ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปฏิบัติการทางทหาร"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
VolkovBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต เพิ่ม: hu:Hadművelet
SilvonenBot (คุย | ส่วนร่วม)
โรบอต แก้ไข: uk:Військова операція
บรรทัด 48: บรรทัด 48:
[[sl:Vojaška operacija]]
[[sl:Vojaška operacija]]
[[sv:Militär operation]]
[[sv:Militär operation]]
[[uk:Військова операція]]
[[uk:Операція військова]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 00:53, 28 กุมภาพันธ์ 2552

ปฏิบัติการทางทหาร เชิงแนวคิด

ปฏิบัติการทางทหาร (Military Operation) คือการประยุกต์ใช้นโยบาย, การวางแผน, การจัดการและการอำนวยการหลักการในการนำกองกำลังและทรัพยากร เข้าสู่รูปแบบรายวัน และทำกิจกรรมนั่นไปจนกว่าจะบรรลุหรือประสพผลที่วางเอาไว้ นี่คือหลักการและไม่ควรที่จะสับสน เข้าใจผิดกับเหตุการณ์ทางทหาร ปฏิบัติการทางทหาร ข้องเกี่ยวกับการวางแผล, การเคลื่อนพล, กระบวนการข่าวสารซึ่งประกอบด้วยการรวบรวม, วิเคราะห์และกระจายข่าวสาร, การวางตำแหน่งยุทธปัจจัยและเวลาที่ต้องการ

ปฏิบัติการทางทหารสามารถข้องเกี่ยวเข้ากับการดำเนินการเชิงกลยุทธ์ และปฏิบัติการด้วยการจักการเคลื่อนกำลังอย่างมีแบบแผน โดยทั่วไปแล้วการดำเนินการเชิงยุทธวิธี (Tactical) ถูกใช้เพื่ออ้างถึงการปฏิบัติการสู้รบตามภารกิจ (Mission) ซึ่งเป็นส่วนย่อยของปฏิบัติการทางทหาร (Operation)

โดยกระบวนการแล้ว ปฏิบัติการทางทหารอาจจะต้องการการเตรียมพล, การฝึกฝน, และการบริหารจัดการ เพื่อให้กองกำลังสามารถเข้าร่วม, ดำเนินการ และยุติการสู้รบ รวมไปถึงการอำนวยการการเคลื่อนกำลัง, การส่งกำลังสนับสนุน, การเข้าตี, การตั้งรับ และการเข้าควบคุม เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายของปฏิบัติการในการสู้รบ (Battle) หรือ การทัพ (Campaign)

โดยมาก ปฏิบัติการทางทหารมีรูปแบบของกระบวนการที่แตกต่างกันออกไป ที่จะต้องทำเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ในแต่ละระดับของแผนที่วางเอาไว้ แต่โดยย่ออาจจะสรุปได้ดังนี้

  • แนวคิด เกี่ยวกับการระบุจุดประสงค์และเป้าหมายของปฏิบัติการ
  • การข่าว เกี่ยวกับการรวบรวมและวิเคราะห์ข่าวสารเกี่ยวกับการต้านทานของข้าศึก
  • การวางแผน การบริหารกองกำลังและการนำไปใช้
  • การจัดการ ในการเคลื่อนกำลัง ยุทธภัณฑ์ การฝึกฝนของกองกำลัง
  • การเข้าร่วมปฏิบัติการ ในการบรรลุเป้าหมายขั้นต้นเชิงยุทธวิธี
  • การปราบข้าศึก ในการปฏิบัติการเชิงลึก
  • การยุติปฏิบัติการ โดยไม่สนใจว่าเป้าประสงค์ของปฏิบัติการจะบรรลุผลหรือไม่

ปฏิบัติการทางทหาร เชิงปฏิบัติการ

ปฏิบัติการทางทหารโดยทั่วไปแล้วจะถูกเรียกด้วยชื่อลับ ด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัยเชิงข่าวสาร โดยทั่วไปแล้วมักจะมีความข้องเกี่ยวกับเป้าประสงค์ของปฏิบัติการ

สิ่งที่คล้ายและสะท้อนกรอบการปฏิบัติทางทหารคือ หน่วยย่อยๆที่ถูกจัดแบ่งในกองกำลังที่ได้เตรียมการสำหรับและอำนวยการปฏิบัติการในหลากระดับของการปฏิบัติ ในขณะที่สิ่งที่เชื่อมโยงระหว่างขนาดของหน่วยปฏิบัติการ กับพื้นที่ปฏิบัติการและเป้าหมายของภารกิจ ตัวเชื่อยโยงนั้น ไม่ได้เชื่อมโยงโดยสัมบูรณ์ ความจริงแล้ว ในท้ายที่สุด มันคือภารกิจที่หน่วยทหารเข้าปฏิบัติ ที่ถูกพิจารณาตามระดับของสงครามที่มันเข้าปฏิบัติต่างหาก

— แกรนท์, ศิลปะแห่งปฏิบัติการทางทหารโซเวียต หน้า 46

ปฏิบัติการทางทหารอาจจะแบ่งออกได้ตามขนาดและเป้าของหน่วยทหาร ที่เข้าร่วมและผลกระทบต่อภาพรวมของสงคราม อาจะแบ่งได้ดังนี้

  • เทียร์เตอร์ (theatre) เป็นการปฏิบัติการที่มีขนาดใหม่มาก โดยทั่วไปแล้ว กินพื้นที่ระดับทวีป และแสดงออกถึงความขัดแย้งระดับยุทธศาสตร์ชาติ ตัวอย่างเช่น ยุทธการบาร์บารอสซา ที่มีความมุ่งหมายนอกเหนือจากการทหาร แต่ยังมุ่งไปที่เศรษฐกิจและการเมืองด้วย
  • การทัพ (campaign) เป้นส่วนย่อยของเทียร์เตอร์ และมีการจำกัดเชิงภูมิศาสตร์และยุทธศาสตร์การปฏิบัติการ เช่น ยุทธการแห่งบริเตน และไม่จำเป็นต้องหมายถึงยุทธศาสตร์ชาติหรือมีเป้าหมายอยู่นอกเหนือไปจากการทหาร
  • ปฏิบัติการ (operation) เป็นส่วนย่อยของการทัพลงมาอีก มีเป้าหมายทางทหารและพื้นที่ที่เจาะจง มีการระบุการใช้กำลังที่ชัดเจน ตัวอย่างเช่น ยุทธการกาลิโบลี ที่ถือเป็นความภูมิใจของ ออสเตรเลีย และ นิวซีแลนด์นั้น เป็นการปฏิบัติการที่บางครั้งก็ถูกเรียกว่า “การขึ้นบกที่ดาร์ดาเนลเลส์” เพราะว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ปฏิบัติการดาร์ดาเนลเลส์ ที่มีกองกำลังสัมพันธ์มิตร 480,000 นายเข้าร่วม
  • การรบ (Battle) เป็นการต่อสู้เชิงยุทธวิธีที่ทั้งขนาดของพื้นที่และเป้าประสงค์ถูกจำกัดด้วยการกระทำ ตัวอย่างเช่น การสู้รบแห่งเคิรส์ ที่มีอีกชื่อตามที่เยอรมันตั้งว่า “ปฏิบัติการ ซิทาเดล”นั้น ประกอบไปด้วยการรบย่อยมากมาย และการรบที่Prokhorovka เองก็เป็นการรบในระดับยุทธวิธีในยุทธการนี้นั่นเอง

อ้างอิง

  • Armstrong, Richard N. Red Army Tank Commanders: The Armored Guards. Atglen, Penn.: Schiffer Military History, 1994. ISBN 0887405819.
  • Glantz, David M. Soviet Military Operational Art: In Pursuit of Deep Battle. London; Portland, Or.: Frank Cass, 1991. ISBN 0714633623, ISBN 0714640778.