ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Abhichartt (คุย | ส่วนร่วม)
Abhichartt (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 29: บรรทัด 29:




{{คำพูด|'''อนุสาวรีย์ "สามเสือแห่งเกษตร" สร้างไว้เป็นสิ่งน้อมนำใจอนุชนให้รำลึกถึงบูรพาจารย์
{{คำพูด|'''อนุสาวรีย์ "สามเสือแห่งเกษตร" สร้างไว้เป็นสิ่งน้อมนำใจอนุชนให้รำลึกถึงบูรพาจารย์'''


ผู้ได้อุทิศตนร่วมกันทำงานด้วยความพากเพียร อดทน และเสียสละอย่างสูง เพื่อวางรากฐานการเกษตรแผนใหม่
'''ผู้ได้อุทิศตนร่วมกันทำงานด้วยความพากเพียร อดทน และเสียสละอย่างสูง เพื่อวางรากฐานการเกษตรแผนใหม่'''


และการศึกษาด้านการเกษตรให้เจริญก้าวหน้ามาตราบจนปัจจุบัน
'''และการศึกษาด้านการเกษตรให้เจริญก้าวหน้ามาตราบจนปัจจุบัน'''


ประกอบพิธีเปิด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2538'''}}
'''ประกอบพิธีเปิด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2538'''}}


== อ้างอิง ==
== อ้างอิง ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 04:17, 23 เมษายน 2552

ไฟล์:Three great good of agriculutres monument1.jpg
อนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ ในปัจจุบัน

อนุเสาวรีย์สามบูรพาจารย์ หรือ อนุสาวรีย์สามเสือแห่งเกษตร เป็นอนุเสารีย์ประดิษฐานรูปเหมือนของ สามบูรพาจารย์ผู้ให้กำเนิดการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คือ พระช่วงเกษตรศิลปการ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ และ หลวงอิงคศรีกสิการ ตั้งอยู่ที่บริเวณลานอนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ด้านหน้า สถาบันเกษตราธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (เกษตรกลาง บางเขน)

ประวัติ

ไฟล์:Suwan great agri monument.JPG
อนุสาวรีย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ เมื่อ พ.ศ. 2511

“สามเสือเกษตร” เป็นฉายาที่เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี(สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) ใช้เรียกแทนบุคคลสามท่าน คือ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ พระช่วงเกษตรศิลปการ และ หลวงอิงคศรีกสิการ ผู้มีคุโณปการต่อวงการเกษตร อันได้แก่ สามารถพัฒนากิจการอันเกี่ยวด้วยพื้นดิน และสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ในด้านเกษตรกรรมไปเผยแพร่แก่ประชาชน ให้สามารถพลิกผืนดินว่างเปล่าให้กลับมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ

ทั้งนี้บูรพาจารย์การเกษตรทั้งสามท่าน ยังเป็นผู้สนับสนุนให้มีการศึกษาวิชาการเกษตรอย่างจริงจัง โดยเป็นผู้วางรากฐานการเกษตรและการศึกษาด้านเกษตรศาสตร์ของประเทศไทย เนื่องจากวิชาการเกษตรกรรมนั้นเป็นศาสตร์ที่ต้องใช้ทั้งวิชาการและการปฏิบัติ จึงเห็นควรให้มีการตั้งและดำรงอยู่ของสถาบันการศึกษาเกษตรเฉพาะทาง จนกระทั่งมีการพัฒนาการศึกษาวิชาการเกษตรจนเป็นมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปัจจุบัน

แต่เดิมนั้น ในทศวรรษที่สามของการครบรอบการสถาปนามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พื้นที่ลานด้านหน้าสถาบันเกษตราธิการแห่งนี้ มีการก่อสร้างอนุสาวรีย์หลวงสุรรณวาจกกสิกิจ เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณของท่าน โดยมี หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร ทรงประกอบพิธีเปิดอนุสาวรีย์หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 อันเป็นวันครบรอบ 25 ปีของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ต่อมาในวาระการครบรอบ 50 ปีแห่งการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ทำการก่อสร้างอนุสาวรีย์ สามเสือแห่งเกษตร ขึ้นเป็นการสมบูรณ์ เพื่อเป็นสิ่งน้อมนำใจอนุชนให้รำลึกถึงบูรพาจารย์ผู้ได้ร่วมกันอุทิศตนทำงานด้วยความพากเพียร อดทน และเสียสละอย่างสูงเพื่อวางรากฐานการเกษตรแผนใหม่ และการศึกษาการเกษตรให้เจริญก้าวหน้ามาตราบจนปัจจุบัน ถือได้ว่าทั้งสามท่านได้ร่วมกันทำงานอย่างหนัก ผลที่มีต่อประเทศชาตินั้นจึงไม่สามารถแบ่งแยกจากกันได้ โดยอนุสาวรีย์สามเสือแห่งเกษตรนี้ ได้ทำการประกอบพิธีเปิดในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538


ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

ไฟล์:Three great good of agriculutres monument2.jpg
บริเวณโดยรอบ อนุสาวรีย์สามบูรพาจารย์ เมื่อ พ.ศ. 2552

เป็นลักษณะอนุสาวรีย์ประเภทบุคคล โดยเป็นรูปเหมือนในลักษณะยืน เรียงลำดับ ดังนี้

ตรงกลาง รูปเหมือนของ หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ ในท่ายืน มือซ้ายถือหมวก มองตรงมาเบื้องหน้า

ด้านซ้าย รูปเหมือนของ พระช่วงเกษตรศิลปการ ในท่ายืน มือซ้ายถือหนังสือ ชื่อ การเกษตรแผนใหม่

ด้านขวา รูปเหมือนของ หลวงอิงคศรีกสิการ ในท่ายืน มือซ้ายถือหมวก ใบหน้ามองเยื้องทางด้านซ้าย


มีป้ายหินอ่อน ปรากฎข้อความจารึกในฐานของอนุสาวรีย์ว่า


อนุสาวรีย์ "สามเสือแห่งเกษตร" สร้างไว้เป็นสิ่งน้อมนำใจอนุชนให้รำลึกถึงบูรพาจารย์

ผู้ได้อุทิศตนร่วมกันทำงานด้วยความพากเพียร อดทน และเสียสละอย่างสูง เพื่อวางรากฐานการเกษตรแผนใหม่

และการศึกษาด้านการเกษตรให้เจริญก้าวหน้ามาตราบจนปัจจุบัน

ประกอบพิธีเปิด เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พุทธศักราช 2538

อ้างอิง