ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อาหารมังสวิรัติ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shippou365 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Brandy Frisky (คุย | ส่วนร่วม)
เปลี่ยน หมวดหมู่:อาหารและเครื่องดื่ม → หมวดหมู่:อาหาร ด้วยสจห.
บรรทัด 21: บรรทัด 21:
<references />
<references />


[[หมวดหมู่:อาหารและเครื่องดื่ม]]
[[หมวดหมู่:อาหาร]]


[[da:Vegetarisk cuisine]]
[[da:Vegetarisk cuisine]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 23:32, 18 เมษายน 2552

อาหารมังสวิรัติ

อาหารมังสวิรัติ คืออาหารจำพวกผักและผลไม้ ซึ่งทำให้ได้รับกากใยอาหาร ซึ่งช่วยในการขับถ่ายกากอาหารออกจากร่างกายได้ดี นิยมในคนวัยผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เนื่องจากมักจะมีปัญหาเรื่องอาการท้องผูก และมี ปัญหาเรื่องไขมันในเส้นเลือดสูงแล้ว อาหารมังสวิรัตินั้นจะไม่มีเนื้อสัตว์เลย เนื่องจากในเนื้อสัตว์มักจะมีไขมัน และน้ำมันจากสัตว์ปะปนอยู่ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้ปริมาณคอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น และอาจเป็นสาเหตุของโรคต่าง ๆ เช่นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน และโรคอื่นๆ

คำว่า "มังสวิรัติ" นั้นเป็นคำสมาส มาจากคำว่า มังสะ แปลว่า เนื้อ รวมกับ วิรัติ แปลว่า ปราศจากความยินดีหรือละเว้น ดังนั้น มังสวิรัติ จึงแปลว่า ปราศจากความยินดีที่จะกินเนื้อสัตว์

อาหารที่พวกมังสวิรัตินิยมรับประทานกัน ส่วนใหญ่จะประกอบด้วย ข้าว และผลิตภัณฑ์จากข้าว หรือผลิตภัณฑ์จากถั่ว เช่น เต้าหู้ หรือเมล็ด เช่น เมล็ดฟักทอง เมล็ดทานตะวัน เป็นต้น

อาหารมังสวิรัตินั้น แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ

  1. มังสวิรัติประเภทเคร่งครัด เป็นมังสวิรัติที่กินอาหารจำพวกพืชผักผลไม้เพียงอย่างเดียว ไม่มีอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไข่ นม หรือ ผลิตภัณฑ์จากไข่และนม เป็นส่วนประกอบของอาหารนั้นๆเลย
  2. มังสวิรัติประเภทที่มีการดื่มนม เป็นมังสวิรัติที่จะมีนมและผลิตภัณฑ์ของนมนอกเหนือจากพืชผักผลไม้ แต่ไม่มีเนื้อสัตว์และไข่เป็นส่วนประกอบของอาหาร
  3. มังสวิรัติประเภทดื่มนมและกินไข่ อาหารมังสวิรัติประเภทนี้มีไข่ นม และผลิตภัณฑ์ของนมนอกเหนือจากอาหารจากพืช แต่ไม่มีเนื้อสัตว์เลย

จะเห็นได้ว่า มังสวิรัติทั้ง 3 ประเภทนี้ จะไม่มีอาหารหรือส่วนประกอบที่มาจากเนื้อสัตว์เลย แต่ถึงแม้ว่าจะไม่มีเนื้อสัตว์เลย แต่ก็มิได้หมายความว่าจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารประเภทโปรตีน แต่คนที่รับประทานอาหารมังสวิรัติสามารถได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนจากอาหารจำพวกถั่วเมล็ดแห้ง เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วดำ ถั่วลิสง เป็นต้น

ส่วนใหญ่ พบว่า ผู้ที่กินอาหารมังสวิรัติ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง มะเร็ง เบาหวาน และอ้วน ผลการวิจัยทั้งในและต่างประเทศ พบผู้ที่เป็นมังสวิรัติเคร่งครัดมีภาวะพร่องของ วิตามินบี 12 และแร่ธาตุเหล็ก โดยเฉพาะที่เป็นมังสวิรัติเคร่งครัดเป็นเวลานาน ๆ และการมีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก[1]

อ้างอิง

  1. http://members.tripod.com/chaiwat_s/mangsaviras_food.htm