ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บ้านลอมกลาง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการทดลองเขียน สแปม หรือการก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 20: บรรทัด 20:
[[ภาพ:ผีเฮือน.jpg|thumb|left|หอผีบรรพบุรุษชาวเมืองเชียงลาบ บ้านลอมกลาง ตำบลยม [[อำเภอท่าวังผา]] [[จังหวัดน่าน]]]]
[[ภาพ:ผีเฮือน.jpg|thumb|left|หอผีบรรพบุรุษชาวเมืองเชียงลาบ บ้านลอมกลาง ตำบลยม [[อำเภอท่าวังผา]] [[จังหวัดน่าน]]]]


'''บ้านลอมกลาง''' หรือในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย''' หรือ '''บ้านบั่วใต้''' หรือ'''บ้านน้ำบั่ว''' ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามสภาพของภูมิศาสตร์คือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำบั่ว ซึ่งกำเนิดมาจากยอดดอยภูคาประกอบกับในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ก่อตั้งหมู่บ้านนั้นเกิดเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2345 ในครั้งนั้นเกิดวิกฤติ ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากสงครามใน[[สิบสองปันนา]]สงบลง
'''บ้านลอมกลาง''' หรือในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า '''บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย''' ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามสภาพของภูมิศาสตร์คือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำบั่ว ซึ่งกำเนิดมาจากยอดดอยภูคาประกอบกับในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ก่อตั้งหมู่บ้านนั้นเกิดเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2345 ในครั้งนั้นเกิดวิกฤติ ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากสงครามใน[[สิบสองปันนา]]สงบลง


เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้โปรดให้ลูกหลานของพญา[[เชียงลาบ]] จำนวน 5 ครอบครัว ได้ตั้งบ้านเรือน บริเวณฝั่งทิศเหนือของลุ่มลำน้ำบั่วโดยทางการให้จัดการปกครองหมู่บ้านให้ขึ้นกับบ้าน[[เชียงยืน]]ชึ่งเป็นชาว[[ไทยเขิน]]โดยมี'''พ่อแสนปัญญา'''ชาวไทเขินเป็นผู้ปกครองชุมชน แต่ในทางกลับกันการศึกษาและประเพณีวิถีปฏิบัติด้านพุทธศาสนานั้นชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบ นั้นไม่ได้เข้าร่วมกับชาวไทเขิน ต้องเดินทางข้ามลำน้ำบั่วไปร่วมงานบุญและกิจกรรมทางศานากับชาวไทลื้อบ้าน[[ทุ่งฆ้อง]] กลุ่มของเจ้าคำแสน เจ้าเมืองเล็น ซึ่งมีวัดตั้งวัดอยู่บริเวณลุ่มน้ำย่าง ฝั่งขวาที่เป็นเนินสูงนั้น มีพระธาตุจอมพริกตั้งอยู่ และมีต้นพริกสูงใหญ่ อายุหลายร้อยปี ปลูกทิ้งไว้ด้านข้างกับพระธาตุจอมพริก (ปัจจุบันต้นพริกโบราณยังคงมีอยู่) ซึ่งในครั้งนั้นพระธาตุจอมพริกยังเป็นป่าที่รกร้าง มีแต่พระธาตุเท่านั้น (ต่อมาชาวไทลื้อลูกหลานพญาคำแสน และลูกหลานพญาเชียงลาบ ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุจอมพริก)มีเพียงแต่วัดทุ่งฆ้องที่เป็นศูนย์กลางพุทธศานาของชุมชน
เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้โปรดให้ลูกหลานของพญา[[เชียงลาบ]] จำนวน 5 ครอบครัว ได้ตั้งบ้านเรือน บริเวณฝั่งทิศเหนือของลุ่มลำน้ำบั่วโดยทางการให้จัดการปกครองหมู่บ้านให้ขึ้นกับบ้าน[[เชียงยืน]]ชึ่งเป็นชาว[[ไทยเขิน]]โดยมี'''พ่อแสนปัญญา'''ชาวไทเขินเป็นผู้ปกครองชุมชน แต่ในทางกลับกันการศึกษาและประเพณีวิถีปฏิบัติด้านพุทธศาสนานั้นชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบ นั้นไม่ได้เข้าร่วมกับชาวไทเขิน ต้องเดินทางข้ามลำน้ำบั่วไปร่วมงานบุญและกิจกรรมทางศานากับชาวไทลื้อบ้าน[[ทุ่งฆ้อง]] กลุ่มของเจ้าคำแสน เจ้าเมืองเล็น ซึ่งมีวัดตั้งวัดอยู่บริเวณลุ่มน้ำย่าง ฝั่งขวาที่เป็นเนินสูงนั้น มีพระธาตุจอมพริกตั้งอยู่ และมีต้นพริกสูงใหญ่ อายุหลายร้อยปี ปลูกทิ้งไว้ด้านข้างกับพระธาตุจอมพริก (ปัจจุบันต้นพริกโบราณยังคงมีอยู่) ซึ่งในครั้งนั้นพระธาตุจอมพริกยังเป็นป่าที่รกร้าง มีแต่พระธาตุเท่านั้น มีเพียงแต่วัดทุ่งฆ้องที่เป็นศูนย์กลางพุทธศานาของชุมชน


ครั้นตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบล้วนแต่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบจึงได้อัญเชิญผีบรรพบุรุษ และผีเจ้าเมืองเชียงลาบ และผีนักรบต่าง ๆ ของเมือง[[เชียงลาบ]] ให้มาสถิตย์อยู่ที่ศาลประจำหมู่บ้านบริเวณฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของหมู่บ้านติดฝั่งลำน้ำบั่ว และมีพิธีบวงสรวงทุกเดือนสี่ และเดือนแปดตามปฏิทินไทลื้อ '''พิธีนี้ยังคงมีจนถึงปัจจุบัน'''
ครั้นตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบล้วนแต่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบจึงได้อัญเชิญผีบรรพบุรุษ และผีเจ้าเมืองเชียงลาบ และผีนักรบต่าง ๆ ของเมือง[[เชียงลาบ]] ให้มาสถิตย์อยู่ที่ศาลประจำหมู่บ้านบริเวณฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของหมู่บ้านติดฝั่งลำน้ำบั่ว และมีพิธีบวงสรวงทุกเดือนสี่ และเดือนแปดตามปฏิทินไทลื้อ '''พิธีนี้ยังคงมีจนถึงปัจจุบัน'''

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:59, 9 มกราคม 2552

บ้านลอมกลาง อยู่ในจังหวัดน่าน

สภาพทางภูมิศาสตร์

บ้านลอมกลาง หมู่ 3 ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน รหัสไปรษณีย์ 55140 ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลยม เนื้อที่ของหมู่บ้านจำนวน 2500 ไร่ จำนวนครัวเรือนทั้งหมด 97 ครัวเรือน ตั้งอยู่บนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1170 หลักกิโลเมตรที่ 12 (ถนนท่าวังผา-ศิลาเพชร) สภาพเป็นเนินภูเขา อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างลำน้ำบั่วและแม่น้ำย่าง ทางด้านทิศเหนือเป็นภูเขาสูงโอบล้อมอยู่เป็นที่ตั้งของดอยม่อนหลวง และดอยม่อนหีโง จรดไปถึงลำน้ำหมู บ้านนานิคม และข้ามไปถึงทิศตะวันตกเฉียงใต้ จรดห้วยช้างสั่น บ้านป่ากลาง อ.ปัว และบ้านน้ำฮาว ทิศใต้เป็นเนินที่ราบเรียกว่าทุ่งฆ้อง และที่ราบสูงบ้านเสี้ยวโดยมีแม่น้ำย่างกั้นระหว่างบ้านเสี้ยวกับบ้านลอมกลาง ทางทิศเหนือห่างจากหมู่บ้าน 2 กม.เป็นดอยภูคา ทิศตะวันตกเป็นเนินลงลำน้ำบั่วกั้นระหว่างบ้านสบบั่วกับบ้านลอมกลาง

อาณาเขต

ทิศเหนือ ติดกับบ้านนานิคม หมู่ 10 ต.ยม และบ้านป่ากลาง ต.ป่ากลาง อำเภอปัว

ทิศใต้ ติดกับบ้านเสี้ยว

ทิศตะวันออก ติดกับบ้านทุ่งฆ้อง และบ้านเชียงยืน

ทิศตะวันตก ติดกับบ้านสบบั่ว

ประวัติการก่อตั้งหมู่บ้าน

ไฟล์:ตัวหนังสือไทลื้อ.jpg
ตัวอักษรไทลื้อ
ไฟล์:ผีเฮือน.jpg
หอผีบรรพบุรุษชาวเมืองเชียงลาบ บ้านลอมกลาง ตำบลยม อำเภอท่าวังผา จังหวัดน่าน

บ้านลอมกลาง หรือในอดีตมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย ซึ่งตั้งชื่อขึ้นตามสภาพของภูมิศาสตร์คือเป็นที่ราบลุ่มลำน้ำบั่ว ซึ่งกำเนิดมาจากยอดดอยภูคาประกอบกับในพื้นที่ราบลุ่มดังกล่าวเต็มไปด้วยต้นกล้วยน้ำว้าเป็นจำนวนมาก ก่อตั้งหมู่บ้านนั้นเกิดเริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ 2345 ในครั้งนั้นเกิดวิกฤติ ยุคเก็บผักใส่ซ้าเก็บข้าใส่เมือง หลังจากสงครามในสิบสองปันนาสงบลง

เจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ได้โปรดให้ลูกหลานของพญาเชียงลาบ จำนวน 5 ครอบครัว ได้ตั้งบ้านเรือน บริเวณฝั่งทิศเหนือของลุ่มลำน้ำบั่วโดยทางการให้จัดการปกครองหมู่บ้านให้ขึ้นกับบ้านเชียงยืนชึ่งเป็นชาวไทยเขินโดยมีพ่อแสนปัญญาชาวไทเขินเป็นผู้ปกครองชุมชน แต่ในทางกลับกันการศึกษาและประเพณีวิถีปฏิบัติด้านพุทธศาสนานั้นชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบ นั้นไม่ได้เข้าร่วมกับชาวไทเขิน ต้องเดินทางข้ามลำน้ำบั่วไปร่วมงานบุญและกิจกรรมทางศานากับชาวไทลื้อบ้านทุ่งฆ้อง กลุ่มของเจ้าคำแสน เจ้าเมืองเล็น ซึ่งมีวัดตั้งวัดอยู่บริเวณลุ่มน้ำย่าง ฝั่งขวาที่เป็นเนินสูงนั้น มีพระธาตุจอมพริกตั้งอยู่ และมีต้นพริกสูงใหญ่ อายุหลายร้อยปี ปลูกทิ้งไว้ด้านข้างกับพระธาตุจอมพริก (ปัจจุบันต้นพริกโบราณยังคงมีอยู่) ซึ่งในครั้งนั้นพระธาตุจอมพริกยังเป็นป่าที่รกร้าง มีแต่พระธาตุเท่านั้น มีเพียงแต่วัดทุ่งฆ้องที่เป็นศูนย์กลางพุทธศานาของชุมชน

ครั้นตั้งหมู่บ้านนั้น ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบล้วนแต่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบจึงได้อัญเชิญผีบรรพบุรุษ และผีเจ้าเมืองเชียงลาบ และผีนักรบต่าง ๆ ของเมืองเชียงลาบ ให้มาสถิตย์อยู่ที่ศาลประจำหมู่บ้านบริเวณฝั่งด้านตะวันออกเฉียงใต้ ของหมู่บ้านติดฝั่งลำน้ำบั่ว และมีพิธีบวงสรวงทุกเดือนสี่ และเดือนแปดตามปฏิทินไทลื้อ พิธีนี้ยังคงมีจนถึงปัจจุบัน

รายนามลำดับผู้ปกครองชุมชน

  • การปกครองสมัยบ้านเชียงยืน

1. พ่อแสนปัญญา ชาวไทเขินบ้านเชียงยืน

2. พ่อแสนหลวงนัยธรรม (พ.ศ. 2395)

3. หลวงสุริยะ (พ.ศ. 2420)

4. พ่อหนานอิ่นเมือง (พ.ศ. 2450)

5. พ่อหนานบุญสงค์ สุยะตา (พ.ศ. 2474) สมัยพ่อบุญสงค์เป็นผู้ปกครองมีหมู่บ้านอยู่สามหมู่บ้าน คือน้ำบั่ววัด น้ำบั่วใต้ และน้ำบั่วป่ากล้วย อยู่ต่อมาบ้านน้ำบั่วใต้ก็ยุบไป แล้วมีหมู่บ้านเกิดขึ้นแถมบ้านหนึ่ง คือบ้านหนองเตา สามหมู่บ้านนี้อยู่ในเขตการดูแลของพ่อบุญสงค์ทั้งหมด

6.พ่อน้อยคำ เมฆยะ (พ.ศ. 2505 ) สมัยพ่อน้อยคำเป็นผู้ใหญ่ก็มีการแบ่งหมู่บ้าน ทางราชการกำหนดให้ บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย แยกการปกครองเป็นอีก 1 หมู่บ้านโดยตั้งพ่อหนานสายคำ เขยตุ้ย เป็นหัวหน้าหมู่บ้าน

  • บ้านน้ำบั่วป่ากล้วย

1. พ่อหลวงหนานสายคำ เขยตุ้ย

2. พ่อหลวงหนานสมบูรณ์ เขยตุ้ย

3. พ่อหลวงน้อยคำ ไชยปรุง สมัยพ่อหลวงน้อยคำ บ้านน้ำบั่วป่ากล้วยได้เกิดโรคระบาด จึงได้อพยพลูกหลาน และขอให้ขาวบ้านป่ากล้วยได้อพยพมาตั้งเรือน ให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ฝั่งทิศใต้ของลำน้ำบั่ว โดยครั้งนั้นพ่อหลวงน้อยคำซึ่งเป็นผู้มีฐานะ และกว้างขวางมาก และเป็นผู้ที่มีผู้คนยอมรับนับถือเป็นอันมาก ได้ซื้อที่ดินจากเจ้าของบริเวณทั้งหมดของหมู่บ้าน แล้วนำมาแบ่งให้กับลูกหลานได้ตั้งบ้านเรือน ประกอบกับครั้งนั้นทางราชการได้ตัดถนนหลวง สาย 1180 ผ่านหน้าหมู่บ้าน หลังจากนั้นจึงได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านเป็น บ้านลอมกลาง หลังจากตั้งหมู่บ้านไม่นาน พ่อหลวงน้อยคำขอลาออกจากผู้ปกครองหมู่บ้าน เพื่อค้าขายวัว และเกลือ และสินค้าอื่น ๆ โดยมีคราวานวัวต่างนับร้อยตัว

หลังนั้นบ้านลอมกลางก็มีผู้ปกครองหมู่บ้านตามที่ทางราชการแต่งตั้งมาเรื่อย ๆ จนมาถึงสมัยของ นายวิเชียร ไชยปรุง ชาวบ้านลอมกลางเกิดความขัดแย้งในการปฏิบัติพุทธศาสนากับหมู่บ้านทุ่งฆ้อง ครั้งนั้นชาวบ้านจึงได้มีมติขอแยกวัดทุ่งฆ้องมาตั้งวัดขึ้นมาใหม่ ครั้งนั้นพ่อหลวงน้อยคำ และแม่หลวงขันคำ ไชยปรุง จึงได้บริจาคสวนมะม่วง เพื่อตั้งวัดลอมกลาง อีกทั้งสองเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการสร้างศาสนสถานขึ้นในชุมชน


ลำดับเหตุการณ์สำคัญครั้งเมืองเชียงลาบ

พ.ศ. 2330 เกิดยุค "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง" เจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และเจ้าผู้ครองนครน่าน นครแพร่ นครลำปาง เจ้าเมืองหลวงพระบาง เจ้าจอมหง แห่งเชียงตุง และกองทัพสยาม ได้นำกำลังไพร่พลและอาวุธ เข้าตีหัวเมืองลื้อต่าง ๆ ในสิบสองปันนา เพื่อขับไล่พม่าออกจากล้านนา และหัวเมืองสิบสองปันนา และในครั้งนั้นได้นำกำลังเข้าโจมตีเชียงแสน ซึ่งเป็นเมืองขึ้นของพม่า ในขณะนั้นเมืองเชียงลาบเป็นหัวเมืองหนึ่งของเชียงแสน และเป็นเมืองขึ้นของพม่า

ครั้นกองทัพของล้านนาเข้าโจมตีเชียงแสนทางพม่าได้สั่งให้หัวเมืองต่าง ๆ เช่น เชียงลาบ เชียงแขง เมืองเลน เมืองพยาก นำทัพเข้ามาสมทบกับทัพของเชียงแสน

เมื่อทัพของเจ้าเจ็ดตนแห่งล้านนาได้ขับไล่พม่าออกจากเมืองเมืองเชียงแสนเจ้ากาวิลละโปรดให้ให้รื้อกำแพงเมืองทั้งหมด ซึ่งในตอนนั้นถือว่าสิ้นสุดของเชียงแสน ส่วนเมืองเชียงลาบ ในขณะนั้นเป็นหัวเมืองสำคัญของเชียงแสน ก็ถือคราวแตก และเป็นอิสระแก่เชียงแสน เมื่อทัพเจ้าเจ็ดตนขยายการยึดครองเมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนารวมถึงเชียงลาบ ด้วย ทางเชียงลาบ ซึ่งเป็นเมืองเล็ก ๆ ติดริมแม่น้ำโขง เจ้าหลวงเชียงลาบพิจารณาเห็นแล้วว่ากำลังของชาวเชียงลาบไม่สามารถที่จะต้านทานศึกสงครามในครั้งนี้ได้แน่จึงได้ขอเป็นขอบข้าขัณฑสีมาแต่ล้านนา

นับแต่เมืองเชียงลาบ ไปสุดเมืองเชียงแขง เมืองล้า เมืองพง เมืองมาง เมืองภูคา เมืองเทิง เมืองเลน ถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเมืองน่าน ในฐานนะหัวเมืองขึ้น หลังจากเมืองน่านได้ปกครองหัวเมืองลื้อต่าง ๆ แล้วจึงได้มีหนังสือโองการเจ้าฟ้าแห่งเมืองนครน่าน ไปแจ้งยังเจ้าฟ้าไทลื้อหัวเมืองต่าง ๆ เพื่อเดินทางมายังหอคำหลวงนครน่าน เพื่อรับฟังข้อกฎหมายปกครองนครน่าน ดังจารึกหลักคำ เรื่องอาณาจักรหลักคำน่าน (กฎหมายปกครองนครน่าน) ได้กล่าวไว้ตอนหนึ่งดังนี้....

ครั้นเถิงเดือนยี่ออก ๑ ค่ำ มีเจ้าพระยาอุปราชาหอหน้าเป็นประธาน และเจ้าพระยาราชบุตร เจ้าพระยาศรีสองเมือง เจ้าพระยาสุริยพงษ์ เจ้าพระยาวังซ้าย เจ้าพระยาวังขวา เจ้าพระยาอริยวงษา เจ้าพระยาเทิง เจ้าพระยาเมืองราชา เจ้าพระเมืองแก้ว เจ้าพระเมืองน้อย เจ้าพระวิไชยราชา เจ้าเมืองเชียงแขง เจ้าเมืองเชียงของ เจ้าเมืองเลน เจ้าราชวงษ์เมืองเลน เจ้าเมืองหลวง เจ้าเมืองเชียงลาบ เจ้าเมืองภูคา เจ้าเมืองล้ำ แลขัติยราชวงษา ท้าวพญาเสนาอามาตย์ราชเสวกผู้ใหญ่ผู้น้อยทั้งมวลพร้อมกันเอาเนื้อความปรึกษาตั้งราชอาชญานั้นขึ้นกราบหลอง๗ เถิงราชสำนักเราเป็นเจ้าแล้ว จึงได้พร้อมกันตั้งพระราชอาชญาไว้หื้อเป็นอาณาจักรหลักคำ ไว้สั่งสอนห้ามปรามเจ้านายท้าวขุนลูกหลานไพร่ไทยทั้งหลายอย่ากระทำกรรมอันบ่ดีสืบต่อไปภายหน้าว่าตั้งแต่ศักราช ๑๒๑๔ ตัวปีเต่าไจ้เดือนยี่ ออก ๑ ค่ำ วันพุธนี้ไป ภายหน้าห้ามอย่าหื้อเจ้านายท้าวขุนไพร่ไทยทั้งหลายได้สมคบกันกระทำกรรมบ่ดี

ผลจากสงครามครั้งนี้จึงทำให้เมืองเชียงลาบยังคงรักษาสถานะความเป็นเมืองและยังคงมีเจ้าผู้ครองเมืองดังเดิม ซึ่งแตกต่างจากเจ้าเมืองยอง ซึ่งเป็นเสมือนเมืองพี่กับเมืองเชียงลาบ ซึ่งล้วนเป็นเมืองขึ้นของพม่าด้วยกัน ที่ไม่ยอมเจรจาเลยถูกโจมตีอย่างหนักถึงสามวันสามคืน จนเมืองแตก ทำให้เกิดการอพยพเทครัวทั้งเมืองรวมถึงเจ้าฟ้าเมืองยองถูกนำตัวมาไว้ที่ลำพูน

เมื่อเสร็จสิ้นสงครามครั้งนี้ ทางเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่าน ให้อพยพผู้คนบางส่วนจากเชียงลาบตามตามทัพของท่าน กลับเข้ามาสู่นครน่าน

สู่ขอบข้าฟ้าใหม่นครน่าน

ครั้นเมื่อกองทัพเจ้าอัตถวรปัญโญกลับมาถึงเมืองน่าน ในปี พ.ศ. 2345 เมืองย่าง และเมืองยม ซึ่งเป็นหัวเมืองหนึ่ง ของนครน่าน เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ผู้คนล้มตาย และสูญหายไปเป็นจำนวน มาก อีกทั้งเจ้าเมืองย่าง คือ แสนปั๋นถึงแก่กรรม

โดยครั้งนั้นเจ้าอัตถวรปัญโญ เจ้าผู้ครองนครน่านได้มาตรวจสภาพพื้นที่เมืองย่าง และเมืองยม เห็นว่ามีพื้นดินอุดมสมบูรณ์ดี มีพื้นที่ราบกว้างขวาง ประกอบกับในบริเวณเมืองย่างนั้นมีชาวไทลื้อที่เจ้าเมืองเล็นอพยพผู้คนมาตั้งบ้านเรือนบางส่วนมาตั้งบ้านเรือนในสมัยพระเมืองราชา เจ้าเมืองน่านแล้วนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในการปกครองจึงพิจารณาเห็นสมควรโปรดให้ชาวไทลื้อ ที่ได้อพยพมาจาก เมืองยอง เมืองยู้ เมืองเชียงลาบ ตั้งบ้านเรือน อยู่ริมฝั่งริมสองฟากฝั่งแม่น้ำย่าง ในเขตเมืองยม

โดยครั้งนั้นโปรดให้ชาวไทลื้อที่เป็นลูกหลานพญาเชียงลาบ เจ้าเมืองเชียงลาบตั้งบ้านเรือนอยู่ริมลำน้ำบั่ว โปรดให้ลูกหลานพญาคำแสนเจ้าเมืองเล็น ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำย่างฝั่งทิศเหนือ โปรดให้ชาวเมืองยอง ตั้งบ้านเรือนอยู่ทิศใต้ของแม่น้ำย่าง ชาวลื้อเมืองยู้ตั้งบ้านเรือนอยู่กลางน้ำย่าง

ภาษา ศาสนาและความเชื่อ

สำเนียงภาษาลื้อ

สำเนียงภาษาชาวลื้อเมืองเชียงลาบ เป็นสำเนียงภาษาเดียวกับภาษาเชียงรุ่ง เหมือนกับภาษาชาวไทยอง (ลื้อเมืองยอง) ตัวอักษรของชาวไทลื้อคล้ายกับภาษาของชาวไทเขิน ซึ่งต่างจากอักษรล้านนา ชาวไทลื้อเมืองเชียงลาบนับถือพุทธศาสนา และนับถือผีบรรพบุรุษและผีต่าง ๆ

การนับถือพุทธศาสนา

พระพุทธศาสนา นับถือนิกายเถรวาท ประยุกต์เข้ากับวัฒนธรรมชาวเชียงลาบ การยอมรับนับถือพุทธศาสนานั้นชาวเชียงลาบได้รับการเผยแพร่มาจากเชียงแสน และพม่า


การนับถือผี

ข้อห้ามสำหรับแขก หรือบุคคลที่ไม่ได้นับถือบรรพบุรุษเดียวกันคือ ห้ามบุคคลที่นับถือผีต่างกันหรือแขกที่มาเยี่ยมเข้าไปห้องนอนของเจ้าบ้านโดยเด็ดขาด เพราะห้องนอนจะเป็นที่สถิตย์ของผีครูและผีเรือน

    • ผีเจ้าเมือง คือผีเจ้าหลวงเชียงลาบ และพระมหาเทวีเจ้า และนักรบโบราณต่าง ๆ ที่ทำหน้าที่ดูแลปกปักรักษาบ้าน เมือง เสื้อเมือง ซึ่งผู้ทำหน้าที่ติดต่อผีเรียกว่า เข้าจ้ำ ซึ่งจะเป็นผู้ชาย และจะต้องทำพิธีบวงสรวงด้วยหมูสีดำสนิท และต้องเป็นตัวที่ไม่มีที่ติ ถูกต้องตามลักษณะ ตามตำราของหมอผี การบวงสรวงจะกระทำปีละสองครั้ง คือเดือนสี่และเดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ หากมีเหตุการณ์ไม่ปกติ ต้องบวงสรวงด้วยวัว ควาย หมู เป็ด ไก่

ข้อห้ามคือ ห้ามผู้หญิงเข้าเขตบวงสรวง นี้โดยเด็ดขาด

    • ผีเรือน ซึ่งมีทั้งผีเรือนฝ่ายพ่อ และฝ่ายแม่ การสืบผีนั้นผู้หญิงจะทำหน้าที่สืบผีเรือน คือต้องทำหน้าที่ต่อกับผีเซ่นไหว้ไม่ให้ขาด การบวงสรวงผีเรือนจะกระทำหลังจากบวงสรวงผีเจ้าเมือง การบวงสรวงจะบวงสรวงด้วยไก่สีดำ และไข่ไก่ ฝ้าย เทียนเหลือง หรือขี้ผึ้ง ผู้หญิงจะเป็นคนกระทำ
    • ผีเตาไฟ และผีหม้อนึ้ง มีหน้าที่ดูแลรักษาบ้านเรือนไม่ให้เกิดไฟไหม้ และอาหารเป็นพิษ อันจะทำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ตรวจตราว่าเกิดสิ่งร้ายอันใดขึ้นกับบุคคลในครอบครัวและผู้อื่น กล่าวคือ เมื่อมีคนไม่สบายในบ้านเรือน เข้าจ้ำจะทำพิธีหาสาเหตุโดยเสี่ยงทายจากหม้อนึ้ง
    • การทรงผีหม้อนึ้ง ผู้ทำหน้าที่ต้องเป็นผู้หญิงเท่านั้นและจะต้องสืบทางสายเลือด เมื่อมีการทรงนั้นจะนำน้ำเต้าและไหข้าวมาผูกกับไม้คานให้เป็นรูปคน เขียนหูเขียนตา จมูก ใส่เสื้อผ้า แล้วนำข้าวสารใส่กระด้ง ก่อนการทรงผีนั้นจะให้ชาวบ้านพิสูจน์ก่อนคือให้ลองยกไหข้าวก่อนว่าน้ำหนักเบา เมื่อมีการทรงแล้วไหข้าวจะมีน้ำหนักมาก จนต้องใช้คนถึงสองคนช่วยกันยก ไปบริเวณพิธีที่มีกระด้งอยุ่ เมื่อไปถึงกระด้งผีหม้อนึ่งจะเขียนตัวหนังสือเป็นภาษาไทลื้อ ซึ่งจะมีล่ามคือคนแก่อ่านให้ฟัง หรือใครที่อ่านออกก้ออ่านได้เลย จากนั้นก้อจะทำพิธีเสี่ยงทายเรื่องต่าง ๆ แล้วแต่ใครอยากรู้เรื่องอะไร แต่ส่วนใหญ่ถามเรื่องอาการเจ็บป่วย หากคนเจ็บป่วยนั้นจะต้องตายแน่ ๆ ผีหม้อนึ้งจะวาดเป็นรูปโลงศพ แล้วโกยข้าวสารกลบรูปโลงศพ ซึ่งการเสี่ยงทายนั้นจะตรงกับความจริงเสมอ (การทำพิธีนี้นาน ๆ อาจสิบปีจะมีสักครั้งหรือสองครั้ง)
    • ผีก๊ะผีห่า คือผีไม่มีญาติ หรือสังภเวสีต่าง ๆ ที่คอยมารังควานทำร้ายชาวบ้าน เมื่อเจ็บป่วยหมอจะทำพิธีเสี่ยงทายและจะให้นำของไปเซ่นไหว้ ตามที่ผลเสี่ยงทายออกมา
    • ผีครู คือผีครูบาอาจารย์ ซึ่งมีหน้าที่ปกปักรักษาศิษย์ ผู้เรียนคาถาเวทมนตร์ต่าง ๆ

ความเชื่อเรื่องอื่น ๆ

    • ห้ามต้มไข่ ลาบเป็ด แกงหอย เลี้ยงแขกหรือผู้มาเยือน กรณี แขกมาบ้านแล้วถูกเจ้าบ้านต้มไข่ให้กิน แสดงว่า เจ้าบ้านไม่ชอบแขกคนนั้น หรือ แสดงถึงการขับไล่แขกออกจากบ้าน
    • ห้ามวางไม้กวาด หน้าบันไดบ้าน หรือห้ามกวาดบ้านตอนแขกเข้าบ้าน ถ้ากวาดบ้านแสดงว่าไม่ต้องการให้แขกเข้าบ้าน
    • ห้ามหญิงชาย (วัยหนุ่มสาว) ที่ยังไม่แต่งงานถูกเนื้อต้องตัว หรือ อยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน หรือก่อนทำพิธีไขว่ผีประจำตระกูล
    • ห้ามตัดต้นไม้ใหญ่ หรือเอาต้นไม้จากป่าช้า หรือบริเวณหอผี เข้ามาในหมู่บ้าน
    • วันเสียผี (วันเผาศพคนในหมู่บ้าน)ห้ามขนไม้ หรือสิ่งของเข้ามาในหมู่บ้านโดยเด็ดขาด
    • ห้ามตากผ้าถุง รองเท้า ไว้ที่สูงกว่าศีรษะ
    • ห้ามผู้ญิงมีประจำเดือนเข้าวัด
    • ห้ามผู้หญิง เข้าเขตพัทสีมา หรือเขตสงฆ์ สถูป เจดีย์ หรือกุฏิพระสงฆ์

ประเพณีของชาวลื้อเมืองเชียงลาบ

  • ป๋างสี่ป๋างแปด ตรงกับเดือนสี่ และเดือนแปด ตามปฏิทินไทลื้อ คือพิธีบวชสรวงดวงวิญญาณของเจ้าหลวงเชียงลาบ และพระนางมหาเตวีเจ้า และเหล่าดวงวิญญานักรบโบราณ เสื้อบ้าน เสื้อเมืองเชียงลาบ ซึ่งจะจัดขึ้นทุกปี ในช่วงเดือนสี่ และเดือนแปด ของชาวไทลื้อ (เป็นประเพณีที่ต้องทำทุกปี ห้ามเว้นโดยเด็ดขาด)


  • จิ๊ก๋องโหล คือ ประเพณีถวายอัคคีพุทธบูชา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของไทย หรือวันยี่เป็งของล้านนา แต่ในเดือนของชาวไทลื้อ คือ เดือนเจ๋งเป็ง หรือ "เก๋งเป็ง" หมายถึงเดือนหนึ่งหรือเดือนอ้ายขึ้นสิบห้าค่ำ นั่นเองซึ่งเป็นประเพณีที่สืบทอดมานับแต่สมัยอยู่เมืองเชียงลาบ ซึ่งว่างเว้นหรือไม่จัดไม่ได้เด็ดขาด กล่าวคือในวันดังกล่าวจะมีพิธีแป๋งเข่าลดเค๊าะ และพิธีตักบาตรในตอนเช้าตอนสายฟังธรรม จนถึงสองทุ่มจึงทำพิธีเผาไม้ง่ามหรือไม้ก้ำสลี

- การทำไม้ค้ำสลี สำหรับถวายทานนี้ฝ่ายผู้ชายต้องไปหาไม้ง่ามในป่ามาปอกเปลือกให้หมด ไม้ที่นิยมคือไม้เป้า หาให้มีจำนวนครบกับคนในครอบครัว และบวกเพิ่มอีก 1-2 ท่อน แล้วจารึกชื่อ และอักษรธรรมภาษาไทลื้อลงไปในไม้แต่ละท่อน จากนั้นนำไม้ไปสุมเป็นกองหน้าวิหารวัด แล้วนำด้ายพันรอบไม้ค้ำสลี ก่อนจุดพระจะเป็นคนสวดนำทางเวียนเทียนสามรอบ เมื่อครบสามรอบแล้วจึงนำเทียนนั้นจุดไฟเผาไม้ เมื่อไฟไหม้ไม้ ทุกคนจะอธิษฐานของให้เคราะห์ทุกอย่างที่จะเกิดขึ้นกับตัว และอริศัตรูต่าง ๆ นั้นมอดไหม้ไปกับไฟนี้อย่าให้มีเหลือ ขอให้ชีวิตรุ่งเรืองเหมือนกับไฟที่ลุกสว่างขึ้นเรื่อย ๆ

  • ประเพณีปี๋ใหม่ ตรงกับเดือนหกของชาวไทลื้อ คือวันสงกรานต์ของไทย พิธีที่ต่างกันจากชาวล้านนาทั่วไปคือ ชาวลื้อจะมีการฉลองโดยการทำพิธีบายสีสู่ขวัญคนเฒ่าคนแก่ทุกคน และจะต้องทำให้ครบทุกคนในหมู่บ้าน และทุกบ้านหากมีผู้สูงอายุต้องทำพิธี และต้องเชิญชาวบ้านมาร่วมงาน และจะมีการฆ่าไก่ เพื่อมาต้มสู่ขวัญและ นำมาเลี้ยงแขกทุกคนในบ้าน และต้องเลี้ยงจนแขกคนสุดท้ายกลับ

อาชีพ

1. ทำนา-ทำไร่ 2. สวนพริก 3. การผลิตกระดาษสา และผลิตภัณฑ์จากกระดาษสา


อ้างอิง

  • พื้นเมืองเชียงแสน วัดป่าสัก อ.เชียงแสน จ.เชียงราย
  • ประวัติชาวไทลื้อ บ้านลอมกลาง ต.ยม อ.ท่าวังผา จ.น่าน
  • ประวัติความเป็นมาของตำบลศิลาเพชร ต.ศิลาเพชร อ.ปัว จ.น่าน