ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไมบัค"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ใส่ลิงก์ข้ามภาษาด้วยบอต
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 9: บรรทัด 9:


==รถยนต์หรูหรา==
==รถยนต์หรูหรา==
[[ภาพ:Maybach5762.jpg|thumb|275px|มายบัค 62 และ 57]]
[[ภาพ:Mercedes_Maybach_57_and_62.jpg|thumb|275px|มายบัค 57 และ 62]]
[[ภาพ:Mercedes_Maybach_57_and_62.jpg|thumb|275px|มายบัค 57 และ 62]]
[[ภาพ:Black Maybach 62 Steuben.jpg|thumb|275px|มายบัค 62]]
[[ภาพ:Black Maybach 62 Steuben.jpg|thumb|275px|มายบัค 62]]

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:09, 1 มกราคม 2552

โลโก้มายบัค
โลโก้มายบัค

มายบัค[1] (Maybach; อ่านว่า ไมบาค) รถยนต์นั่งจากเยอรมัน บริษัทก่อตั้งโดย วิลเฮล์ม มายบัค และลูกชาย คาร์ล มายบัค รถยนต์ของมายบัคมีลักษณะเป็นรถยนต์หรูหราขนาดใหญ่ นอกจากนี้รถยนต์แล้ว มายบัคยังได้ผลิตเครื่องยนต์สำหรับอากาศยาน ให้แก่เรือเหาะ (Zeppelin) ปัจจุบันเดมเลอร์ เอจีเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าของมายบัค โดยบริษัทตั้งอยู่ที่เมืองสตุตการ์ต เยอรมนี

ในระหว่างช่วง สงครามโลกครั้งที่ 2 มายบัคได้ผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์สำหรับกองทัพเยอรมันเป็นส่วนใหญ่ ที่เป็นที่รู้จักได้แก่ แพนเซอร์ โฟร์ ไทเกอร์ วัน และ รถถังแพนเทอร์ ภายหลังสงคราม บริษัทยังคงได้ผลิตเครื่องยนต์ดีเซลสำหรับรถไฟ เช่น เครื่อง เยอรมัน วี200 และ บริติชเรล คลาส 52 ที่มีชื่อเสียง

ในปี พ.ศ. 2503 เดมเลอร์-เบนซ์ ได้ซื้อหุ้นส่วนใหญ่บริษัท และได้เปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น Maybach Mercedes-Benz Motorenbau GmbH และในปี พ.ศ. 2512 ได้กลายมาเป็น MTU Friedrichshafen

รถยนต์หรูหรา

มายบัค 57 และ 62
มายบัค 62

มายบัคได้กลับมาสร้างรถยนต์หรูหราอีกครั้งหนึ่ง ภายใต้การดูแลของ เมอร์เซเดส-เบนซ์ โดยได้เริ่มออกมา 2 รุ่นได้แก่ มายบัค 57 และ มายบัค 62 มีลักษณะเหมือนกันแตกต่างกันตรงความยาวของตัวถังรถ รถมายบัคถือว่าเป็นรถในระดับหรูหรา ซึ่งราคาใกล้เคียงกับรถบริษัทอื่นเช่น เบนลีย์ หรือ โรลส์-รอยซ์ ในปี พ.ศ. 2548 มายบัคได้ออกรถยนต์รุ่น 57S มีลักษณะเป็นรถสปอร์ต โดยมีเครื่องยนต์ 6 ลิตร V12 เทอร์โบคู่ ผลิตแรงม้าได้สูงถึง 604 แรงม้า และ ทอร์กได้สูงถึง 737 ปอนด์/ฟุต

รถมายบัคที่ใช้เป็นรถยนต์พระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

  1. มายบัค 62 สีครีม เลขทะเบียน ร.ย.ล.1 รถยนต์พระที่นั่งทรงในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
  2. มายบัค 62 สีครีม เลขทะเบียน 1ด-1992 รถยนต์พระที่นั่งสำรองในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
  3. มายบัค 62 สีน้ำเงิน-ทอง เลขทะเบียน 1ด-1991 รถยนต์พระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน
  4. มายบัค 62 สีน้ำตาล-ทอง เลขทะเบียน 1ด-1993 รถยนต์พระที่นั่งในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลปัจจุบัน

รุ่น

ก่อนสงครามโลก

  • พ.ศ. 2462 (1919) มายบัค W1 - รถทดสอบโดยใช้ตัวถังของเมอร์เซเดส
  • พ.ศ. 2464 (1921) มายบัค W3 - มายบัครุ่นแรก แสดงในงานมอเตอร์โชว์ที่ เบอร์ลิน เครื่องยนต์ 70 แรงม้า 5.7 ลิตร เครื่องยนต์หกสูบแถวเรียง
  • พ.ศ. 2469 (1926) มายบัค W5 - เครื่องยนต์ 7 ลิตร 120 แรงม้า
  • พ.ศ. 2472 (1929) มายบัค 12 - เครื่องยนต์ V12
  • พ.ศ. 2473 (1930) มายบัค DSH - Doppel-Sechs-Halbe 1930-37
  • พ.ศ. 2473 (1930) มายบัค DS7 Zeppelin - 7 ลิตร V12, 150 แรงม้า
  • พ.ศ. 2474 (1931) มายบัค W6 - เครื่องยนต์เดียวกับ W5 แต่ฐานล้อกว้างขึ้น 1931-33
  • พ.ศ. 2474 (1931) มายบัค DS8 Zeppelin - 8 ลิตร V12, 200 แรงม้า
  • พ.ศ. 2477 (1934) มายบัค W6 DSG - เพิ่มประสิทธิภาพระบบขับเคลื่อนแบบโอเวอร์ไดรฟ์คู่
  • พ.ศ. 2478 (1935) มายบัค SW35 - 3.5 ลิตร 140 แรงม้า I6
  • พ.ศ. 2479 (1936) มายบัค SW38 - 3.8 ลิตร 140 แรงม้า I6
  • พ.ศ. 2482 (1939) มายบัค SW42 - 4.2 ลิตร 140 แรงม้า I6

W2 เป็นเครื่อง 5.7 ลิตร หกสูบแถวเรียง สั่งทำโดย สปายเกอร์เท่านั้น และในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มายบัคได้ผลิตรถยนต์ประมาณ 1800 คัน

สมัยใหม่

  • พ.ศ. 2545 (2002) มายบัค 57 SWB และ 62 LWB
  • พ.ศ. 2548 (2005) มายบัค Exelero (รถต้นแบบแสดงในงาน IAA ที่แฟรงค์เฟิร์ต)
  • พ.ศ. 2548 (2005) มายบัค 57S SWB และ 62S LWB (อักษร S ย่อมาจากคำว่า special ที่แปลว่าพิเศษ มากกว่าความหมายของ sport ของรถสปอร์ต)

อ้างอิง

  1. ชื่อ Maybach สะกด "มายบัค" ตาม ที่ปรากฏในเว็บไซต์เดมเลอร์ไครสเลอร์ คำอ่านตามภาษาเยอรมันอ่านว่า IPA: [ˈmaɪ.baːx] /ไมบาค/

แหล่งข้อมูลอื่น