ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปรเมศวร์ มินศิริ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 19: บรรทัด 19:
ด้านชีวิตครอบครัว ปรเมศวร์ มินศิริ สมรสแล้ว และมีบุตรหนึ่งคน
ด้านชีวิตครอบครัว ปรเมศวร์ มินศิริ สมรสแล้ว และมีบุตรหนึ่งคน


== กรณีเขตย่อยของเว็บไซต์กระปุกดอตคม ==
== กรณีเขตย่อยของเว็บไซต์กระปุกดอตคอม ==


[[ภาพ:xxx-kapook-com.jpg|thumb|หน้าจอเว็บไซต์ xxx.kapook.com ก่อนปิดตัวลง]]
[[ภาพ:xxx-kapook-com.jpg|thumb|หน้าจอเว็บไซต์ xxx.kapook.com ก่อนปิดตัวลง]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:15, 30 มีนาคม 2552

ปรเมศวร์ มินศิริ (28 มกราคม พ.ศ. 2512−ปัจจุบัน) เป็นนักธุรกิจอินเทอร์เน็ตชาวไทย และเป็นผู้ก่อตั้งกิจการอินเทอร์เน็ตหลายแห่ง เช่น เว็บท่าสนุกดอตคอมและกระปุกดอตคอม เว็บไซต์สื่อการเรียนรู้ทีวีฟอร์คิดส์[1] และบริการจัดหานางแบบพริตตี้แก๊ง.คอม[2]

นอกจากนี้ยังเคยเป็นนายกและอุปนายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ขณะดำรงตำแหน่งได้ร่วมกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพัฒนาโปรแกรมปลาวาฬเบราว์เซอร์[3] เว็บไซต์สารานุกรมคลังปัญญาไทย[4] และดำเนินโครงการอินเทอร์เน็ตสีขาวเพื่อเยาวชน ปรเมศวร์ได้ลาออกจากตำแหน่งดังกล่าวเมื่อปรากฏว่าเว็บไซต์กระปุกดอตคอมที่บริษัทของตนดูแลอยู่มีเขตย่อยซึ่งมีเนื้อหาล่อแหลมทางเพศ[5][6][7]

ประวัติ

ปรเมศวร์ มินศิริ เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2512 สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยนนทบุรี การศึกษานอกโรงเรียนซึ่งเทียบเท่าระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตามลำดับ

ต่อมาทำงานเป็นวิศวกรระบบที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพ เป็นวิศวกรซอฟต์แวร์ให้แก่บริษัทฟิเดลิโอ และเป็นกรรมการผู้จัดการบริษัท เวฟพอยท์ จำกัด ตามลำดับ ระหว่างนั้นยังได้เขียนหนังสือสอนการใช้งานอินเทอร์เน็ตหลายเล่มด้วย

ใน พ.ศ. 2540 ปรเมศวร์ได้ก่อตั้งเว็บไซต์สนุก.คอมขึ้น มีลักษณะเป็นเว็บท่าซึ่งคล้ายคลึงกับเว็บยาฮูของสหรัฐอเมริกา และจำหน่ายกิจการเว็บไซต์ดังกล่าวให้แก่เอ็มเว็บบริษัทโทรคมนาคมของประเทศแอฟริกาใต้ในสองปีถัดมา

วันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 ได้เปิดเว็บไซต์ในลักษณะเดียวกันชื่อ "กระปุก.คอม" ซึ่งปัจจุบันติดอันดับเว็บยอดนิยมเว็บหนึ่งของไทย[8] เว็บไซต์กระปุกดอตคอมมีบริษัทบัณฑิตเซ็นเตอร์เป็นผู้บริหารงานทั่วไป และปรเมศวร์ก็ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการคนปัจจุบันของบริษัทดังกล่าว

นอกจากผลงานข้างต้นแล้ว ปรเมศวร์ยังมีเว็บไซต์อีกหลายแห่ง เช่น เว็บไซต์ทีวีฟอร์คิดส์สำหรับเผยแพร่สื่อความรู้ของรัฐสู่เยาวชน ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ[1] และเว็บไซต์พริตตี้แก๊ง.คอม[2]สำหรับจัดหาและให้บริการนางแบบโฆษณา นอกจากนี้ สมัยที่เป็นนายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย ยังได้ร่วมมือกับกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารพัฒนาโปรแกรมค้นดูเว็บของไทย ชื่อ "ปลาวาฬเบราว์เซอร์"[3] และเว็บไซต์สารานุกรม "คลังปัญญาไทย"[4] ตลอดจนโครงการอินเทอร์เน็ตสีขาว ปรเมศวร์ยังได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการสรรหาคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติอีกด้วย[9]

วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ปรเมศวร์ได้แถลงข่าวการร่วมทุนจำนวนยี่สิบล้านบาทกับบริษัทร่วมทุน เค-เอสเอ็มอี จำกัด ที่บริหารงานโดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการเงินร่วมลงทุน (บลท.) ข้าวกล้า จำกัด[10]

ด้านชีวิตครอบครัว ปรเมศวร์ มินศิริ สมรสแล้ว และมีบุตรหนึ่งคน

กรณีเขตย่อยของเว็บไซต์กระปุกดอตคอม

หน้าจอเว็บไซต์ xxx.kapook.com ก่อนปิดตัวลง

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2551 เป็นที่อื้อฉาวว่าเว็บไซต์กระปุกดอตคอมมีเขตย่อยชื่อ "xxx.kapook.com" มีเนื้อหาเกี่ยวกับการรวบรวมเรื่องทางเพศไว้มากจนล่อแหลมเกินขอบเขต สามารถใช้คำสำคัญเกี่ยวกับเพศค้นหาได้ในโปรแกรมค้นหาเพื่อให้เป็นที่สนใจเข้าชมมาก[5]

ต่อมา ปรเมศวร์ มินศิริ ผู้กำกับดูแลเว็บไซต์กระปุกดอตคอมแถลงว่า เขตย่อยดังกล่าวมีอยู่จริง และถือเป็นความผิดพลาดของหน่วยงานเอง ไม่ใช่ของนักศึกษาฝึกงานตามที่ปรากฏในข่าว[11] โดยอธิบายว่า ตั้งใจให้เป็นที่รวมข่าวคราวของหมวด "เอ็กซ์ไฟล์" ซึ่งมีเนื้อหาในแนวลึกลับ แปลก หรือขำขัน ไม่เจตนาให้มีเนื้อหาในทางเรตเอ็กซ์[7] ซึ่งปรเมศวร์ได้ประกาศลาออกจากจากตำแหน่งอุปนายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทยเพื่อเป็นการแสดงความรับผิดชอบ[7]

ผลงานหนังสือ

  • ปรเมศวร์ มินศิริ. (2537). เรียนรู้ Foxpro 2.0-2.5. กรุงเทพฯ : วิศาสตร์.
  • ปรเมศวร์ มินศิริ. (2537). เรียนรู้ Microsoft Foxpro 20-2.5. กรุงเทพฯ : เลี่ยงเชียง.
  • ปรเมศวร์ มินศิริ. (2538). ท่องโลกอินเทอร์เน็ตด้วย Netscape Navigator Gold. กรุงเทพฯ : วิศาสตร์.
  • ปรเมศวร์ มินศิริ. (2539). Internet สำหรับผู้ใช้ Windows. กรุงเทพฯ : วิศาสตร์.
  • ปรเมศวร์ มินศิริ. (2539). ท่องโลกอินเทอร์เน็ตด้วย Netscape Navigator Gold. กรุงเทพฯ : เวฟฟอยท์.
  • ปรเมศวร์ มินศิริ, ผู้แต่งร่วม. (2539). เรียนรู้ Windows95. กรุงเทพฯ : เวฟพอยท์.
  • ณัฐฐยา พรรณพลีวรรณ, ปรเมศวร์ มินศิริ, นเรศ เดชผล, ศาสตรา กัลย์จารึก และพีรนุช สุวรรณรัตน์. (2547). โครงการชวนเพื่อนท่องเว็บไซต์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ : ม.ป.ท.

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น