ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (ประเทศไทย)"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Vetbook (คุย | ส่วนร่วม)
Vetbook (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 34: บรรทัด 34:


1) ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอยู่ใน ม.139 คือ คณะรัฐมนตรี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา หรือ รวมกับส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสองสภา หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือประธานองค์อิสระ ซึ่งต่างจากการตราพระราชบัญญัติธรรมดา คือ
1) ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอยู่ใน ม.139 คือ คณะรัฐมนตรี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา หรือ รวมกับส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสองสภา หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือประธานองค์อิสระ ซึ่งต่างจากการตราพระราชบัญญัติธรรมดา คือ
<div> - ม.142 ร่างพระราชบัญญัติธรรมดา สมาชิก[[วุฒิสภา]]ร่วมเสนอร่างด้วยไม่ได้ </div>
* ม.142 ร่างพระราชบัญญัติธรรมดา สมาชิก[[วุฒิสภา]]ร่วมเสนอร่างด้วยไม่ได้ </div>
<div> - ม.163 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คน เสนอได้แต่พระราชบัญญัติธรรมดา </div>
* ม.163 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คน เสนอได้แต่พระราชบัญญัติธรรมดา </div>
<div> - ม.139 ศาลธรรมดาทุกศาลสามารถเสนอพระราชบัญญัติธรรมดาได้เท่านั้น </div>
* ม.139 ศาลธรรมดาทุกศาลสามารถเสนอพระราชบัญญัติธรรมดาได้เท่านั้น </div>


2) ร่างพระราชบัญญัติธรรมดา ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินจะเสนอได้ต่อเมื่อมีคำรับรองของ นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 142 วรรคสอง แต่ถ้าเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แม้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงินก็เสนอได้โดยที่ไม่ต้องมีคำรับรองของนายก รัฐมนตรี ตาม มาตรา 140
2) ร่างพระราชบัญญัติธรรมดา ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินจะเสนอได้ต่อเมื่อมีคำรับรองของ นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 142 วรรคสอง แต่ถ้าเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แม้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงินก็เสนอได้โดยที่ไม่ต้องมีคำรับรองของนายก รัฐมนตรี ตาม มาตรา 140

รุ่นแก้ไขเมื่อ 01:32, 18 ธันวาคม 2551

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญที่ตราขึ้นในรูปแบบพระราชบัญญัติ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้มีขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งในระบบบทกฎหมายไทย เพื่อกำหนดรายละเอียดซึ่งเป็นกฎเกณฑ์สำคัญเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ บางมาตราที่บัญญัติหลักการไว้อย่างกว้าง ๆ ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ให้มีความกระจ่างแจ้ง ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยไม่ต้องบัญญัติไว้ในตัวบทแห่งรัฐธรรมนูญให้มีความยาวมากเกินไป และเพื่อที่จะได้สะดวกแก่การแก้ไขเพิ่มเติม โดยไม่ต้องดำเนินการตามวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ทำได้ยากกว่าการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติ

ลักษณะของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีลักษณะเหมือนกับพระราชบัญญัติธรรมดาทั่วไป แต่มีหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้เป็นพิเศษบางประการ ดังต่อไปนี้

  • การเรียกชื่อกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ต้องเรียกว่า “พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย... พ.ศ. ...” เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2540
  • การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ จะกระทำได้ก็แต่เฉพาะเรื่องที่รัฐธรรมนูญฯ บังคับไว้เท่านั้น จะตราขึ้นเพื่อใช้ในเรื่องอื่น ๆ ดังเช่นพระราชบัญญัติทั่วไปไม่ได้
  • พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่รัฐธรรมนูญฯ บังคับให้ตราขึ้นมี 9 ฉบับ ดังต่อไปนี้เท่านั้น ส่วนกฎหมายอื่น ๆ แม้รัฐธรรมนูญจะกำหนดให้ออกเพื่ออธิบายขยายความเพิ่มเติมได้ แต่รัฐธรรมนูญฯ ก็ไม่ถือว่าเป็นกฎหมายหรือพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
  1. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา
  2. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง
  3. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
  4. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ
  5. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ
  6. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
  7. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยผู้ตรวจการแผ่นดิน
  8. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
  9. พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน
  • การตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทุกฉบับต้องทำให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่รัฐธรรมนูญฯ บังคับไว้ในมาตรา 323 และมาตรา 329 กล่าวคือ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญลำดับ (1) ถึง (3) ที่จำเป็นต่อการเลือกตั้งทั่วไปต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 240 วัน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญลำดับ (4) ถึง (8) ต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน ๒ ปี นับแต่วันที่ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
  • ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใดที่มีการเสนอต่อรัฐสภา แล้วไม่ว่าโดยทางใดตาม ม.139 ในการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบในการที่จะให้ออกใช้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในวาระที่สามจำนวนมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ในสภา เมื่อสภาให้ความเห็นชอบแล้ว ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อลงพระปรมาภิไธยนั้น จะต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญซึ่งศาลรัฐธรรมนูญต้องทำให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวัน
  • การคัดค้านว่าร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ อาจทำได้โดยศาลรัฐธรรมนูญ แต่ในการลงมติให้แก้ไขเพิ่มเติมหรือไม่ให้ความเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญสมาชิกของทั้งสองสภารวมกันมีจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกของแต่ละสภา ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก่อนที่นายกรัฐมนตรีจะนำร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย แต่ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติทั่วไป ผู้เข้าชื่อต้องมีจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาสซึ่งเป็นการแสดงว่ารัฐธรรมนูญต้องการให้การตรวจสอบ และควบคุมดูแลความถูกต้องของกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญทำได้ง่ายและคล่องตัวกว่าการตรวจสอบกฎหมายธรรมดา

ปัญหาเรื่องสถานะของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญมีมานานแล้วในต่างประเทศ โดยเฉพาะภาคพื้นยุโรป ของไทยมีครั้งแรกในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ซึ่งให้มีพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญรวม 8 ฉบับ ซึ่งปัญหาเรื่องลำดับศักดิ์ของพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญยังเป็นที่ถกเถียงกันเรื่อยมา เพราะหากพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ในทางกฎหมายนั้นเมื่อรัฐธรรมนูญถูกยกเลิกก็ย่อมทำให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ถูกยกเลิกด้วย แต่ปัญหาดังกล่าวก็ยังไม่คลี่คลายแม้ในช่วงรัฐประหารที่ผ่านมา

ซึ่งจุดที่ชี้ให้เห็นว่าระหว่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญกับ พระราชบัญญัติธรรมดานั้นต่างกัน ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540กระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเหมือนกับการตราพระราชบัญญัติธรรมดา ทำให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญในคำวินิจฉัยที่ 3-5/2550 เรื่องยุบพรรคไทยรักไทยวินิจฉัยว่าเมื่อกระบวนการตราพระราชบัญญัติและกระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญเหมือนกัน พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจึงมีศักดิ์เท่ากฎหมายธรรมดา

ต่อมาในรัฐธรรมนูญปี 2550 ให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญทั้งหมด 9 ฉบับ โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 138 – 141 โดยแก้ไขใหม่ทั้งหมด อันเป็นข้อสังเกตว่าหากผู้ร่างประสงค์จะให้พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมีศักดิ์เท่าพระราชบัญญัติจริง จะไม่มีการแก้ไขในส่วนนี้ แต่เจตนารมณ์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็เพื่อแก้ปัญหาข้อถกเถียงทั้งหมด เกี่ยวกับลำดับศักดิ์ของรัฐธรรมนูญ

สถานะในปัจจุบันของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ปัจจุบันหลักการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญของไทยได้เปลี่ยนไปแล้วเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดกระบวนการ ตรากฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญไว้เป็นพิเศษต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 อยู่ 4 ประการ

1) ผู้มีอำนาจเสนอร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญอยู่ใน ม.139 คือ คณะรัฐมนตรี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภา หรือ รวมกับส.ว.ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสองสภา หรือ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลฎีกา หรือประธานองค์อิสระ ซึ่งต่างจากการตราพระราชบัญญัติธรรมดา คือ

  • ม.142 ร่างพระราชบัญญัติธรรมดา สมาชิกวุฒิสภาร่วมเสนอร่างด้วยไม่ได้
  • ม.163 ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 10,000 คน เสนอได้แต่พระราชบัญญัติธรรมดา
  • ม.139 ศาลธรรมดาทุกศาลสามารถเสนอพระราชบัญญัติธรรมดาได้เท่านั้น

2) ร่างพระราชบัญญัติธรรมดา ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการเงินจะเสนอได้ต่อเมื่อมีคำรับรองของ นายกรัฐมนตรี ตามมาตรา 142 วรรคสอง แต่ถ้าเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ แม้เป็นกฎหมายเกี่ยวกับการเงินก็เสนอได้โดยที่ไม่ต้องมีคำรับรองของนายก รัฐมนตรี ตาม มาตรา 140

3) การลงมติให้ความเห็นชอบพระราชบัญญัติธรรมดาใช้คะแนนเสียงข้างมากธรรมดา แปลว่าว่าสภา 400 คน เข้าประชุม 200 เห็นชอบ 101 คนก็ใช้ได้ แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามมาตรา 140 วาระแรกและวาระที่สองใช้เสียงข้างมากธรรมดา แต่วาระที่สามใน 140(2) ต้องใช้คะแนนมากกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ทั้งหมดของแต่ละสภา นั่นแปลว่า ถ้าสภา 400 คนต้องได้ 201 คนไม่ว่าจะเข้าประชุมกี่คนก็ตาม และถึงแม้ผ่านสภาผู้แทนฯมาแล้ว วุฒิสภา 150 คนหากโหวตเห็นชอบแค่ 75 คน ก็อาจทำให้ร่างตกไปได้

4) ถ้าเป็นร่างพระราชบัญญัตินั้น รัฐธรรมนูญไม่ได้บังคับให้ต้องส่งร่างให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย แต่อาจเสนอให้วินิจฉัยได้ ตามมาตรา 154 แต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 141 บังคับให้ส่งร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่สภาเห็นชอบแล้วให้ศาลรัฐ ธรรมนูญพิจารณาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญใน 30 วัน

ด้วยเหตุนี้ จึงเข้าใจว่าพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ 2550 จึงน่าจะมีศักดิ์ที่สูงกว่าพระราชบัญญัติธรรมดา อย่างไรก็ดีความเห็นดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยุติ ต้องรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้ง