ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ตำบลยม"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 4: บรรทัด 4:
== ประวัติการก่อตั้งเมือง ==
== ประวัติการก่อตั้งเมือง ==


ตำบลยม ก็คือเมืองยม ในสมัยพญาภูคาคือพื้นที่[[เมืองย่าง]] หรือ [[เมืองล่าง]] (เมืองย่างมีพื้นที่ครอบคลุมตำบลศิลาเพชร และตำบลยม ตำบลจอมพระ ตำบลอวน ในปัจจุบัน) บริเวณชุมชนโบราณเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำย่างและลำน้ำบั่ว
ตำบลยม ก็คือเมืองยม ในสมัยพญาภูคาคือพื้นที่[[เมืองย่าง]] หรือ [[เมืองล่าง]] (เมืองย่างมีพื้นที่ครอบคลุม[[ตำบลศิลาเพชร]] และ[[ตำบลยม]] [[ตำบลจอมพระ]] [[ตำบลอวน]] ในปัจจุบัน) บริเวณชุมชนโบราณเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำย่างและลำน้ำบั่ว


ตามประวัติการก่อตั้งกล่าวว่าเมื่อปี พ.ศ. 1820 พญาภูคาพร้อมด้วยภรรยาคือนางจำปาหรือนางแก้วฟ้าและราษฎรประมาณ 220 คน ได้เดินทางมาจากเมือง เงินยาง มาพักอยู่ที่บริเวณบ้านเฮี้ย (ต.ศิลาแลง) จากนั้นได้ออกสำรวจหาพื้นที่สำหรับตั้งเมือง
ตามประวัติการก่อตั้งกล่าวว่าเมื่อปี พ.ศ. 1820 พญาภูคาพร้อมด้วยภรรยาคือนางจำปาหรือนางแก้วฟ้าและราษฎรประมาณ 220 คน ได้เดินทางมาจากเมือง เงินยาง มาพักอยู่ที่บริเวณบ้านเฮี้ย (ต.ศิลาแลง) จากนั้นได้ออกสำรวจหาพื้นที่สำหรับตั้งเมือง
บรรทัด 27: บรรทัด 27:




ปี พ.ศ. 2246 พระเมืองราชาเจ้าเมืองน่านถูกพม่ามารบกวนอีก เจ้าเมืองเล็นซึ่งปกครองเมืองเล็นอยู่ทางทิศเหนือของเมืองน่านก็ถูกพม่ามารบกวนเช่นกัน จึงได้พากันหนีจากเมืองเล็นมาอยู่เมืองย่างและได้ปกครองเมืองย่าง ท่านผู้นี้ได้พาราษฎรสร้างฝายน้ำบั่ว สร้างอารามสงฆ์ และ จัดตั้งหมู่บ้านขึ้น ชื่อบ้านหัวทุ่ง (บ้านนาคำปัจจุบัน) เมื่อเจ้าเมืองเล็นถึงแก่กรรม เจ้าเมืองน่านจึงได้แต่งตั้งนายปั๋น ขึ้นปกครองเมืองย่างชื่อว่า แสนปั๋น ท่านผู้นี้ได้ให้ราษฎรสร้างเหมือง ฝาย นาเหล่าม่อนเปรต (ม่อนเผด) สร้างพระธาตุจอมพริก ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา
ปี พ.ศ. 2246 พระเมืองราชาเจ้าเมืองน่านถูกพม่ามารบกวนอีก เจ้า[[เมืองเล็น]]ซึ่งปกครองเมืองเล็นอยู่ทางทิศเหนือของเมืองน่านก็ถูกพม่ามารบกวนเช่นกัน จึงได้พากันหนีจากเมืองเล็นมาอยู่[[เมืองย่าง]]และได้ปกครองเมืองย่าง เจ้า[[มืองเล็น]]ท่านผู้นี้ได้พาราษฎรสร้างฝายน้ำบั่ว สร้างอารามสงฆ์ และ จัดตั้งหมู่บ้านขึ้น ชื่อบ้านหัวทุ่ง (บ้านนาคำปัจจุบัน) เมื่อเจ้าเมืองเล็นถึงแก่กรรม เจ้าเมืองน่านจึงได้แต่งตั้งนายปั๋น ขึ้นปกครองเมืองย่างชื่อว่า แสนปั๋น ท่านผู้นี้ได้ให้ราษฎรสร้างเหมือง ฝาย นาเหล่าม่อนเปรต (ม่อนเผด) สร้าง[[พระธาตุจอมพริก]] ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา


ครั้นถึงสมัยที่มีการฟื้นม่านเมื่อราวปี 2330 เกิดนโยบายเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง ของ[[เจ้ากาวิลละ]] กองทัพเจ้าเจ็ดตน กองทัพเมืองน่านโดยเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองแพร่ เจ้าเมืองลำปาง สยาม และลาวหลวงพระบาง เจ้าจอมหงแห่งเชียงตุง ได้นำกองทัพขึ้นไปโจมตีหัวเมืองไทลื้อ แถบสิบสองปันนา ทำให้หัวเมืองลื้อทั้งหมดพ่ายแพ้แก่กองทัพล้านนา และสยาม จึงเป็นเหตุให้มีการอพยพชาวไทลื้อ [[เมืองยอง]] เมืองยู้ [[เมืองเชียงลาบ]] จำนวนมากมาอยู่ในจังหวัดน่าน
ครั้นถึงสมัยที่มีการฟื้นม่านเมื่อราวปี 2330 เกิดนโยบายเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง ของ[[เจ้ากาวิลละ]] กองทัพเจ้าเจ็ดตน กองทัพเมืองน่านโดยเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองแพร่ เจ้าเมืองลำปาง สยาม และลาวหลวงพระบาง เจ้าจอมหงแห่งเชียงตุง ได้นำกองทัพขึ้นไปโจมตีหัวเมืองไทลื้อ แถบสิบสองปันนา ทำให้หัวเมืองลื้อทั้งหมดพ่ายแพ้แก่กองทัพล้านนา และสยาม จึงเป็นเหตุให้มีการอพยพชาวไทลื้อ [[เมืองยอง]] [[เมืองยู้]] [[เมืองเชียงลาบ]] จำนวนมากมาอยู่ในจังหวัดน่าน


ปี พ.ศ. 2345 แสนปั๋น เจ้าเมืองย่างถึงแก่กรรม และเมืองย่างเกิดน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ โดยครั้งนั้นพญาอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านได้มาตรวจสภาพพื้นที่เมืองย่าง เห็นว่ามีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ดี มีพื้นที่ราบกว้างขวาง ประกอบกับในบริเวณเมืองย่างนั้นมีชาวไทลื้อที่เจ้าเมืองเล็นอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบางส่วนมาตั้งบ้านเรือนในสมัยพญาภูคาแล้วนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการปกครองจึงพิจารณาเห็นสมควรโปรดให้ชาวไทลื้อ ที่ได้อพยพมาจาก [[เมืองยอง]] เมืองยู้ [[เมืองเชียงลาบ]] ตั้งบ้านเรือน อยู่ริมฝั่งริมสองฟากฝั่งแม่น้ำย่าง โดยโปรดให้นำช่างปั้นหม้อชาวไทลื้อให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านดอนไชย (ปัจจุบัน ขึ้นกับตำบลศิลาเพชร) เมืองเชียงลาบให้ตั้งบ้านเรือนที่ บริเวณลุ่มน้ำย่างใกล้พระธาตุจอมพริก ลื้อเมืองยอง ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้พระธาตุจอมนาง และลื้อเมืองยู้ให้ตั้งบ้านเรือนที่ท้ายแม่น้ำย่าง
ปี พ.ศ. 2345 แสนปั๋น เจ้าเมืองย่างถึงแก่กรรม และเมืองย่างเกิดน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ โดยครั้งนั้นพญาอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านได้มาตรวจสภาพพื้นที่เมืองย่าง เห็นว่ามีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ดี มีพื้นที่ราบกว้างขวาง ประกอบกับในบริเวณเมืองย่างนั้นมีชาวไทลื้อที่เจ้าเมืองเล็นอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบางส่วนมาตั้งบ้านเรือนในสมัยพญาภูคาแล้วนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการปกครองจึงพิจารณาเห็นสมควรโปรดให้ชาวไทลื้อ ที่ได้อพยพมาจาก [[เมืองยอง]] เมืองยู้ [[เมืองเชียงลาบ]] ตั้งบ้านเรือน อยู่ริมฝั่งริมสองฟากฝั่งแม่น้ำย่าง โดยโปรดให้นำช่างปั้นหม้อชาวไทลื้อให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านดอนไชย (ปัจจุบัน ขึ้นกับตำบลศิลาเพชร) เมืองเชียงลาบให้ตั้งบ้านเรือนที่ บริเวณลุ่มน้ำย่างใกล้พระธาตุจอมพริก ลื้อเมืองยอง ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้พระธาตุจอมนาง และลื้อเมืองยู้ให้ตั้งบ้านเรือนที่ท้ายแม่น้ำย่าง

รุ่นแก้ไขเมื่อ 12:37, 19 กุมภาพันธ์ 2552

ตำบลยม เป็นตำบลในอำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

ประวัติการก่อตั้งเมือง

ตำบลยม ก็คือเมืองยม ในสมัยพญาภูคาคือพื้นที่เมืองย่าง หรือ เมืองล่าง (เมืองย่างมีพื้นที่ครอบคลุมตำบลศิลาเพชร และตำบลยม ตำบลจอมพระ ตำบลอวน ในปัจจุบัน) บริเวณชุมชนโบราณเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำย่างและลำน้ำบั่ว

ตามประวัติการก่อตั้งกล่าวว่าเมื่อปี พ.ศ. 1820 พญาภูคาพร้อมด้วยภรรยาคือนางจำปาหรือนางแก้วฟ้าและราษฎรประมาณ 220 คน ได้เดินทางมาจากเมือง เงินยาง มาพักอยู่ที่บริเวณบ้านเฮี้ย (ต.ศิลาแลง) จากนั้นได้ออกสำรวจหาพื้นที่สำหรับตั้งเมือง

และจึงได้เจอกับเมืองร้าง บริเวณลุ่มแม่น้ำย่าง ซึ่งมีเพียงหมู่บ้านเล็ก ๆ อยู่ ชื่อว่าบ้านกำปุง หรือ บ่อตอง (ปัจจุบันคือบ้านป่าตอง) ราษฎรเป็นชาวลั๊ว บริเวณชุมชนมีวัดร้างอยู่วัดหนึ่งชื่อ"วัดมณี" อยู่ทางด้านทิศตะวันออกของบ้านกำปุง

พญาภูคาเห็นว่าบริเวณที่ได้สำรวจนี้เหมาะสมที่จะตั้งเมือง จึงได้พาราษฎรอพยพจากบ้านเฮี้ยมาสร้างบ้านเรือนอยู่ติดกับบ้านกำปุงทางทิศเหนือและเนื่องด้วยพญาภูคาเป็นผู้มีความเมตตาโอบอ้อมอารี ราษฎรจึงได้ยกย่องขึ้นเป็นเจ้าเมืองล่าง เมื่อเดือน 3 เหนือ ขึ้น 2 ค่ำ พ.ศ. 1840 นับว่าท่านได้เป็นต้นกำเนิดของ “ราชวงค์ภูคา”

เมื่อชาวเมืองเชียงแสน และเมืองใกล้เคียง ได้ทราบข่าวว่าพญาภูคาได้ตั้งเมืองล่าง และได้ปกครองเมืองล่าง ก็พากันอพยพถิ่นฐานมาอยู่ด้วยเป็นจำนวนมากตลอดจนชาวไทยลื้อสิบสองปันนาก็ได้อพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นอีก จึงทำให้เกิดการตั้งชุมชนขนาดใหญ่ขึ้นบริเวณลุ่มน้ำย่าง และน้ำบั่ว ครอบคลุมบริเวณ ตำบลศิลาเพชร ตำบลยม ตำบลจอมพระ ตำบลอวน ในปัจจุบัน

พญาภูคามีบุตรกับนางจำปา 2 คน คนพี่ชื่อ ขุนนุ่น คนน้องชื่อ ขุนฟอง เมื่อขุนนุ่นอายุได้ประมาณ 18 ปี พญาภูคาจึงให้ขุนนุ่นพาราษฎรจำนวนหนึ่งไปหาที่ตั้งเมืองใหม่ ขุนนุ่นจึงไปหาพญาเถรแตงที่ดอยติ้ว ดอยวาว (เขตติดต่อ อ.ท่าวังผา จ.น่าน กับ อ.เชียงคำ จ.พะเยา ปัจจุบัน)

พญาเถรแตงจึงได้พาขุนนุ่นข้ามแม่น้ำโขงไปทางฝั่งตะวันออกไปสร้างเมืองเวียงจันทร์และปกครองอยู่ที่นั่น ส่วนขุนฟองผู้น้องให้ไปสร้างเมืองอีกเมืองหนึ่งชื่อว่า “วรนคร” อยู่ทางทิศเหนือของเมืองล่าง (ปัจจุบันคือตำบลวรนคร) ขุนฟองท่านมีบุตร 1 คนชื่อ เจ้าเก้าเกื่อน พญาภูคาปกครองเมืองล่างได้ 40 ปี ก็ถึงอนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 1890

เจ้าเก้าเกื่อน ซึ่งมีศักด์เป็นหลาน ได้ปกครองเมืองล่างสืบแทน ในสมัยนั้นพญางำเมือง เจ้าเมืองพะเยา ได้ยกทัพมาตีเมืองวรนคร เจ้าเก้าเกื่อนได้ช่วยพ่อคือพ่อขุนฟองปราบข้าศึกจนพ่ายแพ้ไป เจ้าเก้าเกื่อนปกครองเมืองล่างอยู่นั้น ท่านได้พาราษฎรสร้างเจดีย์ขึ้นที่ม่อนพักหรือม่อนป่าสัก (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านดอนมูล) และได้จัดทำสนามไว้สำหรับชุมชนช้างม้าที่เป็นพาหนะออกทำศึกในที่ดอนแห่งหนึ่ง (ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านดอนไชย)

ต่อมาเจ้าเก้าเกื่อนท่านได้นำต้นโพธิ์มาจากสุโขทัย มาปลูกไว้ใกล้กับบ้านบ่อตองทางทิศตะวันตก พร้อมทั้งสร้างเจดีย์องค์เล็กๆ 1 องค์ ใกล้กับต้นโพธิ์ นำเอาเพชรนิลจินดาแก้วแหวนเงินทองของมีค่าต่างๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ ปัจจุบันไม่ปรากฏให้เจดีย์ เนื่องจากต้นโพธิ์โตขึ้นครอบเจดีย์องค์เล็กจมหายลงไปในดินนานนับหลายร้อยปีแล้ว คงเหลือแต่ต้นโพธิ์ใหญ่ที่สุดในตำบลศิลาเพชร

พ.ศ. 1921 ต่อจากนั้นเมืองล่างจึงไปขึ้นกับเมืองวรนครอยู่ในความปกครองของเจ้าพญาผานอง ซึ่งเป็นราชวงค์ภูคาด้วยกัน เจ้าพญาผานองได้เปลี่ยนชื่อเมืองล่าง เป็น เมืองย่าง โดยเรียกตามลำน้ำย่างที่ไหลผ่านแล้วท่านได้แต่งตั้งเจ้าผาฮ่องขึ้นปกครองเมืองย่าง ซึ่งปกครองเมืองย่างได้ไม่นานก็ถึงแก่กรรม

ต่อมาพญากานเมือง เจ้าเมืองวรนครองค์ที่ 5 แห่งราชวงค์ภูคา ได้ย้ายเมืองวรนครไปตั้งที่เมืองภูเพียงแช่แห้ง เมื่อ พ.ศ. 1902 (เป็นต้นกำเนินของเมืองน่าน) ราษฎรเมืองย่างบางส่วนได้อพยพตามพญากานเมืองไปอยู่ที่ภูเพียงแช่แห้งด้วย เมืองย่างจึงอยู่ในความปกครองของเจ้าเมืองน่าน


ปี พ.ศ. 2246 พระเมืองราชาเจ้าเมืองน่านถูกพม่ามารบกวนอีก เจ้าเมืองเล็นซึ่งปกครองเมืองเล็นอยู่ทางทิศเหนือของเมืองน่านก็ถูกพม่ามารบกวนเช่นกัน จึงได้พากันหนีจากเมืองเล็นมาอยู่เมืองย่างและได้ปกครองเมืองย่าง เจ้ามืองเล็นท่านผู้นี้ได้พาราษฎรสร้างฝายน้ำบั่ว สร้างอารามสงฆ์ และ จัดตั้งหมู่บ้านขึ้น ชื่อบ้านหัวทุ่ง (บ้านนาคำปัจจุบัน) เมื่อเจ้าเมืองเล็นถึงแก่กรรม เจ้าเมืองน่านจึงได้แต่งตั้งนายปั๋น ขึ้นปกครองเมืองย่างชื่อว่า แสนปั๋น ท่านผู้นี้ได้ให้ราษฎรสร้างเหมือง ฝาย นาเหล่าม่อนเปรต (ม่อนเผด) สร้างพระธาตุจอมพริก ปัจจุบันอยู่ในเขตบ้านเสี้ยว ตำบลยม อำเภอท่าวังผา

ครั้นถึงสมัยที่มีการฟื้นม่านเมื่อราวปี 2330 เกิดนโยบายเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง ของเจ้ากาวิลละ กองทัพเจ้าเจ็ดตน กองทัพเมืองน่านโดยเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าเมืองแพร่ เจ้าเมืองลำปาง สยาม และลาวหลวงพระบาง เจ้าจอมหงแห่งเชียงตุง ได้นำกองทัพขึ้นไปโจมตีหัวเมืองไทลื้อ แถบสิบสองปันนา ทำให้หัวเมืองลื้อทั้งหมดพ่ายแพ้แก่กองทัพล้านนา และสยาม จึงเป็นเหตุให้มีการอพยพชาวไทลื้อ เมืองยอง เมืองยู้ เมืองเชียงลาบ จำนวนมากมาอยู่ในจังหวัดน่าน

ปี พ.ศ. 2345 แสนปั๋น เจ้าเมืองย่างถึงแก่กรรม และเมืองย่างเกิดน้ำท่วมครั้งยิ่งใหญ่ โดยครั้งนั้นพญาอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านได้มาตรวจสภาพพื้นที่เมืองย่าง เห็นว่ามีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ดี มีพื้นที่ราบกว้างขวาง ประกอบกับในบริเวณเมืองย่างนั้นมีชาวไทลื้อที่เจ้าเมืองเล็นอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบางส่วนมาตั้งบ้านเรือนในสมัยพญาภูคาแล้วนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการปกครองจึงพิจารณาเห็นสมควรโปรดให้ชาวไทลื้อ ที่ได้อพยพมาจาก เมืองยอง เมืองยู้ เมืองเชียงลาบ ตั้งบ้านเรือน อยู่ริมฝั่งริมสองฟากฝั่งแม่น้ำย่าง โดยโปรดให้นำช่างปั้นหม้อชาวไทลื้อให้ตั้งบ้านเรือนที่บ้านดอนไชย (ปัจจุบัน ขึ้นกับตำบลศิลาเพชร) เมืองเชียงลาบให้ตั้งบ้านเรือนที่ บริเวณลุ่มน้ำย่างใกล้พระธาตุจอมพริก ลื้อเมืองยอง ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้พระธาตุจอมนาง และลื้อเมืองยู้ให้ตั้งบ้านเรือนที่ท้ายแม่น้ำย่าง

ในครั้งนั้นเจ้าอัตถวรปัญโญได้ได้แต่งตั้งให้ แสนจิณปกครองเมืองย่างสืบต่อจากแสนปั๋น

แต่ภายหลังเมื่อมีการจัดระเบียบหัวเมืองการปกครองนครน่านใหม่ เมืองยมขึ้นอยู่กับแขวงน้ำปัว ซึ่งประกอบด้วย เมืองปัว เมืองริม เมืองอวน เมืองยม เมืองย่าง (ภายหลังเมืองย่างเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลศิลาเพชร) เมืองแงง เมืองบ่อ ให้มีที่ว่าการแขวงตั้งที่เมืองปัว

ในปี พ.ศ. 2486 ทางการได้มีประกาศยุบเลิกตำบลศิลาเพชร ให้ไปขึ้นอยู่กับการปกครองของตำบลยม อำเภอปัว ในขณะนั้น ซึ่งมี นายอิทธิ อิ่นอ้าย เป็นกำนัน และให้ตำบลศิลาเพชร เป็นตำบลยม 2

ในปี พ.ศ. 2490 จึงมีประกาศจากทางราชการให้กลับมาเป็นตำบลศิลาเพชรเหมือนเดิม

ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 ได้แยกหมู่บ้านออกเป็น 2 ตำบล คือ ตำบลยม และตำบลจอมพระ ปัจจุบันตำบลยมแบ่งการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน ดังนี้ หมู่ที่ 1 บ้านเก๋ง หมู่ที่ 2 บ้านสบบั่ว หมู่ที่ 3 บ้านลอมกลาง หมู่ที่ 4 บ้านเชียงยืน หมู่ที่ 5 บ้านทุ่งฆ้อง หมู่ที่ 6 บ้านเสี้ยว หมู่ที่ 7 บ้านหนอง หมู่ที่ 8 บ้านพร้าว หมู่ที่ 9 บ้านน้ำไคร้ หมู่ที่ 10 บ้านนานิคม และถูกยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อปี พ.ศ. 2540

สภาพทั่วไปของตำบล

สภาพภูมิศาสตร์มีภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มระหว่างหุบเขา แม่น้ำย่าง และลำน้ำบั่ว ลำน้ำหมู ลำน้าฮาว ลำน้ำไคร้ และภูเขาสูง คือดอยภูคา มีการประกอบอาชีพด้านการเกษตรเป็นส่วนใหญ่

อาณาเขตตำบล

  • ทิศเหนือ ติดกับ ต. ป่ากลาง อ.ปัว จ. น่าน
  • ทิศใต้ ติดกับ ต. อวน อ.ปัว จ. น่าน
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ต. ศิลาเพชร อ. ปัว จ. น่าน
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ต.จอมพระ อ.ท่าวังผา จ. น่าน

จำนวนประชากรของตำบล

จำนวนประชากรในเขต อบต. 4,953 คน และจำนวนหลังคาเรือน 6,268 หลังคาเรือน

ประชากร แบ่งได้สองชาติพันธุ์ คือ ชาวยวนเชียงแสน กับ ชาวไทลื้อ

ชาวยวนเชียงแสน ประกอบด้วย บ้านก๋ง บ้านสบบั่ว บ้านพร้าว บ้านน้ำใคร้ บ้านนานิคม

ชาวไทลื้อ ประกอบด้วย บ้านลอมกลาง บ้านทุ่งฆ้อง บ้านเชียงยืน บ้านหนอง บ้านเสี้ยว

ข้อมูลอาชีพของตำบล

อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน/ ทำไร่

ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล

  • พระธาตุลอมตั้ง
  • พระธาตุจอมพริก
  • อ่างเก็บน้ำชลสิงห์
  • น้ำตกน้ำไคร้
  • คูเมืองโบราณ สมัยพญาภูคา บ้านลอมกลาง
  • อ่างเก็บน้ำห้วยเมี่ยง