ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การไทเทรต"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษา
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: cy:Titrad
บรรทัด 27: บรรทัด 27:
[[ca:Valoració]]
[[ca:Valoració]]
[[cs:Titrace]]
[[cs:Titrace]]
[[cy:Titrad]]
[[da:Titrering]]
[[da:Titrering]]
[[de:Titration]]
[[de:Titration]]
[[en:Titration]]
[[en:Titration]]
[[et:Tiitrimine]]
[[es:Análisis volumétrico]]
[[es:Análisis volumétrico]]
[[et:Tiitrimine]]
[[fi:Titraus]]
[[fr:Titrage]]
[[fr:Titrage]]
[[it:Titolazione (chimica)]]
[[he:טיטור]]
[[he:טיטור]]
[[lv:Titrēšana]]
[[hu:Titrálás]]
[[hu:Titrálás]]
[[it:Titolazione (chimica)]]
[[nl:Titratie]]
[[ja:滴定]]
[[ja:滴定]]
[[no:Titrering]]
[[lv:Titrēšana]]
[[nl:Titratie]]
[[nn:Titrering]]
[[nn:Titrering]]
[[no:Titrering]]
[[pl:Miareczkowanie]]
[[pl:Miareczkowanie]]
[[pt:Titulação]]
[[pt:Titulação]]
[[ru:Титриметрический анализ]]
[[ru:Титриметрический анализ]]
[[scn:Titulazzioni]]
[[scn:Titulazzioni]]
[[fi:Titraus]]
[[sv:Titrering]]
[[sv:Titrering]]
[[zh:滴定]]
[[zh:滴定]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:05, 3 มีนาคม 2552

ลักษณะการไทเทรต

การไทเทรต (อังกฤษ: Titration) คือ วิธีการทางปริมาณวิเคราะห์ (Quantitative Analysis) ใช้ในการหาปริมาตรของสารละลายมาตรฐาน (สารละลายที่เราทราบความเข้มข้นที่แน่นอนแล้ว) ที่ทำปฏิกิริยาพอดีกับสารละลายอื่นซึ่งทราบปริมาตร แต่ยังไม่ทราบความเข้มข้น เพื่อนำค่าปริมาตรที่ได้มาคำนวณหาความเข้มข้นของสารละลายอื่นนั้น

สำหรับการไทเทรตทุกชนิด จุดที่สารที่เรานำมาไทเทรตทำปฏิกิริยากันพอดี เราเรียกว่า จุดสมมูลหรือจุดสะเทิน (Equivalence Point) ส่วนจุดที่อินดิเคเตอร์ (Indicator) เปลี่ยนสี เราเรียกว่า จุดยุติ (End Point) ซึ่งเป็นจุดที่เราจะยุติการไทเทรต โดยถ้าเราใช้อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมจะทำให้จุดยุติตรงกับจุดสมมูลหรือใกล้เคียงกับจุดสมมูลมาก แต่ถ้าเราใช้อินดิเคเตอร์ไม่เหมาะสมอาจจะทำให้จุดยุติอยู่ห่างจากจุดสมมูลมาก ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อนได้

ประเภทของการไทเทรต

  1. การไทเทรตกรด-เบส (Acid-Base Titration) โดยมีสารที่ทำปฏิกิริยากันในการไทเทรตเป็นกรดกับเบส โดยอินดิเคเตอร์ที่ใช้จะเป็นอินดิเคเตอร์วัดค่า pH ทั่ว ๆ ไป
  2. การไทเทรตปฏิกิริยารีดอกซ์ (Redox Titration) โดยสารที่ใช้จะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น-รีดักชั่น โดยส่วนใหญ่จะไม่ต้องใช้อินดิเคเตอร์เพราะเมื่อเกิดปฏิกิริยาสารละลายจะเปลี่ยนสีได้เอง
  3. การไทเทรตปฏิกิริยาการเกิดสารเชิงซ้อน (Complexometric Titration) โดยระหว่างปฏิกิริยาจะเกิดสารประกอบเชิงซ้อน (Complex Compound, Coordination Compound) ขึ้น สารที่ใช้ในการไทเทรตมักจะเป็น EDTA โดยอินดิเคเตอร์ที่ใช้ เช่น Eriochrome Black T เป็นต้น

การไทเทรตกรด-เบส

การไทเทรตกรด-เบส เป็นการไทเทรตระหว่างสารละลายกรดกับเบส ใช้ในการหาปริมาณหรือความเข้มข้นที่แน่นอนของกรดหรือเบส ทำได้โดยนำสารตัวอย่างมาไทเทรตกับกรดหรือเบสที่ทราบความเข้มข้นที่แน่นอน แล้วสังเกตสีของอินดิเคเตอร์ที่เปลี่ยนไปเมื่อปฏิกิริยาเกิดจนถึงจุดสมมูล ขณะไทเทรต pH ถ้าเลือกใช้อินดิเคเตอร์ที่เหมาะสมจะบอกจุดยุติที่ใกล้เคียงกับจุดสมมูลได้ การไทเทรตกรด-เบส สามารถแบ่งออกได้เป็น 4 แบบ ดังนี้

  1. การไทเทรตระหว่างกรดแก่กับเบสแก่
  2. การไทเทรตระหว่างเบสอ่อนกับกรดแก่
  3. การไทเทรตระหว่างกรดอ่อนกับเบสแก่
  4. การไทเทรตระหว่างกรดอ่อนกับเบสอ่อน

อ้างอิง