ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมคิด จาตุศรีพิทักษ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ZenithZealotry (คุย | ส่วนร่วม)
{{เครือผู้จัดการ}}
บรรทัด 70: บรรทัด 70:
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง}}
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง}}
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์}}
{{รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์}}
{{เครือผู้จัดการ}}


[[หมวดหมู่:รองนายกรัฐมนตรี]]
[[หมวดหมู่:รองนายกรัฐมนตรี]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:08, 14 มีนาคม 2552

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์
ไฟล์:Somkhit Chatusiphithak.jpg
รองนายกรัฐมนตรี
ดำรงตำแหน่ง
9 ตุลาคม พ.ศ. 2544 – 10 มีนาคม พ.ศ. 2547 (ปรับออกจากตำแหน่ง)
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 (ยุบสภา)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496
พรรคการเมืองพรรคไทยรักไทย
คู่สมรสอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์

ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496) อดีตรองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลด้านเศรษฐกิจ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังหลายสมัย

ประวัติ

ดร. สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เกิดเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2496 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นคนไทยเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน จบการศึกษา เศรษฐศาสตร์การคลัง และเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และต่อปริญญาโท MBA สาขาบริหารการเงิน สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และ ปริญญาเอก สาขาบริหารธุรกิจ เน้นการจัดการด้านการตลาด ที่มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น สหรัฐอเมริกา ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ นางอนุรัชนี จาตุศรีพิทักษ์ (สกุลเดิม "ภิงคารวัฒน์")

ประวัติการทำงาน

ตำแหน่งสำคัญทางการเมือง

เกียรติประวัติ

  • นักวิชาการและนักปฏิบัติทางด้านนโยบายและกลยุทธ์ เจ้าของตำราที่มีชื่อเสียงและขายดีในระดับโลก " The New Competition ", "Exporting Behavior of Firms" และล่าสุด เจ้าของตำรา "The Marketing of Nations"

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

การเมืองและชีวิตหลังรัฐประหาร 19 กันยายน 2549

ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ ได้ชื่อว่าเป็นขุนพลเศรษฐกิจคนสำคัญของรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นโยบายประชานิยมหรือนโยบายเศรษฐกิจหลายอย่างก็มาจากแนวความคิดของ ดร.สมคิดเอง ในระหว่างการทำงานการเมืองได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่มีภาพลักษณ์ดี เพราะเก่งกาจ มีความเชี่ยวชาญสามารถคนหนึ่ง และได้ชื่อว่าบางครั้งก็ไม่ทำตามนโยบายหรือแนวทางของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กำหนดไว้เสมอไป

หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 ได้ทำการลาออกจากการเป็น สมาชิกพรรคไทยรักไทย หลังจากนั้นได้เป็นหนึ่งในตัวแทนกลุ่มมัชฌิมา หลังจากนั้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ให้เป็นผู้ทำความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงกับต่างชาติโดยเฉพาะไทยกับญี่ปุ่น แต่เป็นได้เพียงไม่กี่วันก็ลาออกไป เนื่องจากแรงกดดันจากหลายฝ่าย ในเหตุการณ์ยุบพรรคไทยรักไทย ดร.สมคิดเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย 111 คน ที่ถูกตัดสิทธิทางการเมืองด้วย จากนั้นจึงร่วมในการก่อตั้งพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา โดยทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาพรรค

ล่าสุดร่วมก่อตั้งพรรคภูมิใจไทย

อ้างอิง