้นเมืองเชียงแสนจากจารึกวัดป่าสัก อ.เชียงแสนได้กล่าวไว้ว่า

ปี พ.ศ. 2101 ตรงกับสมัยเมืองเชียงใหม่ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่า ส่วนหัวเมืองสิบสองปันนาตอนล่างนั้นพม่าสั่งให้เจ้าเมืองเชียงแขง (ตามจารึกพื้นเมืองเชียงแสน วัดป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย เจ้าเมืองเชียงแขงก็คือเจ้าหลวงเชียงลาบนั่นเอง) รวบรวมหัวเมืองต่าง ๆ ซึ่งอยู่แถบชายแดนจีนทางสิบสองปันนาเข้าพม่า ได้แก่เมืองยอง เชียงลาบ บ้านยู้ เมืองหลวงตลอดจนถึงเมืองอูในลาวตอนบนให้ขึ้นไปกับเมืองเชียงแสน โดยเชียงลาบได้ถูกรวบเป็นหัวเมืองสำคัญทางทิศเหนือ

ในขณะที่ตำนานเมืองยอง ได้กล่าวถึงสมัยพระยาสุทโธธัมมราช กษัตริย์พม่าลำดับที่ 5 แห่งราชวงศ์ตองอูได้มอบหมายให้พระยาแสนสุรินทร์ทาพรหมราชเจ้าเมืองยองดูแลหัวเมืองต่างๆรวม 12 หัวเมืองได้แก่ เมืองยู้ เมืองหลวย เชียงแข เมืองวะ เมืองกาย เมืองเลน เมืองติน เมืองสาด เมืองพระยาก เมืองปะแลว เชียงลาบและเชียงทอง เมืองยองในสมันนี้จึงอยู่ศูนย์กลางในฐานะอำนาจย่อยของพม่าทางตะวันออก

ปี พ.ศ. 2347 กองทัพหลวงจากกรุงเทพ ฯ พร้อมด้วยกองทัพจากเชียงใหม่ นครลำปาง น่าน และเวียงจันทน์ ได้ยกไปตีเชียงแสน ตั้งล้อมอยู่สองเดือนจึงยึดเชียงแสนไว้ได้ เจ้ากาวิละสั่งให้รื้อกำแพงเมือง และทำลายเมืองไม่ให้ใช้เป็นที่มั่นของข้าศึกได้อีกต่อไป แล้วอพยพครอบครัวชาวเชียงแสนลงมาประมาณ ๒๐,๐๐๐ คน แบ่งออกเป็นห้าส่วน ส่งลงไปกรุงเทพ ฯ ส่วนหนึ่งซึ่งต่อมาได้ไปตั้งถิ่นฐานที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี ที่เหลือส่งไปอยู่ที่เวียงจันทน์ น่าน เชียงใหม่ และนครลำปาง

ความดีความชอบในครั้งนี้ เจ้ากาวิละได้รับสถาปนาเป็น พระเจ้าเชียงใหม่ มีฐานะเป็นเจ้าประเทศราช หลังจากตีเมืองเชียงแสนได้แล้ว กองทัพของล้านนาไทย ประกอบด้วย เชียงใหม่ นครลำปาง แพร่ เมืองเถิน น่าน รวมทัพกองทัพจากล้านช้างได้แก่ หลวงพระบาง และเวียงจันทน์ได้ร่วมกันยกไปตีเมืองยอง เมืองลื้อ เมืองเขิน เมืองเชียงตุง เมืองเชียงรุ้ง เมืองเชียงแขง ตลอดจนบรรดาหัวเมืองต่าง ๆ แถบไทยใหญ่ ลื้อ เขิน เข้ามาเป็นข้าขอบขัณสีมาของกรุงรัตนโกสินทร์ ทำให้ราชอาณาจักรไทยแผ่ออกไปอย่างกว้างขวางใหญ่ไพศาล ยิ่งกว่าครั้งใด ๆ นับแต่นั้นมา หัวเมืองล้านนาไทยทั้งปวงก็ปลอดภัยจากการรุกรานของพม่า

นับแต่เมืองเชียงลาบ ไปสุดเมืองเชียงแขง เมืองล้า เมืองพง เมืองมาง เมืองภูคา เมืองเทิง เมืองเลน ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเมืองน่าน ในฐานนะหัวเมืองขึ้น หลังจากเมืองน่านได้ปกครองหัวเมืองลื้อต่าง ๆ ดังจารึกบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า

“...เจ้าผู้ครองนครเมืองน่านจัดการเขตแดน ทำสงครามยุทธนาการมีชัยจับตัวเจ้าเมืองเชียงแขง ณ ที่บ้านยู้ เมืองหลวย ได้กวาดคนครอบครัวลงมาไว้ยังนคร-เมืองน่าน...และยังได้กวาดครอบครัวในหัวเมืองขึ้นเมืองเชียงแขงที่ใกล้เคียง คือ เมืองแฮะ เมืองหลวย เมืองวะ เมืองขัน เมืองเชียงขาง เมืองสิง เมืองนัง เมืองกาง เมืองลอง เมือง-ลาบ มาไว้ที่เมืองน่านด้วย...”

ก่อตั้งหมู่บ้านนั้นเกิดเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2345 ในครั้งนั้นเกิดวิกฤติ ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากสงครามในสิบสองปันนาสงบลง เจ้าอัตถวรปัญโญ ได้เดินทางกลับมาถึงเมืองน่าน ครั้นกลับมาถึงเมืองน่านได้เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ที่เมืองย่าง (ตำบลศิลาเพชร ในปัจจุบัน) และเมืองยม (ตำบลยม ตำบลจอมพระในปัจจุบัน)อีกทั้งผู้คนได้ล้มตายเป็นจำนวนมาก เมืองยมแทบไม่เหลือผู้คนอยู่ อีกทั้งแสนปั๋น เจ้าเมืองย่างได้เสียชีวิต ทำให้ตำแหน่งเจ้าเมืองย่าง ว่างลง ครั้นนั้นเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน จึงได้เดินทางมาตรวจดูสถานการณ์น้ำท่วม และพิจารณาโปรดให้อพยพ ชาวไทลื้อที่ติดตามมาจากเมืองยอง เมืองเชียงลาบ เมืองเชียงแขง เมืองยู้ เข้ามาตั้งบ้านเรือนที่ริมแม่น้ำย่าง และแม่น้ำบั่ว เขตเมืองยม ส่วนของลูกหลานของพญาเชียงลาบ จำนวน 5 ครอบครัว ได้ขอตั้งบ้านเรือนบริเวณฝั่งทิศเหนือของลุ่มลำน้ำบั่วบริเวณใกล้กับวัดร้าง โดยทางการให้จัดการปกครองหมู่บ้านให้ขึ้นกับบ้านเชียงยืนชึ่งเป็นชาวไทยเขินโดยมีพ่อแสนปัญญาชาวไทเขินเป็นผู้ปกครองชุมชนทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้าน จำนวน 3 หมู่บ้าน แต่ในด้านศาสนกิจ นั้นชาวบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยได้ปฏิบัติร่วมกับบ้านทุ่งฆ้องซึ่งเป็นชาวไทลื้อด้วยกันและมีวัดตั้งวัดอยู่บริเวณลุ่มน้ำย่าง โดยมีครูบาธรรมชัย เป็นผู้สร้าง และเป็นเจ้าอาวาส ส่วนพระประธานนั้นพระนางตุมมา (ปทุมมา)เป็นผู้สร้าง บริเวณฝั่งขวาที่เป็นเนินสูงนั้นที่ชาวบ้านเรียกว่าสันจ้าง (สันช้าง) มีพระธาตุเก่าแก่อยู่ เรียกว่าพระธาตุจอมพริก และมีต้นพริกสูงใหญ่ อายุหลายร้อยปี ปลูกทิ้งไว้ด้านข้างกับพระธาตุจอมพริก

ครั้นตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบล้วนแต่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบจึงได้อัญเชิญผีบรรพบุรุษ และผีเจ้าเมืองเชียงลาบ และผีนักรบต่าง ๆ ของเมืองเชียงลาบ ให้มาสถิตย์อยู่ที่ศาลประจำหมู่บ้านบริเวณฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของหมู่บ้านติดฝั่งลำน้ำบั่ว และมีพิธีบวงสรวงทุกเดือนสี่ เดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ และในหมู่บ้านยังมีการทำพิธีทรงผีเจ้าหลวงเชียงลาบ ปัจจุบันพิธีกรรมบางส่วนได้สูญหายไปแล้ว

ราวปี 2490 จากคำบอกเล่าของแก่ในหมู่บ้านลักษณะของชุมชนบ้านน้ำบั่วป่ากล้วย ซึ่งตั้งบ้านเรือนริมสองฝั่งน้ำบั่ว ปัจจุบันคือบริเวณ สะพานน้ำบั่วทางไปบ้านนานิคม ทิศเหนือมีจำนวน 11 หลังคาเรือนติด ๆ กัน และทิศใต้ของน้ำบั่วมี 4-5 หลังคาเรือน รอบ ๆ หมู่บ้านมีแต่ป่า เต็มไปด้วยต้นไม้ใหญ่ และ ด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ระหว่างบ้านน้ำบั่วป่ากล้วย กับบ้านเชียงยืน มีป่ากระท้อน และป่าขนุนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีซากวัดร้าง สองถึงสามวัด ติด ๆ กัน บริเวณวัดร้างมีเครื่องเคลือบลายคราม และเครื่องปั้นดินเผาเป็นจำนวนมาก ปัจจุบันยังมีให้เห็นอยู่เป็นจำนวนมาก บริเวณสวนมะขามของพ่อหนานสมบุรณ์ คำแสน

ชุมชนบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยในสมัยนั้นยังเป็นชุมชนสังคมแบบเครือญาติ โดยการปกครองแบบพ่อปกครองลูก เพราะในหมู่บ้านล้วนเกี่ยวพันด้านสายเลือดเดียวกันหมด โดยผู้ที่อาวุโสสูงสุดในหมู่บ้านจะเป็นผู้ปกครอง พึ่งพาตนเองเป็นหลัก นาน ๆ ถึงจะมีการติดต่อกับทางการสักที โดยผ่านหมู่บ้านเชียงยืน อีกทั้งในหมู่บ้านนั้นเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ทางการจึงมิได้แต่งตั้งใครในหมู่บ้านเป็นหัวหน้าในการปกครอง จนถึงสมัยของพ่อหนานประสงค์ สุยะตา จึงได้แต่งตั้งนายหนานเลิศ สุภาแก้ว เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านเชียงยืน ทำหน้าที่ปกครองหมู่บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย

ปี พ.ศ. 2500 นายสมบูรณ์ คำแสน ได้ไปเลี้ยงวัว บริเวณนาฮั้ง หัวบ้านสบบั่ว ได้เห็นรถของทางการได้ตัดถนนผ่าน จึงได้ไปสอบถาม และได้รับคำตอบว่า ทางการกำลังจะนำความเจริญมาสู่ที่นี่ จึงเกิดความคิดที่จะย้ายบ้านมาอยู่ที่นี่ และได้ตัดสินใจซื้อที่นาบริเวณนาลอมกลาง ซึ่งเป็นนาฮั้ง ทำนาไม่ได้ผลจากเจ้าของที่เดิมในราคา 50 บาท แล้วจึงย้ายบ้านจากบ้านน้ำบั่วป่ากล้วย ไปปลูกบ้านใหม่ในบริเวณดังกล่าวเพื่อปลูกผักปลูกไม้ไว้กิน

ปี พ.ศ. 2503 นายรัตน์ เขยตุ้ย ได้ย้ายบ้านจากบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยตามมาอยู่ที่นาลอมกลางกับ หลังจากนั้นก็มี นายศรีนวล ขันทะตันตามมา

ปี พ.ศ. 2516 พ่อหลวงน้อยคำ ไชยปรุง ได้ซื้อที่ดินบริเวณนาลอมกลาง ได้เป็นจำนวนมาก จึงได้ย้ายบ้านจากบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยมาตั้งที่นาลอมกลางในตอนสาย พร้อมกับประกาศบอกลูกหลานทั้งหมู่บ้านน้ำบั่วป่ากล้วยทุกหลังคาเรือนย้ายให้ย้ายบ้านเรือน ไปตั้งหมู่บ้านใหม่ที่นาลอมกลางโดยจะจัดสรรที่ดินให้ลูกหลานทุกหลังคาเรือน ในครั้งนั้นชาวบ้านให้นายสมบูรณ์ คำแสนเป็นหัวหน้าปกครองหมู่บ้านลอมกลาง

ปี พ.ศ. 2522 สมัยของ นายพยูร มีทองคำ เป็นนายอำเภอท่าวังผา ได้แจ้งประกาศจากทางราชการ ให้ตั้งหมู่บ้านลอมกลาง แยกออกจาหมู่บ้านเชียงยืนโดยให้มีผู้ใหญ่บ้านปกครองหมู่บ้านได้โดยตรง ในครั้งนั้นชาวบ้านลอมกลางได้ยกมือเลือกคือ นายสายคำ เขยตุ้ย เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก

ปี พ.ศ. 2526 สมัยนายวิเชียร ไชยปรุง ชาวบ้านลอมกลางทะเลาะกับบ้านทุ่งฆ้อง จึงประกาศขอแยกวัดทุ่งฆ้อง มาสร้างวัดใหม่ในสวนมะม่วง ของพ่อหลวงน้อยคำ ไชยปรุง พร้อมกับนิมนต์สามเณรที่เป็นลูกหลานคนในหมู่บ้านลอมกลาง ให้ย้ายมาอยู่อารามชั่วคราวบ้านลอมกลาง โดยสร้างเป็นอารามชั่วคราว ชื่อว่า อารามลอมกลาง โดย มีหลวงพ่อผัด ขฺนติพโล เป็นเจ้าอารามรูปแรก

ปี พ.ศ. 2535 สมัยนายอินปั๋น เขยตุ้ย ชาวบ้านลอมกลางได้ร่วมกันสร้างพระประธาน โดยใช้ช่างปั้นจากบ้านพร้าว ต.ยม และได้รับความอุปถัมป์จากหลวงพ่อศรีลัย อภากโร วัดถ้ำผาหลัก ต.ยอด กิ่ง อ. สองแคว จ.น่าน เป็นเรี่ยวแรงสำคัญในการกระทำพิธี โดยใช้เงินหมันมาทำเป็นหัวใจและเครื่องในต่าง ๆ ตามคติความเชื่อของชาวไทลื้อเพื่อบรรจุในพระพุทธรูป อีกทั้งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 3 องค์

ปี พ.ศ. 2536 ทำพิธีบวชพระเจ้า (พิธีพุทธาภิเษกพระประธาน) (วันที่ 25-28 เมษายน)พราหมณ์(หมอสู่ขวัญพระเจ้า) ได้ทำพิธีบายสีสู่ขวัญพระเจ้าหลวงเพื่อทำพิธีสู่ขวัญนาคพระพุทธรูป หลังจากนั้นหลวงพ่อพระครูนันทกิจโสภณ (พระครูไปล่) วัดเชียงยืน หลวงพ่อศรีลัย อภากรโร วัดถ้ำผาหลัก หลวงพ่ออินเหรียญ จริยธฺมโม พร้อมกับพระสงฆ์ 9 รูป บวชเณรพระพุทธรูป และทำพิธีอุปสมบทพระพุทธรูป และทำพิธีเบิกเนตรและพุทธาภิเษก สวดมงคลคาถาตลอดสามวันสามคืน และทำพิธีพุทธาพิเษกต้นศรีมหาโพธิ์ภาย อีกทั้งมีคณะแม่ชี จากวัดถ้ำผาหลักมาช่วยงานกวนข้าวทิพย์และงานพุทธาภิเศก ในงานครั้งนี้ถือว่าเป็นความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวบ้านลอมกลาง และชาวบ้านถ้ำผาหลัก โดยมีหลวงพ่อศรีลัย อภากโร เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทลื้อทั้งสองหมู่บ้าน

รายนามลำดับผู้ปกครองชุมชน

  • การปกครองสมัยบ้านเชียงยืน

1. พ่อแสนปัญญา ชาวไทเขินบ้านเชียงยืน

2. พ่อแสนหลวงนัยธรรม (พ.ศ. 2395)

3. หลวงสุริยะ (พ.ศ. 2420)

4. พ่อหนานอิ่นเมือง (พ.ศ. 2450)

5. พ่อหนานบุญสงค์ สุยะตา (พ.ศ. 2474) สมัยพ่อบุญสงค์เป็นผู้ปกครองมีหมู่บ้านอยู่สามหมู่บ้าน คือน้ำบั่ววัด น้ำบั่วใต้ และน้ำบั่วป่ากล้วย อยู่ต่อมาบ้านน้ำบั่วใต้ก็ยุบไป แล้วมีหมู่บ้านเกิดขึ้นแถมบ้านหนึ่ง คือบ้านหนองเตา สามหมู่บ้านนี้อยู่ในเขตการดูแลของพ่อบุญสงค์ทั้งหมด สมัยนี้นายเลิศ สุภาแก้ว ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ทำหน้าที่ปกครองบ้านน้ำบั่วป่ากล้วยและติดต่อราชการกับบ้านเชียงยืน

6.พ่อน้อยคำ เมฆยะ (พ.ศ. 2505 ) สมัยพ่อน้อยคำเป็นผู้ใหญ่ก็มีการแบ่งหมู่บ้าน ทางราชการกำหนดให้ บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย แยกการปกครองเป็นอีก 1 หมู่บ้านโดยตั้งพ่อหนานสายคำ เขยตุ้ย เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน

  • บ้านลอมกลาง

1. พ่อหลวงหนานสายคำ เขยตุ้ย

2. พ่อหลวงหนานสมบูรณ์ เขยตุ้ย

3. พ่อหลวงน้อยคำ ไชยปรุง

4. พ่อหนานอินวาท อิผัด

หลังนั้นบ้านลอมกลางก็มีผู้ปกครองหมู่บ้านตามที่ทางราชการแต่งตั้งมาเรื่อย ๆ จนมาถึง ปี พ.ศ. 2526 สมัยของ นายวิเชียร ไชยปรุง ชาวบ้านลอมกลางเกิดความขัดแย้งในการปฏิบัติพุทธศาสนากับหมู่บ้านทุ่งฆ้อง ครั้งนั้นชาวบ้านจึงได้มีมติขอแยกวัดทุ่งฆ้องมาตั้งวัดขึ้นมาใหม่ ครั้งนั้นพ่อหลวงน้อยคำ และแม่หลวงขันคำ ไชยปรุง จึงได้บริจาคสวนมะม่วง เพื่อตั้งวัดลอมกลาง อีกทั้งสองเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างศาสนสถานขึ้นในชุมชน

ภาษา ศาสนาและความเชื่อ

สำเนียงภาษาลื้อ

สำเนียงภาษาชาวลื้อเมืองเชียงลาบ เป็นสำเนียงภาษาเดียวกับภาษาเชียงรุ่ง เหมือนกับภาษาชาวไทยอง (ลื้อเมืองยอง) ตัวอักษรของชาวไทลื้อคล้ายกับภาษาของชาวไทเขิน ซึ่งต่างจากอักษรล้านนา ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบนับถือพุทธศาสนา และนับถือผีบรรพบุรุษและผีต่าง ๆ

การนับถือพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา นับถือนิกายเถรวาท ประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมชาวเชียงลาบ การยอมรับนับถือพุทธศาสนานั้นชาวเชียงลาบได้รับการเผยแพร่มาจากเชียงแสน และพม่า


การนับถือผี

ข้อห้ามสำหรับแขก หรือบุคคลที่ไม่ได้นับถือบรรพบุรุษเดียวกันคือ ห้ามบุคคลที่นับถือผีต่างกันหรือแขกที่มาเยี่ยมเข้าไปห้องนอนของเจ้าบ้านโดยเด็ดขาด เพราะห้องนอนจะเป็นที่สถิตย์ของผีครูและผีเรือน

    • ผีเจ้าเมือง คือผีเจ้าหลวงเชียงลาบ และพระมหาเทวีเจ้า และนักรบโบราณต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ดูแลปกปักรักษาบ้าน เมือง เสื้อเมือง ซึ่งผู้ทำหน้าที่ติดต่อผีเรียกว่า เข้าจ้ำ ซึ่งจะเป็นผู้ชาย และจะต้องทำพิธีบวงสรวงด้วยหมูสีดำสนิท และต้องเป็นตัวที่ไม่มีที่ติ ถูกต้องตามลักษณะ ตามตำราของหมอผี การบวงสรวงจะกระทำปีละสองครั้ง คือเดือนสี่และเดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ หากมีเหตุการณ์ไม่ปกติ ต้องบวงสรวงด้วยวัว ควาย หมู เป็ด ไก่

ข้อห้ามคือ ห้ามผู้หญิงเข้าเขตบวงสรวง นี้โดยเด็ดขาด

    • ผีเรือน ซึ่งมีทั้งผีเรือนฝ่ายพ่อ และฝ่ายแม่ การสืบผีนั้นผู้หญิงจะทำหน้าที่สืบผีเรือน คือต้องทำหน้าที่ต่อกับผีเซ่นไหว้ไม่ให้ขาด การบวงสรวงผีเรือนจะกระทำหลังจากบวงสรวงผีเจ้าเมือง การบวงสรวงจะบวงสรวงด้วยไก่สีดำ และไข่ไก่ ฝ้าย เทียนเหลือง หรือขี้ผึ้ง ผู้หญิงจะเป็นคนกระทำ
    • ผีเตาไฟ และผีหม้อนึ้ง มีหน้าที่ดูแลรักษาบ้านเรือนไม่ให้เกิดไฟไหม้ และอาหารเป็นพิษ อันจะทำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ตรวจตราว่าเกิดสิ่งร้ายอันใดขึ้นกับบุคคลในครอบครัวและผู้อื่น กล่าวคือ เมื่อมีคนไม่สบายในบ้านเรือน เข้าจ้ำจะทำพิธีหาสาเหตุโดยเสี่ยงทายจากหม้อนึ้ง
    • การทรงผีหม้อนึ้ง ผู้ทำหน้าที่ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นและจะต้องสืบทางสายเลือด เมื่อมีการทรงนั้นจะนำน้ำเต้าและไหข้าวมาผูกกับไม้คานให้เป็นรูปคน เขียนหูเขียนตา จมูก ใส่เสื้อผ้า แล้วนำข้าวสารใส่กระด้ง ก่อนการทรงผีนั้นจะให้ชาวบ้านพิสูจน์ก่อนคือให้ลองยกไหข้าวก่อนว่าน้ำหนักเบา เมื่อมีการทรงแล้วไหข้าวจะมีน้ำหนักมาก จนต้องใช้คนถึงสองคนช่วยกันยก ไปบริเวณพิธีที่มีกระด้งอยุ่ เมื่อไปถึงกระด้งผีหม้อนึ่งจะเขียนตัวหนังสือเป็นภาษาไทลื้อ ซึ่งจะมีล่ามคือคนแก่อ่านให้ฟัง หรือใครที่อ่านออกก้ออ่านได้เลย จากนั้นก้อจะทำพิธีเสี่ยงทายเรื่องต่าง ๆ แล้วแต่ใครอยากรู้เรื่องอะไร แต่ส่วนใหญ่ถามเรื่องอาการเจ็บป่วย หากคนเจ็บป่วยนั้นจะต้องตายแน่ ๆ ผีหม้อนึ้งจะวาดเป็นรูปโลงศพ แล้วโกยข้าวสารกลบรูปโลงศพ ซึ่งการเสี่ยงทายนั้นจะตรงกับความจริงเสมอ (การทำพิธีนี้นาน ๆ อาจสิบปีจะมีสักครั้งหรือสองครั้ง)
    • ผีก๊ะผีห่า คือผีไม่มีญาติ หรือสังภเวสีต่าง ๆ ที่คอยมารังควานทำร้ายชาวบ้าน เมื่อเจ็บป่วยหมอจะทำพิธีเสี่ยงทายและจะให้นำของไปเซ่นไหว้ ตามที่ผลเสี่ยงทายออกมา
    • ผีครู คือผีครูบาอาจารย์ ซึ่งมีหน้าที่ปกปักรักษาศิษย์ ผู้เรียนคาถาเวทมนตร์ต่าง ๆ

ความเชื่อเรื่องอื่น ๆ

    • ห้ามต้มไข่ ลาบเป็ด แกงหอย เลี้ยงแขกหรือผู้มาเยือน กรณี แขกมาบ้านแล้วถูกเจ้าบ้านต้มไข่ให้กิน แสดงว่า เจ้าบ้านไม่ชอบแขกคนนั้น หรือ แสดงถึงการขับไล่แขกออกจากบ้าน
    • ห้ามวางไม้กวาด หน้าบันไดบ้าน หรือห้ามกวาดบ้านตอนแขกเข้าบ้าน ถ้ากวาดบ้านแสดงว่าไม่ต้องการให้แขกเข้าบ้าน
    • ห้ามหญิงชาย (วัยหนุ่มสาว) ที่ยังไม่แต่งงานถูกเนื้อต้องตัว หรือ อยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน หรือก่อนทำพิธีไขว่ผีประจำตระกูล
    • ห้ามตัดต้นไม้ใหญ่ หรือเอาต้นไม้จากป่าช้า หรือบริเวณหอผี เข้ามาในหมู่บ้าน
    • วันเสียผี (วันเผาศพคนในหมู่บ้าน)ห้ามขนไม้ หรือสิ่งของเข้ามาในหมู่บ้านโดยเด็ดขาด
    • ห้ามตากผ้าถุง รองเท้า ไว้ที่สูงกว่าศีรษะ
    • ห้ามผู้ญิงมีประจำเดือนเข้าวัด
    • ห้ามผู้หญิง เข้าเขตพัทสีมา หรือเขตสงฆ์ สถูป เจดีย์ หรือกุฏิพระสงฆ์

ประเพณีของชาวลื้อเมืองเชียงลาบ

  • ป๋างสี่ป๋างแปด ตรงกับเดือนสี่ และเดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ คือพิธีบวชสรวงดวงวิญญาณของเจ้าหลวงเชียงลาบ และพระนางมหาเตวีเจ้า และเหล่าดวงวิญญานักรบโบราณ เสื้อบ้าน เสื้อเมืองเชียงลาบ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกปี ในช่วงเดือนสี่ และเดือนแปด ของชาวไทลื้อ (เป็นประเพณีที่ต้องทำทุกปี ห้ามเว้นโดยเด็ดขาด)


  • จิ๊ก๋องโหล คือ ประเพณีถวายอัคคีพุทธบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของไทย หรือวันยี่เป็งของล้านนา แต่ในเดือนของชาวไทลื้อ คือ เดือนเจ๋งเป็ง หรือ "เก๋งเป็ง" หมายถึงเดือนหนึ่งหรือเดือนอ้ายขึ้นสิบห้าค่ำ นั่นเองซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมานับแต่สมัยอยู่เมืองเชียงลาบ ซึ่งว่างเว้นหรือไม่จัดไม่ได้เด็ดขาด กล่าวคือในวันดังกล่าวจะมีพิธีแป๋งเข่าลดเค๊าะ และพิธีตักบาตรในตอนเช้าตอนสายฟังธรรม จนถึงสองทุ่มจึงทำพิธีเผาไม้ง่ามหรือไม้ก้ำสลี

- การทำไม้ค้ำสลี สำหรับถวายทานนี้ฝ่ายผู้ชายต้องไปหาไม้ง่ามในป่ามาปอกเปลือกให้หมด ไม้ที่นิยมคือไม้เป้า หาให้มีจำนวนครบกับคนในครอบครัว และบวกเพิ่มอีก 1-2 ท่อน แล้วจารึกชื่อ และอักษรธรรมภาษาไทลื้อลงไปในไม้แต่ละท่อน จากนั้นนำไม้ไปสุมเป็นกองหน้าวิหารวัด แล้วนำด้ายพันรอบไม้ค้ำสลี ก่อนจุดพระจะเป็นคนสวดนำทางเวียนเทียนสามรอบ เมื่อครบสามรอบแล้วจึงนำเทียนนั้นจุดไฟเผาไม้ เมื่อไฟไหม้ไม้ ทุกคนจะอธิษฐานของให้เคราะห์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นกับตัว และอริศัตรูต่าง ๆ นั้นมอดไหม้ไปกับไฟนี้อย่าให้มีเหลือ ขอให้ชีวิตรุ่งเรืองเหมือนกับไฟที่ลุกสว่างขึ้นเรื่อย ๆ

  • ประเพณีปี๋ใหม่ ตรงกับเดือนหกของชาวไทลื้อ คือวันสงกรานต์ของไทย พิธีที่ต่างกันจากชาวล้านนาทั่วไปคือ ชาวลื้อจะมีการฉลองโดยการทำพิธีบายสีสู่ขวัญคนเฒ่าคนแก่ทุกคน และจะต้องทำให้ครบทุกคนในหมู่บ้าน และทุกบ้านหากมีผู้สูงอายุต้องทำพิธี และต้องเชิญชาวบ้านมาร่วมงาน และจะมีการฆ่าไก่ เพื่อมาต้มสู่ขวัญและ นำมาเลี้ยงแขกทุกคนในบ้าน และต้องเลี้ยงจนแขกคนสุดท้ายกลับ

อาชีพ

1. ทำนา-ทำไร่

2. สวนพริก

3. การผลิตกระดาษสา และผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา

อ้างอิง

  • พื้นเมืองเชียงแสน วัดป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
  • ประวัติชาวไทลื้อ บ้านลอมกลาง ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน
  • ประวัติความเป็นมาของตำบลศิลาเพชร ต.ศิลาเพชร อ.ปัว จ.น่าน